วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สโลวาเกียบรรลุข้อตกลงเงื่อนไขการเช่าเครื่องบินขับไล่ Gripen เข้าประจำการ

SAAB Gripen C Czech Air Force(wikipedia.org)

Conditions of Gripen jet fighters rental agreed
http://spectator.sme.sk/c/20069523/conditions-of-gripen-jet-fighters-rental-agreed.html

ตามรายงานข่าวในสื่อสโลวาเกียเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม รัฐมนตรีกลาโหมสโลวาเกีย Martin Glvac ได้บรรลุข้อตกลงเงื่อนไขการเช่าเครื่องบินขับไล่ Gripen จำนวน 8เครื่องกับสวีเดนในส่วนจำนวนชั่วโมงบินที่จะทำการเช่าแล้ว
อย่างไรก็ตามการแถลงของโฆษกกระทรวงกลาโหมสโลวาเกีย Martina Ballekova การตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าจะมีการเช่า Gripen มาประจำการในกองทัพอากาศสโลวาเกียหรือไม่นั้น
จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะมารับตำแหน่งหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนของสโลวาเกียในเดือนมีนาคม ปี2016
การเจรจาการเช่าเครื่องบินขับไล่ Gripen มาประจำการในกองทัพอากาศสโลวเกียนั้นมีมาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมปี 2015 แล้ว
โดยทางรัฐมนตรีกลาโหมสโลวาเกีย Glvac กล่าวว่าระยะเวลาในการเจรจาที่นานกว่าที่คาดไว้นั้นมาจากประเด็นการอภิปรายข้อตกลงในส่วนของค่าเช่ากับสวีเดน

ปัจจุบันกองทัพอากาศสโลวาเกียมีเครื่องบินขับไล่ MiG-29AS 5เครื่อง และ MiG-29UBS รุ่นสองที่นั่ง 1เครื่อง ซึ่งจะปลดประจำการภายในไม่เกินเดือนพฤศจิกายนปี 2016
ทั้งนี้สโลวาเกียเป็นประเทศเล็กที่ไม่มีงบประมาณมากพอสำหรับการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ใหม่ได้ การเช่าเครื่องบินขับไล่จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ซึ่ง SAAB Gripen จากสวีเดนเป็นเครื่องบินขับไล่แบบเดียวที่มีข้อเสนอเงื่อนไขนี้
ตัวอย่างเช่น กองทัพอากาศเชคที่เช่า Gripen C/D 14เครื่องมาประจำการในปี 2004 และกองทัพอากาศฮังการีที่เช่าชื้อ Gripen C/D 14เครื่องในปี 2006 ซึ่งทั้งสองประเทศมีการต่อสัญญาเช่าเพิ่มอีก
คือสาธารณรัฐเชคขยายสัญญาเช่ากับสวีเดนจนถึงปี 2027 ส่วนฮังการีขยายเวลาเช่าจนถึงปี 2026 โดย Gripen C/D กองทัพอากาศเชคนั้นจะได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถในการใช้อาวุธโจมตีภาคพื้นดินความแม่นยำสูงเพิ่มเติม
อย่างไรตามการแถลงเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมานั้น ทางเชคและสโลวาเกียไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งฝูงบินขับไล่ร่วมของทั้งสองประเทศได้ เนื่องจากทางสโลวาเกียติดขัดเรื่องงบประมาณครับ

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ยูเครนและโปแลนด์จะร่วมมือพัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยางและปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน

BM Oplot at Eurosatory 2012(wikipedia.org)

http://www.ukrinform.ua/rubric-economics/1937351-ukroboronprom-ta-polyaki-rozroblyat-dva-novih-tipi-samohidnih-garmat.html

สำนักข่าว Ukrinform ยูเครนได้รายงานข่าวเมื่อวันที่ 28 ธันวาคมว่า Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงยูเครนได้ประกาศความร่วมมือกับ Huta Stalowa Wola กลุ่มร่วมทุนอุตสาหกรรมความมั่นคงโปแลนด์
ในการพัฒนาระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรขนาด 120mm ติดตั้งบนรถเกราะล้อยาง BTR-4E และระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพานขนาด 155mm ติดตั้งบนแคร่รถของรถถังหลัก BM Oplot

รถเกราะล้อยาง BTR-4 และรถถังหลัก BM Oplot เป็นผลงานออกแบบและผลิตโดยสำนักออกแบบ Kharkiv Morozov หรือ KMDB ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านการพัฒนาสร้างยานเกราะและรถถังของยูเครนที่อยู่ในเครือ Ukroboronprom
โดยรถเกราะล้อยาง 8x8 แบบ BTR-4E เป็นรถเกราะล้อยางลำเลียงพลรุ่นล่าสุดที่ออกแบบโดย KMDB ซึ่งมีสายการผลิตส่งออกให้กับกองทัพบกอิรัก และถูกนำเข้าประจำการในกองกำลังความมั่นคงของรัฐบาลยูเครนทั้งกองทัพและกองกำลังพิทักษ์รัฐ
ซึ่งรถเกราะ BTR-4 นั้นได้ถูกนำไปใช้ในการรบจริงแล้ว ทั้งในส่วนของกองกำลังความมั่นคงของยูเครนในการรบกับกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในเขต Donbass และกองทัพอิรักในการต่อต้านกลุ่มติดอาวุธก่อการร้าย เป็นต้น
ส่วนรถถังหลัก BM Oplot หรือ T-84 Oplot-M นั้นเป็นรถถังหลักยุคที่3ซึ่งมีขีความสามารถสูงทั้งระบบขับเคลื่อน ระบบตรวจจับ ระบบป้องกันตัว และอำนาจการยิง โดยมีกองทัพบกไทยเป็นลูกค้ารายแรกที่สั่งจัดหารถถังหลัก Oplot-T จำนวน 49คัน ซึ่งผลิตที่โรงงาน Malyshev
ปัจจุบันกองทัพบกไทยได้รับมอบรถถังหลัก Oplot แล้วสองชุดรวม 10คัน ซึ่งทาง Ukroboronprom, KMDB และโรงงาน Malyshev จะดำเนินการผลิตเพื่อส่งมอบให้ครบตามจำนวนที่สั่งจัดหาทั้งหมดภายในปี 2016 เป็นต้นไป

Huta Stalowa Wola โปแลนด์นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบปืนใหญ่อัตตาจร เครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจร และเครื่องจรวดหลายลำกล้อง สำหรับติดตั้งบนระบบแคร่รถแบบต่างๆทั้งแบบสายพานและแบบล้อยาง เช่น
ระบบป้อมปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 155mm/52cal แบบ Krab ซึ่งใช้แคร่รถจากระบบปืนใหญ่อัตตาจร K9 เกาหลีใต้ ติดตั้งกับป้อมปืนใหญ่อัตตาจร AS-90M ของอังกฤษ ลำกล้องปืนใหญ่ Rheinmetall เยอรมนี และระบบควบคุมการยิง Topaz ของ WB Electronics โปแลนด์
ระบบป้อมปืนเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรขนาด 120mm RAK ซึ่งติดตั้งกับรถเกราะล้อยาง 8x8 แบบ KTO Rosomak ของโปแลนด์ เป็นต้น
ดังนั้นความร่วมมือระหว่างสองประเทศจึงน่าจะเป็นการพัฒนาระบบป้อมปืนเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจร 120mm และป้อมปืนใหญ่อัตตาจร 155mm ของโปแลนด์ ติดตั้งเข้ากับรถเกราะ BTR-4 และแคร่รถของรถถังหลัก Oplot ของยูเครน
คาดว่าระบบต้นแบบของระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยางและปืนใหญ่อัตตาจรสายพานทั้งสองระบบจะเปิดตัวได้ในราวปลายปี 2016

ทั้งนี้ Ukroboronprom มีแผนที่จะเปิดสายการผลิตกระสุนหลายๆขนาด แก้ไขปัญหาการจัดหาเครื่องยนต์สำหรับรถเกราะหลายๆแบบ รวมถึงจัดการสายการผลิตจำนวนมากในการผลิตยุทโธปกรณ์ให้ดียิ่งขึ้น ทั้งรถเกราะล้อยาง Dozor-B 4x4, BTR-4 8x8 และรถถังหลัก Oplot
การแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศซึ่งยูเครนได้ดำเนินการกับหลายๆประเทศมากขึ้นนั้น จะเป็นการปรับปรุงขีดความสามารถของระบบยุทโธปกรณ์ของยูเครนให้ทันสมัยขึ้น และเพิ่มโอกาสในการส่งออกยุทโธปกรณ์ของยูเครนให้กับต่างประเทศมากขึ้นครับ

SAAB เสนอความร่วมมือในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ Sea Gripen แก่อินเดีย

SAAB Sea Gripen Computer Graphic Concept Image.

