วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567

เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ CVN-71 USS Theodore Roosevelt สหรัฐฯเยือนไทย


CVN-71 USS Theodore Roosevelt, the Nimitz-class Aircraft Carrier at Laem Chabang Port, Chonburi Province, Thailand as port visited during 24-28 April 2024, with media visited on 25 Arpil 2024. (Photos: Sukasom Hiranphan)
Destroyer Squadron 23 (DESRON 23)  include the Arleigh Burke-Class Guided-Missile Destroyer DDG-59 USS Russell, DDG-118 USS Daniel K. Inouye, DDG-97 USS Halsey and DDG-83 USS Howard are ported at Sriracha Port.
CARRIER STRIKE GROUP 9 (CSG 9)’s motto "Defending Freedom" also include Carrier Air Wing 11 (CVW 11). 

เปิดดาดฟ้าเยี่ยมชมแสนยานุภาพ แห่งปราการลอยน้ำ USS Theodore Roosevelt  “ T/R Big Stick”
เป็นอีกครั้งในรอบ7ปี ที่เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ ยูเอสเอส ธีโอดอร์ รูสเวลล์ CVN-71ได้กลับมาเยือนประเทศไทย เพื่อทำการเทียบท่า รับการสนับสนุนเสบียงและเปิดโอกาสให้กำลังพลได้พักผ่อน หลังจากปฏิบัติภารกิจมาอย่างต่อเนื่องในทะเลมาเป็นเวลา4เดือน
ภารกิจในครั้งCVN-71มีฐานะเป็นเรือธงของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่9 CCSG9 ที่ออกเดินทางจากฐานทัพเรือซานดิเอโก้ เพื่อมาปฏิบัติงานในภูมภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมเรือคุ้มกันอีก3ลำ การจอดแวะพักในประเทศไทยสำหรับกองเรือรบสำคัญของสหรัฐ 
จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงระดับความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ ด้วยความพร้อมในการรองรับการเข้าจอดของหนึ่งในเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก พร้อมทั้งการเตรียมอุปกรณ์รองรับการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน 
ทำให้ท่าเรือC0ของท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ได้ต้อนรับ เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐลำนี้อีกครั้งหนึ่ง
การแวะมาเยือนครั้งนี้กองทัพเรือและสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนในประเทศไทยได้ขึ้นเยี่ยมชมเรือ พร้อมทั้งสัมภาษณ์ผู้บัญชากองเรือ และผู้บังคับการเรือ พร้อมชมพื้นที่ภายใน และอากาศยานต่างๆที่ออกปฏิบัติงานในภารกิจครั้งนี้
หลังจากผ่านการตรวจสอบความปลอดภัย หลังแนวคอนเทนเนอร์ที่ถูกตั้งเป็นกำแพงตลอดความยาวเรือ คณะสื่อมวลชนได้ขึ้นเรือในพื้นที่ดาดฟ้าใต้ท้องเรือ ส่วนที่2(Hangar2) อันเป็นพื้นที่โถงกลางหลัก ที่ปกติจะเป็นโถงเปิดโล่งยาวตลอดลำเรือ เพื่อใช้เป็นลานจอดและซ่อมบำรุงอากาศยาน 
แต่จะมีประตูเกราะป้องกันความเสียหายที่จะเลื่อนกางออกมาเพื่อแบ่งพื้นของโถงใต้ดาดฟ้านี้ออกเป็นสามส่วน  สำหรับป้องกันความเสียหายโดยรวมหากเรือถูกโจมตีในการรบ หรือ อุบัติเหตุเพลิงไหม้ 
เมื่อถึงเวลาเทียบท่าพื้นที่ส่วนนี้จะเป็นจุดที่ลูกเรือทุกนายต้องทการลงทะเบียนที่นี้เมื่อต้องการลงจากเรือ
จากนั้นจึงเดินขึ้นไปอีกสี่ชั้น เพื่อขึ้นสู่ดาดฟ้าเรือ เพื่อพบกับผู้บัญชาการกองเรือ และผู้บังคับการเรือ ก่อนเยี่ยมชมอากาศยานแบบต่างที่มาปฏิบัติงานในครั้งนี้ในนาม กองบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินที่11 CAW11 อันประกอบด้วย 9 ฝูงบิน 
โดยมีเครื่องบินรบในตระกูลซุปเปอร์ฮอร์เน็ต F/A-18 E/Fเป็นเครื่องบินรบหลัก จำนวน5ฝูงบิน ฝูงเฮลิคอปเตอร์ซีฮอว์ค 2ฝูงในภารกิจลำเลียงและปราบเรือดำน้ำ  ฝูงบินตรวจการณ์และเตือนภัยล่วงหน้า ที่ใช้งานE-2D แอดวานส์ ฮอว์คอาย และ หนึ่งฝูงบินลำเลียงที่ใช้งานเครื่องC-2เกรย์ฮาวน์ด
ด้วยขนาดของเรือรบขนาดใหญ่ จนสามารถเปรียบได้เป็นเมืองลอยน้ำขนาดย่อม แม้จะเป็นช่วงเวลาการพักผ่อนของลูกเรือ แต่ในทุกพื้นที่ของเรือยังต้องมีการซ่อมบำรุงและปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา เราจะเห็นลูกเรือที่ยังไม่ได้ออกเวรพัก  ยังทำงานกันอยู่ตั้งแต่การซ่อมสีบนดาดฟ้าเรือ  
ซ่อมบำรุงอากาศยาน ขนส่งเติมเสบียง  โดยมีการรักษาความปลอดภัยด้วยกำลังพลติดอาวุธในทุกพื้นที่ของลำเรือ  และแน่นอนพวกเขาต่างเร่งทำงานในส่วนของตน เพื่อจะได้ลงจากเรือเพื่อพักผ่อนในประเทศไทย หนึ่งในชาติพันธมิตรของพวกเขาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

