วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Defense&Security 2013:ระบบอาวุธปืน-2

ส่วนจัดแสดงงานของบริษัทจากสหรัฐอเมริกานั้นอาจจะไม่ได้ใหญ่เท่าส่วนจัดแสดงของสวีเดนหรือเกาหลีใต้ แต่ที่เดินดูพบว่ามีบริษัทต่างๆมาจัดแสดงงานในจำนวนมากกว่า
ซึ่งก็มีบริษัทผู้ผลิตปืนและอาวุธประจำกายมาแสดงหลายบริษัทเช่น


Colt ซึ่งระบบหลักที่มาแสดงคือปืนตระกูล AR15 โดยเฉพาะ M4 ซึ่งมีเจ้าหน้าสนใจเต็มส่วนจัดแสดงที่ค่อนข้างใหญ่




D.S. Arms Inc. บริษัทผู้ผลิตปืนและชิ้นส่วนอุปกรณ์ประกอบของปืนหลายแบบเช่น ตระกูล AR15 และ FN FAL





Trijicon บริษัทผู้ผลิตกล้อยช่วยเล็งปืนชั้นนำเช่น กล้องเล็ง ACOG, Reflex,VCOG และ RMR เป็นต้น
กล้องเล็งที่จัดแสดงเป็นกล้องแบบที่ไม่ต้องใช้ Battery ซึ่งกล้องตัวที่ชอบที่สุดจะเป็นกล้อง ACOG กำลังขยาย4X ที่ติดกล้อยช่วยเล็งเล็ก RMR เสริมครับ 


ปืนกระบอกนี้ส่วนตัวคิดว่าน่าสนใจที่สุดในงาน
เป็นงานวิจัยของกรมสรรพาวุธทหารบกที่นำ ปลย.๑๑ HK33 มาดัดแปลงเป็นปืนเล็กสั้น พร้อมติดอุปกรณ์เสริมทั้งสมัยทั้งราง Picatinny ท่อเก็บเสียง และกล้องเล็ง
ตัวปืนที่มาตั้งแสดงเป็นเพียงแบบจำลองเพราะจับยกดูแล้วเบาหวิวอย่างกับปืนเด็กเล่นไม่มีกลไกโลหะข้างในเลย
ถ้าผลิตออกมาใช้งานได้จริงไม่เป็นเพียงแค่งานวิจัยเท่านั้นก็จะดีครับ

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สเปนชนะในโครงการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกของตุรกี

http://www.ssm.gov.tr/anasayfa/hizli/duyurular/PressReleases/Sayfalar/20131227_LPDBasinBildiri.aspx

Undersecretariat for Defence Industries (SSM) หน่วยงานด้านอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงในสังกัดกระทรวงกลาโหมตุรกี
ได้เลือกแบบเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD)แบบใหม่สำหรับกองทัพเรือตุรกีคือแบบเรือ Juan Carlos จากบริษัท Navantia สเปน
เหนือผู้เข้าแข่งขันแบบอื่นเช่น ชั้น Dokdo จากเกาหลีใต้ และ RMK Marine ของตุรกีเอง
โดยจะมีการต่อเรือ LPD 1ลำ พร้อมเรือ LCM 4ลำ เรือ LCVP 2ลำ เรือผู้บังคับการ และเรือ RHIB อย่างละ ๑ลำ
บรรทุกยาน AAV ได้ 27คัน จากอู่ลอย พร้อมลานจอด ฮ.ขนาดใหญ่ มี Ski-jump รองรับอากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง
มูลค่าโครงการราว $1.7 billion พร้อมการถ่ายทอด Technology ครับ

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

BAE Systems ได้สัญญาการปรับปรุง F-16 ของเกาหลีใต้

http://www.theguardian.com/business/2013/dec/23/bae-systems-contract-south-korea-f16-texas

BAE Systems ได้รับสัญญาวงเงิน 611 million Pound สำหรับการปรับปรุงฝูงบิน F-16 ของกองทัพอากาศเกาหลีใต้ราว 130เครื่อง
ในการปรับปรุงห้องนักบินใหม่ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบแสดงผล และระบบตรวจจับใหม่
เป็นสัญญาใหญ่ของบริษัทอาวุธอังกฤษหลังจากได้ได้สัญญาจาก UAE ไป
ซึ่งการปรับปรุงนั้ได้รับอนุญาตจากทางสหรัฐฯโดยจะมีการจ้าคนงานราว 300คนที่โรงงาน Fort Worth รัฐTexas สหรัฐฯ เพื่อการปรับปรุงนี้ครับ

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Defense&Security 2013:ระบบอาวุธปืน-1

งาน Defense&Security 2013 ที่ผ่านไปเมื่อวันที่ 4-7 พฤศจิกายนที่ผ่านมาบริษัทอาวุธปืนจากหลายๆประเทศมาแสดงในงาน
ซึ่งจะค่อยๆนำมาทยอยลงครับ





ส่วนจัดแสดงของ IWI อิสราเอลมีการนำปืนแบบต่างๆมาจัดแสดง เช่น
ปืนพกตระกูล Jericho
ปืนเล็กยาว Tavor แบบใหม่ๆอย่างรุ่นหลังแบนเป็นราง picatinny ยาว
TAVOR GTAR ติด ค.M203 ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเมื่อไรกองทัพบกจะจัดหามาแทน M16 ติด M203 ที่ใช้ในหน่วยที่ได้รับ Tavor มานานแล้วเสียทีจะใช้ปืนแบบเดียวกันทั้งหน่วยเสียที
แต่เท่าที่ได้ลองจับดู ศูนย์เล็ง ค.ที่หลังกล้อง Mepro 21 ค่อนข้างใช้งานได้ดี แต่น้ำหนักสมดุลปืนค่อนข้างหนักทางหัวปืนและเทไปท้ายปืนมากไม่สะดวกในการประทับยิงเท่า M16ติดM203
Tavor Flattop รุ่นติดกล้องเล็งพิเศษ กับ Gilil รุ่นติดกล้องเล็งพิเศษ ซึ่งตัวกล้องปิดไว้ไม่ได้ให้ลองใช้งาน
ปืนกลมือ UZi Pro จับกระชับมือ
ปืนเล็กสั้น ACE 31 ใช้กระสุน 7.62x39 ของ AK-47
ปืนเล็กกล Negev มีน้ำหนักดีจับได้ค่อนข้างถนัดมือถือว่าดีสำหรับกลุ่มปืนเล็กกลขนาด 5.56mm NATO




