วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

นักบินและช่างเครื่อง UH-72A กองทัพบกไทยชุดแรกสำเร็จการฝึกบินเปลี่ยนแบบ

Royal Thai UH72 Lakotas
http://www.heliopsmag.com/news/royal-thai-uh72-lakotas

นักบิน ๖นายและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงทาง Technic ๑๐นายจากกองทัพบกไทยได้สำเร็จหลักสูตรการฝึกบินเปลี่ยนแบบและการซ่อมบำรุง ฮ.ท.๗๒ UH-72A เป็นชุดแรก
ที่บริษัท Airbus Helicopters สาขาอเมริกาเหนือใน Grand Prairie รัฐ Texas สหรัฐฯ โดยนักบินและช่างเครื่องชุดที่สองของกองทัพบกไทยกำลังอยู่ระหว่างการเข้ารับการฝึกในต่อไปแล้วขณะนี้
 "ทีมของเรามีความภูมิใจที่ได้โอกาสในการฝึกนักบินและช่างเครื่องของกองทัพบกไทยในการปฏิบัติการกับเครื่อง Lakota และดำเนินภารกิจที่สำคัญสำหรับประเทศของพวกเขา"
Marc Paganini ประธานและ CEO ของบริษัท Airbus Helicopters สาขาอเมริกาเหนือกล่าว

กองทัพบกไทยได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ฮ.ท.๗๒ UH-72A Lakota จำนวน ๖เครื่อง ซึ่งนับเป็นประเทศแรกที่จัดหาต่อจากกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งกองทัพบกไทยมีแผนจะจัดหาเพิ่มเติมอีก ๙เครื่อง
(แต่ก็ได้รายงานข่าวไปก่อนหน้านี้แล้วว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแบบไปเป็น EC145 T2 แทน เนื่องสายการผลิตของ UH-72A สำหรับกองทัพสหรัฐฯใกล้จะปิดแล้ว
โดยกองทัพบกไทยจัดหา UH-72A ในรูปแบบ FMS ซึ่งเครื่องที่จัดหาจะผลิตในชุดเดียวกับของกองทัพสหรัฐฯก่อนที่จะโอนให้กองทัพบกไทย)
ตามกำหนดการณ์แล้วกองทัพบกไทยจะได้รับมอบ ฮ.ท.๗๒ UH-72A ชุดแรก ภายในเดือนเมษายน ๒๕๕๘ นี้ครับ

กองทัพบกนอร์เวย์รับมอบรถเกราะสายพาน CV90 MkIII ที่ปรับปรุงใหม่คันแรก

http://www.nrk.no/ho/den-forste-vogna-klar-for-haeren-1.12226572

BAE Systems Hagglunds ได้ทำพิธีเปิดตัวรถรบทหารราบสายพาน CV90 MkIII ที่ปรับปรุงใหม่เสร็จสิ้นคันแรกให้กองทัพบกนอร์เวย์ที่โรงงาน CHSnor AS ใน Moelv นอร์เวย์
โครงการปรับปรุง CV90 MkIII จำนวน 144คัน วงเงิน NOK 10 billion องค์การด้านการส่งกำลังบำรุงกระทรวงกลาโหมนอร์เวย์ได้ลงนามสัญญาในปี 2012
เป็นโครงการร่วมระหว่างบริษัทอุตสาหกรรมทหารทหารของสวีเดนและนอร์เวย์ คือ BAE Systems Hagglunds AB ใน Ornskoldsvik สวีเดน
และนอร์เวย์คือ Kongsberg Defence & Aerospace,Nammo Raufoss AS, CHSnor AS ใน Moelv และ Ritek AS ใน Levanger
มีรายละเอียดหลักคือการปรับปรุงรถรบ CV9030N ที่กองทัพบกนอร์เวย์มีประจำการเดิมอยู่แล้ว 103คัน ให้เป็นรุ่น CV90 MkIII ทั้งหมดและจัดหารถใหม่เพิ่มเติมราว 41คัน
แบ่งเป็น รุ่นรถรบทหารราบ 74คัน รุ่นลาดตระเวน 21คัน รุ่นที่บังคับการ 15คัน รถรบทหารช่าง 16คัน และรถเอนกประสงค์และการฝึกสองพลขับ 16คัน เป็นต้น
(กองทัพบกนอร์เวย์จัดหาCV9030N ตั้งแต่ปี 1999 รวม104คัน โดยสูญเสียไปหนึ่งคันและมีพลขับเสียชีวิต 1นาย จากกับระเบิดแสวงเครื่องในปฏิบัติการที่อัฟกานิสถานเมื่อปี 2010)
โดยโรงงาน CHSnor และ Ritek จะเปิดสายการผลิตและปรับปรุงรถ CV90 MkIII เพื่อส่งมอบให้กองทัพบกนอร์เวย์ครบตามจำนวนภายในปี 2018 ครับ

วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ยอดการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ประจำปี 2014 ของสวีเดนลดลง


Swedish military exports fall
http://www.janes.com/article/49524/swedish-military-exports-fall

หน่วยงานตรวจสอบด้านผลิตภัณฑ์ยุทธศาสตร์(ISP:  Inspectorate of Strategic Products) ที่ควบคุมเรื่องการส่งออกสินค้าของสวีเดนได้รายงานผลสรุปรวมการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ประจำปี 2014 เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาว่า
สวีเดนได้ทำยอดการส่งออกยุทโธปกรณ์ที่ผลิตแก่ต่างประเทศในปี 2014 คิดเป็นวงเงิน SEK8 billion หรือประมาณ $1 billion ซึ่งมีมูลค่าลดลงไปคิดเป็นร้อยละ33
โดยร้อยละ78 ของการส่งออกอาวุธของสวีเดนคือประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับหุ้นส่วนใกล้ชิดเช่น ออสเตรเลีย แคนาดา และสหรัฐฯ ส่วนที่เหลือร้อยละ22 ลูกค้าส่วนใหญ่คืออินเดีย และประเทศไทย
ซึ่งสหรัฐฯเป็นลูกค้าที่จัดหาอาวุธรายใหญ่ที่สุดของสวีเดนคือมียอดการส่งออกคิดเป็นวงเงิน SEK1.5 billion รองลงมาคือนอร์เวย์ประเทศเพื่อนบ้านซึ่งคิดเป็นวงเงิน SEK1.3 billion
และอันดับสามคือไทยที่วงเงิน SEK0.5 billion(ประมาณ ๑,๙๕๐ล้านบาท)
โดยกองทัพอากาศไทยเป็นลูกค้ารายสำคัญที่สุดของสวีเดนในปี 2008 ที่ได้ลงนามจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen 12เครื่องพร้อมระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สิงคโปร์ใกล้บรรลุข้อตกลงจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35

One of the first two RAAF F-35A Lightning IIs arrives at Luke Air Force Base in December 2014

US Program Chief: Singapore Nearing F-35 Buy
http://www.defensenews.com/story/defense/show-daily/avalon/2015/02/24/avalon-australia-f35-fms-bogdan-deeble-singapore/23927983/