โถงทางขึ้นเรือ เป็นจุดต้อนรบผู้มาเยี่ยมชมเรือ มีการตกแต่งตราสัญลักษณ์ประจำเรือ และธงชาติของมิตรประเทศที่เรือแวะเยือนคู่กับธงชาติสหรัฐ

โถงใต้ดาดฟ้าที่2(Hangar2) พื้นที่หลักใต้ท้องเรือ หากเรือบรรทุกเครื่องบินในชั้นนิมิทซ์ไม่ได้บรรจุเครื่องบินรบเต็มพิกัดที่ราว90ลำ พื้นที่โถงใต้ดาดฟ้านี้จึงมีพื้นที่ว่างสามารถใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ จัดพิธีต่างๆ รวมไปถึงการเป็นพื้นที่ลงทะเบียนสำหรับลูกเรือทุกนายที่ต้องทำการลงสู่เมืองท่าต่างๆที่เรือทำการแวะพัก

F/A-18E ที่จอดรอการซ่อมบำรุงระดับรองในพื้นที่ของแฮงการ์2

EA-18G โกลว์เลอร์ เครื่องบินรบสงครามอีเล็คทรอนิคส์ที่พัฒนาต่อจากF/A-18F ซุปเปอร์ฮอร์เน็ต์

พื้นที่แฮงการ์1 เป็นพื้นที่จัดเก็บเฮลิคอปเตอร์ และE-2D ที่เพดานของพื้นที่ส่วนหน้านี้ถูกใช้เป็นที่จัดเก็บถังน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองของเครื่องตระกูลซุปเปอร์ฮอร์เน็ตประจำเรือ

ทางเดินภายในเรือ เพื่อเดินขึ้นสู่พื้นที่ดาดฟ้าเรือ

แพนหางดิ่งสีสันสดใส เป็นสัญลักษณ์ของอากาศยานประจำตัวผู้บังคับฝูงบิน(CAG's bird) กับสัญลักษ์ของฝูงVFA-25 กับสัญลักษณ์"หมัดเหล็กแห่งกองเรือ" ที่อาจคุ้นตาผู้ชบภาพยนต์ท๊อปกันภาคแรก เพราะนี้คือสัญลักษณ์เดียวกับเครื่องF-14ทอมแค๊ท ของ"ไอซ์แมน" สหายศึกของมาเวริก บทบาทนักบินรบที่หลายคนประทับใจ

พลเรือตรี คริสโตเฟอร์ อเล็กซานเดอร์ ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 9 (CCSG9) ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนและกล่าวขอบคุณประเทศไทยในการแวะพักเทียบท่าครั้งนี้

แม้จะแวะจอดเทียบท่า แต่การรักษาความปลอดภัยบนเรือCVN-71ยังมีการเข้าเวรยามอย่างเข้มงวด โดยมีอุปกรณ์ต่อต้านโดรนแบบDRAKE ใช้งานร่วมกับอาวุธประจำกายของกำลังพลบนเรือที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยบนดาดฟ้าเรือ