Saab pitches for joint development of Sea Gripen fighter jets
http://economictimes.indiatimes.com/news/defence/saab-pitches-for-joint-development-of-sea-gripen-fighter-jets/articleshow/50340519.cms

บริษัท SAAB สวีเดนเสนอความร่วมมือในการพัฒนาและถ่ายทอด Technology เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ Sea Gripen แก่อินเดีย
"เรามีโอกาสที่ดีเยี่ยมสำหรับการถ่ายทอด Technology" Ulf Nilsson ประธานแผนกการบินของ SAAB กล่าวขณะพูดถึง Gripen รุ่นปฏิบัติการทางเรือและโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ LCA รุ่นปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินที่ DRDO อินเดียกำลังดำเนินการอยู่
เมื่อสอบถามว่าใครจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการพัฒนานี้ นาย Nilsson กล่าวว่า
"มันมีค่าใช้จ่ายสำหรับทุกสิ่งนั่นละ แต่คุณสามารถเจรจาเกี่ยวกับการลงทุนในรูปแบบที่แตกต่างกันได้ ถ้าคุณเห็นว่ามีลูกค้าที่มีความเป็นไปได้รายอื่นๆ...คุณสามารถลงมือทำร่วมกับ บราซิล ไทย ซึ่งยังเป็นลูกค้าที่มีความเป็นไปได้สำหรับ Sea Gripen"

ขณะที่กองทัพเรืออินเดียให้การสนับสนุนการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ LCA Tejas รุ่นปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งอินเดียดำเนินการพัฒนาเองในประเทศ
อย่างไรก็ตามยังมีข้อกังวลในความไม่แน่นอนต่อความตั้งใจของกองทัพอากาศอินเดียสำหรับเครื่องบินขับไล่ LCA Mk2 ซึ่งถูกเลื่อนให้ล่าช้าออกไปเป็นเวลานานและเป็นระบบพื้นฐานในการพัฒนาเครื่องรุ่นปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบิน
ทั้งนี้กองทัพอากาศอินเดียได้ประกาศสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ LCA รวมทั้งหมด 120เครื่อง โดย 3เครื่องจะทำการปรับปรุงเป็นเครื่องรุ่น Tejas ที่มีอยู่ขณะที่ ที่เหลือจะเป็นรุ่นมาตรฐาน LCA Mk2
ด้านผู้บัญชาการทหารเรืออินเดีย พลเรือเอก R K Dhowan ได้กล่าวว่า กองทัพเรืออินเดียมีความมุ่งมั่นในโครงการนี้และต้องการจะเห็นเครื่องรุ่น LCA Mk2 มีคุณสมบัติตรงความต้องการของกองทัพในทุกๆด้าน

กองทัพเรืออินเดียมีกำหนดจะนำเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant ที่อินเดียออกแบบเองซึ่งกำลังดำเนินการสร้างอยู่ที่ Cochin เข้าประจำการภายในราวปี 2018
แต่อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนในขณะนี้ว่าเครื่องขับไล่ LCA รุ่นปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินนั้นจะมีความพร้อมปฏิบัติการเมื่อถึงช่วงเวลาดังกล่าวหรือไม่
ซึ่งทาง SAAB ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้เรียบร้อยแล้วและบอกว่าได้มีการกำหนดระบุการปรับเปลี่ยนที่จำเป็นทั้งหมดสำหรับการสร้าง Gripen รุ่นปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินคือ Sea Gripen เสร็จสิ้นแล้ว
แต่ทว่าอุปสรรคใหญ่ที่สุดสำหรับ SAAB คือการที่สวีเดนไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการในกองทัพ และด้วยเหตุนี้แม้กระทั่งการพัฒนาเครื่องต้นแบบก็ดูจะมีคำถามถึงปัญหาตามมาครับ

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ภาพเปิดเผยความเป็นไปได้ที่เครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ J-16 EW จีนทำการบินครั้งแรก

Possible J-16 EW variant makes its first flight
A new electronic warfare variant of the SAC J-16 reportedly first flew on 18 December 2015. Source: Via Chinese Internet
A close-up of the new electronic warfare pod on the wingtips of the SAC J-16 shows a similarity to the Northrop Grumman AN/ALQ-218 Tactical Jamming Receiver. (Via Ifeng web page)
http://www.janes.com/article/56855/possible-j-16-ew-variant-makes-its-first-flight

ภาพที่เผยแพร่ในสื่อ Internet ของจีนเมื่อไม่นานมานี้ แสดงถึงความเป็นไปได้ที่ Shenyang Aircraft Corporation (SAC) ผู้สร้างเครื่องบินขับไล่โจมตีทางลึกสองที่นั่ง J-16
ได้พัฒนาเครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (EW: Electronic Warfare) ที่มีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ J-16 ให้กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) ทำการบินครั้งแรกเมื่อ 18 ธันวาคม

ตามข้อมูลภาพและการวิเคราะห์ในสื่อสังคม Internet ของจีนหลายๆแหล่งรวมถึงภาพวิดีทัศน์ใน Web Ifeng นั้น J-16 EW ได้รับการติดตั้งกระเปาะสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่
ที่ดูคล้ายกับกระเปาะสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบ Northrop Grumman AN/ALQ-218 Tactical Jamming Receiver ที่ติดกับเครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ E/A-18G Growler ซึ่งพัฒนามาจากเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18F Super Hornet กองทัพเรือสหรัฐฯ
รวมถึงความเป็นไปได้ที่ J-16 EW เครื่องต้นแบบดังกล่าวจะไม่ได้ติดตั้งปืนใหญ่อากาศภายในลำตัวและอุปกรณ์ตรวจจับ IRST(Infrared Search and Tracking)
แต่เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ J-16 ซึ่ง SAC พัฒนาโดยมีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่โจมตีสองที่นั่ง Su-30MK ซึ่งกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนจัดหาเข้าประจำการในรุ่น Su-30MKK
เครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์  J-16 EW นั้นจะมีตำบลอาวุธที่ปีกและลำตัวรวม 10จุด สำหรับติดตั้งอาวุธและกระเปาะรวบกวนสัญญาณเชิงรุก Active Jamming

ก่อนหน้านี้กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้มีการพัฒนาระบบกระเปาะสงครามอิเล็กทรอนิกส์ทางยุทธวิธีมาแล้วอย่างน้อยสามระบบ
ระบบแรกนั้นมีขนาดใกล้เคียงกับ EDO Corporation AN/ALQ-99 ที่อาจจะมีทั้งภาครับและภาคส่งในตัว(Receiver/Transmitter) โดยติดตั้งกับเครื่องบขับไล่ทิ้งระเบิด Xian Aircraft Corporation JH-7 ในปี 2007
ระบบที่มีขนาดเล็กกว่าคือกระเปาะสงครามอิเล็กทรอนิกส์ KG600 นั้นติดตั้งกับ JH-7 เช่นกัน และมีการพัฒนากระเปาะสงครามอิเล็กทรอนิกส์ KG300 สำหรับส่งออก

