วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

ความคืบหน้าโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot และ UH-60M กองทัพบกไทย

น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับกองทัพบกไทยในด้านการจัดหายุทโธปกรณ์ครับว่าในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามีความคืบหน้าของโครงการจัดหาอาวุธอยู่สองโครงการคือ
โครงการจัดหา ฮ.ท.๖๐ UH-60M รุ่นใหม่ล่าสุด จากจำนวนที่สั่งจัดหา 7เครื่อง
ซึ่งมีภาพออกมาแล้วว่า ฮ.UH-60M ของกองทัพบกไทยส่งลงเรือเดินทางมายังไทยแล้ว โดยเข้าใจว่าน่าจะเป็นชุดแรก 3เครื่องครับ
http://www.dsca.mil/PressReleases/36-b/2011/Thailand_11-28.pdf
โดยชุดที่สอง 4เครื่องน่าจะตามมาอีกภายใน1-2ปีข้างหน้านี้ครับ(ถ้าจำไม่ผิดตอนนั้น ครม.อนุมัติสองครั้ง ครั้งละ 2เครื่อง)
http://www.dsca.mil/PressReleases/36-b/2012/Thailand_12-39.pdf




(จากหัวข้อใน Website TFC http://www.thaifighterclub.org/webboard/18983/MH-60M-Thai-Royal--Today.html อ้าง Facebook Cha Futrakul https://www.facebook.com/Chafutrak?fref=nf)

ล่าสุดขนลงจากเรือที่ท่าเรือแหลมฉบังแล้ว


ที่มา Page ศูนย์การบินทหารบก
https://www.facebook.com/pages/ศูนย์การบินทหารบก/203323443120577

กับโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot
http://glavnoe.ua/articles/a9319
http://www.sq.com.ua/rus/news/ekonomika/26.08.2014/zavod_malysheva_gotovit_tanki_dlya_otpravki_za_granicu/

บทความข่าวของสื่อยูเครนในข้างต้นรายงานถึงสถานการณ์การผลิตของโรงงาน Malyshev ที่เมือง Kharkiv ซึ่งเป็นโรงงานผลิตรถถังหลักของ KMDB ผู้สร้าง BTR-3 และ Oplot
ตอนนี้โรงงาน Malyshev กำลังมีลูกค้าในเอเชียและแอฟริกา ซึ่งก็คือไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
ดังนั้นสายการผลิตหลักในโรงงาน Malyshev สำหรับการส่งออกตอนนี้จะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือการปรับปรุง T-64 ของคองโกและ Oplot-T ของไทย

T-64B1M (modernization) Malyshev Plant
http://www.youtube.com/watch?v=-eoeoDEDeg8

T-64B1M 5คันแรกที่ทำการสาธิตสมรรถนะให้ทหารคองโกชมเกิดขึ้นเมื่อวันที 23 กรกฎาคม 2014


ประธานาธิบดี Poroshenko ถ่ายรูปคู่กับ T-64B1M คันต้นแบบลายพราง Digital วันที่ 26 กรกฎาคม 2014 ซึ่งเป็นการจัดแสดงการนำรถถัง T-64 และ T-72 มาปรับปรุงเพื่อเข้าประจำการใหม่

ภาพรถถังหลัก T-64B1M ลายพราง Digital 5คันในโรงงาน Malyshev ถ่ายเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2014 เวลา 12:07

การปรับปรุง T-64B1 ซึ่งเป็นรุ่นลดระดับของ T-64B ที่ระบบควบคุมยิงใช้ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีไม่ได้ให้เป็นT-64B1M
การปรับปรุงหลักๆของ T-64B1M คือการเพิ่มเกราะ Nozh และใช้เครื่องยนต์ 6TD ใหม่กำลัง 1000HP แทน ย.5TDF ซึ่งเก่าล้าสมัยขาดความน่าเชื่อถือไปแล้ว
ทั้งนี้การใช้ระบบควบคุมการยิงรุ่นเก่าทำให้ประสิทธิภาพของ T-64B1M ด้อยกว่า T-64BM Bulat ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงของ T-64B และ T-84 Oplot-M ถึงสองเท่า
แต่ราคาค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงรถก็ถูกกว่าทำได้เร็วกว่าการผลิต T-84 ถึง15เท่า เช่นกัน
โดยยูเครนจะทำการปรับปรุงรถถังหลัก T-64B1M เข้าประจำการในประเทศตนเองและคองโกที่สั่งจัดหาจำนวน 50คันพร้อมๆกัน

การผลิตรถถังหลัก BM Oplot ของกองทัพบกไทยนั้น
นอกจากภาพที่โรงงาน Malyshev ที่แสดงถึงชิ้นส่วนตัวแคร่ฐานรถซึ่งประกอบเสร็จแล้วเตรียมติดตั้งเครื่องยนต์และระบบส่งกำลัง
และมีรายงานว่าการประกอบชิ้นส่วนเช่นการเชื่อมป้อมปืนนั้นกำลังดำเนินการอยู่
ซึ่งถ่ายเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม เวลา 14:52, 15:00 และ 16:11 นั้น


