วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ภาพประกอบนิยาย สารวัตรนักเรียนเดนนรก ภาคก่อนสถาปนาหมู่ที่๑๓ :บทส่งท้าย

จบชุดภาพประกอบนิยายเรื่องนี้แล้วครับ
สนใจอ่านนิยายฉบับบเต็มก็ตาม Link นี้ครับ
http://writer.dek-d.com/aagth1/writer/view.php?id=1212183

บทส่งท้าย
คุณสุวรรณศักดิ์ใช้เวลาพักใหญ่กับหุ่นตัวการ์ตูนสาวน้อยตัวนี้โดยไม่สนใจเซลีนที่มองเขาด้วยสายตาแปลกๆ

วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รัสเซียเสนอเครื่องบินโจมตี Su-24 ให้อาเจนตินา

UK reviews Falklands defence as Russia offers Su-24s to Argentina
The Su-24 has a potent anti-surface and anti-shipping capability, making it a serious threat to UK forces defending the Falkland Islands in the South Atlantic.
http://www.janes.com/article/47293/uk-reviews-falklands-defence-as-russia-offers-su-24s-to-argentina

หลังการเยือนอาเจนตินาของประธานาธิบดีรัสเซีย นาย Putin เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีข้อตกลงการแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตรของอาเจนตินาเช่น ข้าวสาลี และอื่นๆกับยุทโธปกรณ์รัสเซีย
โดยรัสเซียมีความต้องการสินค้าทางการเกษตรหลังจากถูกสหรัฐฯและสหภาพยุโรปคว่ำบาตทางเศรษฐกิจนั้นรัสเซียได้เสนอเครื่องบินโจมตี Su-24 มือสองจำนวน 12เครื่องให้อาเจนตินาในลักษณะเช่า-ยืม
เพื่อเพิ่มศักยภาพของกองทัพอากาศอาเจนตินาที่มีอากาศยานรบเก่าต้องปลดหลายแบบ เช่น เครื่องบินโจมตี A-4 Skyhawk เครื่องบินขับไล่ Mirage III และ Dagger ด้วย
Su-24 เป็นเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ ปีกปรับมุมลู่ได้ พิสัยทำการไกล ปฏิบัติการได้ทุกกาลอากาศ ซึ่งกองทัพอากาศรัสเซียนำเข้าประจำการตั้งแต่ช่วงปี 1970s และส่งออกไปบางประเทศ
ปัจจุบัน Su-24 ในกองทัพอากาศรัสเซียเองกำลังจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิด Su-34 ที่ทันสมัยกว่าและกำลังเปิดสายการผลิตตามความต้องการของรัสเซีย

ข้อมูลดังกล่าวนี้ทำให้กระทรวงกลาโหมอังกฤษได้ทำการวิเคราะห์ว่าถ้ากองทัพอากาศอาเจนตินาได้รับมอบ Su-24 จากรัสเซียจริงจะเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้อย่างมาก
เพราะ Su-24 มีรัศมีทำการรบไกลราว 1,046km ซึ่งพอสำหรับการเข้าโจมตีหมู่เกาะ Falklands ของอังกฤษ อีกทั้งยังสามารถติดตั้งอาวุธได้หลายแบบรวมน้ำหนักบรรทุก 3,000kg
เช่น ระเบิดธรรมดาตระกูล FAB ระเบิดนำวิถี Laser ตระกูล KAB อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นความแม่นยำสูงโดยเฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Kh-31A และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านRadar Kh-31P
ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามต่อเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth ที่จะเข้าประจำการในปี 2020 และจะมีความพร้อมรบในปี 2023 อย่างที่ไม่ควรประมาท

แต่อย่างไรก็ตามที่หมู่เกาะ Falklands นั้นอังกฤษได้นำกำลังทหารประจำการอยู่ราว 1,200นาย พร้อมอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Rapier และเครื่องบินขับไล่ Typhoon 4เครื่อง
รวมถึงกองเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของกองทัพเรืออังกฤษที่ทำการลาดตระเวนเป็นประจำในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ด้วย
การที่กองทัพอาเจนตินาซึ่งปัจจุบันค่อนข้างจะลดแสนยานุภาพไปมากจากอดีตคิดจะทำสงครามยึดหมู่เกาะ Falklands อีกอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป
ซึ่งแบบแผนของ Su-24 เองนั้นเป็นเครื่องโจมตีรุ่นเก่าที่ค่อนข้างจะล้าสมัยไปมากแล้ว ไม่น่าจะสามารถต่อกรกับ Typhoon หรือ F-35B Lightning II ของอังกฤษที่ทันสมัยกว่ามากได้ครับ

วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

UMS Kyansittha F12 เรือฟริเกตแบบ Stealth ของกองทัพเรือพม่า



Myanmar Navy Fitted Chinese C-802 Anti-Ship Missiles on its F12 - UMS Kyansittha Frigate 
http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/year-2014-news/december-2014-navy-naval-forces-maritime-industry-technology-security-global-news/2291-myanmar-navy-fitted-chinese-c-802-anti-ship-missiles-on-its-f12-ums-kyansittha-frigate.html

เรือฟริเกต F12 UMS Kyansittha (พระเจ้าจานสิตา) กองทัพเรือพม่าที่ต่อเองโดยอู่ Thilawa เป็นเรือรูปทรงตรวจจับได้ยาก Stealth ระวางขับน้ำราว 3,000tons
ที่ตัวเรือการนำระบบตรวจจับและอาวุธผสมระหว่างของจีนและรัสเซียและอื่นๆหลายแบบ เช่น




ปืนใหญ่เรือหลักที่น่าจะลอกแบบมาจาก OTO Melara 76/62 โดยแบบทรงคล้ายกับที่กองทัพเรืออิสราเอลและกองทัพเรือแอฟริกาใต้ใช้
ซึ่งที่เห็นภาพล่าสุดของเรือ F12 UMS Kyansittha นั้นจะเป็นรูปทรงป้อมปืน Stealth ตรวจจับได้ยากรุ่นใหม่ที่ติดในเรือแบบตะวันตกหลายชั้นในหลายประเทศ
ระบบป้องกันตัวระยะประชิดมี ปืนใหญ่กลหกลำกล้อง AK-630 ขนาด 30mm 4กระบอก
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-802A นัด และอาจจะติดอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ที่พัฒนาจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ TY-90
มี Torpedo ปราบเรือดำน้ำขนาด 324mm แฝดสาม Yu-7 สองแท่นยิง จรวดปราบเรือดำน้ำ แท่นยิงเป้าลวง มีลานจอด ฮ.พร้อมโรงเก็บ



ตามข้อมูลของ NAVY RECOGNITION ยังลงด้วยว่ากองทัพเรือพม่าได้ลงนามจัดหาระบบอุปกรณ์ Radar และ Sonar จาก Bharat Electronics และ DRDO อินเดียด้วย
ซึ่งตามข้อมูล F12 UMS Kyansittha เข้าประจำการในกองทัพเรือพม่าวันที่ 31 มีนาคม 2014
และเรือลำที่สองในชั้น F14 UMS Sinbyushin (พระเจ้ามังระ) ปล่อยลงน้ำเดือนมีนาคม 2014 เช่นกันและน่าจะเข้าประจำการในปี 2015 ครับ

AutoKrAZ ยูเครนส่งมอบรถบรรทุกหนัก KrAZ-6322 and KrAZ-63221 ให้อียิปต์ครบจำนวนที่จัดหา

AutoKrAZ of Ukraine has completed delivery of KrAZ-6322 and KrAZ-63221 military trucks to Egypt.
AutoKrAZ KrAZ-6322 6x6 military truck
http://www.armyrecognition.com/december_2014_global_defense_security_news_uk/autokraz_of_ukraine_has_completed_delivery_of_kraz-6322_and_kraz-63221_military_trucks_to_egypt_2812.html

AutoKrAZ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์บรรทุกทางทหารของยูเครนได้ทำการส่งมอบรถบรรทุกหนัก KrAZ-6322 และ KrAZ-63221 รวมกว่า 400คัน ให้กองทัพอียิปต์ครบตามจำนวนที่สั่งจัดหาแล้ว
ซึ่งรวมถึงเครื่องจักรหนักอื่นๆเช่นรถยนต์ขับเคลื่อในภูมิประเทศ(cross-country vehicles)กว่า 100คัน โดยการขนส่งรถชุดสุดท้ายมีขึ้นในกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้กำลังการผลิตในโรงงาน Kremenchuk Automobile เป็นรถบรรทุกหนัก KrAZ-6322 คิดเป็นราวร้อยละ70 จากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด
รถถบรรทุกหนักของ AutoKrAZ นั้นได้รับการยอมรับว่ามีสมรรถนะการเคลื่อนที่และการบรรทุกสูงและน่าเชื่อถือ ซึ่งกองทัพอียิปต์เองได้จัดหารถบรรทุกจาก AutoKrAZ มาใช้ตั้งแต่ปี 1961 รวมกว่า 4,000คันแล้วครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Rafael, IAI และ IMI ร่วมมือพัฒนาระบบ Trophy Active Protection System รุ่นใหม่