การพัฒนา J-16 EW นั้นดูจะเป็นแนวคิดเดียวกับ E/A-18G Growler ซึ่งเป็นเครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ของกองทัพเรือสหรัฐฯ
ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนในการส่งอากาศยานรบเข้าใกล้เป้าหมายปฏิบัติการทางอากาศโดยลดขีดความสามารถของระบบป้องกันภัยทางอากาศฝ่ายตรงข้ามลงด้วยมาตรการสงครามอิเล็กทรอนิกส์
ยังมีความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่าเป็นไปได้ที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนจะพัฒนาเครื่องบินขับไล่ J-15S ซึ่งเป็นรุ่นสองที่นั่งของเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน J-15 ให้มีรุ่นเครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน
รวมถึงความเห็นเพิ่มเติมอีกว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนจะมีการพัฒนาระบบอากาศยานสนับสนุนสงครามอิเล็กทรอนิกส์ติดตั้งบนอากายานขนาดใหญ่เช่นเครื่องบินลำเลียง Shaanxi Y-8 ด้วย

ตามแหล่งข้อมูลของรัฐบาลประเทศในเอเชียประเทศหนึ่งในปี 2014 นั้นประเมินว่ากองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ J-16 เข้าประจำการ 100เครื่องภายในปี 2020 ซึ่งร่วมถึง J-16 EW ที่จะเพิ่มจำนวนขึ้น
สอดคล้องกับกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนที่จะเพิ่มจำนวนเรือบรรทุกเครื่องบินที่ต่อเองนออกจากเรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning และเพิ่มจำนวนนักบินขับไล่พร้อมรบและเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน J-15 ด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558

กองทัพบกสหรัฐฯปลดประจำการอากาศยานไร้คนขับ Hunter

US Army retires RQ/MQ-5 Hunter UAS fleet
US Army Hunters have seen service in Afghanistan, Iraq, and Kosovo. Source: Northrop Grumman
http://www.janes.com/article/56867/us-army-retires-rq-mq-5-hunter-uas-fleet

กองทัพบกสหรัฐได้ปลดประจำการระบบอากาศยานไร้คนขับ (UAS: Unmanned Aerial System) แบบ Northrop Grumman RQ-5 และ MQ-5 Hunter
หลังทำการบินเที่ยวสุดท้ายเมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมาที่ Fort Hood มลรัฐ Texas โดยมีการประกาศเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม

Hunter เป็น UAS แบบแรกของกองทัพบกสหรัฐฯที่นำเข้าประจำการเมื่อปี 1996 โดยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมากองทัพบกสหรัฐฯได้นำ UAS แบบ Hunter วางกำลังสนับสนุนปฏิบัติการในหลายสมรภูมิเช่น
การสนับสนุนกองกำลัง NATO ในภารกิจรักษาสันติภาพที่ Kosovo ช่วงปี 1999-2002, การวางกำลังในช่วงต้นของยุทธการ Iraqi Freedom อิรักปี 2003 และการปฏิบัติการในอัฟกานิสถานมาต่อเนื่องหลายปี
ปกติแล้วอากาศยานไร้คนขับแบบ Hunter จะถูกใช้ในภารกิจรวบรวมข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวน (ISR: Intelligence, Surveillance, and Reconnaissance) เป็นหลัก
แต่ทั้งนี้ UAS แบบ Hunter สามารถติดตั้งอาวุธโจมตีภาคพื้นดินอย่างระเบิดนำวิถีร่อน GBU-44/B Viper Strike นำวิถีด้วย GPS/Laser ขนาด 20kg ได้

ที่ผ่านมา Hunter UAS ได้รับการพัฒนาปรับปรุงมาหลายครั้งโดยรุ่นล่าสุดคือ MQ-5B ได้รับการติดตั้งระบบเครือข่าย TCDL(Tactical Common Data Link)
แพนหางคู่แบบแข็งแรงพร้อมระบบการควบคุมซับซ้อน และสองเครื่องยนต์เชื้อเพลิงหนักซึ่งทำให้สามารถทำการบินได้มากว่า 20ชั่วโมง
พร้อมระบบกล้องตรวจจับ EO/IR(Electro-Optical/Infrared) ซึ่ง Hunter UAS มีพิสัยทำการ 200km ที่เพดานบิน 18,000ft.
โดยตลอดระยะเวลาที่ประจำการเกือบ 20ปี Hunter UAS ได้ทำภารกิจหลายรูปแบบตามการเปลี่ยนแปลงความต้องการใช้งานกองทัพบกสหรัฐฯมาตลอด โดยเฉพาะภารกิจต่อต้านการก่อความไม่สงบและต่อต้านการก่อการร้ายในช่วงทศวรรษ 2000s

ปัจจุบันอากาศยานไร้คนขับ Hunter จะถูกแทนที่ด้วยระบบใหม่คือ General Atomics Aeronautical Systems Inc (GA-ASI) MQ-1C Gray Eagle
ซึ่ง UAS แบบ Gray Eagle สามารถทำการบินได้นาน 25ชั่วโมง ติดตั้งระบบตรวจจับกล้อง EO/IR แบบ AN/DAS-2 EO/IR ELRF/LD
และ Radar แบบ GA-ASI AN/DPY-1 Lynx II SAR(Synthetic Aperture Radar)/GMTI ที่ก้าวหน้า
Gray Eagle UAS มีพิสัยทำการ 300km ที่เพดานบิน 29,000ft. มีถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ และรองระบบการติดตั้งอุปกรณ์และอาวุธขนาดใหญ่ได้ เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire 4นัดครับ

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ฝรั่งเศสสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger เพิ่มเติม 7เครื่อง

France orders seven more Tiger attack helicopters
France has ordered seven more Tiger attack helicopters from Airbus Helicopters. Source: Airbus
http://www.janes.com/article/56811/france-orders-seven-more-tiger-attack-helicopters

DGA สำนักงานการจัดหายุทโธปกรณ์ของฝรั่งเศสได้ประกาศเมื่อวันที่ 22 ธันวาคมว่ากองทัพบกฝรั่งเศสได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger เพิ่มเติมจาก Airbus Helicopters จำนวน 7เครื่อง
โดยการสั่งจัดหาล่าสุดนี้จะทำให้กองทัพบกฝรั่งเศสมีจำนวน ฮ.โจมตี Tiger ในประจำการเพิ่มเป็น 67เครื่อง ซึ่งกองทัพบกฝรั่งเศสจะได้รับมอบ ฮ.ชุดใหม่ระหว่างปี 2017-2018
ทาง DGA ได้แถลงว่า "จุดประสงค์(ของการจัดหา ฮ.โจมตี Tiger เพิ่มเติม) คือการเพิ่มกำลังขีดความสามารถของกองกำลังฝรั่งเศสที่จะปฏิบัติการภาคอากาศ-พื้นดิน โดยเฉพาะในเขต Sahel-Saharan แอฟริกา"
ทั้งนี้การจัดซื้อล่าสุดระหว่างฝรั่งเศสโดยองค์การเพื่อความร่วมมือยุทธภัณฑ์ร่วม (OCCAR: Organisation for Joint Armament Cooperation) กับ Airbus Helicopters มีขึ้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา

ปัจจุบันกองทัพบกฝรั่งเศสมีเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger ประจำการในกองบินเบากองทัพบก (ALAT: Aviation Legere de l’Armee de Terre) จำนวน 55เครื่อง
โดย 40เครื่องเป็นรุ่น Tiger HAP (Helicoptere d'Appui Protection) ซึ่งมีขีดความสามารถในการติดตั้งและใช้อาวุธได้จำกัด
และที่เหลือเป็นรุ่น Tiger HAD (Helicoptere d'Appui Destruction) ซึ่งมีขีดความสามารถในการติดตั้งและใช้อาวุธก้าวหน้าสูง
ตามแผนการปรับปรุงกำลัง ฮ.Tiger ของกองทัพบกฝรั่งเศสนั้น เครื่องที่สั่งจัดหาเพิ่มเติมล่าสุดจะเป็นรุ่น Tiger HAD โดยแผนการปรับปรุง ฮ.รุ่น Tiger HAP ที่มีอยู่ให้เป็นมาตรฐานรุ่น Tiger HAD นั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว

องค์การเพื่อความร่วมมือยุทธภัณฑ์ร่วม (OCCAR) นั้นรับผิดชอบในโครงการเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger ทั้งในส่วนประเทศหุ้นส่วนหลักคือ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน รวมถึงลูกค้าที่ส่งออกคือออสเตรเลียที่ร่วมสังเกตุการณ์ในโครงการ
ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา OCCAR ได้มอบหมายให้ Airbus ดำเนินการศึกษาระบบสถาปัตยกรรม Mk3 หรือ Standard 3 สำหรับ ฮ.โจมตี Tiger
ซึ่งเป็นแนวทางในการปรับปรุงครึ่งอายุ (MLU: Mid-Life Upgrade) สำหรับ ฮ.โจมตีตระกูล Tiger ทุกๆรุ่น
สำหรับ ฮ.โจมตี Tiger ในกองทัพบกฝรั่งเศสนั้นการปรับปรุง MLU คาดว่าจะมีเช่นขีดความสามารถในการติดตั้งใช้ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นพิสัยไกลแบบใหม่ (FAST-M) แทน Hellfire เดิม และจรวดนำวิถีขนาด 68mm เป็นต้นครับ

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เยอรมนีมีแผนพัฒนาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่ Tornado

Germany plans to develop new fighter jet to replace Tornado
A German air force Tornado jet takes off from the German army Bundeswehr airbase in Jagel, northern Germany December 10, 2015.
Reuters/Fabian Bimmer
http://uk.reuters.com/article/uk-germany-defence-jet-idUKKBN0U30PS20151220

สำนักข่าว Reuters ได้รายงานว่า เยอรมนีมีแผนที่จะพัฒนาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Tornado ในระยะยาวโดยมุ่งเป้าไปยังการเจรจาขั้นต้นกับประเทศหุ้นส่วนในยุโรปในปี 2016

ตามเอกสารร่างจากรัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี นาง Ursula von der Leyen เกี่ยวกับยุทธศาสตร์อากาศยานทางทหารนั้นระบุว่ายังไม่มีความชัดเจนขณะนี้ว่าเครื่องบินขับแบบใหม่จะเป็นแบบมีนักบินบังคับหรือเป็นแบบไร้คนขับ
อีกทั้งเอกสารยังระบุว่ามีความเป็นได้ที่จะออกแบบให้เครื่องบินขับไล่แบบใหม่สามารถทำการบินได้ทั้งแบบมีนักบินบังคับหรือไร้คนขับขึ้นอยู่กับรูปแบบการวางกำลัง
เช่นเดียวกับโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ร่วมของยุโรปก่อนหน้านี้ ดูเหมือนว่าจะมีบริษัทในยุโรปหนึ่งบริษัทหรือมากกว่าที่จะถูกรับเลือกให้รับหน้าที่พัฒนาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่นี้
โดยเครื่องบินขับไล่ Tornado ที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศเยอรมนี (Luftwaffe) ตั้งแต่ปี 1981 นั้นก็เป็นการพัฒนาภายใต้กลุ่มธุรกิจอากาศยานร่วมนานาชาติภายใต้ชื่อ Panavia Aircraft GmbH
รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Typhoon เช่นเดียวกันที่ถูกพัฒนาภายใต้กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยานร่วมนานาชาติในชื่อ Eurofighter GmbH
ซึ่งทุนหลักของทั้งสองบริษัทประกอบด้วยของบริษัท Airbus Defence and Space (EADS เดิม) เยอรมนี, BAE Systems อังกฤษ และ Alenia Aermacchi อิตาลี
ขณะเดียวกันตามเอกสารร่างข้างต้นทางกองทัพเยอรมนียังได้สำรวจความเป็นไปได้ที่จะขยายระยะเวลาประจำการของเครื่องบินขับไล่ Tornado ออกไปเป็นช่วงกลางปี 2030s จากแผนเดิมที่จะปลดประจำการในกลางปี 2020s

อย่างไรก็ตามโฆษกรัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนีกล่าวว่าเอกสารร่างนี้ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีท่านอื่นในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี นาง Angela  Merkel จึงยังไม่สามารถให้ความเห็นใดๆได้ ณ ตอนนี้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Antonov ยูเครนได้รับสัญญาจัดหาเครื่องบินลำเลียง An-178 ให้ซาอุดิอาระเบีย 30เครื่อง

18-12-2015 / ANTONOV and TAQNIA AERONAUTICS signed a Memorandum on delivery of 30 AN-178s to Royal Saudi Air Force 
http://www.antonov.com/news/435

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมาบริษัท Antonov ยูเครน และ Taqnia Aeronautics ซาอุดิอาระเบียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันในการเป็นหุ้นส่วนเพื่อส่งมอบเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางแบบ An-178 จำนวน 30เครื่องให้กองทัพอากาศซาอุดิอาระเบีย

ตามการให้ข้อมูลของ พลตรี Ali Mohammed Al-Ghamdi (เกษียณแล้ว) ประธาน Taqnia Aeronautics กล่าวว่า
"การลงนามในบันทึกนี้เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันของเรา เรายังได้ลงนามเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกันในโครงการเครื่องบินลำเลียงใหม่ An-132 และการสนับสนุนเพิ่มเติมของ An-148 รุ่นวัตถุประสงค์พิเศษด้วย
เราเลือก An-178 โดยคำนึงถึงคุณสมบัติที่ดีของอากาศยานแบบนี้ มันมีราคาและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่ำซึ่งเป็นข้อได้เปรียบสำคัญของเครื่องเมื่อเปรียบเทียบกับอากาศยานแบบอื่นๆในชั้นเดียวกันนี้
นอกจากนี้เราจะดำเนินนโยบายการตลาดร่วมกันในการส่งเสริมการขาย An-178 สู่ประเทศอื่นๆในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งในอนาคตเรามีแผนความร่วมมือที่จะทำการผลิตเครื่องรุ่นนี้"

ด้านนาย Oleksandr Kotsiuba รองประธานอันดับหนึ่งบริษัท Antonov ก็ได้กล่าวว่า
"เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในการยืนยันความมุ่งมั่นร่วมกันของยูเครนและซาอุดิอาระเบียในความร่วมมือด้านหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในอุตสาหกรรมอากาศยาน
การลงนามบันทึกนี้ยืนยันว่า An-178 เป็นอากาศยานที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพตามความต้องการของลูกค้า เรามีหน้าที่ผูกพันต่อหุ้นส่วนของเราและพร้อมที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันตามข้อตกลงที่ลงนามไว้"

An-178 เป็นเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางสองเครื่องยนต์ไอพ่น ทำความเร็วเดินทางได้ 800 km/h บรรทุกได้หนักสุด 18tons พิสัยการบิน 1,000km
ซึ่งออกแบบมาสำหรับทดแทนเครื่องบินลำเลียงรุ่นเก่าของ Antonov ที่ใช้งานมานานในหลายประเทศทั่วโลกเช่น An-12, An-26 และ An-32
นับตั้งแต่ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2015 นอกจากกองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียที่สั่งจัดหา 30เครื่องแล้ว ยังมีสายการบิน Silk Way อาเซอร์ไบจานเป็นลูกค้ารายแรกที่สั่งจัดหา An-178 จำนวน 10เครื่องครับ

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558

KAI เกาหลีใต้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50 รุ่นใหม่เข้าแข่งขันโครงการ T-X กองทัพอากาศสหรัฐฯ

KAI rolls out T-X contender
KAI rolled out its contender for the USAF's T-X trainer competition on 17 December. Source: KAI
The Korean offering is based on the T-50 advanced trainer/light fighter already in service. (KAI)
http://www.janes.com/article/56740/kai-rolls-out-t-x-contender





เมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา Korea Aerospace Industries (KAI) สาธารณรัฐเกาหลี Lockheed Martin สหรัฐฯ ได้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50 รุ่นเพิ่มขีดความสามารถเพื่อเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึก T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
พิธีเปิดตัวเครื่องต้นแบบสาธิตโครงการเครื่องบินฝึก T-X ของ KAI ได้จัดขึ้นที่เมือง Sacheon โดยมีประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี พัก กึน ฮเย และแขกจากต่างประเทศทั้งทหารและพลเรือนเข้าร่วมงาน