ปืนจาก CZ สาธารณรัฐเชคมีไม่มาแสดงไม่มากนักแต่ก็มีที่น่าสนใจ เช่น
ปืนพกขนาดต่างๆซึ่งก็มีผู้ใช้ในไทยพอสมควร
ปืนกลมือ Scorpion Evo3 A1 ขนาด 9x19mm ขนาดเหมาะมือน้ำหนักดีจับกระชับมือ เห็นมีข้อมูลว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดหาไปใช้แล้วจำนวนหนึ่ง
และปืนเล็กยาว CZ-805 BREN ขนาด 5.56mm NATO รุ่นใหม่ล่าสุด รูปทรงทันสมัยน้ำหนักตัวปืนดีจับได้ค่อนข้างเหมาะมือ
ซึ่งส่วนตัวคิดว่าปืนของ CZ เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจจะให้หน่วยต่างๆของไทยนำมาลองทดสอบใช้ดูนอกเหนือจากปืนยี่ห้อดังๆรายอื่น




ส่วนจัดแสดงของ Beretta มีปืนมาจัดแสดงไม่ค่อยมากนอกจาก เช่น
ปืนพกตระกูล PX4 แล้วก็มี ปืนเล็กสั้น CX4 และปืนกลมือ MX4 ที่ใช้กระสุน 9x19mm
กับเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด40mm GLX160 ที่กองทัพบกจัดหาให้ทหารพรานในชายแดนภาคใต้ใช้
ส่วนปืนเล็กยาว ARX160A1 ไม่ทราบว่าหายไปไหน

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จีนมีแผนสร้างเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่

http://military.china.com/important/11132797/20131119/18157844.html

แหล่งข่าวจากจีนอ้างถึงคำสำภาษณ์ของพลเรือตรี Yin Zhuo นายทหารกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนและศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยประชาชนว่า
กองทัพปลดปล่อยประชาชนมีแผนจะต่อเรือยกพลขึ้นบกจู่โจมบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LHA:Landing Helicopter Assault)ระวางขับน้ำปกติ 40,000-45,000ตัน
ซึ่งอาจจัดเป็นเรือ LHA ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยใหญ่พอๆหรือใหญ่กว่าเรือชั้น Tarawa ที่กองทัพเรือสหรัฐฯกำลังจะปลดและเรือชั้น America
โดยเรือ LHA ของจีนสามารถบรรทุกนาวิกโยธินได้ 1,000นายไปที่ไหนก็ได้ในพิสัย7,000-8,000km โดยจะมีการต่อเรือแบบนี้ 3-6ลำหลังปี 2020 ไปครับ

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จีนประกาศจะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินขนาด 110,000ตัน

Beijing, Dec. 22 China has declared it is building a nuclear-powered aircraft carrier. The size of the carrier will be huge enough to rival the biggest in United States naval service in the first move of a major new arms race.
According to China Daily, Chinese website qianzhan.com said 'top People's Liberation Army' sources as saying the 110,000-ton aircraft carrier should be launched by 2020.

The news follows rising tensions in the South and East China Seas.
The design of the carrier is reportedly based on drawings from the former Soviet Union of a nuclear-powered, 80,000 ton vessel capable of carrying 60 aircraft, the report added.

http://news.yahoo.com/china-developing-11-0000-ton-39-super-aircraft-092729535.html

แหล่งข่าวจากจีนรายงานว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนประกาศจะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินขนาด 110,000ตัน ให้เสร็จภายในปี 2020
ซึ่งถือเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่เทียบเท่ากับเรือบรรทุกเครื่องบินที่สหรัฐฯมีในปัจจุบัน

ปัจจุบันจีนเพิ่งจะประจำการเรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning ซึ่งเป็นเรือชั้น Admiral Kuznetsov เดิมของอดีตสหภาพโซเวียตที่ต่อไม่เสร็จ
โดยซื้อต่อจากยูเครนในช่วงปี1990s นำมาสร้างใหม่จนเสร็จสมบูรณ์ มีขนาดระวางขับน้ำ 80,000ตัน บรรทุกอากาศยานได้60เครื่อง

ซึ่งการทดสอบปฏิบัติการร่วมกับหมู่เรือในแถบทะเลจีนใต้เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่เรือลาดตระเวนชั้น Ticonderoga ของกองทัพเรือสหรัฐฯ
คือ CG-63 USS Cowpens กำลังติดตามหมู่เรือบรรทุกเครื่องบินจีน
เรือสหรัฐฯได้รับการแจ้งเตือนจากเรือจีนให้หยุดเรือแต่เรือสหรัฐฯปฏิเสธเนื่องจากถือว่าตนเดินเรือในน่านน้ำสากล
ดังนั้นเรือยกพลขึ้นบกของจีนลำหนึ่งจึงเดินเรือเข้าหักลำขวาง USS Cowpens ในระยะประชิดเรือสหรัฐฯต้องหันเรือฉกาจจนเกือบจะชนกันกลางทะเล
นับเป็นความตึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างสองประเทศมหาอำนาจครับ

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Lockheed Martin ได้รับสัญญาปรับปรุง F-22

Lockheed wins $562 million contract to modify F-22 fighter
http://www.reuters.com/article/2013/12/21/lockheed-f-idUSL2N0K000620131221

Lockheed Martin ได้รับสัญญาจ้างวงเงิน $562 million จากกลาโหมสหรัฐฯเป็นเวลา9เดือน ในการปรับปรุง F-22
ซึ่งรวมการซ่อมบำรุงและเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบครับ

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บังคลาเทศซื้อเรือดำน้ำชั้น Ming มือสองจากจีน

'B'desh finalises deals with China for 2 submarines

By Anisur Rahman ? ??

Dhaka, Dec 20 (PTI) Bangladesh has finalised a deal to buy two submarines from China as part of its plans to develop a three-dimensional navy,

according to a media report today.

The two Ming-class submarines are expected to strengthen the navy's ability to protect maritime resources and territorial waters, the New Age

newspaper quoted unidentified officials as saying.