(นับได้มีประมาณ 5-6คัน แต่ไม่ทราบว่าส่งมอบจริงในชุดที่สองจะถึง 10คันหรือไม่)
นอกจากข้อมูลในบทความข่าวที่ระบุว่ายูเครนจะสามารถส่งมอบรถถังหลัก Oplot ชุดที่สองให้ไทยได้ในเดือนตุลาคมนี้
หลังจากที่เคยเลื่อนจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมามีความเป็นได้หรือไม่? ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เสียทีเดียวครับ
ตอนนี้อัตราการผลิตรถถังและรถเกราะแบบต่างๆของ KMDB โดยเฉพาะที่โรงงาน Malyshev นั้นถ้าอ้างอิงจากข่าวที่เคยลงในข้างต้นแทบจะใกล้เคียงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่๒แล้ว
คืออ้างว่าผลิตเป็นปีละ ๑,๐๐๐คัน (แต่ส่วนใหญ่การผลิตในโรงงานตอนนี้เป็นการซ่อมสร้างและปรับปรุงพวก T-64 และ T-72 กลับมาใช้ใหม่ให้ทันสมัยขึ้นมากกว่า)
การหล่อชิ้นส่วนและเชื่อมส่วนป้อมปืนถ้าว่าเริ่มทำในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้คาดว่าน่าใช้เวลาไม่นาน
ตรงนี้ก็มองว่ามีความเป็นไปได้ในระยะเวลาประมาณสามเดือนหรือ 12สัปดาห์ นับจากเดือนสิงหาคมนี้ ที่รถถังหลัก Oplot ของไทยชุดใหม่จะประกอบเสร็จครับ
เพราะสายการผลิตของโรงงาน Malyshev น่าจะทำได้(ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องคนงานหรือการเงิน)
ดังนั้นจึงเป็นไปได้มากว่ารถถังหลัก Oplot ชุดที่สองของกองทัพบกไทยอาจจะเสร็จทันในเดือนตุลาคมจริงๆ
โดยบทความข่าวกล่าวว่ารถถังหลัก Oplot-T จะส่งมอบให้กองทัพบกได้ครบ 49คัน ภายในปี 2015
แต่ปัญหาคือถ้าเสร็จแล้วจะส่งมาอย่างไรมากกว่า
เพราะชุดแรก 5คันประกอบเสร็จทดสอบไปที่ยูเครนเองเมื่อราวเดือนตุลาคมปีที่แล้ว แต่กว่าจะลงเรือส่งมาไทยได้ก็เป็นเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ครับ

การสวนสนามแสดงกำลังของกองทัพยูเครนในพิธีวันประกาศเอกราช 24 สิงหาคม 2014 ที่ผ่านมา
  
อย่างไรก็ตามสถานการณ์เหตุแบ่งแยกดินแดนทางภาคตะวันออกของยูเครนนั้น
ส่งผลให้รัฐบาลยูเครนประกาศที่จะเพิ่มงบประมาณจำนวนมากให้กับกองกำลังความมั่นคงยูเครน
ซึ่งผลกระทบต่อโรงงานผลิตอาวุธในขณะนี้เพิ่มการเร่งสายการผลิตยุทโธปกรณ์จำนวนมาก
โดยในส่วนของโรงงานของ KMDB นั้นนอกจากโรงงาน Malyshev ที่ผลิตและปรับปรุงรถถังแล้ว
โรงงานยานเกราะ Kyiv ที่ Kiev ก็เร่งการผลิตรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E และ BTR-4 
รวมถึงรถยนตหุ้มเกราะ 4x4 แบบ Dozor รุ่นติดปืนกลหนักและอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง
ทั้งหมดป้อนให้กองกำลังความมั่นคงยูเครนทั้งกองทัพและกองกำลังพิทักษ์รัฐเช่นกัน
ซึ่งจะเห็นว่ารถถังและรถเกราะเหล่านี้ของยูเครนมีการทำลายพรางแบบ Digital เหมือนที่กองทัพบกไทยใช้มาก 

อย่างไรก็ตามการรบในภาคตะวันออกของยูเครนั้นได้ทวีความรุนแรงยืดเยื้อมากขึ้น
เพราะถึงแม้ว่ากองกำลังความมั่นคงยูเครนจะยึดและปิดล้อมเมืองของกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซีย
แยกกำลังของฝ่ายสาธารณรัฐประชาชน Donetsk และสาธารณรัฐประชาชน Luhansk ออกจากกันได้
แต่รัฐบาลยูเครนก็อ้างว่ารัสเซียได้ส่งกำลังบุกเข้ามาทางตอนใต้ของยูเครนเพื่อเปิดแนวรบอีกด้านเพื่อบุกยึดเมืองท่า Mariupol
โดยขณะที่เขียนอยู่นี้กลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียที่สนับสนุนโดยกองทัพรัสเซียยึดเมือง Novoazovsk และ Starobeshevo ที่ติดชายแดนไปแล้ว
และกำลังตรงเข้าปิดล้อมเมือง Mariupol ที่กองกำลังรัฐบาลยูเครนวางกำลังตั้งรับอยู่

ตรงนี้ก็หวังว่าสงครามเต็มรูปแบบระหว่างรัสเซียและยูเครนจะไม่เกิดขึ้นครับ
เพราะการโจมตีทำลายโรงงานผลิตตอาวุธของยูเครนโดยรัสเซียมีโอกาสเกิดสูงมาก
และนั่นจะหมายถึงการจบอนาคตของการจัดหายุทโธปกรณ์จากยูเครนทั้ง BTR-3E1 และ Oplot ลงโดยที่ยังรับมอบรถไม่ครบครับ