KAI ได้กล่าวแถลงข้อมูลทางการว่าเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50 เครื่องสาธิต T-X ต้นแบบนี้ได้รับการปรับแต่งโดยตรงเพื่อตอบสนองความต้องการของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
โดยเฉพาะการเป็นเครื่องบินฝึกขั้นก้าวหน้าสำหรับนักบินขับไล่พร้อมรบที่จะไปทำการบินกับเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯโดยเฉพาะ Lockheed Martin F-35 Lightning II ซึ่งไม่มีเครื่องรุ่นสองที่นั่งสำหรับการฝึกเปลี่ยนแบบ
ซึ่งเครื่องต้นแบบสาธิต T-50 สำหรับโครงการ T-X ที่ KAI เปิดตัวนี้มีการติดตั้งระบบใหม่ๆหลายอย่างตามความต้องการของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
เช่น จอแสดงแสดงผลขนาดใหญ่ LAD (Large Area Display) ในห้องนักบินเช่นเดียวกับ F-35, แกนสันกลางลำตัวด้านบนเครื่องที่เพิ่มระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และระบบการฝึกแบบฝังภายในตัว(Embedded Training systems) เป็นต้น
ทั้งนี้ KAI และ Lockheed Martin จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในอีกสองปีข้างหน้าสำหรับการทดสอบภาคพื้นดินและการบินเพื่อเตรียมความพร้อมรอร่างข้อเสนอของโครงการ T-X ซึ่งคาดว่าจะออกมาในปี 2017

โครงการ T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯเป็นโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบใหม่จำนวน 350เครื่องทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น Northrop T-38C Talon ที่ประจำการมานานกว่า 50กว่าปี และมีกำหนดปลดประจำการในปี 2020
นอกจาก KAI และ Lockheed Martin ที่เสนอ T-50 แล้วยังมีผู้แข่งขันอื่นที่เข้าแข่งขันในโครงการ T-X เช่น Boeing และ SAAB ที่เสนอเครื่องบินฝึกไอพ่นที่ออกแแบบใหม่ เช่นเดียวกับ Northrop Grumman ที่เสนอเครื่องบินฝึกไอพ่นที่ตนออกแบบใหม่เช่นกัน
BAE Systems เสนอ Hawk และ Alenia Aermacchi เสนอ M-346 ที่กำหนดรหัสเป็น T-100 ครับ ทั้งนี้ KAI T-50 เป็นเครื่อแบบเดียวในขณะนี้ที่เป็นเครื่องบินฝึกไอพ่นความเร็วเหนือเสียงเหมือน T-38 Talon ครับ

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ญี่ปุ่นดำเนินการประกอบเครื่องบินขับไล่ F-35A ภายในประเทศเครื่องแรก

First Japanese-Assembled F-35A Components Mate at Nagoya FACO
https://www.f35.com/news/detail/first-japanese-assembled-f-35a-components-mate-at-nagoya-faco

เครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น (JASDF) เริ่มการดำเนินการประกอบเครื่องแรกในญี่ปุ่นแล้วที่โรงงานในนาโงยา
การประกอบขั้นสุดท้ายและนำออกจากโรงงาน (FACO: Final Assembly and Check-Out) ของ F-35A รหัส AX-5 เริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการแล้ว
ชิ้นส่วนหลักต่างๆของอากาศยานกำลังถูกประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงสร้างอากาศยาน ซึ่ง F-35A AX-5 นี่เป็น F-35 เครื่องแรกที่ทำการประกอบในญี่ปุ่น
โดยเครื่องจะประกอบเสร็จในส่วนการประกอบ Electronic Mate and Assembly (EMAS) และจะออกจากโรงงานส่งมอบได้ภายในปี 2017

F-35A ของญี่ปุ่น 4เครื่องแรกคือเครื่องรหัส AX-1, AX-2, AX-3 และ AX-4 นั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนการผลิตต่างๆที่โรงงาน Lockheed Martin ใน Fort Worth มลรัฐ Texas สหรัฐฯ คาดว่า F-35A AX-1 จะส่งมอบให้ญี่ปุ่นได้ภายในปี 2016
ทั้งนี้ตามโครงการจัดซื้อแบบ Foreign Military Sale (FMS) สำหรับ F-35A จำนวน 42เครื่องของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นนั้น 38เครื่องจะทำการประกอบและส่งมอบที่โรงงานนาโงยาในญี่ปุ่น
ซึ่ง Lockheed Martin และ Mitsubishi Heavy Industries (MHI) ได้ทำงานร่วมกันในการจัดตั้งระบบอุปกรณ์ เครื่องมือ ความช่วยเหลือด้าน Technic และการฝึกแรงงานต่างๆในโรงงานที่นาโงยาสำหรับเปิดสายการประกอบ F-35A ในญี่ปุ่น
นอกจากนี้ในปี 2014 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯยังได้เลือกให้โรงงานที่นาโงยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงและปรับปรุงใหญ่ประจำภาคเอเชียเหนือ-แปซิฟิก (MROU: Maintenance Repair Overhaul & and Upgrade) ด้วยครับ

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อินเดียและญี่ปุ่นลงนามข้อตกลงสนับสนุนการจัดหาเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก US-2i

India and Japan sign accords to support US-2i deal
India and Japan have signed accords to help pave the way for India's procurement of the US-2. Source: Japanese Maritime Self-Defense Force
http://www.janes.com/article/56611/india-and-japan-sign-accords-to-support-us-2i-deal

อินเดียและญี่ปุ่นได้ลงนามข้อตกลงในการอำนวยความสะดวกในระยะยาวสำหรับการส่งออกเครื่องบินสะเทินสะเทินบกค้นหาและกู้ภัยทางทะเลแบบ ShinMaywa Industries US-2i ของญี่ปุ่นให้อินเดีย
โดยระหว่างการเยือนกรุงโตเกียวของนายกรัฐมนตรีอินเดีย นาย Narendra Modi เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศได้ลงนามข้อตกลงด้านการส่งมอบยุทโธปกรณ์ความมั่นคงและ Technology และการป้องกันข้อมูลปกปิดทางทหาร

ในการแถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศอินเดียได้กล่าวถึงข้อตกลงของทั้งสองประเทศระหว่างนายกรัฐมนตรีอินเดีย นาย Modi และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นาย ชินโซะ อาเบะ ยืนยันความมุ่งมั่นที่จะสร้าง
ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงทวิภาคีเชิงลึก, รวมถึงความร่วมมือสองทาง และความร่วมมือทาง Technology การพัฒนา และการผลิตร่วมกันของทั้งสองประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศอินเดียยังได้กล่าวเสริมว่านายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศยังได้แสดงความตั้งใจที่จะสำรวจความเป็นไปได้ในอนาคตด้านความร่วมมือทางยุทโธปกรณ์และ Technology ร่วมกับเช่นเดียวกับเครื่องบินสะเทินสะเทินบก US-2
นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศอินเดียได้กล่าวว่าญี่ปุ่นและอินเดียมีความตั้งใจที่จะขยายความร่วมมือทวิภาคีในพื้นที่ซึ่งรวมถึงการแลกเปลี่ยนทางทหาร และการประชุมอย่างเป็นทางการระหว่างกองทัพและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของทั้งสองประเทศ

ส่วนอื่นๆของกรอบขยายความร่วมมือกันของทั้งสองประเทศที่ระบุไว้ระหว่างที่นายกรัฐมนตรีอินเดีย Modi เยือนญี่ปุ่นนั้นยังรวมถึง
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, พลังานนิวเคลียร์ภาคพลเรือน, เครื่องกำลังพลังงานแสงอาทิตย์, อวกาศ, Tecnology ชีวภาพ, ธาตุหายาก(Rare Earths) และวัสดุขั้นสูงด้วยครับ