"The state-to-state deal would cost Bangladesh Taka 1,600 crore or USD 203.

http://www.ptinews.com/news/4252956_-Bangladesh-finalises-deals-with-China-for-2-submarines.html

บังคลาเทศบรรลุข้อตกลงในการเจรจาจัดซื้อเรือดำน้ำชั้น Ming มือสองจากจีนจำนวน 2ลำ วงเงิน $203 million
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากองทัพเรือบังคลาเทศให้ครอบคลุมทั้งสามมิติ


เรือดำน้ำชั้น Type 035 Ming ซึ่งมีพื้นฐานแบบมาจากเรือดำน้ำชั้น Romeo ของโซเวียต
เป็นเรือดำน้ำยุคเก่าประจำการมาตั้งแต่ช่วงปี 1970s ซึ่งถือว่าล้าสมัยมากแล้วในปัจจุบัน
และเรือดำน้ำชั้นนี้ของจีนยังเคยมีรายงานอุบัติเหตุร้ายแรงเช่นกรณีเรือหมายเลข361 ซึ่งลูกเรือเสียชีวิตทั้งลำในปี 2003

อย่างไรก็ตามการจัดหาเรือดำน้ำ Ming มือสองของบังคลาเทศคาดว่าจะทำให้พม่าซึ่งเป็นประเทศที่มีข้อขัดแย้งทางทะเลกันนั้นจัดหาเรือดำน้ำตามโดยเร็วตามแผนที่วางไว้หลังจากที่ส่งกำลังพลจากกองทัพเรือพม่าไปฝึกองค์ความรู้ที่ปากีสถานครับ

AirMule UAV ประสบความสำเร็จในการทดสอบการบิน


บริษัท Urban Aeronautics จากอิสราเอลได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบการบิน UAV แบบขึ้นลงทางดิ่ง AirMule
ซึ่ง AirMule ผ่านการทดสอบขั้นต้นตามแผนไปแล้วหลายส่วนเช่น การบินแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบตั้งแต่การขึ้นบินไปตามเส้นทางการบินที่กำหนดและลงจอด
การทดสอบแบบเต็มรูปแบบขั้นต่อๆไปจะเริ่มต้นในปีหน้าครับ

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Gripen NG เป็นผู้ชนะในโครงการ F-X2 ของบราซิล

http://www1.folha.uol.com.br/poder/2013/12/1387333-dilma-decidiu-pela-aquisicao-de-cacas-suecos-para-a-fab.shtml

หลังจากมีการเลื่อนการพิจารณามานานหลายปีสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-X2ก็มีข่าวออกมาจากสื่อบราซิลว่า
ประธานธิบดีบราซิล Dilma Rousseff รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมบราซิล และผู้บัญชาการกองทัพอากาศบราซิล
ได้ประกาศว่าเครื่องที่ชนะในการแข่งขันคือ SAAB Gripen NG จากสวีเดน
เหนือตัวเต็งอย่าง Rafale จากฝรั่งเศสที่มีความใกล้ชิดด้านความมั่นคงกับบราซิลและขายอาวุธให้บราซิลหลายรายการ
และ Boeing F/A-18E/F จากสหรัฐฯ(ซึ่งมีปัญหากับบราซิลเรื่องถูกเปิดเผยว่า NSA ดังฟังโทรศัพท์ประธานาธิบดีบราซิล)

โครงการ F-X2 ของกองทัพอากาศบราซิลเพื่อจัดหารเครื่องบิขับไล่แบบใหม่ทดแทน Mirage 2000 ในจำนวนราว 36เครื่อง
เริ่มต้นโครงการมาตั้งแต่ชื่อ F-X ในปี 2001 ระงับไปและเริ่มใหม่ในชื่อ F-X2
มีเครื่องรวมแข่งขันหลายแบบตั้งแต่ Typhoon, Su-35, F-16 จนเหลือแบบเครื่องสามแบบในข้างต้น
ซึ่งการที่กองทัพอากาศบราซิลเลือก Gripen NG นับเป็นความสำเร็จในการส่งออกครั้งใหญ่อีกครั้งของ SAAB
นับจากที่สวิสเซอร์แลนด์เลือกจัดหา Gripen E/F จำนวน 22เครื่องไปครับ

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อังกฤษเปิดเผยแบบแผนโครงการเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้นใหม่

First glimpse of new nuclear submarines
http://www.telegraph.co.uk/news/uknews/defence/10520896/First-glimpse-of-new-nuclear-submarines.html

กระทรวงกลาโหมอังกฤษได้เปิดเผยการลงนามสัญญาการออกแบบเรือดำนิวเคลียร์แบบใหม่กับ BAE Systems มูลค่า 47 million Pound และ 32 million Pound รวม 79 million Pound
ซึ่งเรือดำน้ำนิวเคลียร์แบบใหม่ดังกล่าจะนำมาทดแทนเรือดำน้ำติดขีปนาวุธชั้น Vanguard ที่เข้าประจำการมาตั้งช่วงปี 1990s
โดยเรือดำน้ำนิวเคลียร์แบบใหม่จะมีคุณสมบัติตรวจจับได้ยากมากขึ้นและติดตั้งระบบที่ทันสมัยต่างๆ คาดว่า BAE Systems จะเริ่มงานขั้นต้นเพื่อให้เรือเข้าประจำการได้ในปี 2028 ครับ

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ญี่ปุ่นมีแผนจัดหาอาวุธใหม่เพิ่มจำนวนมาก

http://sankei.jp.msn.com/politics/news/131214/plc13121408280004-n1.htm

ตามแหล่งข่าวภายในประเทศอ้างว่ากระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นมีแผนจะจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่สำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทั้งสามเหล่าจำนวนมาก
โดยมีการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเป็นวงเงิน $11.5 Billion ซึ่งแผนการจัดหาอาวุธในช่วงปี 2014-2018 มีเช่น

เครื่องบิบลำเลียงใบพัดกระดก MV-22 Osprey 17เครื่อง
รถเกราะลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AAV-7A1 52คัน
รถถังหลัก Type 10 44คัน
รถหุ้มเกราะล้อยางติดปืนใหญ่ต่อสู้รถถัง Maneuver Combat Vehicles 99คัน

เรือพิฆาต Aegis 2ลำ
เรือปฏิบัติการรบชายฝั่ง Littoral Combat Ship 8ลำ
เรือดำน้ำ 5ลำ
เครื่องบินลาดตระเวนปราบเรือดำน้ำ Kawasaki P-1 21เครื่อง

เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-767 หรือ KC-46 3เครื่อง
อากาศยานไร้คนขับลาดตระเวน Global Hawk Block 40 3เครื่อง
เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนภัยทางอากาศ(AEW&C ) E-737 หรือ E-2D 4เครื่อง
เครื่องบินลำเลียงไอพ่น Kawasaki C-2 10เครื่อง
เครื่องขับไล่ F-35A 28เครื่อง

จะเห็นได้ว่ากองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นมีแผนเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการเชิงรุกและการรบแบบสะเทินน้ำสะเทินบกมากขึ้น
ซึ่งน่าจะเพื่อเป็นการรับมือกับจีนในพื้นที่พิพาททางทะเลครับ

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Defense&Security 2013:ส่วนจัดแสดงของบริษัทจากเกาหลีใต้

งาน Defense&Security 2013 ที่ผ่านไปเมื่อวันที่ 4-7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ส่วนจัดแสดงงานของบริษัทจากสาธารณรัฐเกาหลีเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดส่วนหนึ่งและตั้งอยู่ด้านหน้าสุดของงาน
(ถ้าไม่นับ SAAB สวีเดนที่อยู่หน้าประตูเข้างานเลย)
มาดูตัวอย่างกันครับว่ามีบริษัทจากเกาหลีมาแสดงอะไนบ้าง










ส่วนจัดแสดงของของ DSME มีแบบจำลองของเรือฟริเกตสมรรถนะสูง DW3000H ที่กองทัพเรือไทยเลือกจัดหา
ตั้งคู่กับแบบจำลองเรือดำน้ำ DSME1400T ที่กองทัพเรืออินโดนนีเซียเลือกจัดหาไป 3ลำ(ส่งมอบปี 2015-2016)
รวมถึงแบบจำลองเรืออื่นๆของบริษัท DSME ซึ่งหลายแบบได้รับการจัดหาจากกองทัพเรือเกาหลีใต้เองและต่างประเทศแล้ว
เช่น เรือส่งกำลังบำรุง LSV ที่กองทัพเรือนอร์เวย์และกองทัพเรืออังกฤษลงนามสัญญาจัดหา

การสอบถามรายละเอียดระบบต่างๆของตัวแทนบริษัท DSME ประจำส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับเรือฟริเกตใหม่ของไทยไม่ค่อยได้อะไรมากนัก
อาจจะเพราะภาษาอังกฤษสำเนียงเกาหลีที่ฟังค่อนข้างยาก(เป็นทุกบริษัทที่คุยด้วย) และข้อมูลที่ได้่ก็แค่ว่า
"ระบบต่างๆ(ของเรือ)เป็นไปตามความต้องการของกองทัพเรือไทย"




DOOSAN เป็นบริษัทผลิต รถรบยานเกราะ ชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่รายใหญ่ของเกาหลีใต้
ผลงานสำคัญก็เช่นรถรบทหารราบ K21
กับชิ้่นส่วนระบบต่างๆของรถถังหลัก K1A1 ปืนใหญ่อัตตาจร K9 และรถจ่ายกระสุน K10 และ
(ตัวแทนบริษัทชวนคุยยังกับว่าผมจะมาทำสัญญาซื้อรถรบกับอะไหล่กับเขา)




กล้องเล็งปืนแบบต่างๆจากบริษัท Dong In Optical
กล้องตัวที่น่าสนใจที่สุดคือกล้อง DCL120 ที่จอศูนย์กระจกเล็งใหญ่มาก
มีข้อดีคือไม่ต้องหรี่ตาข้างหนึ่งเวลามองกล้อง แล้วทาบศูนย์เล็งเหนี่ยวไกได้ทันได้เลย
กล้องช่วยเล็งแบบต่างๆน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีนอกจากกล้องยี่ห้องดังและแพงอื่นๆ
http://www.donginoptical.com



บริษัทผลิตกระสุนและวัตถุระเบิด POONSAN และ Hanwha





ส่วนจัดแสดงของ Samsung มีระบบที่น่าสนใจหลายๆอย่างเช่น
ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง EVO-105 มีมีข่าวว่ากองทัพไทย(ไม่ทราบเหล่า)ให้ความสนใจ
ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 และรถจ่ายกระสุน K10
และจรวดนำวิถี 70mm LOGIR(Low-Cost Guided Imaging Rocket) ที่สามารถติดกับรถยนต์โดยสารขนาดเล็กสี่ล้อได้

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อิรักลงนามสัญญาจัดหา T-50 จากเกาหลีใต้

Iraq signs $1.1 bn deal to buy S. Korean fighters

Seoul (AFP) - Iraq signed a $1.1 billion deal Thursday to buy 24 multi-role light fighters from South Korea, officials said, in what will be the Asian nation's biggest arms export.

Korea Aerospace Industries (KAI) said it would deliver the T-50IQ, a variant of its T-50 supersonic aircraft, to Baghdad between 2015 and 2016, under the terms of the deal signed in Seoul.

The company also said it expected to sign an additional $1.0 billion deal in 2014 to provide parts, equipment and pilot training for 20 years.

http://news.yahoo.com/iraq-signs-1-1-bn-deal-buy-korean-085703625.html



กองทัพอิรักยังมีการจัดหาอาวุธเพื่อฟื้นฟูกองทัพยุคใหม่หลังการถอนกำลังทหารสหรัฐฯออกไปอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดรัฐบาลอิรักได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50IQ จาก KAI เกาหลีใต้จำนวน 24เครื่องวงเงิน $1.1 billion
และอาจจะมีการลงนามสัญญาเพิ่มเติมอีก $1 billion ในปี 2014 สำหรับชิ้นส่วนอะไหล่ อุปกรณ์เพิ่มเติมและการฝึกนักบินเป็นเวลา 20ปี
โดยทาง KAI จะส่งมอบ T-50IQ ให้กองทัพอากาศอิรักได้ในช่วงปี 2015-2016 ซึ่งนับเป็นการส่งออกอาวุธครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่งในรอบปีนี้ของเกาหลีใต้

T-50IQ นั้นชนะการแข่งขันการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบใหม่ของอิรักเหนือ Yak-130, Hawk 128 และ L-159 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รัสเซียส่งเครื่องบินขับไล่ชุดแรกเข้าประจำฐานบินในเบลารุส

Russia Sends First Fighter Jets to Belarus Base

MOSCOW, December 9 (RIA Novosti) – A Russian fighter jet unit has arrived at a Belarusian airbase where it will be stationed on alert duty as part of an integrated regional air defense network, Belarusian news agency BelaPAN reported.