Merkava Mk IVm Windbreaker with the Trophy APS during Operation Protective Edge.

http://www.israeldefense.co.il/he/content/%D7%A8%D7%A4%D7%90%D7%9C-%D7%94%D7%AA%D7%A2%D7%90-%D7%95%D7%AA%D7%A2%D7%A9-%D7%99%D7%A4%D7%AA%D7%97%D7%95-%D7%99%D7%97%D7%93-%D7%94%D7%93%D7%95%D7%A8-%D7%94%D7%91%D7%90-%D7%A9%D7%9C-%D7%9E%D7%A2%D7%99%D7%9C-%D7%A8%D7%95%D7%97

Rafael อิสราเอลผู้พัฒนาระบบป้องกันเชิงรุก (APS: Active Protection System) แบบ Trophy สำหรับยานพาหนะรถรบ
ร่วมมือกับ Israel Aerospace Industries ผู้พัฒนา Radar แบบ Elta EL/M-2133 WindGuard ซึ่งเป็นระบบตรวจจับ
และ Israel Military Industries ผู้พัฒนาระบบ APS แบบ Iron Fist ทั้งสามบริษัทจะร่วมกันพัฒนาระบบ APS สำหรับป้องกันยานพาหนะภาคพื้นดินแบบ Trophy รุ่นใหม่
โดย Rafale จะเป็๋นผู้รับสัญญาหลัก โดยมี IAI และ IMI เป็นผู้รับสัญญารองในการพัฒนาระบบ โครงการนี้เกิดขึ้นหลังจากการเจรจาการพัฒนาระบบร่วมระหว่างกันไม่ประสบผลเมื่อหลายปีก่อน
ระบบ APS แบบ Trophy เป็นระบบป้องกันเชิงรุกแบบ Hard-Kill ที่จะจับสัญญาณและยิงกระสุนระเบิดแตกสะเก็ดเข้าทำลายกระสุน จรวด หรืออาวุธปล่อยนำวิถีที่จะยิงเข้าทำลายตัวรถ
ทั้งนี้ระบบ Trophy นั้นได้มีการพัฒนาทดสอบและติดตั้งกับรถรบของอิสราเอลเช่นรถถังหลัก Merkava Mk.IV และได้มีการพิสูจน์ประสิทธิภาพในการรบจริงที่ฉนวน Gaza มาแล้วครับ

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

BAE Systems ชนะโครงการจัดหายานเกราะกองทัพบกสหรัฐฯ

BAE wins $1.2bn US combat vehicles contract
Defence giant BAE Systems is to supply the US Army with a fleet of armoured combat vehicles, in a contract reportedly worth up to $1.2bn.
http://www.bbc.com/news/business-30597521

BAE Systems ได้รับเลือกเป็นผู้ชนะได้รับสัญญาการโครงการจัดหายานเกราะใหม่ของกองทัพบกสหรัฐฯวงเงิน $1.2billion
โครงการ Armoured Multi-Purposed Vehicles (AMPVs) ของกองทัพบกสหรัฐฯเป็นการจัดหารถรบยานเกราะใหม่ทดแทนของเดิมที่ใช้มาตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนามเช่น รถสายพานลำเลียงตระกูล M113

โดยแบบรถของ BAE System นั้นมีพื้นฐานมาจากแคร่ฐานของรถรบสายพานตระกูล Bradley ที่มีประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯเป็นจำนวนมาก
ซึ่ง BAE Systems จะเริ่มสายการผลิตรถเกราะชุดแรกจำนวน 29คันจากจำนวนที่จะจัดหา 289ในโรงงานที่ York มลรัฐ Pennsylvania และที่ Sterling Heights มลรัฐ Michigan ครับ

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เครื่องบินขับไล่ LCA Navy กองทัพเรืออินเดียทดสอบบินขึ้นจาก Ski-Jump เป็นครั้งแรก


First Prototype of Indian Made Naval Fighter LCA Navy Completes First Ski-Jump Test 
LCA Navy first launch from a ski-jump at SBTF
http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/year-2014-news/december-2014-navy-naval-forces-maritime-industry-technology-security-global-news/2280-first-prototype-of-indian-made-naval-fighter-lca-navy-completes-first-ski-jump-test.html

เครื่องบินขับไล่ LCA  Navy เครื่องต้นแบบประสบความสำเร็จในการทดสอบบินจากขึ้นจากทางวิ่ง Ski-Jump สำหรับการทดสอบบนฝั่งที่ shore-based test facility (SBTF) สถานีอากาศนาวี INS Hansa เมือง Goa
การทดสอบนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Hindustan Aeronautics Limited ผู้พัฒนาเครื่องกับองค์การพัฒนาและวิจัยด้านความมั่นคง(DRDO: Defence Research and Development Organisation) ในการพัฒนาระบบ
LCA Navy เป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินสำหรับกองทัพเรืออินเดีย พัฒนาจากรุ่น LCA หรือ Tejas ของกองทัพอากาศอินเดียซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ที่อินเดียออกแบบสร้างเองในประเทศ
โดย LCA Navy ได้ปรับปรุงให้ใช้ฐานล้อที่แข็งแรงรองรอบการขึ้นลงเรือบรรทุกเครื่องบินด้วยมุมปะทะสูงและติดตั้งขอเกี่ยวลวดสำหรับหยุดเครื่องขณะลงจอด ควบคุมเครื่องด้วยระบบ Digital Fly by wire
ทั้งนี้กองทัพเรืออินเดียจะนำ LCA Navy มาปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ STOBAR ที่อินเดียต่อเองในประเทศ INS Vikrant ขนาด 40,000tons ซึ่งตัวเรือปล่อยลงน้ำเมือปี 2013 และจะพร้อมเข้าประจำการในปี 2019ครับ

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อิรักร้องขอรถถัง M1A1 และรถยนต์บรรทุก HMMWV เพิ่มจากสหรัฐฯ

Iraq has requested additionnal batch of U.S. 175 M1A1 Abrams tanks and 1,000 M1151A1 HMMWVs.

M1A1 Abrams main battle tank of Iraqi Army

U.S. M1151A1 HMMWV Humvee

http://www.armyrecognition.com/december_2014_global_defense_security_news_uk/iraq_has_requested_additionnal_batch_of_u.s._175_m1a1_abrams_tanks_and_1_000_m1151a1_hmmwvs_2012141.html

รัฐบาลสหรัฐฯได้เปิดเผยเอกสารความเป็นไปได้ในการขายอาวุธตามการร้องขอของรัฐบาลอิรักคือรถถังหลัก M1A1 175คัน และรถยนต์บรรทุก M1151A1 HMMWV 1,000
รัฐบาลอิรักร้อขอการขายรถถังหลัก M1A1 จำนวน 175คัน พร้อมปืนใหญ่ M256 120mm พร้อมการปรับปรุงสภาพให้ทันสมัยตามมาตรฐาน และรถถังกู้ซ่อม M88A2 15คัน
พร้อมปืนกลหนัก M2 .50cal 175กระบอกพร้อมแท่นยิง Chrysler ปืนกล M240 7.62mm NATO 350กระบอก ปืนกลหนัก M2 HB .50Cal BR 10กระบอก
กระสุนปืนใหญ่รถถัง 120mm แบบ M831A1 HEAT TP-T 10,000นัด, M865 TPCSDS-T 25,000นัด, M830A1 HEAT MT 10,000นัด, M1002 TPMP-T 10,000นัด
วิทยุ AN/VRC-92 190เครื่อง รถยนต์บรรทุก M1028 700คัน ระบบส่งกำลังบำรุง ระบบสนับสนุน อะไหล่ การฝึก รวม $2.4 billion
นอกจากนี้รัฐบาลอิรักยังได้มีการร้องขอจัดหารถยนต์บรรทุก M1151A1 HMMWV แบบเสริมเกราะจำนวน 1,000คัน พร้อมปืนกลหนัก M2 .50cal 1,000กระบอก เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ Mk19 40mm 1,000กระบอก
พร้อมแท่นยิงติดตั้งอาวุธ ระบบวิทยุ ระบบสื่อสาร การซ่อมบำรุง อะไหล่ การสนับสนุนและการฝึกรวม $579 million ด้วย