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

UMS Sinbyushin F14 เรือฟริเกตแบบ Stealth ของกองทัพเรือพม่า



F14 UMS Sinbyushin (พระเจ้ามังระ) เป็นเรือฟริเกตลำที่สองของเรือฟริเกตชั้น F12 UMS Kyansittha (พระเจ้าจานสิตา) ซึ่งเข้าประจำการไปในปี 2014
โดยจากภาพล่าสุดเมื่อต้นเดือนธันวาคมนี้ เรือฟริเกต F14 UMS Sinbyushin ได้มีการทดสอบการเดินเรือในทะเลและติดตั้งระบบอาวุธและอุปกรณ์ต่างๆครบแล้ว คาดว่าเรือน่าจะเข้าประจำการได้ภายในเดือนธันวาคมนี้

เรือฟริเกตชั้น Kyansittha เป็นเรือฟริเกตที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยากซึ่่งพัฒนาจากเรือฟริเกตชั้น F11 UMS Aung Zeya (พระเจ้าอลองพญา) ซึ่งเป็นเรือฟริเกตลำแรกที่พม่าต่อเองในประเทศเข้าประจำการในปี 2010
เรือฟริเกตชั้น Kyansittha มีระวางขับน้ำประมาณ 3,000tons ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ CODAD สี่เครื่อง ทำความเร็วได้ประมาณ 30knots
ระบบอาวุธมีปืนใหญ่เรือ 76mm ทรง Stealth ที่ดูจะลอกแบบจาก Oto Melara 76/62 Super Rapid ,ปืนใหญ่กล AK-630 30mm 4กระบอก, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-802A 8นัด และอาจจะติดอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้
มี Torpedo ปราบเรือดำน้ำขนาด 324mm แฝดสาม Yu-7 สองแท่นยิง จรวดปราบเรือดำน้ำ แท่นยิงเป้าลวง มีลานจอด ฮ.พร้อมโรงเก็บครับ

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เดนมาร์กอนุมัติการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง Piranha 5 จำนวน 309คัน


http://www2.forsvaret.dk/nyheder/overige_nyheder/Pages/309nyepansredemandskabsvogne.aspx

จากที่ได้เคยรายงานว่ากระทรวงกลาโหมเดนมาร์กได้พิจารณาเลือกแบบรถหุ้มเกราะล้อยาง Piranha 5 จาก General Dynamic European Land Systems-MOWAG สวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทดแทนรถสายพานลำเลียง PMV M113 ที่ใช้งานมานานในกองทัพบกเดนมาร์ก
ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมากระทรวงกลาโหมเดนมาร์กได้ตัดสินใจอนุมัติการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง Piranha 5 เป็นจำนวน 309คัน
"ผมยินดีที่ได้มีการตัดสินใจสั่งซื้อแล้วตอนนี้ สายการผลิตรถสำหรับเดนมาร์กได้เริ่มขึ้นแล้ว รถลำเลียงพลใหม่นี่เป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ที่เหนือกว่ากำลังรถเกราะลำเลียงพลที่เรามีอยู่ตอนนี้ และพวกมันอยู่ในรายการความต้องการระดับสูงของกองทัพ"
พลเอก Peter Bartram ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพเดนมาร์กกล่าว

รถเกราะล้อยาง 8x8 Piranha 5 เป็นผู้ชนะในการคัดเลือกแบบโครงการจัดหารถหุ้มเกราะลำเลียงพลใหม่สำหรับกองทัพบกเดนมาร์กจากตัวเลือกที่มีบริษัทต่างๆส่งเข้าแข่งขัน 5แบบ เช่น
VBCI จาก Nexter Systems ฝรั่งเศส,  รถเกราะสายพาน PMMC G5 จาก FFG Flensburger เยอรมนี, รถเกราะสายพาน Armadillo จาก BAE Systems อังกฤษ และรถเกราะสายพาน ASCOD 2 จาก General Dynamics European Land Systems-Santa Barbara Sistemas สเปน
โดยรถเกราะล้อยาง Piranha 5 ชุดแรกจำนวน 5คันจะถูกส่งมอบในปี 2018 หลังจากนั้นจะมีการฝึกกำลังพลสำหรับรถใหม่ก่อนจะถูกส่งมอบให้หน่วยแรกพร้อมปฏิบัติการในปี 2019 และรถที่สั่งจัดหาทั้งหมด 309คันจะถูกส่งมอบครบในปี 2023
ซึ่งตามสัญญาระหว่างกองทัพเดนมาร์กกับ General Dynamic European Land Systems-MOWAG นั้นอนุญาตให้มีแผนการจัดหารถเพิ่มเติมได้อีกในอนาคต

"จำนวนรถทั้งหมดนี้ครอบคลุมตามความต้องการของโครงสร้างกองทัพบก และมากพอที่ภายในเวลาไม่กี่ปีจะสามารถนำเข้าประจำการในหน่วยของกลุ่มปฏิบัติการรบตอบโต้ และหน่วยอื่นๆส่วนใหญ่ของกองทัพที่จะได้รับมอบรถใหม่
ขณะที่เรายังได้รับจำนวนรถเพียงไม่กี่หน่วยนั้น ในช่วงเริ่มต้นของขั้นตอนการฝึกจะรวมถึงการฝึกกับรถเกราะลำเลียงพลแบบที่กองทัพมีใช้ในปัจจุบันหนึ่งแบบ เช่นรถเกราะล้อยาง Piranha IIIC
งานได้เริ่มแล้วตอนนี้และเป็นการมองไปยังแผนที่มั่นคงสำหรับการใช้งานรถแบบใหม่" พลตรี Hans-Christian Mathiesen ผู้บัญชาการทหารบกเดนมาร์กกล่าว
ทั้งนี้เพื่อเป็นการขั้นระยะชั่วคราว รถเกราะลำเลียงพลรุ่นเก่าจำนวนหนึ่งพร้อมระบบอุปกรณ์ทั้งหมดยังถูกใช้ในการฝึกศึกษาอยู่ครับ

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ภาพ Oplot-T ที่ยูเครนล่าสุด-๓














http://foto.vecherniy.kharkov.ua/gallery/268

รายงานภาพล่าสุดจากโรงงาน Malyshev และ KMBD ยูเครนครับ
ซึ่งจากภาพในโรงงานล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ จะเห็นรถถังหลัก Oplot จำนวนหนึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนประกอบหลายๆชิ้นส่วนทั้งป้อมปืนและรถแคร่ฐาน โดยมีอย่างน้อย ๑คันที่ประกอบเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ทาง Ukrspetsexport นั้นได้รับสัญญาจากกองทัพบกไทยในการจัดหารถถังหลัก Oplot ตั้งแต่ปี 2011
แต่จากปัญหาด้านการเงินของโรงงาน Malyshev ทำให้สายการผลิตมีความล่าช้า อย่างไรก็ตามทางยูเครนกล่าวว่าจะทำการผลิต ถ.หลัก Oplot ชุดใหม่อีก ๕คันส่งมอบให้ไทยได้อย่างเร็วภายในเดือนธันวาคมปีนี้
โดยจะสามารถทำการผลิตรถถังหลัก Oplot ที่เหลือส่งมอบได้ครบจำนวนตามสัญญาทั้งหมดได้ภายในปี 2016 ครับ
(แต่จากภาพสุดท้ายที่ชิ้นส่วนรถถังหลัก Oplot ที่กำลังอยู่ระหว่างการประกอบมีแมวอ้วนขาวส้มกำลังนั่งและกระโดดลงมาอยู่ รวมถึงแมวอ้วนขาวดำและอีกหลายๆตัวในโรงงานนี่ ทำให้สงสัยเหลือเกินว่าเมื่อไรรถถังเราจะเสร็จส่งมอบได้ครบเสียทีครับ)

ลิทัวเนียเลือกรถหุ้มเกราะล้อยาง Boxer เยอรมนีสำหรับโครงการจัดหารถรบทหารราบ



http://www.delfi.lt/news/daily/lithuania/lietuva-pagaliau-apsisprende-del-sarvuociu-pirkimo.d?id=69825668

วันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมาสภากลาโหมลิทัวเนียได้ตัดสินใจเลือกแบบรถหุ้มเกราะล้อยางสำหรับโครงการรถรบทหารราบทดแทนรถสายพานลำเลียงแบบ M113 สำหรับกองทัพบกลิวทัวเนีย
โดยแบบที่เลือกคือรถหุ้มเกราะล้อยาง Boxer จาก ARTEC เยอรมนี ซึ่งจะติดตั้งป้อมปืนใหญ่กลขนาด 30mm ของ Elbit อิสราเอล พร้อมติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Spike-LR อิสราเอล
กระทรวงกลาโหมลิวทัวเนียมีความต้องการจัดหารถเกราะล้อยาง Boxer รุ่นรถรบทหารราบ 84คัน และรุ่นรถที่บังคับการ 4คัน
คาดว่าการลงนามสัญญาจัดหาจะมีขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2016 โดยรถรบทหารราบ Boxer 8x8 ชุดแรก 14คัน จะส่งมอบให้ลิทัวเนียได้ในปี 2017

โครงการจัดหารถรบทหารราบล้อยาง 8x8 ทดแทนรถสายพานลำเลียง M113 ของกองทัพบกลิทัวเนียนี้ได้มีการตั้งงบประมาณจัดหาสุดท้ายไว้ที่ราว 400 million Euors ซึ่งน้อยกว่าที่ประกาศไปก่อนหน้านี้
นอกจากรถเกราะล้อยาง Boxer ที่ถูกเลือกโดยกระทรวงกลาโหมลิทัวเนียแล้วแบบรถที่มีการเสนอให้กองทัพลิทัวเนียพิจารณาและทดสอบสมรรถนะก็มีเช่น
รถเกราะล้อยาง Piranha V จาก General Dynamics European Land Systems สวิสเซอร์แลนด์, รถเกราะล้อยาง VCBI จาก Nexter ฝรั่งเศส, รถเกราะล้อยาง Patria ฟินแลนด์, รถหุ้มเกราะล้อยาง Rosomak โปแลนด์ และรถเกราะล้อยาง Stryker สหรัฐฯ
ทั้งนี้สื่อ DEFI ลิทัวเนียได้รายงานว่ารถเกราะ Patria ฟินแลนด์มีราคาถูกที่สุด แต่ก็มีความก้าวหน้าทาง Technology น้อยที่สุด
ขณะที่รถเกราะล้อยาง VCBI ฝรั่งเศสมีราคาแพงกว่ารถเกราะล้อยาง Boxer เยอรมนี และมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูงกว่ารถเกราะเยอรมันสามเท่า
ส่วนรถเกราะล้อยาง Stryker สหรัฐฯยังไม่ได้มีการทดสอบติดตั้งกับป้อมปืนใหญ่กลขนาด 30mm แบบใดๆทั้งของสหรัฐฯ ยุโรป หรือประเทศอื่น ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเพิ่มเติมและรถรุ่นใหม่จะพร้อมส่งออกได้ในปี 2019 เช่นเดียวกับรถเกราะล้อยาง Piranha V เช่นกัน
นั่นทำให้รถเกราะล้อยาง Boxer ที่สามารถจะทำการผลิตส่งมอบให้ลิทัวเนียได้ภายในปี 2017 ถูกเลือก แม้ว่าลิทัวเนียจะไม่เลือกติดตั้งป้อมปืนใหญ่ Puma 30mm ของเยอรมนีซึ่งมีราคาแพง โดยเลือกที่จะติดตั้งป้อมปืน 30mm ของ Elbit อิสราเอลแทน

กระทรวงกลาโหมลิทัวเนียได้ตั้งโครงการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 เพื่อเข้าประจำการในกองทัพบกลิทัวเนีย เพื่อทดแทนรถสายพานลำเลียง M113A1/A2 มือสอง จากเยอรมนีช่วงปี 2000-2006 ที่ปัจจุบันไม่น่าใช้งานได้เกิน 200คัน
โดยรถสายพานประจำการในกองพลน้อยทหารราบยานยนต์ Iron Wolf ซึ่งกองทัพบกลิทัวเนียกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกำลังรบของตนให้มีความทันสมัยตามมาตรฐานกองกำลัง NATO ที่ลิทัวเนียเข้าร่วมตั้งแต่ปี 2004
ตามแผนหน่วยขึ้นตรงของกองพลน้อยทหารราบยานยนต์ Iron Wolf คือกองพันทหารราบยานเกราะ Grand Duke Algirdas และกองพันทหารราบยานยานยนต์  Grand Duke Algirdas จะเป็นหน่วยที่ได้รับมอบรถเกราะล้อยาง Boxer ประจำการ
อีกทั้งกองทัพลิทัวเนียจะมีแผนที่จะจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลาง ซึ่งตามแหล่งข่าวคาดว่าอาจจะเป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ NASAMS จาก Kongsberg นอร์เวย์ ซึ่งพัฒนาจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120 AMRAAM สหรัฐฯครับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อิหร่านต้องการจะจัดหารถถังหลัก T-90 จากรัสเซีย

Iran intends to buy Russian T-90 tanks — Iranian Ground Force commander
ITAR-TASS / Vladimir Astapkovich
http://tass.ru/en/defense/842417

หลังจากที่รัสเซียเริ่มการส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 ให้อิหร่านตามสัญญาที่ทั้งสองประเทศลงนามไปก่อนหน้าแล้ว
ทางผู้บัญชาการกองทัพบกอิหร่าน พลจัตวา Ahmad Reza Pourdastan ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อท้องถิ่นว่ากองทัพบกอิหร่านมีความหมายมั่นที่ต้องการจะจัดหารถถังหลัก T-90 จากรัสเซียมาประจำการในกองทัพอิหร่าน

"จากความสัมพันธ์ของเรากับรัสเซียในด้านการจัดหายุทโธปกรณ์ที่ได้จัดตั้งขึ้นมาแล้วนั้น และเรามีนโยบายที่จะจัดซื้อรถถังหลัก T-90" นายพล Pourdastan กล่าวต่อสำนักข่าว Tasnim
โดยเขาแสดงความหวังว่าสัญญาที่เกี่ยวข้องต่างๆจะได้รับข้อสรุปและทหารผู้ชำนาญการของอิหร่านจะเดินทางไปรัสเซียเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ในการปฏิบัติการกับยุทโธปกรณ์ยุคใหม่นี้
ซึ่งทหารผู้ชำนาญการอิหร่านจะเดินทางไปรัสเซียเพื่อลงนามในสัญญาที่เกี่ยวข้องกับรัสเซีย ผู้บัญชาการทหารบกอิหร่านได้เน้นย้ำเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามยังไม่มีการลงนามสัญญาใดๆในขณะนี้
"เราจะมุ่งไปหาขีดความสามารถของประเทศใดๆที่จะพัฒนาขีดความสามารถของเราให้สูงขึ้น" นายพล Pourdastan กล่าว
อิหร่านและรัสเซียใช้เวลาหลายปีในการเพิ่มการพัฒนาาความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกันในหลายๆด้านซึ่งร่วมถึงการจัดหายุทโธปกรณ์จำนวนหลายรายการ
เช่นในกรณีการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ S-300 ซึ่งรัสเซียเริ่มทำการส่งมอบให้อิหร่านไปไม่กี่วันก่อนตามที่ได้เคยรายงานโครงการจัดหาไป

ย้อนกลับไปในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีกลาโหมอิหร่าน พลจัตวา Hossein Dehqan ได้ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกันของรัสเซียและอิหร่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ภูมิภาคตะวันออกกลางในปัจจุบัน
"สถานการณ์ปัจจุบันมีความจำเป็นที่อิหร่านและรัสเซียต้องใช้ช่องทางการเมืองของผู้นำทั้งสองประเทศที่จะพัฒนาความร่วมมือกันในด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคง" นายพล Dehqan กล่าว ซึ่งทั้งรัสเซียและอิหร่านจะมีความใกล้ชิดด้านความมั่นคงมากขึ้นไปอีกครับ

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Defense & Security 2015: อุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ของยูเครน, เซอร์เบีย, สิงคโปร์, สหรัฐฯ และยุโรป(เก็บตก)