พื้นที่ดาดฟ้าส่วนหัวเรือ และรางดีดปล่อยอากาศยานประจำเรือที่ปิดการใช้งานเมื่อเรือจอดเทียบท่า จะมีแต่การใช้งานเฮลิคอปเตอร์เพื่อการบินขึ้นลงในจุดนี้

เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ แบบซีฮอว์ค

F/A-18E ซุปเปอร์ฮอร์เน็ตของฝูงบินVFA-211 "ไฟท์ติ้ง เช๊คเมท" ในภาพเป็นการโหลดติดตั้งถังเชื้อเพลิง และอุปกรณ์เติมเชื้อเพลิงแบบบัดดี้แพ๊ค เพื่อปฏิบัติภารกิจเป็นเครื่องเติมเชื้อเพลิงในอากาศให้กับเครื่องในหมู่บินเดียวกัน


แพนหางของฝูงบินรบต่างๆของเครื่องซุปเปอร์ฮอร์เน็ต บนเรือธีโอดอร์ รูสเวลล์

CAG's bird ของฝูงบินVFA-34 "บลูบลาสท์"ฝูงบินโจมตีประจำเรือบรรทุกเครื่องบินที่เดิมใช้เครื่องบินโจมตีแบบA-6 อินทรูเดอร์ ก่อนเปลี่ยนแบบเป็นF/A-18 Cในปีพ.ศ.2541 และเป็นF/A-18E ในปัจจุบัน

การซ่อมทำสีแนวทางวิ่งกลางลำเรือ

ลิฟท์ลำเลียงเสบียงจากโถงกลางเรือลงไปยังใต้ท้องเรือ

กำลังพลประจำเรือ ขณะซ่อมบำรุงระบบแท่นอาวุธปืนป้องกันเรือระยะประชิด ฟาแล๊งซ์ CIWS และ แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิธีต่อสู้อากาศยานแบบซีสแปร์โรว์

หอบังคับการเรือ ของเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิทซ์ มีความสูงเท่ากับตึก7ชั้น



กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้นำเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Nimitz ลำที่สี่ เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ CVN-71 USS Theodore Roosevelt เรือธง(Flag Ship) ของกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่9(CSG9: CARRIER STRIKE GROUP 9)  
ร่วมกับกองเรือพิฆาตที่23(DESRON23: Destroyer Squadron 23) ประกอบด้วยเรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke สี่ลำคือเรือพิฆาต DDG-59 USS Russell, เรือพิฆาต DDG-118 USS Daniel K. Inouye, เรือพิฆาต DDG-97 USS Halsey และเรือพิฆาต DDG-83 USS Howard
เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Theodore Roosevelt เดินทางมาเทียบท่าที่ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ในอ่าวไทย ขณะที่เรือพิฆาตทั้งสี่ลำเทียบท่าที่ท่าเรือศรีราชา ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) เพื่อเป็นการพักผ่อนหลังวางกำลังฝึกในอินโด-แปซิฟิกอย่างต่อเนื่องมาสี่เดือน

ปัจจุบันเรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-71 USS Theodore Roosevelt วางกำลังด้วยกองบินเรือบรรทุกเครื่องบินที่11 (CVW-11: Carrier Air Wing Eleven) ซึ่งมีอากาศยานแบบต่างในแต่ฝูงบินประกอบด้วย
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-25 (Strike Fighter Squadron 25) "Fist of the Fleet" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Boeing F/A-18E Super Hornet 
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-34 (Strike Fighter Squadron 34) "Blue Blasters" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Boeing F/A-18E Super Hornet 
และฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-211 (Strike Fighter Squadron 211) "Fighting Checkmates" ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Boeing F/A-18E Super Hornet 
ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-154 (Strike Fighter Squadron 154) "Black Knights"  ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F/A-18F Super Hornet 
ฝูงบินโจมตี Electronic VAQ-137 (Electronic Attack Squadron 137) (VAQ-137) "Rooks"  ประจำการด้วยเครื่องบินโจมตีสงคราม Electronic แบบ Boeing EA-18G Growler 
ฝูงบินแจ้งเตือนทางอากาศประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน VAW-115 "Liberty Bells" ประจำการด้วยเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศและควบคุม Northrop Grumman E-2D Advanced Hawkeye
ฝูงบินพหุภารกิจส่งกำลังบำรุงกองเรือ VRM-30 (Fleet Logistics Multi-Mission Squadron 30)  "Titans" Detachment 3  เดิมประจำการด้วยอากาศยานใบพัดกระดกลำเลียง Bell Boeing CMV-22B Osprey 
แต่ช่วงที่ V-22 ทั่วโลกถูกสั่งงดบินหลักเกิดอุบัติเหตุตกที่ญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน 2023 จึงใช้เครื่องบินลำเลียง Northrop Grumman C-2A Greyhound ไปก่อน
ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์รบทางทะเล HSC-8 (Helicopter Sea Combat Squadron 8) "Eightballers" ประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปประจำเรือ Sikorsky MH-60S Knightwak 
และฝูงบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีทางทะเล HSM-75 (Helicopter Maritime Strike Squadron 75) "Wolfpack" ประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Sikorsky MH-60R Seahawk 

ฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-25 ที่เคยปรากฎ patch ว่าเป็นฝูงบินของ "Ice Man" ที่แสดงโดย Val Kimmer ในภาพยนตร์ Top Gun (1986) นั้น ที่จริงฝูงบินนี้ไม่เคยถูกกำหนดชื่อเป็นฝูงบินขับไล่ VF-213 และไม่เคยมีเครื่องบินขับไล่ Grumman F-14A Tomcat ประจำการในฝูงบินเลย
โดยในทศวรรษปี 1980s นั้นฝูงบินโจมตี VA-25 ได้เปลี่ยนผ่านจากเครื่องบินโจมตี A-7 Corsair มาเป็นฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-25 ใช้เครื่องบินขับไล่โจมตี McDonnell Douglas F/A-18A Hornet ในปี 1984 และต่อมาเป็นรุ่นเครื่องบินขับไล่โจมตี F/A-18C Hornet ในปี 1989
ก่อนที่ฝูงบิน VFA-25 จะเปลี่ยนแบบเป็นเครื่องบินขับไล่ F/A-18E ในปี 2013 โดยฝูงบินขับไล่ VF-213 "Blacklions" จริงๆนั้นเคยประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ F-14A ในปี 1976 ต่อมาเครื่องบินขับไล่ F-14D ในปี 1997 และเปลี่ยนเป็นฝูงบินขับไล่โจมตี VFA-213 ใช้เครื่องบินขับไล่ F/A-18F ในปี 2006 ครับ

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567

โครเอเชียนำเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสชุดแรก 6เครื่องจาก 12เครื่องเข้าประจำการ

Rafale enters Croatian service







One of the first six Rafales to be delivered to Croatia. Deliveries of all 12 aircraft will be complete by mid-2025. (Dassault)



กองทัพอากาศโครเอเชีย(Croatian Air Force, HRZ i PZO: Hrvatsko ratno zrakoplovstvo i protuzračna obrana)ได้นำเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ที่ตนได้รับมอบจากฝรั่งเศสล่าสุดเข้าประจำการแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/rafale.html)
บริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศสผู้ผลิตประกาศเหตุการณ์สำคัญนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2024 กล่าวว่าเครื่องบินขับไล่ Rafale ชุดแรกจำนวน 6เครื่องจาก 12เครื่องได้ถูกรับมอบเข้าประจำการโดยกองทัพอากาศโครเอเชียแล้ว

เครื่องบินขับไล่ Rafale ที่ได้ถูกส่งมอบแก่กระทรวงกลาโหมโคเอเชีย ณ ฐานทัพอากาศของกองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส(French Air and Space Force, AAE: Armée de l'Air et de l'Espace) ที่ Mont-de-Marsan ในฝรั่งเศสในปี 2023
เครื่องบินขับไล่ Rafale ชุดแรก 6เครื่องเหล่านี้ได้ถูกรับมอบเข้าประจำการในฐานบินปฏิบัติการที่91(91 operational base) ใกล้นครหลวง Zagreb ในพิธีที่เชิญนายกรัฐมนตรีโครเอเชีย Andrej Plenković และรัฐมนตรีกลาโหมโครเอเชีย Ivan Anušić เข้าร่วม

โดยเครื่องบินขับไล่ Rafale จะประจำการที่ฝูงบินที่191(191 Squadron) เครื่องบินชุดต่อไปที่จะตามมาอีก 6เครื่องจะมาถึงโครเอเชียภายในสิ้นปี 2024 และจะเสร็จสิ้นครบทั้งฝูงบินในกลางปี 2025
โครเอเชียได้เลือกเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสจำนวน 12เครื่องในเดือนพฤษภาคม 2021 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-21 ที่มีอายุการใช้งานมานานของตน