ปัจจุบันรัฐบาลอิรักกำลังประสบภาวะลำบากจากการรบกับกองกำลังติดอาวุธกลุ่มก่อการร้ายในประเทศซึ่งมีศักยภาพสูงและปัญหาบุคลากรในกองทัพอิรักยุคใหม่ที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างขาดประสิทธิภาพ
รัฐบาลอิรักจึงต้องการรถถังหลักและรถรบเเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกำลังเคลื่อนที่เร็วในการป้องกันชายแดนมากขึ้น
ซึ่งกองทัพบกอิรักเองก็จัดหารถถังหลัก M1A1 จากสหรัฐฯไปก่อนหน้านี้แล้ว 140คัน ซึ่งมีการสูญเสียในการรบกับกลุ่มก่อการร้ายไปบ้างแล้วที่มีตามรายงานคือถึงราว 45คันครับ

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ปัญหาเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI ของกองทัพอากาศอินเดีย

http://www.deccanchronicle.com/141218/nation-current-affairs/article/sukhoi-30s-ejecting-out-pilots-without-warning

ในช่วงหลังมานี้ Su-30MKI กองทัพอากาศอินเดียประสบปัญหาเรื่องอุบัติเหตุและความพร้อมปฏิบัติการของเครื่องบ่อยครั้งจนต้องมีการสั่งงดบินหลายครั้ง
แต่เรื่องที่น่าตกใจที่สุดที่ผ่านมาคือ Su-30MKI ที่ทำการบินโดย นาวาอากาศโท Sidharth Vishwas Munje และเรืออากาศโท Anup Singh ขณะทำการลงจอดที่ฐานทัพอากาศ Lohegaon ใกล้เมือง Pune นั้น
ระบบของเก้าอี้ดีดตัวของเครื่องเกิดทำงานอัตโนมัติดีดตัวนักบินทั้งสองนายออกจากเครื่อง โดยนักบินทั้งสองนายปลดภัยแต่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยด้วย
เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2014 โดยเครื่อง Su-30MKI ที่ปราศจากการควบคุมจากนักบินตกห่างจากทางวิ่งไป 20km
ก่อนหน้านี้ไม่ถึงปีเคยเกิดเหตุการลักษณะคล้ายกันที่ฐานทัพอากาศใน Jodhpur ขณะที่ Su-30MKI กำลังวิ่งบนทางขับด้วยความเร็วช้าเพื่อจะวิ่งขึ้น แต่เก้าอี้ดีดตัวได้ทำงานอัตโนมัติดีดนักบินสองนายออก
หลังจากเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินทำการหยุดเครื่องที่ปราศจากนักบินบังคับได้แล้ว พบว่าเหตุการณ์ที่มีนักบินเสียชีวิตด้วย

จากข้อมูลของ Irkut Corporation ผู้ผลิตเครื่อง Su-30MKI ใช้เก้าอี้ดีดตัวแบบ NPP Zvezda K-36DM ซึ่งทำการติดตั้งโดย Hindustan Aeronautics Limited ในอินเดีย
โดยเก้าอี้รุ่นนี้มีรายงานปัญหาการใช้มาก พอๆกับระบบควบคุมการบิน Fly by wire และเครื่องยนต์ปรับทิศทางแรงขับได้ AL-31FP ทีมีปัญหาระบบการทำงานล้มเหลวกลางอากาศบ่อยครั้ง
รวมถึงระบบควบคุมอาวุธทำงานผิดพลาดระหว่างการฝึกซ้อมยิงอาวุธจนไม่สามารถยิงอาวุธได้ จนเป็นสาเหตุให้เครื่องตกและมีนักบินเสียชีวิตมาก่อนหน้านี้แล้ว
ซึ่งตั้งแต่ประจำการมากองทัพอากาศอินเดียสูญเสีย Su-30MKI ไปแล้วอย่างน้อย 4เครื่อง จากจำนวนที่จัดหาราว 200เครื่องในปี 2014 และมีนักบินเสียชีวิตอย่างน้อย 2นาย
จนผู้บัญชาการกองทัพอากาศอินเดีย พลอากาศเอก Arup Raha จะไปดูการซ่อมบำรุงเครื่องที่โรงงาน HAL เมือง Koraput เมื่อเดือนที่แล้วครับ

ภาพประกอบนิยาย สารวัตรนักเรียนเดนนรก ภาคก่อนสถาปนาหมู่ที่๑๓ :บทที่๘ บทที่๙ บทที่๑๐

สนใจอ่านนิยายฉบับบเต็มก็ตาม Link นี้ครับ
http://writer.dek-d.com/aagth1/writer/view.php?id=1212183

บทที่๘
“อ้วกกกก!!!!!” คุณสุเทพอาเจียนสำรอกของเก่าในกระเพาะออกมาเมื่อเห็นสภาพศพไอ้หัวโต

บทที่๙
“กูขอโทษ แต่กูไม่มีทางเลือกแล้วเลยทำอย่างนี้เพื่อช่วยพวกมึง” โผล่หางออกมาแล้วสินะไอ้...ณัฐพล ทุกคนในชุดปฏิบัติการหมู่นักเรียนฝึกคิด

บทที่๑๐
หมวดรถหุ้มเกราะล้อยาง V-150 จากกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๒ จำนวน ๕คัน 
หันป้อมปืนกลประจำรถยิงกระสุน .๕๐นิ้ว จากปืนกลหนัก M2 และปืนกลร่วมแกน MG3 ขนาด ๗.๖๒มม. NATO 
เข้าถล่มผู้ก่อการร้ายที่อยู่ตรงข้ามของถนนตรงหน้าอย่างหนักหน่วง 

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เกาหลีใต้เลือกจัดหา UAV แบบ IAI Heron จากอิสราเอล

IAI's Heron unmanned aerial system selected by South Korean armed forces
http://www.armyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=9976

สำนักโครงการจัดหาด้านความมั่นคง(DAPA:Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีได้ประกาศเลือกแบบ UAV ใหม่สำหรับกองทัพบกเกาหลีใต้คือ IAI Heron จากอิสราเอล
ซึ่ง Heron จะถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงระบบอากาศยานไร้คนบังคับระดับกองทัพน้อยของกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี
Heron เป็น UAV แบบเพดานบินปานกลางระยะเวลาทำการนาน (MALE: Medium Altitude Long Endurance) สำหรับภารกิจลาดตระเวนตรวจการณ์ทางยุทธวิธีและทางยุทธศาสตร์
มีพิสัยทำการ 350km ทำการบินได้นาน 20-45ชั่วโมง มีระบบขึ้นบินและลงจอดอัตโนมัติ (ATOL:Automatic Takeoff and Landing) ติดตั้ง Sensor ตรวจับที่ทันสมัยและระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม SATCOM


ก่อนหน้านี้ไม่กี่วันเกาหลีใต้ได้ประกาศการลงนามจัดหา UAV แบบ RQ-4B Block 30 Global Hawk จากสหรัฐฯจำนวน 4เครื่อง พร้อมอะไหล่เครื่องยนต์ 2เครื่อง ระบบควบคุมภาคพื้นดินสองระบบ
ซึ่งจะมีจากส่งมอบในปี 2017-2019 สำหรับภารกิจตรวจการณ์ในเพดานบินระดับสูงกว่า 50,000-65,000ft
การจัดหา UAV แบบ RQ-4 Global Hawk ของเกาหลีใต้นี้น่าจะเป็นการส่งออกให้ต่างประเทศนอกจากกองทัพสหรัฐฯเป็นครั้งแรก
โดยเกาหลีใต้จะใช้ RQ-4 Global Hawk ในการเป็นเครือข่ายเฝ้าตรวจความเคลื่อนไหวทางทหารของเกาหลีเหนือโดยเฉพาะการยิงขีปนาวุธ เพื่อจะได้โจมตีตอบโต้ก่อนที่เกาหลีเหนือจะทันได้ยิงจริง
ซึ่งในปี 2021 เกาหลีใต้จะส่งดาวเทียมสอดแนมของตนเองขึ้นวงโคจรให้เครือข่ายเฝ้าตรวจสมบูรณ์ด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อินเดียจะเช่าเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ลำที่สองจากรัสเซีย

http://www.ndtv.com/article/india/india-to-lease-a-second-nuclear-submarine-from-russia-635608

รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอินเดียกล่าวว่ารัฐบาลอินเดียตัดสินใจเช่าเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ลำที่สองจากรัสเซีย
ปัจจุบันกองทัพเรืออินเดียได้ทำการเช่าเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Akula จากรัสเซียแล้วหนึ่งลำ ตั้งชื่อว่า INS Chakra โดยทำการเช่าเป็นระยะเวลา 10ปี วงเงิน $970 million
โดยสัญญาการเช่านั้นรัสเซียอนุญาตให้อินเดียยิงอาวุธจากเรือได้เฉพาะอาวุธตามแบบเท่านั้น(ห้ามใช้อาวุธอำนาจทำลายล้างสูงอย่างอาวุธนิวเคลียร์) คาดว่าสัญญาเช่าเรือลำที่สองคงเป็นลักษณะเดียวกัน
ซึ่งอินเดียมองเรือชั้น Akula ชื่อ Iribis ที่ตัวเรือยังต่อไม่เสร็จสมบูรณ์เนื่องจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตมาทำการสร้างใหม่ให้สมบูรณ์เพื่อเข้าประจำการ
เช่นเดียวกับเรือชั้น Akula ชื่อ Nerpa ซึ่งก็คือ INS Chakra ในปัจจุบัน โดยก่อนหน้านี้กองทัพเรืออินเดียเคยเช่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Charlie-I จากรัสเซียในชื่อเดียวกันช่วงปี 1988 -1992 มาแล้ว

ตามแผนที่ล่าช้ามากว่า 30ปี ที่วางไว้ตั้งแต่ปี 1988 กองทัพเรืออินเดียต้องการเรือดำน้ำทุกแบบอย่างน้อย 24ลำ ซึ่งปัจจุบันอินเดียมีเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า 13ลำ และเรือดำน้ำนิวเคลียร์ 1ลำ
โดยในส่วนเรือดำน้ำนิวเคลียร์นั้น เรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธชั้น Arihant ที่อินเดียต่อเองในประเทศลำแรก INS Arihant กำลังอยู่ระหว่างการเดินเรือทดสอบระบบ
และเรือชั้น Arihant ลำที่สอง INS Aridhaman ได้ทำการวางกระดูกงูเรือแล้ว ซึ่งกองทัพเรืออินเดียมีแผนจะต่อเรือชั้นนี้อีก 3ลำรวม 4ลำครับ

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Yak-130 กับโอกาสในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกขั้นก้าวหน้าใหม่ทดแทน L-39 ของกองทัพอากาศไทย


ความคืบหน้าล่าสุดหลังจากที่ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ไปทำภารกิจที่พระธาตุนภพลภูมิสิริ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่นั้น
ผอ.ทอ.กล่าวว่ากองทัพอากาศได้รับการอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีจำนวน ๓,๗๐๐ล้านบาท($112.67 million) สำหรับการจัดหาเครื่องบินฝึกใหม่ทดแทน บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ฝูง๔๐๑ ชุดแรก ๔เครื่อง
ประเทศที่ส่งแบบเครื่องเข้าพิจารณามี ๕ประเทศเช่นเดิมคือ สหรัฐฯ อิตาลี เกาหลีใต้ รัสเซีย และจีน แต่เครื่องที่มีการคาดการณ์และกระแสข่าวมากว่าเป็นตัวเต็งคือ Alenia Aermacchi M-346 และ KAI T-50

เหตุผลที่ตัดเครื่องจีนเช่น Hongdu L-15 เข้าใจได้ไม่ยากครับ เพราะจากการที่จีนนำเครื่องมาแสดงสาธิตที่ไทยหลายครั้งในช่วง๒๐ปีมานี้
เจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศไทยดูไม่พอใจในสมรรถนะของอากาศยานรบจีนที่ล้าสมัยและคุณภาพการผลิตไม่ดีนัก ซึ่ง L-15 เองก็ยังมีความล่าช้าในการพัฒนาผลิตขึ้นเพียงไม่กี่เครื่องและยังไม่มีประเทศลูกค้าที่ชัดเจนในขณะนี้
ด้านเครื่องของสหรัฐฯก็เห็นจะมี Textron AirLand Scorpion ซึ่งตอนนี้มีเพียงเครื่องต้นแบบเพียงเครื่องเดียว มีประเทศที่สนใจบ้างเช่นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
แต่แบบแผนของ Scorpion เป็น บ.โจมตีเบามากกว่า บ.ฝึกซึ่งทาง Textron AirLand มีแผนจะพัฒนา Scorpion รุ่นสำหรับฝึกบินในอนาคตโดยลดปีให้สั้นลงและใช้เครื่องยนต์แรงขับสูงขึ้น แต่ก็ยังไม่มีลูกค้าในขณะนี้
ฉะนั้นแบบแผนที่เป็นตัวเต็งก็มีแค่ M-346 กับ KAI T-50 เช่นเดิมอยู่ดีครับ


ถ้าดูแนวโน้มความต้องการของกองทัพอากาศที่ต้องการเครื่องในลักษณะเครื่องบินขับไล่ฝึกแล้ว ก็มีข่าวออกมามากกว่า KAI T-50 กำลังได้คะแนนนำอยู่ โดยมี M-346 ซึ่งกองทัพอากาศสิงคโปร์จัดหาไป ๑๒เครื่องตามมา
ซึ่ง บ.ตระกูล KAI T-50 ก็สามารถส่งออกให้กองทัพอากาศใน ASEAN หลายประเทศแล้ว เช่น T-50i(T-50)กองทัพอากาศอินโดนีเซีย ๑๖เครื่อง และ T-50PH(FA-50) กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ ๑๒เครื่อง
ล่าสุดทางเกาหลีใต้เสนอ FA-50 ให้บรูไนตามที่เคยได้เสนอข่าวไปอีกประเทศ ซึ่งกองทัพอากาศบรูไนเคยมีแผนจะจัดหาเครื่องบินไอพ่นเข้าประจำการเช่น BAE Hawk มาก่อนแต่ก็ไม่ได้จัดหาเสียที
ซึ่งจะเห็นได้จากช่วงหลังมานี้กองทัพอากาศบรูไนอยู่ระหว่างการเสริมสร้างกำลังทางอากาศเป็นจำนวนมาก ทั้งการจัดหา ฮ.ลำเลียง S-70i(UH-60M ผลิตในโปแลนด์) ๑๒เครื่อง
เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN-235MPA ๓เครื่อง และเครื่องบินลำเลียง C-130J จากสหรัฐฯ ๑เครื่อง


อย่างไรก็ตามสำหรับ M346 และ KAI T-50 นั้นสำหรับงบประมาณจัดหาที่กองทัพอากาศได้รับเพียง ๓,๗๐๐ล้านบาทสำหรับ ๔เครื่องนั้นก็ไม่ทราบว่าจะเพียงพอหรือไม่
เพราะนอกจากตัวเครื่องยังต้องรวมถึงการจัดหาระบบสนับสนุน อะไหล่ และระบบการฝึกภาคที่ตั้งพื้นดินด้วย
โดยส่วนตัวเองก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมช่วงหลังมานี้กองทัพอากาศถึงเลือกรูปแบบการจัดหาอากาศยานมาทีละ ๒-๔เครื่อง แทนการจัดหามาทีละครึ่งฝูงอย่างโครงการ Gripen หรือเต็มฝูงไปเสียแต่ทีแรก
เพราะถ้าดูจากจำนวนความต้องการจัดหาเครื่องแทน L-39ZA/ART ในฝูง๔๐๑ ที่คาดว่าน่าจะอย่างน้อย ๑๒เครื่องแล้ว
การจัดหาจะต้องแบ่งเป็นอย่างน้อยสามระยะที่จะทยอยจัดหาทีละ ๔เครื่องจนกว่าจะครบฝูง ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ก็อีกนานกว่าจะครบฝูงครับและกว่าทั้งฝูงจะพร้อมรบเต็มอัตราก็นานหลายปีด้วย
ซึ่งดูเหมือนกับว่างบประมาณโครงการผูกผันต่อเนื่องที่อนุมัติให้กองทัพอากาศได้ในแต่ละปีงบประมาณสำหรับโครงการจัดหาอากาศยานนั้นน้อยลงไปอย่างมาก
ทั้งๆที่เป็นโครงการจำเป็นที่จะต้องแทนเครื่องเก่าที่ใช้งานมานานจนใกล้หมดอายุโครงสร้างอากาศยานและล้าสมัย ทั้ง ฮ.๑๑ EC725 แทน ฮ.๖ UH-1H และ L-39 ในโครงการนี้ที่จะใช้ต่ออีกไม่เกิน ๑๐ปี

ตรงนี้เป็นที่มาของการนำเสนอว่ากองทัพอากาศควรจะเลือก Yak-130 ซึ่งมีราคาถูกสามารถจัดหาได้หลายเครื่องกว่า M-346 และ KAI T-50 อีกทั้งยังเป็นเครื่องแบบแผนเดียวกับ M-346 หรือไม่
เพราะกองทัพอากาศก็ได้เลือกจัดหาเครื่องบินโดยสาร Sukhoi Superjet 100 ๓เครื่องสำหรับเป็นเครื่องรับส่งบุคคลสำคัญไปแล้ว