Four Russian Air Force Sukhoi Su-27 Flanker fighter jets and technical personnel have been based at the Baranovichi airbase, BelaPAN said on Sunday.

The Russian Defense Ministry recently announced plans to deploy a fighter jet regiment in Belarus by 2015. The majority of the planes will be stationed at a future Russian airbase in Lida, a town in northwestern Belarus, near the Polish and Lithuanian borders.

The airbase will be Russia’s first on Belarusian territory in modern times and will consolidate defense cooperation under the auspices of the Union State of Russia and Belarus, defense officials in Moscow have said.

European defense officials have bristled at evidence of Russia’s increased military deployments close to NATO’s border, claiming it fuels tension with former Communist bloc countries in Central Europe and the Baltic States.

But Moscow has repeatedly said Russian-Belarus defense ties are a legitimate effort to ensure a solid defense for the countries’ Union State.

Russia and Belarus signed an agreement on the joint protection of the Union State's airspace and the creation of an integrated regional air defense network in February 2009.
The network reportedly comprises five air force units, 10 air defense units, five technical service and support units, and one electronic warfare unit.

It is part of the integrated air defense network of the Commonwealth of Independent States, a loose alliance comprising nine post-Soviet nations.

http://en.ria.ru/military_news/20131209/185396200/Russia-Sends-First-Fighter-Jets-to-Belarus-Base.html

กองทัพอากาศรัสเซียได้ส่งเครื่องบินขับไล่ Su-27 4เครื่องพร้อมเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคเข้าประจำที่ฐานทัพอากาศ Baranovichi ในเบลารุส
ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการตั้งเครือข่ายป้องกันภัยทางอากาศใหม่ของกระทรวงกลาโหมรัสเซียร่วมกับเบลารุส ในนามสหภาพรัฐรัสเซียและเบลารุส(Union State of Russia and Belarus)
โดยแผนหลักคือการวางกำลังกรมบินในฐานทัพอากาศรัสเซียที่เมือง Lida ทางตะวันตกเฉียงเหนือใกล้พรมแดนโปแลนด์และลิธัวเนียในปี 2015
นี่เป็นคั้งแรกหลังการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียตที่รัสเซียได้วางกำลังทางอากาศในกลุ่มประเทศเครือจักรภพรัฐอิสระ(Commonwealth of Independent States)
ที่ดูจะเป็นการตอบโต้การวางกำลังทางอากาศของ NATO ในประเทศกลุ่มบอลติกและยุโรปกลางพรมแดนตะวันตกของรัสเซีย
ตามแผนรัสเซียจะมีการขยายการวางกำลังทางอากาศ 5หน่วย ระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดิน 10หน่วย 5 หน่วนสนับสนุน และ1หน่วยสงครามElectronic
เพื่อให้ระบบเครือข่ายป้องกันภัยทางอากาศใหม่มีความสมบูรณ์มากขึ้นครับ

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อิสราเอลจัดซื้อเรือรบใหม่จากเยอรมนี 2ลำ

http://www.haaretz.com/news/national/.premium-1.562081

อิสราเอลและเยอรมนีลงนามในข้อตกลงมูลค่าประมาณ 1 billion Euros ในการจัดหาเรือรบใหม่จำนวน 2ลำ
ซึ่งกองทัพเรืออิสราเอลจะใช้เรือนี้ในภารกิจลาดตระเวนเพื่อคุ้มกันแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเช่นแหล่งก๊าซธรรมชาติใต้ทะเล
ยังไม่มีข้อมูลแบบแผนเรืออกมาในตอนนี้แต่คาดว่าแบบเรือน่าจะเป็นเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถี
โดยเคยมีข่าวว่าอิสราเอลให้ความสนใจแบบเรือ LCS ชั้น Freedom ของสหรัฐมาก่อนฯ แต่ในที่สุดก็เลือกเรือเยอรมนี
ตามความต้องการแล้วอิสราเอลต้องการเรือใหม่ 4ลำครับ

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Boeing และ SAAB ร่วมมือสำหรับโครงการ T-X กองทัพอากาศสหรัฐฯ

Boeing, Saab team up for USAF T-X requirement

2013 december 06

Boeing and Saab will work together to develop a new advanced jet trainer for the planned T-X programme to replace the US Air Force's venerable Northrop T-38C Talon.

Under the two companies' joint development agreement, Boeing will act as the prime contractor and Saab the primary partner, Boeing said in a statement. The partnership will deal with all aspects of the bid, including design, development, production, support, sales and marketing.

Boeing says the trainer aircraft that they will propose will be a “completely new designed aircraft, built to meet the needs of the air force”.

“Boeing and Saab look forward to the upcoming acquisition process, which will lead to the customer awarding the contract,” says Boeing.

“The US Air Force T-X program will include aircraft and training that will prepare warfighters for the next 40 years. The Air Force plans to replace the T-38 with a new Advanced Pilot Training Family of Systems and about 350 aircraft, plus associated ground-based training systems and logistics and sustainment support.”

The T-X competition is likely to be among the USAF’s biggest acquisition programmes in the coming decade. The USAF strategy for the T-X is still evolving. The service had released proposed requirements for an off-the-shelf aircraft, with the Korea Aerospace/Lockheed Martin T-50, AleniaAermacchi T-100 derivative of the M-346 and the BAE Systems Hawk T2 each expressing interest.

The Boeing/Saab partnership for T-X raises the strong possibility that the pair’s offer will draw heavily on the Swedish company’s single-engined Gripen fighter.

http://www.flightglobal.com/news/articles/boeing-saab-team-up-for-usaf-t-x-requirement-393868/

ภายใต้ข้อตกลงร่วมระหว่าง Beoing สหรัฐฯ และ SAAB สวีเดน ในการพัฒนาเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบใหม่ที่จะเข้าแข่งขันในโครงการ T-X เพื่อทดแทน T-38 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯนั้น
Boeing จะทำหน้าที่เป็นประธานผู้รับสัญญาหลักโดยมี SAAB เป็รหุ้นส่วนหลัก ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนในการแข่งขัยจะร่วมการออกแบบ พัฒนา การผลิต การสนับสนุน การขาย และการตลาดครบ
ทั้งนี้ Boeing กล่าวว่าเครื่องบินฝึกแบบใหม่ที่จะนำเสนอในโครงการ T-X นั้น เป็นเครื่องที่จะออกแบบใหม่หมดทั้งลำโดยสร้างตามความต้องการของกองทัพอากาศสหรัฐฯ