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ IMPACT Hall 6-8 เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายนนั้น
มาชมภาพเก็บตกของส่วนจัดแสดงของผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์จากประเทศต่างๆที่เหลือบางส่วนกันครับ

UKROBORONPROM and Ukrspetsexport

OPLOT

BTR-3E1

BARS-8 4x4

ZTM-1 and ZTM-2 30mm Auto Canon


SKIP ATGM

UKROBORONPROM และ Ukrspetsexport ยูเครนนอกจากข่าวการลงนามสัญญาการถ่ายทอด Technology การจัดตั้งสายการประกอบรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 กับกองทัพบกไทยตามที่เคยรายงานไปนั้น
ก็ไม่มีข่าวอื่นมานักครับซึ่งการผลิตและส่งมอบรถเกราะ BTR-3E1 และรถถังหลัก Oplot แม้จะมีความล่าช้า แต่ทางยูเครนยืนยันว่าจะมีการผลิตเพื่อส่งออกให้กองทัพบกไทยครบตามสัญญาจัดหา




โดยตามรายงานข่าวโทรทัศน์ของยูเครนล่าสุดที่ออกอากาศช่วงวันที่ ๒-๓ ธันวาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับความคืบหน้าในการผลิตรถถังและยานเกราะของ KMDB ยูเครนนั้น
ที่โรงงาน Malyshev จะเห็นภาพรถถังหลัก Oplot อย่างน้อย ๑คัน ประกอบใกล้จะเสร็จสมบูรณ์กำลังทำการทดสอบระบบ ซึ่งทางยูเครนกล่าวว่าจะส่งมอบ ถ.หลัก Oplot ชุดใหม่อีก ๕คันให้ไทยได้ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2015 นี้ครับ

YUGOIMPORT



NORA B-52K1 155mm/52cal 

M03 Nora K I 155mm

LAZAR II 8x8

ในภูมิภาค ASEAN นี้ประเทศหนึ่งที่เป็นผู้จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากเซอร์เบียตั้งแต่สมัยอดีตยูโกสลาเวียก็จะมีเช่นพม่า อย่างระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Nora B-52 155mm/52cal ของกองทัพบกพม่าเป็นต้น
ถึงแม้ว่ากองทัพไทยดูจะไม่ได้สนใจระบบอาวุธจากเซอร์เบียมากนัก แต่ประเทศอื่นๆในกลุ่ม ASEAN ก็เป็นแหล่งที่ทาง YUGOIMPORT เซอร์เบียต้องการจะทำการตลาดอยู่ครับ

Rheinmetall AG

Skyshield and Oerlikon Revolver Gun Mk2 35mm

Skyguard and Oerlikon GDF007 35mm

Rheinmetall เยอรมนีได้ให้ข้อมูลว่า กองทัพบกไทยได้จัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบ Skyguard 3 รุ่นใหม่ล่าสุด
ประกอบด้วยด้วยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแฝดสอง Oerlikon GDF007 35mm หรือปืนใหญ่ต่อสู้อากาศอัตราการยิงสูง Oerlikon Revolver Gun Mk2 35mm
และ Radar ควบคุมการยิง พร้อมกระสุนแตกอากาศตั้งค่าระเบิดใกล้เป้าหมายได้แบบ AHEAD โดยไม่เปิดเผยจำนวนครับ

ThyssenKrupp Marine Systems (TKMS)

Howaldtswerke-Deutsche Werft (HDW) U214

Lockheed Martin


Lockheed Martin สหรัฐฯยังคงเสนอผลิตภัณฑ์ของตนแก่ไทยโดยเฉพาะในส่วนอากาศยาน เช่น เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี C-130J Super Hercules สำหรับกองทัพอากาศไทย และเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล SC-130J Sea Hercules ให้กองทัพเรือไทย
ซึ่ง Lockheed Martin ยังเป็นหุ้นส่วนสำคัญกับ KAI สาธารณรัฐเกาหลีในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกขับไล่ KAI T-50 โดย Lockheed Martin ได้นำ T-50 Golden Eagle Simulator มาจัดแสดงสาธิตในงานตามที่ได้รายงานไปด้วยครับ

Nexter


THALES






Thales นั้นก็มีรายงานข่าวกองทัพบกไทยลงนามจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Starstreak เพิ่มเติมโดยไม่ทราบจำนวนไปครับ
และก็มีการแสดงข้อมูลแบบเรือชุดต่างๆของกองทัพเรือไทยที่เลือกติดตั้งระบบอุปกรณ์ตรวจจับ ระบบควบคุมการยิง และระบบอำนวยการรบของ Thales เช่นชุดเรือ ต.991, ชุดเรือ ต.994, ชุด ร.ล.สัตหีบ และชุด ร.ล.กระบี่
รวมถึงแผนการปรับปรุงเรือที่ใช้ระบบอื่นโดยเปลี่ยนเป็นระบบของ Thales เช่น ชุด ร.ล.ปัตตานีเป็นต้นครับ

BAE Systems



BAE Systems เสนอแบบเรือ 99m Corvette หรือเรือคอร์เวตชั้น Khareef ของกองทัพเรือโอมานให้กองทัพเรือไทยสำหรับเป็นเรือรบผิวน้ำสมรรถนะสูงแบบใหม่
หลังจากที่ประสบความสำเเร็จในการขายสิทธิบัตรเรือ 90m Offshore Patrol Vessels หรือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่กับ บริษัทอู่กรุงเทพฯ ที่ปัจจุบันต่อเสร็จเข้าประจำการแล้วหนึ่งลำคือ ร.ล.กระบี่ และกำลังดำเนินโครงการสร้างลำที่สองอยู่
ทั้งนี้ BAE Systems ยังสนใจที่จะเสนอปืนใหญ่ลากจูง M777 155mm/39cal ที่มีน้ำหนักเบาเพียง 4.2tons ให้กองทัพบกไทย หลังจากที่เคยขายสิทธิบัตรการประกอบปืนใหญ่เบาวิถีโค้ง ปบค.๔๙ M119 ขนาด 105mm ในไทยไป
ซึ่งอาจจะรวมถึงการเสนอขายปืนใหญ่ M777 155mm ให้กรมทหารปืนใหญ่ นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทยด้วยครับ

MBDA


METEOR

TAURUS KEPD

BRIMSTONE


VL MICA


EXOCET

MBDA เสนอผลิตภัณฑ์อาวุธปล่อยนำวิถีของตน เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกล Meteor ซึ่งหวังที่จะเสนอให้กองทัพอากาศไทยนำมาติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ Gripen เช่นเดียวกับอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนอากาศสู่พื้น TAURUS ที่ติดกับ Gripen ได้
รวมถึงระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ VL MICA ที่มีข่าวกองทัพบกไทยให้ความสนใจจัดหา และการเสนอข้อมูล MARTE ER สำหรับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ลำที่สอง ให้กองทัพเรือไทยครับ

FINMECCANICA

OTO Melara STRALES

ST Kinetics

ULTIMAX 100 Mk8

SAR21

CPW and STK 40GL

STK 40AGL Mk2

SPIKE ATGM

TERREX 2


ST Kinetics สิงคโปร์มีการนำเสนอระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนซึ่งแสดงถึงความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรมความมั่นคงของสิงคโปร์
โดยระบบบางแบบมีการจัดหามาประจำการในกองทัพไทยเช่น เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ STK 40AGL ในกองทัพบกไทย และความร่วมมือในการพัฒนารถหุ้มเกราะล้อยาง DTI Black Widow Spider โดยใช้ Technology ของรถเกราะ Terrex 2 เป็นต้นครับ

สำหรับรายงานภาพและข่าวของงานจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 ที่ลงต่อเนื่องมายาวนานเป็นเวลาหนึ่งเดือนนี้ก็คงต้องขอจบเพียงเท่านี้ครับ
ถ้ามีโอกาสในอนาคตหวังว่าจะได้ทำรายงานภาพของงาน Defense & Security 2017 ต่อไป
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามมาถึงตอนนี้ครับ