สำหรับเรื่องการจัดหา Sukhoi Superjet 100 นั้นตอนนี้เห็นมีแต่แหล่งข่าวจากสื่อต่างประเทศโดยเฉพาะรัสเซียที่นำเสนอมาเท่านั้นครับ แต่ทางกองทัพอากาศยังไม่ได้ออกมาประกาศหรือชี้เแจงใดๆอย่างเป็นทางการเลย
ซึ่งตอนที่ส่วนตัวได้ข่าวครั้งแรกนั้นแปลกใจมากครับ เพราะที่ผ่านมากองทัพอากาศจะจัดหาเครื่องบินโดยสารพระราชพาหนะและ VIP จากบริษัทตะวันตกมาตลอด
เช่นของ Boeing หรือ Airbus ในฝูง๖๐๒ รวมถึง ATR72 ในฝูง๖๐๓ก็เป็นของบริษัทยุโรปตะวันตก ตรงนี้อาจจะต้องรอติดตามข่าวความชัดเจนที่แท้จริงต่อไปว่าเป็นอย่างไร


ส่วนโอกาส Yak-130 ของในกองทัพอากาศไทยนั้นส่วนตัวมองว่ามีไม่มากถ้าเทียบกับตัวเต็งอย่าง M-346 และ KAI T-50 ครับ แต่ก็สูงกว่า Scorpion และ L-15
เหตุผลหลักคืออากาศยานรบระบบรัสเซียแท้นั้นดูจะไม่เหมาะกับกองทัพอากาศไทยครับ




ข้อมูลจากบทความในนิตยสาร Tango ฉบับเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ ซึ่ง Yak-130 ขึ้นปกลงไว้ว่า
Yak-130 นั้นสามารถปรับแต่งการแสดงผลข้อมูลของจอ HUD และเครื่องวัดประกอบการบินในจอ MFD ให้แสดงผลแบบมาตรฐานเครื่องบินตะวันตกได้(เช่นแสดงหน่วยวัดเป็น Feet Knots เป็นต้น)
รวมถึงการเปลี่ยนระบบควบคุม HOTAS ให้ใช้ Joystick และ Throttle ที่เหมือนกับเครื่องบินขับไล่ตะวันตกแทนแบบรัสเซียด้วย
นั่นทำให้ Yak-130 สามารถใช้ในการฝึกนักบินพร้อมรบสำหรับกองทัพที่ใช้เครื่องขับไล่หลักเป็นระบบตะวันตกมาตรฐาน NATO อย่างกองทัพอากาศไทยที่ใช้ F-16 และ Gripen ได้

แต่อย่างไรก็ตามระบบอาวุธที่ติดตั้งกับเครื่องได้ก็ยังเป็นระบบรัสเซียเหมือนเดิม เพราะทางรัสเซียคงต้องการที่จะขายระบบอาวุธและอุปกรณ์ของตนเองมากกว่า
โดยระบบที่ใช้ร่วมกันได้กับ L-39 ก็เห็นจะมีแต่ปืนใหญ่อากาศ 23mm แฝดสองเท่านั้นที่ L-39ZA/ART ติดใต้เครื่องความจุ ๑๕๐นัด ส่วน Yak-130 เป็นกระเปาะ SNPU-130
นอกนั้นตั้งแต่ระเบิดตระกูล FAB, KAB จรวดอากาศสู่พื้น S-8 S-13 และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ R-73E ต้องจัดหาจากรัสเซียใหม่หมด
จะใช้ระเบิดตระกูล Mk80s จรวด 2.75" FFAR และ AIM-9 Sidewinder ที่ L-39ZA/ART ใช้ในตอนนี้ไม่ได้เลย
ในขณะที่ M-346 และ KAI T-50 สามารถติดตั้งใช้งานระเบิด Mk80s จรวด 2.75" FFAR AIM-9 Sidewinder และ AGM-65 ที่กองทัพอากาศไทยมีใช้ได้ทั้งหมด
ซึ่ง M-346 นั้นยังติด IRIS-T ที่ Gripen C/D และ F-16A/B eMLU ติดตั้งใช้ได้ด้วย

แล้วการว่าจ้างให้บริษัทจากอิสราเอลทำการปรับปรุง Yak-130 ให้เป็นมาตรฐานตะวันตกเช่นเดียวกับที่เคยทำกับ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART มาแล้วเล่า
ส่วนตัวมองว่าแนวทางนี้มีความเป็นไปได้น้อยมากครับ


กองทัพอากาศอิสราเอลนั้นได้เลือก M-346 เป็น บ.ฝึกไอพ่นและโจมตีเบาแบบใหม่แทน A-4 Skyhawk ที่ใช้มานานมาก โดยเพิ่งจะได้รับเครื่องชุดแรกจากโรงงานประมาณ ๒เครื่องในปีนี้
โดย M-346 ที่ประจำการในกองทัพอากาศอิสราเอลจะถูกเรียกว่า Lavi ซึ่ง Elbit และ IAI ได้รับสัญญาในการติดตั้งอุปกรณ์ย่อยต่างๆตามที่กองทัพอากาศอิสราเอลต้องการด้วย
ถึงแม้ว่า M-346 และ Yak-130 ทั้งสองแบบเมื่อมองจากภายนอกเครื่องทั้งสองแบบจะเหมือนกันมากเพราะมีที่มาจากแบบแผนเครื่องแบบเดียวจากความร่วมมือระหว่าง Yakolev และ Aermacchi ในช่วงปี 1990s
แต่ในความเป็นจริงนั้นถ้าลงไปในรายละเอียดภายในจะพบว่ M-346 มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนภายในเครื่องต่างไปจาก Yak-130 ค่อนข้างมาก
ซึ่งตั้งแต่ Alenia Aermacchi ยุติความร่วมมือกับ Irkut/Yakolev ในช่วงปี 2000s การพัฒนา Yak-130 กับ M-346 ก็เริ่มแยกออกจากกันนับแต่นั้น
โดยเครื่องทั้งสองแบบมีโครงสร้างภายในทั้งในส่วนเครื่องยนต์และระบบ Avionic Cockpit และระบบควบคุมที่แตกต่างกันตามความต้องการของกองทัพอากาศรัสเซียและกองทัพอากาศอิตาลี
ดังนั้นถ้าให้บริษัทอิสราเอลมาทำการปรับปรุง Yak-130 ให้ใช้ระบบ Avionic และระบบอาวุธตะวันตกจะเป็นคนละงานกับการติดตั้งระบบกับ M-346 ไม่เหมือนกันเลยเสียทีเดียว



ทั้งนี้ทางรัสเซียเองก็มีนโยบายที่ต่างไปจากสาธารณรัฐเชคที่ Aero Vodochody ร่วมพัฒนากับ Elbit อิสราเอลพัฒนา L-39ZA/ART ขายให้กองทัพอากาศไทย ๓๖เครื่องเมื่อปี ๒๕๓๗ ด้วย
เพราะตอนนั้นเชคมีนโยบายเข้าหาตะวันตกหลังการทำลายกำแพง Berlin และการล่มสลายของสหภาพโซเวียตแล้ว ซึ่งเครื่องที่พัฒนาต่อมาคือ L-159 ก็เป็นระบบตะวันตกทั้งเครื่อง
แต่ในส่วนเครื่องของรัสเซียที่ใช้ระบบตะวันตกบางส่วนติดตั้งกับเครื่องไม่ว่าจะเป็น Su-30MKI ของอินเดียที่มีระบบของอิสราเอลในเครื่อง หรือ Su-30MKM ของมาเลเซียที่ติดตั้งระบบของ Thales เป็นต้นนั้น
ทั้งหมดเป็นเครื่องที่สร้างโดยบริษัท Irkut Corporation เจ้าของเดียวกับ Yak-130 ซึ่งไม่มีเครื่องไหนเลยที่สามารถติดตั้งระบบอาวุธตะวันตกได้ โดยยังใช้ระบบอาวุธของรัสเซียเช่นเดิม
และด้วยสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับชาติตะวันตกในปัจจุบัน ความร่วมมือด้านการบูรณาการระบบถึงจะให้อิสราเอลทำคงจะเป็นไปได้ยากด้วย



ทั้งหมดที่กล่าวมาถ้ากองทัพอากาศไทยเลือกที่จะจัดหา Yak-130 จริงก็คงจะถูกกองทัพอากาศกำหนดแบบเป็น บ.ฝ.๒๑ ครับ เพราะคงจะใช้เป็น บ.ฝึกอย่างเดียวไม่ติดอาวุธสำหรับภารกิจโจมตีเหมือน บ.ฝ.๑๙ PC-9
แต่กองทัพอากาศต้องการเครื่องบินฝึกขับไล่ที่ทำภารกิจโจมตีเป็นภารกิจรองได้ด้วย(น่าจะกำหนดแบบเป็น บ.ขฝ.๒) เพราะฉะนั้นตัวเลือกที่มีโอกาสสูงและเหมาะสมกว่ายังคงเป็น KAI T-50 กับ M-346 มากกว่าอยู่ดี
ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ Yak-130 อาจจะไม่เหมาะกับกองทัพอากาศไทยครับ