โครงการ T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯมีความต้องการ บ.ฝึกไอพ่นใหม่ทดแทน T-38 Talon ที่ใช้มากว่า 40ปี ร่วม 350เครื่อง พร้อมระบบสนับสนุนพร้อม
เครื่องที่มีบริษัทต่างเป็นตัวแทนส่งเข้าแข่งขันก็มี T-50 Golden Eagle จาก Lockheed Martin และ KIA เกาหลีใต้, T-100 ที่พัฒนาจาก M-346 ของ AleniaAermacchi  อิตาลี และ Hawk T2 ของ BAE Systems อังกฤษ
การที่ Boeing และ SAAB จะเสนอแบบเครื่องบินฝึกไอพ่นที่ออกแบบใหม่หมดและยังไม่มีเครื่องต้นแบบมาก่อนถือเป็นงานที่หนักมากในการแข่งขันครับ

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ถ้ากองกำลังชนกลุ่มน้อยในพม่าจะจัดหารถถัง ปืนใหญ่ หรืออากาศยานรบ

เคยมีคำถามอยู่นานแล้วว่าสันติภาพจากการลงนามสัญญาหยุดยิงระหว่างรัฐบาลพม่ากับกองกำลังติดอาวุธชนกลุ่มน้อยหลายสิบกลุ่มนั้นเป็นสันติภาพที่ค่อนข้างจะเปราะบาง
จะเห็นได้จากที่ว่าทุกวันนี้ก็ยังมีการปะทะกันประปราย เช่น รายงานจาก SSA ที่ปะทะกับทหารพม่าบ้างเป็นต้น

คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตแล้วคือกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มใหญ่ที่จำนวนกำลังคนและเงินทุนพอสมควรมีขีดความสามารถที่จะจัดหาอาวุธสงครามหนัก
เช่น รถหุ้มเกราะ รถถัง ปืนใหญ่สนาม จนถึงอากาศยานรบ เช่น ฮ.ติดอาวุธ ยัน เครื่องบินขับไล่ นั้น
มีความเป็นไปได้เแบบเดียวกับที่กองกำลังพยัคฆ์ทมิฬอีแลมเคยมีได้หรือไม่

คำตอบคือมีทั้งความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ครับ

บางท่านอาจจะได้เห็นตัวอย่างของกลุ่ม UWSA หรือว้าแดงมาแล้วว่ามีข่าวลงในสื่อต่างประเทศเช่น Jane's ว่าอาจมีการจัดหา ฮ.Mi-17 ที่ผลิตในจีนซึ่งติดอาวุธได้
http://www.janes.com/article/23609/independent-reports-confirm-uwsa-helicopter-sighting
แต่นั่นก็ยังไม่ชัดเจนจนกว่าจะมีภาพเผยแพร่ออกมา
เพราะฉนั้นการจัดหาอาวุธสงครามขนาดหนักกว่าอาวุธประจำการและอาวุธยิงสนับสนุนของกองกำลังชนกลุ่มน้อยนั้นมีความเป็นไปได้อยู่

แต่ถึงจะมีเงินที่จะจัดหามาได้ปัญหาสำคัญหนึ่งคงจะเป็นเรื่องการขนส่งตัวอาวุธด้วยครับ
พื้นที่ยึดครองของกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มใหญ่ๆที่มีศักยภาพสูงเช่นกลุ่มไทยใหญ่ SSA นั้นอยู่บนภูเขาลึกและสูง
การจะขนส่งอาวุธหนักมากๆอย่างรถถังลงเรือจากต้นทางข้ามทะเลมาถึงปลายทางฐานกองกำลังจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้
เพราะกองทัพเรือพม่าคงไม่ปล่อยให้เรือขนอาวุธส่งให้กองกำลังชนกลุ่มน้อยเข้ามาในน่านน้ำและใช้ท่าเรือซึ่งอยู่ในเขตที่พม่าควบคุมได้หรอก

ส่วนการจะส่งทางอากาศนั้นก็ยากมาก
เท่าที่ทราบไม่มีกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มไหนครอบครองสนามบินขนาดใหญ่พอที่เครื่องบินลำเลียงหนักจะบินลงมาได้
และประการสำคัญถึงจะสร้างสนามบินได้จริงแต่ถ้ามีเครื่องบินขนส่งไม่ปรากฎสัญชาติทำการต้องสงสัยเข้ามาในน่านฟ้าพม่า
หรือจะมีการจ้างนักบินรับจ้างบินส่ง ฮ.หรือ บ.มาลงตรงๆ ก็ต้องผ่านน่านฟ้าประเทศต้นทางมาปลายทางอีกหลายต่อ
ซึ่งกองทัพอากาศพม่าก็ไม่มีทางปล่อยไว้แน่นอนครับ

อีกเรื่องคือเรื่องผู้สนับสนุนด้วย ในสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบัน
คงไม่มีประเทศมหาอำนาจประเทศไหนจะจัดส่งอาวุธหนักมากๆให้กองกำลังชนกลุ่มน้อยซึ่งดูโฉ่งฉางเกินไปแล้วครับ

เพราะฉนั้นคงจะเป็นไปได้ยากมากที่กองกำลังติดอาวุธชนกลุ่มน้อยจะมีรถเกราะ รถถัง ปืนใหญ่สนาม หรืออากาศยานรบใช้ครับ

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อาวุธปล่อยนำวิถี R-77M สำหรับ PAK FA จะเข้าสู่สายการผลิตในปี 2015

http://www.i-mash.ru/news/nov_otrasl/44702-pak-fa-ukomplektujut-cifrovymi-raketami.html

อาวุธปล่อยวิถีอากาศสู่อากาศแบบใหม่ R-77M จะพร้อมเข้าสู่สายการผลิตภายในปี 2015
ซึ่ง Detal ผู้ออกแบบอาวุธปล่อยจะไม่เริ่มการผลิตจนกว่าจะถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015

R-77M เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศรุ่นใหม่ที่จะเป็นอาวุธหลักของเครื่องขับไล่ยุคที่5 PAK FA
โดยระบบนำวิถี Radar ค้นหาเป้าหมายของ R-77M นั้นจะประกอบด้วย AESA Radar จำนวน 64ตัว
และมีความสามารถในการต่อตีเป้าหมายอากาศในระยะไกลได้ทุกท่าการบิน
ซึ่งนับเป็นระบบที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่งที่มีการพัฒนามาครับ


วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แองโกลาอาจจะซื้อเรือบรรทุกเครื่องบิน Principe das Asturias ต่อจากสเปน

http://www.passarodeferro.com/2013/12/angola-compra-porta-avioes-principe-das.html

มีข่าวลือจากแหล่งข่าวกล่าวว่าสาธารณรัฐแองโกลาซึ่งเป็นประเทศแถบแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้
มีแผนจะจัดซื้อเรือบรรทุกเครื่องบิน Principe das Asturias มือสองจากสเปนที่เพิ่งจะปลดประจำการลงไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2013 นี้

เรื่องนี้มีข้อสงสัยอยู่มากเพราะกองทัพเรือแองโกลานั้นมีกำลังพลประจำการเพียง 1,000กว่านาย
กำลังทางเรือหลักส่วนใหญ่เป็นเรือเร็วโจมตีจากโซเวียตที่ค่อนข้างล้าสมัย และเรือตรวจการใกล้ฝั่งและชายฝั่ง
และมีอากาศยานลาดตระเวนทางทะเล เช่น Fokker F27 และ Embraer EMB 110 ไม่กี่ลำเท่านั้น
การจัดหาเรือบรรทุกเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่งมือสองพร้อมกับต้องจัดหาอากาศยานใหม่มาเพิ่มเพื่อใช้กับเรือนั้นดูเป็นสิ่งที่เกินตัวมาก
จึงมองว่าข่าวลือนี้มีความเป็นไปได้น้อยว่าจะจริงครับ

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สิงคโปร์จะจัดหาเรือดำน้ำแบบ Type 218SG จากเยอรมนี 2ลำ

Singapore to acquire two submarines from German firm
http://www.nst.com.my/latest/singapore-to-acquire-two-submarines-from-german-firm-1.419154

หนังสือพิมพ์ New Straits Times มาเลเซียรายงานข่าวว่า
รัฐมนตรีกลาโหมสิงค์โปร์ได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำ Type 218SG (U218SG) 2ลำจากบริษัท ThyssenKrupp Marine Systems เยอรมนี เมื่อ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
เรือดำน้ำดังกล่าวจะถูกนำมาเข้าประจำการแทนเรือชั้น Challenger 4ลำหรือ A12 Sjoormen มือสองเดิมที่จัดหามาจากสวีเดนในปี 1997-2001
ซึ่งType 218SG จะติดตั้งระบบที่ทันสมัยสูงเช่นระบบ AIP(Air Independent Propulsion) พร้อมการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และระบบบสนับสนุนในสัญญาจัดหา
โดยเข้าประจำการคู่กับเรือชั้น Archer 2ลำ หรือ A17 Vastergotland มือสองซึ่งเข้าประจำการในปี 2011(RSS Archer) และ 2013(RSS Swordsman)
คาดว่าเรือดำน้ำใหม่ทั้งสองลำจะเข้าประจำการภายในปี 2020 ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลงบประมาณโครงการ (แต่บางสื่อรายงานว่าราว 1.7 billion Euros)

เป็นที่น่าแปลกใจว่าที่ผ่านมากองทัพเรือสิงคโปร์เริ่มต้นการจัดหาเรือดำน้ำและใช้เรือดำน้ำที่เป็น Technology ของสวีเดนมาตลอด
ซึ่งก็เคยมีข่าวว่าสิงคโปร์สนใจจะร่วมโครงการเรือดำน้ำใหม่แบบ A26 ของสวีเดนมาก่อน
แต่การที่สิงคโปร์จะจัดหาเรือดำน้ำแบบ Type 218SG ซึ่งเป็นเรือที่ TKMS ออกแบบใหม่สำหรับกองทัพเรือสิงคโปร์โดยเฉพาะ
เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากครับว่าสิงคโปร์ได้เลือกแนวทาง Technology เรือดำน้ำจากเยอรมนีครับ
(ที่จริง Kockums AB สวีเดนที่ต่อและปรับปรุงเรือดำน้ำให้สิงคโปร์ก็อยู่ในเครือบริษัทเดียวกับ ThyssenKrupp Marine Systems)

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โปแลนด์ไม่เชื่อถือประสิทธิภาพของเรือดำน้ำเยอรมนี

http://www.thelocal.de/20131129/poland-gives-german-subs-thumbs-down

จากแหล่งข่าวที่สำนักข่าวเยอรมนีกล่าวในข้างต้นกล่าวว่า ทางโปแลนด์ไม่เชื่อมั่นว่าเรือดำน้ำเยอรมนีจะสามารถปกป้องชายฝั่งโปแลนด์ได้
สืบเนื่องจากวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมารัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนีและรัฐมนตรีกลาโหมโปแลนด์ได้ลงนามเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกัน
โดยจะจัดตั้งพื้นที่ปฏิบัติการในทะเลร่วมกันของกองทัพเรือทั้งสองประเทศซึ่งรวมถึงการอนุมัติการปฏิบัติการของเรือดำน้ำเยอรมนีในน่านน้ำโปแลนด์ด้วย

กองทัพเรือโปแลนด์มีความต้องการจะจัดหาเรือดำน้ำใหม่อย่างน้อย 3ลำภายในปี 2030 ซึ่งตามข้อมูลจากสื่อในโปแลนด์ช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาอ้างว่า
กระทรวงกลาโหมโปแลนด์อาจจะพิจารณาการเช่าเรือดำน้ำ U212A จากบริษัท ThyssenKrupp Marine Systems เยอรมนี 2ลำ
แต่ก็มีข้อโต้แย้งวิพากษ์วิจารณ์ในโปแลนด์มากเช่นกันว่าเรือดำน้ำของเยอรมนีไม่ได้ตรงความต้องการของโปแลนด์ไปเสียทุกข้อ
และดูเหมือว่าสัญญามูลค่าหลายร้อยล้าน Euros นี่จะไม่เปิดโอกาสให้ตัวเลือกเรือแบบอื่นด้วย (ดูเหมือนมีเพียง U212A เยอรมนี และScorpene จากDCNS ฝรั่งเศสเท่านั้น)
ซึ่งนั่นการเป็นประเด็นทางการเมืองภายในโปแลนด์ไปแล้วครับ

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อินเดียต้องการจัดหาเครื่องบินทะเล US-2i 15เครื่องจากญี่ปุ่น


http://www.financialexpress.com/news/india-to-acquire-15-us2i-aircraft-from-japan-after-defence-minister-s-visit/1199911