ข้อตกลงวงเงิน 1.15 billion Euros($1.21 billion) ได้รับการลงนามในเดือนพฤศจิกายน 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/rafale.html) โดยการชำระค่าใช้จ่ายจะดำเนินตั้งแต่ปี 2021-2026
เครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 12เครื่องส่วนเกินจากกองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศสประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว Rafale C จำนวน 10เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Rafale B จำนวน 2เครื่องในมาตรฐาน F3-R 

นอกเหนือจากเครื่องบินขับไล่ Rafale 12เครื่องเหล่านี้ โครเอเชียกำลังได้รับมอบเครื่องจำลองการบิน simulator, การฝึก และการสนับสนุนอื่นๆที่จะดำเนินไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี 2026 กองทัพอากาศโครเอเชียตั้งใจจะประจำการเครื่องบินขับไล่ Rafale ไปจนถึงต้นปี 2050s 
โครเอเชียได้เข้าร่วมกลุ่มลูกค้าส่งออกล่าสุดของเครื่องบินขับไล่ Rafale ประกอบด้วยอียิปต์จำนวน 54เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/rafale-30.html), อินเดียจำนวน 36เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/rafale.html)

กาตาร์จำนวน 36เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rafale.html), กรีซจำนวน 24เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/rafale-6.html), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จำนวน 80เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/rafale-f4-80.html)
และอินโดนีเซียจำนวน 42เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/rafale-42-18.html) ล่าสุดเซอร์เบียยังกำลังมองที่จะจัดหาจำนวน 12เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/rafale-12.html)

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567

กองทัพบกไทยทดสอบยิงปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Bofors 40mm L/70 OES เชื่อมระบบควบคุมการยิงใหม่ที่พัฒนาในประเทศ












Army Research and Development Office (ARDO), Royal Thai Army (RTA) conducte live fire of new domestic modernized Bofors 40mm L/70 OES[Opto-Electronic System] on stationary ground targets at 1,000 metre and moving aerial targets at RTA Artillery Center's firing range Khao Phulon, Lopburi Province, Thailand, on 20 April 2024.
Bofors 40mm L/70 OES[Opto-Electronic System] by Thailand's company Armisys Supply Co.,Ltd and Kasetsart University with ARDO for Army Air Defense Command, RTA. (Royal Thai Army)



10 เม.ย. 67 : พ.อ.มนต์ชัย ดวงปัญญา รอง ผอ.สวพ.ทบ. พร้อมคณะทำงานทดสอบและประเมินผลฯ เดินทางเพื่อเข้าร่วมการทดสอบและประเมินผลโครงการ พัฒนาระบบควบคุมการยิง เพื่อดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ ปตอ. ขนาด 40 มม. แอล 70 
ณ ปตอ.1 พัน.5 ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 
วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบต้นแบบงานวิจัยประกอบเป็นข้อมูลในการพิจารณารับรองผลงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารของกองทัพบก ซึ่งจะมีการทดสอบและประเมินผลฯ ภาคสนาม : การทดสอบการยิงด้วยกระสุนจริง ในวันที่ 22 เม.ย. 67 ณ สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศป. จว.ล.บ.

22 เม.ย. 67 : พล.ต. ระวี ตั้งพิทักษ์กุล ผอ.สวพ.ทบ. เป็นประธานในการทดสอบและประเมินผลโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพและเพิ่มประสิทธิภาพยุทโธปกรณ์ : การพัฒนาระบบควบคุมการยิง ปตอ. ขนาด 40 มม. แอล 70 ณ สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศป. จว.ล.บ. 
 การยิงทดสอบด้วยกระสุนจริงครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการทดสอบต้นแบบงานวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณารับรองผลงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารของกองทัพบก ซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์การพิจารณา จำนวน 4 ประการ ได้แก่ 
1. การเชื่อมต่อระบบควบคุมการยิงนอกตัวปืน กับ ปตอ.40 มม. แอล 70
2. การทดสอบการสั่งลั่นไกยิงกระสุนจริง ในขั้นตอนการยิงอัดฐาน
3. การทดสอบความแม่นยำ การยิงเป้าหมายอยู่กับที่ระยะ 1,000 เมตร
4. การทดสอบความแม่นยำ การยิงแบบติดพันเป้าหมายอากาศเคลื่อนที่

โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพและเพิ่มประสิทธิภาพยุทโธปกรณ์ ระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control System) สำหรับปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Bofors 40mm L/70 ของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก สวพ.ทบ.(ARDO: Army Research and Development Office) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)
ได้มีความคืบหน้าล่าสุด หลังเตรียมความพร้อม ณ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๕ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๑(5th Anti-Aircraft Artillery Battalion, 1st Anti-Aircraft Artillery Regiment) หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ นปอ.(Army Air Defense Command) ในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
การทดสอบยิงด้วยกระสุนจริง ๒๐๐นัดของปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแบบ Bofors 40mm L/70 OES สองหน่วยยิงที่เชื่อมกับระบบควบคุมการยิงใหม่ที่พัฒนาในไทย ต่อเป้าหมายอยู่กับที่ระยะ 1,000m และเป้าอากาศเคลื่อนที่ก็ได้มีขึ้น ณ สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ศป.(Artillery Center) จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗

ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแบบ Bofors 40mm L/70 OES[Opto-Electronic System] เป็นการปรับปรุงความทันสมัยโดยชุดอุปกรณ์ซ่อมปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40mm แบบ L/70 ของบริษัท อาร์มี่ซิส ซัพพลาย จำกัด (ARMISYS SUPPLY COMPANY LIMITED) ไทย โดยความร่วมมือกับ สวพ.ทบ.ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตามที่ กรมสรรพาวุธทหารบก กองทัพบกไทย(Royal Thai Army Ordnance Department) ได้ประกาศโครงการจ้างซ่อมปรับปรุงปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Bofors ขนาด 40mm L/70 กำหนดราคากลางอ้างอิงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓(2020) วงเงินงบประมาณ ๔๔๖,๕๐๐,๐๐๐บาท($13,996,873.07) ราคาต่อหน่วย ๒๓,๕๐๐,๐๐๐บาท($736,677.53)(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/bofors-40mm-l70.html)
และมีการส่งมอบเพื่อใช้ในการฝึกภายในหน่วย(Unit School) ของกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๒ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๒(2nd Anti-Aircraft Artillery Battalion, 2nd Anti-Aircraft Artillery Regiment) ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022)(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/bofors-40mm-l70-oes.html)

โครงการวิจัยและพัฒนานี้เป็นการพัฒนาระบบควบคุมการยิงแบบนอกตัวปืนสำหรับการควบคุมการยิงการทำงานของกลุ่ม ปตอ.Bofors 40mm L/70 จำนวน ๔กระบอก(หน่วยยิง)โดยระบบควบคุมการยิงแบบนอกตัวปืนนี้จะตรวจจับและติดตามเป้าหมายทางอากาศที่ได้รับมาจากกล้อง Opto-Electronic
หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลไปยัง ปตอ.Bofors 40mm L/70 ทั้ง ๔กระบอกที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งต่างๆตามยุทธวิธีเพื่อให้ปืนเคลื่อนที่ติดตามเป้าหมายทางอากาศนั้นสัมพันธ์กัน และเมื่อได้รับคำสั่งให้ป้องกันและทำลายเป้าหมาย ระบบควบคุมการยิงแบบนอกตัวนี้จะส่งคำสั่งชดเชยแนววิถีกระสุนและคำสั่งยิงให้กับปืนแต่ละกระบอกในทันที
ซึ่งเป็นไปตามยุทธวิธีของหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ นปอ. กองทัพบกไทย สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันภัยทางอากาศด้วยกลุ่มปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแบบ Bofors 40mm L/70 OES(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/rtaf-steel-challenge-2023.html)

ระบบควบคุมการยิง OES สามารถนำมาใช้ร่วมกับ ปตอ.Bofors 40mm L/70 ทั้งในรุ่นระบบสัญญาณแบบ Analog Synchro(แบบเดิม) และระบบสัญญาณ Digital รุ่นที่ได้รับการปรับปรุง ซึ่งเป็นไปตามการจัดอัตรายุทโธปกรณ์ตามหลักการกองพันผสมของหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ นปอ.
ที่ต้องมีระบบควบคุมการยิงนอกตัวปืนหลายระบบประจำในกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ทำให้ นปอ.ขยายขีดความสามารถเพิ่มขึ้นในการป้องกันภัยทางอากาศ โดยใช้งบประมาณที่คุ้มค่ากับการลงทุนเนื่องจากเป็นผลงานวิจัยที่พัฒนาด้วยตนเองในประเทศไทย
กองทัพบกไทยได้จัดหา ปตอ.Bofors 40mm L/70 ซึ่งใช้งานร่วมกับ radar ควบคุมการยิงแบบ Flycatcher เนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ช่วงปี 1980s การปรับปรุงความทันสมัยล่าสุดนี้จะทำให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามทางสมัยใหม่รวมถึงอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ตั้งแต่ระบบที่ดัดแปลงจาก drone ใช้งานทางพลเรือน จนถึง UAV ที่ออกแบบสำหรับใช้ทางทหารโดยตรงได้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

เวียดนามวางแผนจะจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 เกาหลีใต้

Vietnam outlines intent to procure K9 howitzer







The K9 SPH has a combat weight of 46.3 tonnes, a top road speed of 67 km/h, and an operational range of 360 km. (Hanwha Defense)

กระทรวงกลาโหมเวียดนามได้ระบุว่าตนกำลังวางแผนที่จะจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน(SPH: Self-Propelled Howitzer) แบบ K9 ที่พัฒนาและผลิตโดยบริษัท Hanwha Aerospace สาธารณรัฐเกาหลีสำหรับกองทัพประชาชนเวียดนาม(PAVN: People's Army of Vietnam)

รองรัฐมนตรีกลาโหมเวียดนาม Hoang Xuan Chien ได้แสดงความตั้งใจที่จะจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 ณ 'การหารือยุทธศาสตร์กลาโหมเกาหลี-เวียดนามครั้งที่11'(11th Korea-Vietnam Defense Strategy Dialogue) 
ที่จัดขึ้นในนครหลวง Hanoi เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2024 ตามข้อมูลจากสื่อประชาสัมพันธ์ที่ออกเผยแพร่โดยกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีหนึ่งวันให้หลังเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2024

"รองรัฐมนตรีกลาโหมเวียดนาม Chien ได้ประเมินระบบอาวุธต่างๆของเกาหลีและแสดงความตั้งใจของเขาที่จะขยายความร่วมือด้านอุตสาหกรรมกลาโหมรวมถึงการนำระบบอาวุธของเกาหลี
อย่างเช่นปืนใหญ่อัตตาจร K9 เข้าประจำการ(ในกองทัพประชาชนเวียดนาม) และร้องขอความร่วมมือจากรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีสำหรับความประสงค์นี้" กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีกล่าว

นอกจากนี้ทั้งเวียดนามและสาธารณรัฐเกาหลีได้เห็นชอบที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งความร่วมมือในหลายภาคส่วนอย่างเช่น การรักษาความมั่นคงทางทะเล, ความมั่นคงทาง cyber และการส่งกำลังบำรุง กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีเสริม
เพื่อขยายความร่วมมือด้านกลาโหมและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ทั้งสองประเทศเห็นชอบว่าการหารือภาคส่วนของความร่วมมือใหม่ต่างๆจะถูกเพิ่มเข้าไปในข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมทวิภาคีที่ลงนามในปี 2010 ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี

ในเดือนเมษายน 2024 โฆษกบริษัท Hanwha Aerospace ยืนยันกับ Janes ว่าเจ้าหน้าที่ของกองทัพและรัฐบาลเวียดนามได้เยือนโรงงานของ Hanwha เพื่อพิจารณาปืนใหญ่อัตตาจร K9
กองทัพประชาชนเวียดนามมีความต้องการระบบปืนใหญ่ใหม่เพื่อทดแทนปืนใหญ่เก่าอายุการใช้งานหลายทศวรรษที่มีในคลังแสงของตน รวมถึงปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้งลากจูง M114 ขนาด 155mm และปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง M101 ขนาด 105mm

มีรายงานว่ากองทัพประชาชนเวียดนามมองที่จะจัดหาปืนใหญ่กระสุนวิถีโค้งขนาด 155mm ใหม่จำนวน 108หน่วยยิง ตามข้อมูลจาก Janes Land Warfare Platforms: Artillery & Air Defence ปืนใหญ่อัตตาจร K9 มีน้ำหนักพร้อมรบที่ 46.3tonnes, 
ทำความเร็วบนถนนได้สูงสุดที่ 67km/h และมีระยะการปฏิบัติการที่ 360km ติดตั้งปืนใหญ่วิถีโค้งขนาด 155mm/52calibre มีพิสัยยิงไกลสุด 40km สามารถบรรทุกกระสุนได้ 48นัดพร้อมดินส่งพร้อมใช้และมีระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติ กำลังพลประจำรถ 5นายครับ