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กองทัพเรือสหรัฐฯทดสอบยานใต้น้ำไร้คนบังคับ GhostSwimmer


U.S. Navy Tests the GhostSwimmer: A Shark-Like Unmanned Underwater Vehicle (UUV)
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2255



กองทัพเรือสหรัฐฯเสร็จสิ้นการทดสอบยานใต้น้ำไร้คนบังคับ (UUV: Unmanned Underwater Vehicle) แบบ GhostSwimmerในการฝึก Joint Expeditionary Base Little Creek-Fort Story (JEBLC-FS)
โดยเป็นโครงการพัฒนารหัส Silent NEMO ของ chief of naval operations' Rapid Innovation Cell (CRIC) ซึ่งมีจุดประสงค์ในการสร้างหุ่นยนต์เลียนแบบวัตถุทางชีวภาพรูปทรงเลียนแบบปลาฉลาม
"GhostSwimmer จะทำให้กองทัพเรือสามารถทำภารกิจได้หลายรูปแบบขณะที่นักดำน้ำและกลาสีปลอดภัยมาก
Michael Rufo ผู้อำนวยการของ Boston Engineering's Advanced Systems Group ซึ่งเป็นผู้ร่วมพัฒนาโครงการกล่าว
GhostSwimmer จะสามารถเลียนแบบและเข้าไปแฝงตัวในหมู่ปลาในทะเลได้ โดยมีขนาดประมาณ 5feet หนัก 100pounds ดำน้ำได้ลึก 10inches ถึง 300feet ครับ

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

SAAB ได้รับสัญญาการซ่อมบำรุงเรือดำน้ำ HMS Sodermanland กองทัพเรือสวีเดน


Saab contracted for HMS Sodermanland refit
http://www.janes.com/article/46945/saab-contracted-for-hms-s%F6dermanland-refit

SAAB ได้รับสัญญาว่าจ้างวงเงิน SEK121 million ($16 million) จากสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์(FMV)ของรัฐบาลสวีเดน ในการซ่อมบำรุงเรือดำน้ำแบบ A17 HMS Sodermanland กองทัพเรือสวีเดน
โดยการซ่อมบำรุงใหญ่ตัวเรือนี้เป็นหนึ่งในแผนการปรับปรุงกำลังเรือดำน้ำตามยุทธศาสตร์กำลังรบใต้น้ำกองทัพสวีเดนช่วงปี 2015-2024 จะทำให้เรือมีอายุการใช้งานไปจนถึงช่วงปี 2020s
การซ่อมบำรุงตัวเรือจะทำที่อู่ของ Saab Kockums ใน Karlskrona และ Malmo

เรือดำน้ำแบบ A17 นั้นเดิมทีคือเรือชั้น Vastergotland ซึ่งมีการต่อขึ้นมา 4ลำเข้าประจำการในกองทัพเรือสวีเดนช่วงปี 1987-1989
ต่อมาในช่วงปี 2003-2004 ได้มีการปรับปรุงเรือใหม่เพียงสองลำคือ HMS Sodermanland และ HMS Ostergotland เข้าประจำการใหม่ในชื่อชั้น Sodermanland
โดยเรือสองลำที่เหลือได้ทำการปรับปรุงและขายต่อให้กองทัพเรือสิงคโปร์ในชื่อชั้น Archer คือ RSS Archer ในปี 2011 และ RSS Swordsman ปี 2013

การซ่อมบำรุงเรือดำน้ำแบบ A17 ชั้น Sodermanland ก็น่าจะเพื่อยืดอายุการใช้งานตัวเรือให้ประจำการได้ต่อไปจนกว่าจะมีเรือดำน้ำแบบมาใหม่ทดแทนจำนวน 2ลำที่เลื่อนโครงการออกไปอีก
ขณะนี้ Saab Kockums ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยพัฒนาเรือดำน้ำแบบใหม่แทนเรือดำน้ำแบบ A26 ที่รัฐบาลสวีเดนยกเลิกโครงการไปครับ

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เกาหลีใต้เสนอเครื่องบินขับไล่ FA-50 ให้บรูไน



Philippine, Brunei leaders view S. Korea's FA-50 fighter jet 
http://english.yonhapnews.co.kr/national/2014/12/12/0301000000AEN20141212007700315.html
http://french.yonhapnews.co.kr/news/2014/12/11/0200000000AFR20141211001500884.HTML

รายงานข่าวจากสำนักข่าว Yonhap ได้รายงานการประชุมผู้นำ ASEAN+สาธารณรัฐเกาหลีที่เมืองปูซาน 11-12 ธันวาคมนี้
โดยเกาหลีใต้ได้เชิญประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ Benigno Aquino III และพระราชาธิบดีแห่งบรูไนสุลต่าน Hassanal Bolkiah เสด็จเยี่ยมชมเครื่องบินขับไล่ KAI FA-50
และจะมีการสาธิตเครื่อง FA-50 ให้ผู้นำทั้งสองประเทศชมที่ท่าอากาศยานนานาชาติ Gimhae ในวันที่ 13 ธันวาคม
ด้านฟิลิปปินส์นั้นมีรายงานการลงนามจัดหาเครื่องบินขับไล่ FA-50 จำนวน 12เครื่องเพื่อฟื้นฟูกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ที่ไม่มีเครื่องบินขับไล่หลังปลด F-5A/B ไปหลายสิบปีแล้ว
แต่สำหรับการนำเสนอ FA-50 ให้องค์สุลต่านแห่งบูรไนสนพระทัยทอดพระเนตรชมนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากว่า
กองทัพอากาศบูรไนจะมีโอกาสจัดหาเครื่องขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นมาประจำการเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งมาหรือไม่ครับ

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กรีซทดสอบติดตั้งป้อมปืน ZU-23-2 บน BMP-1P

Greece trials ZU-23-2 armed BMP-1P infantry fighting vehicle
The Hellenic Army has been conducting trials with BMP-1P IFVs fitted with a twin ZU-23-2 23 mm gun mount. Source: Hellenic Army
http://www.janes.com/article/46924/greece-trials-zu-23-2-armed-bmp-1p-infantry-fighting-vehicle

กองทัพบกกรีซทดสอบการติดตั้งป้อมปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานลากจูงแบบ ZU-23-2 ขนาด 23mm กับรถรบทหารราบ BMP-1P
โดยกองทัพบกกรีซมี BMP-1P ประจำการอยู่ราว 350คัน ซึ่งเป็นรถที่เคยประจำการในกองทัพเยอรมนีตะวันออกเดิมก่อนจะปลดประจำการหลังการรวมชาติเยอรมันในช่วนต้นปี 1990s
ซึ่งรวมไปถึงปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานลากจูงแฝดสอง ZU-23-2 ราว 500ระบบอีกด้วย
ซึ่งการทดลองติดตั้ง ปตอ.ZU-23-2 กับ BMP-1P นี่เป็นการเพิ่มประสิทธฺภาพยุทโธปกรณ์เก่าทั้งสองแบบให้มีความสามารถในการเคลื่อนที่ต่อสู้กับเป้าหมายภาคพื้น รถหุ้มเกราะเบา และอากาศยานบินต่ำมากขึ้น
ทั้งนี้สรรพาวุธกองทัพบกกรีซยังได้มีการแผนจะทดสอบติดตั้งระบบลักษณะนี้กับรถสายพานลำเลียง M113 ด้วย
รถรบทหารราบ BMP-1P ที่ติดตั้ง ปตอ.ZU-23-2 แล้วได้ถูกนำไปทดสอบโดย กองบัญชาการระดับสูงพิทักษ์ชาติที่96(96th National Guard Higher Command) บนเกาะ Chios
ซึ่งถ้าการทดสอบประสบผลจะมีการดัดแปลง BMP-1P ติด ZU-23-2 เพิ่มขึ้นอีกหลายคันต่อไปครับ

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เกาหลีใต้ส่งออกแคร่รถปืนใหญ่อัตตาจร K9 ให้โปแลนด์


S. Korea to Export K9 Self-Propelled Howitzer to Poland
Write : 2014-12-11 10:14:05 Update : 2014-12-11 10:16:04

A South Korean company is poised to export domestically-developed self-propelled howitzers to Poland.

An official of the South Korean military said Thursday that Samsung Techwin is scheduled to sign a contract with Poland this month to export the 120 K9 Thunder self-propelled howitzers to the East European country.