นาย Itsunori Onodera รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่นมีแผนจะเดินทางเยือนอินเดียในเร็วๆนี้เพื่อกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกันของทั้งสองประเทศ
หนึ่งในเรื่องนั้นคือการที่กองทัพเรืออินเดียต้องการจะจัดหาเครื่องบินทะเลแบบ US-2i จากญี่ปุ่น 15เครื่อง
US-2 เป็นเครื่องบินทะเลขนาดใหญ่สี่เครื่องยนต์ผลิตโดย ShinMaywa ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับภารกิจกู้ภัยทางทะเล
อินเดียและญี่ปุ่นมีแผนเจรจาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการบินร่วมกัน
ซึ่งก็รวมถึงการถ่ายทอด Technology เครื่องบินทะเล US-2i ซึ่งจะสร้างตามความต้องการของอินเดียด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

SM-6 เข้าสู่ระดับความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น

SM-6 Achieves Initial Operational Capability

November 26, 2013 2:44 PM

WASHINGTON - The Standard Missile-6 (SM-6) tactical missile has reached initial operation capability, the Navy announced in a Nov. 26 release, with SM-6s successfully loaded onboard guided-missile destroyer USS Kidd in San Diego.

The SM-6 is designed to provide naval vessels with extended range protection against cruise missiles, unmanned aerial vehicles and fixed and rotary wing aircraft.

“We’re very pleased to achieve [initial operational capability] on schedule,” said Capt. Mike Ladner, the major program manager of Surface Ship Weapons, whose portfolio includes SM-6. “The SM-6, with its ability to extend the battle space, truly improves shipboard air defense capability. I’m very proud of the entire Standard Missile team on this historic achievement.”

SM-6 has entered full-rate production and the program has already delivered 50 missiles ahead of schedule and under budget. Follow-on test and evaluation will continue into 2014 to validate the integrated fire control capability in an operationally realistic environment.

Program Executive Office for Integrated Warfare Systems, an affiliated program executive office of the Naval Sea Systems Command, manages surface ship and submarine combat technologies and systems and coordinates Navy enterprise solutions across ship platforms.

http://www.seapowermagazine.org/stories/20131126-sm6.html

กองทัพเรือสหรัฐฯได้ประกาศว่าอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ SM-6 ได้เข้าสู่ระดับความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(Initial Operational Capability)
โดยได้ทำการติดตั้ง SM-6 กับเรือพิฆาต DDG-100 USS Kidd ที่ฐานทัพเรือซานดิเอโก้
SM-6 เป็นระบบอาวุธปล่อยทางยุทธวิธีสำหรับเรือผิวน้ำซึ่งเพิ่มระยะยิงและประสิทธิภาพในการต่อต้านภัยคุกคามทางอากาศ ทั้งอากาศยานปีกตรึง อากาศยานปีกหมุน UAV และอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน
ทั้งนึ้ SM-6 ได้เข้าสู่สายการผลิตเต็มอัตราส่งมอบให้กองทัพเรือสหรัฐฯแล้ว 50นัดตามงบประมาณจัดหา
และจะมีการทดสอบระบบควบคุมการยิงในสภาวะการปฏิบัติการรบจริงต่างๆไปจนถึงปี 2014 ก่อนจะเข้าสู่ความพร้อมรบที่สมบูรณ์ครับ

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สเปนเปิดเผยแบบจำลองเรือฟริเกต F110

http://rpdefense.over-blog.com/2013/11/spain%E2%80%99s-revolutionary-new-frigate-the-f-110.html

Navantia สเปนเปิดเผยแบบจำลองเรือฟริเกตใหม่ F110 ซึ่งวางแผนจะนำม่ประจำการแทนเรือชั้น Santa Maria(Oliver Hazard Perry)ทั้ง 6ลำที่ใกล้จะปลดประจำการ
โดย F110 จะเป็นเรือที่มีสมรรถนะระหว่างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งแบบ BAM และเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Alvaro de Bazan
เรือฟริเกตแบบ F110 จะมีคุณสมบัติครบทั้งการทำภารกิจต่อต้านเป้าหมายผิวน้ำ ใต้น้ำ และอากาศ
รวมถึงรองรับปฏิบัติการของยานไร้คนขับผิวน้ำ USV และอากาศยานประจำเครื่องทั้งอากาศยานปีกหมุนและ UAV ด้วย
คาดว่าถ้ากองทัพเรือสเปนเลือกจัดหา F110 จะเข้าประจำการได้ในปี 2025 ครับ

Defense&Security 2013:ระบบต่อสู้อากาศยาน-1



ส่วนจัดแสดงของ Diehl BGT Defence ในงาน D&S 2013 นอกจากแบบจำลองตัวอาวุธปล่อยนำวิถี IRIS-T แล้ว
ยังมีแบบจำลองระบบแท่นยิง IRIS-T SLM และฐาน Radar แบบ SAAB Giraffe AMB ด้วยครับ
ซึ่งระบบดังกล่าวมีข้อมูลว่ากองทัพอากาศไทยสนใจจะจัดหามาประจำการครับ






CPMIEC จากจีนก็ไปออกส่วนจัดแสดงขนาดใหญ่ในงาน D&S 2013 ครับ ซึ่งระบบที่นำไปแสดงก็มีทั้งรถหุ้มเกราะล้อยางกันระเบิด
และแบบจำลอง ปตอ.ลจ.ขนาด 35mm แฝด ซึ่งก็มีข้อมูลว่ากองทัพบกกำลังจะวางแผนจัดหาระบบ ปตอ.ขนาด 35mm ทั้งแบบลากจูงอยู่
รวมถึงระบบ Radar และอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศนานาชนิดอย่าง HQ-9 หรือในชื่อส่งออก FD-2000 และ FL-3000N กับ FK-1000
ซึ่งเสนอจะขายพร้อมถ่ายทอดTechnology ให้ไทยด้วย
แต่ตรงนี้ก็ยังไม่ชัดเจนครับว่าการนำเสนอระบบดังกล่าวจะเป็นของเหล่าทัพใด และเป็นไปได้มากแค่ไหน


Rosoboronexport รัสเซียมี Pantsir-S1 ตั้งแสดง ซึ่งเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้ที่ได้รับความสนใจ ซึ่งรัสเซียส่งออกได้แล้วหลายประเทศครับ