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567

สิงคโปร์ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเรือดำน้ำชั้น Invincible ลำที่สี่และลำสุดท้าย RSS Inimitable

Singapore launches final Type 218SG submarine







Singapore's fourth Type 218SG submarine, seen here before its launch ceremony on 22 April 2024. (Singapore Ministry of Defence)



บริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนีได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air-Independent Propulsion) แบบ Type 218SG
เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำที่สี่และลำสุดท้าย เรือดำน้ำ RSS Inimitable ที่ได้รับการสั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy)

เรือดำน้ำ RSS Inimitable ได้ถูกทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2024 ณ อู่ต่อเรือของบริษัท TKMS ใน Kiel เยอรมนี กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ประกาศในแถลงการณ์ในวันเดียวกัน
"แนวคิดและวิศวกรรมร่วมกันโดยกองทัพเรือสิงคโปร์, สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมสิงคโปร์(DSTA: Defence Science and Technology Agency) และหุ้นส่วนทางอุตสาหกรรม TKMS เยอรมนี" อ่านจากแถลงการณ์

"เรือดำน้ำชั้น Invincible ได้ถูกปรับแต่งสำหรับการปฏิบัติการในน่านน้ำเขตร้อนที่ตื้นและการจราจรพลุกพล่านของสิงคโปร์ และเรือมีคุณลักษณะระยะเวลาปฏิบัติการนานกว่าและการบรรทุกสูงกว่า
หลังการปล่อยเรือลงน้ำ เรือดำน้ำ RSS Inimitable จะเข้าสู่การดำเนินการการทดลองเรือในทะเลหลายชุดก่อนที่จะส่งมอบแก่สิงคโปร์" กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์เสริม

มีการเปิดเผยเพิ่มเติมว่า เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำที่สอง เรือดำน้ำ RSS Impeccable ที่ถูกปล่อยลงน้ำในปี 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/invincible-rss-impeccable-rss.html
ยังอยู่ในการดำเนินการการทดลองเรือในทะเลที่สิงคโปร์หลายชุด โดยแผนที่จะมีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราและขึ้นระวางประจำการเรือดำน้ำ RSS Impeccable ในปี 2024

สิงคโปร์ประกาศเป็นครั้งแรกว่าตนได้ลงนามสัญญาสำหรับเรือดำน้ำชั้น Invincible สองลำแรกกับ TKMS ในเดือนธันวาคม 2013 และเปิดเผยต่อมาในการสั่งจัดหาเรือดำน้ำสองลำเพิ่มเติมในเดือนพฤษภาคม 2017
สัญญารวมถึงชุดการส่งกำลังบำรุงและการฝึกสำหรับกำลังพลกองทัพเรือสิงคโปร์ที่จะทำการฝึกในเยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/type-218sg-rss-invincible.html)

เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำแรก เรือดำน้ำ RSS Invincible ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2019(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/tkms-type-218sg-rss-invincible.html)
เรือดำน้ำชั้น Invincible ลำที่สองและลำที่สาม เรือดำน้ำ RSS Impeccable และเรือดำน้ำ RSS Illustrious ตามลำดับถูกปล่อยลงน้ำพร้อมกันในเดือนธันวาคม 2022

เรือดำน้ำ RSS Impeccable ได้ถูกขนส่งมาถึงสิงคโปร์ในเดือนกรกฎาคม 2023 แต่เรือพี่น้องของเธอ เรือดำน้ำชั้น Invincible และเรือดำน้ำ RSS Illustrious ยังคงอยู่ในเยอรมนีสำหรับการฝึกและการสร้างความคุ้นเคยการปฏิบัติการ
เรือดำน้ำ RSS Inimitable จะถูกส่งมอบได้ในปี 2025 โดยเรือดำน้ำชั้น Invincible ทั้งสี่ลำจะทดแทนเรือดำน้ำชั้น Challenger(เรือดำน้ำชั้น Sjöormen เดิม) 4ลำ และเรือดำน้ำชั้น Archer(เรือดำน้ำชั้น Västergötland เดิม) 2ลำจากสวีเดนที่ประจำในกองทัพเรือสิงคโปร์ทั้งหมดครับ