The official said, however, the K9 Thunder howitzers will not be exported assembled. The official said Samsung Techwin will export the frame of the K9 Thunder and Poland will mount it to a turret the country develops internally.

http://world.kbs.co.kr/english/news/news_Ec_detail.htm?No=107264&id=Ec

บริษัท Samsung Techwin ซึ่งปัจจุบันมีบริษัท Hanhwa เป็นเจ้าของแล้วมีกำหนดลงนามสัญญาจัดหาแคร่รถปืนใหญ่อัตตาจร K9 ขนาด 155mm จำนวน 120คันในเดือนนี้
ซึ่งแคร่รถ K9 ดังกล่าวจะถูกขนส่งไปยังโปแลนด์เพื่อทำการประกอบติดตั้งป้อมปืนใหญ่ที่โปแลนด์พัฒนาเองในประเทศอีกที


โปแลนด์มีการพัฒนาปืนใหญ่อัตตาจรแบบ AHS Krab ขนาด 155mm ของตนเอง ซึ่งตัวแคร่ฐานรถเป็นแบบ UPG ใช้เครื่องยนต์ S-12U และส่วนอื่นๆจากรถถังหลัก PT-91 Twardy
ป้อมปืนนำมาจาก AS-90M Braveheart อังกฤษ ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 155mm/52cal และระบบควบคุมการยิง Topaz
ในส่วนระบบปืนใหญ่นั้นระบบต้นแบบที่สร้างในปี 2011 ได้ใช้ปืนที่โปแลนด์พัฒนาเองและลำกล้องของ Nexter ฝรั่งเศส และรุ่นต่อมามีแผนจะใช้ลำกล้องของ Rheinmetall เยอรมนี
ตามความต้องการของกองทัพบกโปแลนด์จะสั้งจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร Krab ชุดแรก 24คันจากจำนวนที่ต้องการทั้งหมด 124คัน
การจัดหาแคร่รถ K9 มาจำนวน 120คัน ก็น่าจะเพื่อมารอบรับการติดตั้งกับระบบป้อมปืนแบบใหม่แทนแคร่รถ UPG เดิมที่น่าจะมีสมรรถนะไม่ตรงความต้องการครับ

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟินแลนด์พบการเพิ่มจำนวนการปฏิบัติทางอากาศของรัสเซียมากขึ้น

Finland reports increased Russian air activity
Finnish Hornet fighters have been put on an increased readiness level following heightened Russian air activity in the region. Source: IHS/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/46886/finland-reports-increased-russian-air-activity

Helsinki Times ฟินแลนด์รายงานข่าวกองทัพอากาศฟินแลนด์ได้รายงานการพบการเพิ่มจำนวนการปฏิบัติการทางอากาศในเขตน่านฟ้าทะเลบอลติกและอ่าวฟินแลนด์มากขึ้นของกองทัพอากาศรัสเซีย
แม้ว่าทางรัฐมนตรีกลาโหมฟินแลนด์ Carl Haglund จะปฏิเสธที่จะบอกจำนวนที่แน่ชัดต่อสื่อ แต่มีรายงานการบินขึ้นลงเหมือนทำการฝึกซ้อมของอากาศยานแทบทุกแบบของรัสเซียในเขตนี้เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งกองทัพอากาศฟินแลนด์ได้สั่งยกระดับการเตรียมพร้อมของ F/A-18 Hornet ซึ่งเป็นเครื่องขับไล่หลักให้สูงขึ้นเพื่อเฝ้าระวังภัยทางอากาศจากการล้ำน่านฟ้าละเมิดความเป็นกลางของฟินแลนด์โดยรัสเซีย
ในขณะเดียวกันกำลังทางอากาศของ NATO ที่วางกำลังในเขตรัฐบอลติกสมาชิก NATO ก็เพิ่มการปฏิบัติการสูงขึ้นเพื่อตอบโต้การเพิ่มปฏิบัติการทางทหารรัสเซียตามด้วย
ซึ่งทั้งหมดเป็นผลสืบเนื่องของวิกฤตการณ์ในยูเครนที่รัสเซียเข้าแทรกแซงไปทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่าง NATO และรัสเซียอีกครั้ง
"ตอนนี้ทุกคนขึ้นบินกันหมด" นาย Haglund กล่าวใน Helsinki Times

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

จีนไม่พอใจที่สหรัฐฯอนุมัติการขายเรือรบให้ไต้หวัน

FFG-52 USS Carr ปลดประจำการในวันที่ 13 มีนาคม 2013 รอการขายให้ต่างประเทศซึ่งน่าจะเป็นไต้หวัน

China angered by US bill allowing Taiwan warship 
http://news.asiaone.com/news/asia/china-angered-us-bill-allowing-taiwan-warship

กระทรวงการต่างประเทศของจีนแสดงความไม่พอใจตำหนิการตัดสินใจของสภา Congress สหรัฐฯ ที่อนุมัติการขายเรือรบมือสองให้ไต้หวันซึ่งจีนถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน
วุฒิสภาสหรัฐฯมีมติเป็นเอกฉันท์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในการอนุมัติขายเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry หนึ่งในสี่ลำให้ไต้หวัน ได้แก่
FFG-50 USS TAYLOR, FFG-51 USS GARY, FFG-52 USS CARR และ FFG-55 USS ELROD
ซึ่งกองทัพเรือสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน)ก็มีเรือชั้น Cheng Kung ซึ่งเป็นเรือ Oliver Hazard Perry รุ่นลำตัวยาวที่ต่อเองในไต้หวันเริ่มเข้าประจำการช่วงปี 1993-2004 อยู่ 8ลำ
โดยจีนได้แสดงความไม่พอใจตั้งแต่เดือนเมษายนที่สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐฯผ่านการอนุมัตินี้มาแล้ว
Hong Lei โฆษกกระทรวงต่างประเทศกล่าวว่านี่เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของจีน
"เราหวังว่าสภา Congress ของสหรัฐฯจะหยุดการดำเนินการคืบหน้าในการออกกฎหมายนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ" นาย Hong Lei กล่าว

ขณะที่การโอนเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry มือสองซึ่งกองทัพเรือสหรัฐฯจะปลดประจำการลงทั้งหมดในอนาคตอันใกล้ให้มิตรประเทศ เช่น เม็กซิโก ไทย และปากีสถานนั้น
ยังต้องรอการลงนามในกฎหมายโดยประธานาธิบดีสหรัฐ Barak Obama
แต่การขายอาวุธของสหรัฐฯให้ไต้หวันแม้จะสร้างความไม่พอใจอย่างมากให้จีน แต่ก็ไม่ได้มีผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างจีน สหรัฐฯ และไต้หวันในภาพรวมนักครับ

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ไนจีเรียใกล้จะลงนามจัดหา JF-17 กับปากีสถาน

IDEAS 2014: Nigeria 'close to signing up' for JF-17
Nigeria is close to signing up for one or two squadrons of JF-17s, according to Pakistani officials. Source: IHS/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/46579/ideas-2014-nigeria-close-to-signing-up-for-jf-17

กองทัพอากาศไนจีเรียใกล้จะบรรลุขั้นตอนสุดท้ายในการลงนามจัดหาเครื่องบินขับไล่ JF-17 จำนวน 1-2ฝูง ราว 25-40เครื่อง
โดยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมปากีสถานเป็นผู้เปิดเผยข้อมูลต่อ Jane's ในงาน IDEAS 2014 ที่ Karachi ปากีสถาน
ซึ่งเมื่อเดือนตุลาคม จอมพล Adesola Nunayon Amosu ผู้บัญชาการกองทัพอากาศไนจีเรียได้เยื่อนปากีสถานและชมโรงงาน Pakistan Aeronautical Complex ที่ Kamra ตอนเหนือของ Islamabad แล้ว
ปัจจุบัน PAC ได้ผลิต JF-17 Block 1 ส่งมอบให้กองทัพปากีสถานไปแล้ว 50เครื่อง และเริ่มการผลิต JF-17 Block 2 อีก 50เครื่องตั้งแต่ปลายปี 2013 และการพัฒนารุ่น Block 3 ก็อยู่ในแผนแล้ว

JF-17 เป็นโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาร่วมระหว่างปากีสถานและจีน ซึ่งก่อนหน้านี้หลายปีไนจีเรียซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่จัดหาเครื่องบินรบจากจีนไปใช้หลายแบบให้ความสนใจ
แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีประเทศใดประกาศที่จะจัดหา JF-17 เข้าประจำการนอกกองทัพอากาศปากีสถานเลย แม้ว่าจะประสัมพันธ์เครื่องมาหลายปีแล้วก็ตาม
ซึ่งการที่ปากีสถานจะสามารถส่งออก JF-17 ให้ไนจีเรียได้เป็นลูกค้ารายแรกแรกจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับหลายประเทศที่ให้ความสนใจจะจัดหา JF-17 ไปใช้
เช่น อียิปต์ พม่า และเวเนซูเอลา ซึ่งในส่วนของพม่านั้นมีข่าวว่าต้องการจะเปิดสายการผลิตประกอบ JF-17 หรือ FC-1 ในประเทศด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ยูเครนจัดซื้อรถหุ้มเกราะ Saxon จากอังกฤษ


http://army.unian.ua/1018315-minoboroni-zakupilo-75-bronemashin-saxon.html

กระทรวงกลาโหมยูเครนจะสั่งซื้อรถหุ้มเกราะล้อยางเบา 4x4 แบบ Saxon จำนวน 75คันจากสหราชอาณาจักร ราคาคันละประมาณ $38,000-$51,000 แต่ไม่มีรายละเอียดการจัดหาเปิดเผยขณะนี้
ซึ่งกองกำลังความมั่นคงของยูเครนมีความต้องการในการจัดหารถหุ้มเกราะเบาเป็นจำนวนมากเพื่อรับมือกับสถานการณ์ด้านความมั่นคงโดยเฉพาะการรบกับกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในเขต Donbass
แม้ว่ายูเครนจะมีอุตสาหกรรมการผลิตรถเกราะเบาได้เองในประเทศเช่น Dozor ก็ตาม แต่การสั่งผลิตรถใหม่จากโรงงานจะต้องใช้งบประมาณสูงและใช้ระยะเวลาในการผลิตนานพอสมควร
รวมถึงการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยางเบาใหม่จากจากยุโรปตะวันตกเองก็มีราคาแพงมาก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสั่งผลิตรถใหม่ในโรงงานยูเครนเองหรือซื้อรถใหม่จากยุโรปตะวันตกก็ต่างใช้งบประมาณและเวลาทั้งสิ้น
การเลือกจัดหารถเกราะ Saxon มือสองจากอังกฤษจึงเป็นทางเลือกที่ประหยัดและเร็วกว่าในการจัดหารถให้ได้ตามจำนวนที่ยูเครนต้องการเพื่อทดแทนรถเกราะส่วนใหญ่ที่ล้าสมัยจำนวนมาก
โดยรถเกราะ Saxon ชุดแรก20คันจะส่งถึงยูเครนในราวสัปดาห์หน้าและจะส่งมอบจนครบภายในปี 2015 ซึ่งเป็นรถที่เก็บสำรองไว้จากจำนวน 147คันหลังปลดประจำการจากกองทัพอังกฤษ
ทั้งนี้กองทัพยูเครนจะรับมอบรถรบที่สร้างใหม่และปรับปรุงใหม่อีกเป็นจำนวนมากกว่า100คัน ทั้งรถเกราะล้อยาง BTR-4 รถถังหลัก T-64BM Bulat และปืนใหญ่อัตตาจร 2S1 Gvozdika 122mm
รวมถึงจะมีการเปิดสายการผลิตรถหุ้มเกราะ 4x4 Dozor จากโรงงานยานเกราะ Lviv แบบเต็มอัตราในฤดูใบไม้ผลิปี 2015 ด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Northrop Grumman ส่งมอบ MQ-8C Fire Scout เครื่องแรกให้กองทัพเรือสหรัฐฯ

Northrop Grumman delivers first operational MQ-8C Fire Scout to USN
The MQ-8C's autonomous landing features allow it to land on a sloped surface like that of a ship's deck at sea. Source: Northrop Grumman
http://www.janes.com/article/46688/northrop-grumman-delivers-first-operational-mq-8c-fire-scout-to-usn

Northrop Grumman ส่งมอบ UAV ขึ้นลงทางดิ่งแบบ MQ-8C Fire Scout ที่พร้อมปฏิบัติการเครื่องแรกจาก 70เครื่องให้กองทัพเรือสหรัฐฯ
โดย MQ-8C Fire Scout นั้นมีแบบแผนพัฒนามาจาก เฮลิคอปเตอร์ Bell 407 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า MQ-8B ที่มีแบบแผนจาก UAV แบบ Schweizer Aircraft 330
MQ-8C นั้นมีระยะปฏิบัติการบินที่ 150nmi สามารถบรรทุกได้หนัก 317kg โดยกองทัพเรือสหรัฐฯจะนำมาใช้ในภารกิจข่าวกรอง ตรวจการณ์ และลาดตระเวน (ISR:intelligence surveillance reconnaissance)
กองทัพเรือสหรัฐฯมีแผนจะประจำการ MQ-8C 70เครื่องซึ่งแบ่งเป็น 61เครื่องในสายการผลิต และ 9เครื่องสำหรับวิจัย พัฒนา ทดสอบและประเมิน
ในการจัดหา MQ-8B 30เครื่อง และ MQ-8C 19เครื่องนั้นสายการผลิตเป็นไปตามกำหนด รวมถึงแผนการจัดซื้อ MQ-8C เพิ่ม 21เครื่อง
คาดว่า MQ-8C จะเข้าประจำการครั้งแรกในปี 2016 โดยกองทัพเรือได้ทดสอบการบินจากฐานบนฝั่งที่ฐานทัพเรือ Ventura County ใน California ไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
และจะทดสอบการปฏิบัติการจากเรือผิวน้ำบนเรือ DDG-109 USS Jason Dunham ในสัปดาห์นี้
หลังจากนั้น MQ-8C จะมีการทดสอบระบบสงคราม Eletronic การติดตั้งระบบตรวจจับ ISR เพิ่มเติมและกระเปาะ MCAP(Multi Capability Pod)
ภายในเดือนมิถุนายน 2015 หลังการทดสอบในทะเลครับ

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ภาพประกอบนิยาย สารวัตรนักเรียนเดนนรก ภาคก่อนสถาปนาหมู่ที่๑๓ :บทที่๖ บทที่๗

สนใจอ่านนิยายฉบับบเต็มก็ตาม Link นี้ครับ
http://writer.dek-d.com/aagth1/writer/view.php?id=1212183

บทที่๖
"เราปิดภาคที่ตั้งด้วยความเศร้า มีงานเลี้ยงเล็กๆในหมู่นักเรียนฝึกที่โรงนอนคืนนั้นก่อนจะส่งไอ้หนูเหยินกลับบ้านในรุ่งเช้า..."

บทที่๗
หญิงสาวถอดผ้ากันเปื้อนหลังจากจัดเตรียมอาหารบนโต๊ะเสร็จก่อนเธอจะก้มหัวโค้งต้อนรับเซลีนอย่างสุภาพและกล่าวแนะนำตัวว่า

นอร์เวย์จะประเมินความต้องการจัดหาเรือดำน้ำใหม่แทนเรือชั้น Ula

Norway MOD To Evaluate An Acquisition Of New Submarines To Replace The Existing Ula class
Norway's six Ula class submarines were commissioned between 1989 and 1992, designed for a service life of thirty years. These submarines will be phased out in the 2020's. In addition to aging, technological advances make the Ula-class, which is based on design and technology from the 1980’s, insufficient to meet future, high-tech threats. Picture: RNON
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2226

โครงการพิจารณาเรือดำน้ำแบบใหม่ทดแทนเรือชั้น Ula ของกระทรวงกลาโหมนอร์เวย์นั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี 2007 โดยขณะนี้รัฐบาลนอร์เวย์ได้ตัดสินใจให้โครงการเข้าสู่ขั้นกำหนดคุณสมบัติและประเมินความต้องการ
ซึ่งรัฐบาลนอร์เวย์วางแนวคิดขีดว่าจะต้องเป็นเรือดำน้ำที่มีความสามารถส่งผลต่อการป้องกันประเทศของกองทัพนอร์เวย์ในภาพรวมร่วมกับอากาศยานรบและหน่วยปฏิบัติการพิเศษ
ปัจจุบันเรือดำน้ำชั้น Ula กองทัพเรือนอร์เวย์ 6ลำซึ่งเข้าประจำการในช่วงปี 1989-1992 นั้นจะมีอายุการใช้งานที่ 30ปี โดยมีแผนจะปลดประจำการในช่วงปี 2020s
ทั้งนี้เรือชั้น Ula ได้รับการยืดอายุการใช้งานไปอีก 5ปีทำให้เรือจะปลดประจำการเมื่ออายุการใช้งานที่ 35ปี โดยการศึกษาแสดงผลว่าการยืดการอายุการใช้งานเรือต่อไปมากกว่านี้จะมีค่าใช้จ่ายสูงมากไม่คุ้มค่า
และคุณสมบัติของเรือชั้น Ula นั้นใช้ Technology ยุคปี 1980s ซึ่งไม่เพียงพอต่อภัยคุกคามระดับสูงในอนาคตอีกต่อไปแล้ว
การตัดสินใจโครงการในขั้นต่อไปคือการประกาศคุณสมบัติความต้องการเรือนั้นคาดว่าจะเริ่มภายในปลายปี 2016 โดยกองทัพเรือนอร์เวย์ควรจะได้รับมอบเรือดำน้ำชั้นใหม่ช่วงกลางทศวรรษปี 2020s ครับ