พลอากาศโท Christopher C. Bogdan หัวหน้าโครงการ JSF(Joint Strike Fighter) ของกองทัพอากาศสหรัฐฯได้กล่าวในงาน Australian International Airshow 2015 ที่ท่าอากาศยาน Avalon ในออสเตรเลียว่า
การจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 F-35 ของ Lockheed Martin ในรูปแบบ FMS(Foreign Military Sales) มีประเทศที่สนใจจะเป็นผู้สั่งซื้อจำนวนมากที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาซึ่งหนึ่งในนั้นคือสิงคโปร์
กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ให้ความสนใจ F-35 มานานหลายปีแล้ว โดยสิงคโปร์ได้เข้าร่วมโครงการ JSF ในระดับ Security Cooperative Participants เช่นเดียวกับอิสราเอลที่ล่าสุดสั่งจัดหา F-35A รวม 33เครื่อง
นายพล Bogdan ยังได้กล่าวว่ากองทัพอากาศสิงคโปร์ไม่ได้ให้ความสนใจ F-35A CTOL เพียงรุ่นเดียวแต่ยังขอข้อมูลของรุ่น F-35B STOVL และ F-35C CV ด้วย
"ช่วงปีที่ผ่านมาในการเจรจาเรามีได้มีการเจาะลึกที่มากขึ้น (และ)เอกสารขอเสนอข้อมูลสำหรับพวกเขาก็เริ่มมีความกว้างมากขึ้น เพื่อแสดงให้เราเห็นว่าสิงคโปร์กำลังเริ่มที่จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปของการตัดสินใจ"
นายพล Bogdan กล่าว
สำหรับในส่วนกองทัพอากาศออสเตรเลียเองซึ่งได้เข้าร่วมโครงการ JSF ในระดับ3นั้น ได้สั่งจัดหา F-35A แล้วจำนวน 72เครื่อง ซึ่งปลายปี 2014 ที่ผ่านมาได้รับมอบเครื่องชุดแรก 2เครื่องสำหรับการทดสอบแล้ว
คาดว่า F-35A จำนวนสามฝูงบินของกองทัพอากาศออสเตรเลียจะได้รับมอบเครื่องเพื่อเข้าสู่ระดับความพร้อมรบขั้นต้นได้ภายในปลายปี 2020 ครับ

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กองทัพบกไทยลงนามจัดหาเฮลิคอปเตอร์ EC145 T2 สำหรับเป็น ฮ.รับส่งบุคคลสำคัญ

The Royal Thai Army acquires six Airbus Helicopters EC145 T2
The Royal Thai Army signed for six EC145 T2s with a VIP installation, under the Light Utility Helicopter Type II requirement, to be deployed principally on official passenger transport duties, with deliveries scheduled to begin in 2016.
http://www.airbushelicopters.com/site/en/press/The-Royal-Thai-Army-acquires-six-Airbus-Helicopters-EC145-T2_1256.html

ตามข่าวประชาสัมพันธ์ของAirbus Helicopters ลงข้อมูลว่ากองทัพบกไทยได้ลงนามจัดหา ฮ.EC145 T2 ๖เครื่องจาก Airbus Helicopters ที่ Marignane ฝรั่งเศสเมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา
นับเป็นโครงการจัดหา ฮ.ระหว่างกองทัพบกไทยและ Airbus Helicopters โดยตรงครั้งที่สองหลังจากโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3e ๘เครื่อง ที่เข้าประจำการในปี ๒๕๕๗
ถ้าไม่นับโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๗๒ UH-72A จำนวน ๑๕เครื่อง ซึ่งเป็นการจัดหาแบบ FMS(Foreign Military Sales) กับรัฐบาลสหรัฐฯ
โดยเครื่องชุดแรก ๖เครื่องที่สร้างโดย EADS North America ซึ่งลงนามจัดหาไปในปี ๒๕๕๖ จะมีกำหนดการณ์ส่งมอบในเดือนเมษายน ๒๕๕๘นี้ และชุดที่สอง ๙เครื่อง ลงนามจัดหาไปในปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา
ซึ่งนาย Philippe Monteux หัวหน้าส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกกล่าวว่านับเป็นความประสบความสำเร็จของ Airbus Helicopters ร่วมกับกองทัพบกไทยมาก

ตรงนี้มีการวิเคราะห์ว่าในการจัดหา ฮ.ใช้งานทั่วไปทดแทน ฮ.ท.๑ UH-1H ให้ครบจำนวนเพื่อตอบสนองตามความต้องการทางด้าน ฮ.ธุรการ ส่งกำลังบำรุง การบรรเทาสาธารณภัย และงานทั่วไปอื่นๆ
พร้อมๆกับ ฮ.ท.๖๐ UH-60 ซึ่งเป็น ฮ.ลำเลียงทางยุทธวิธีหลักนั้น กองทัพบกอาจจะเปลี่ยนแบบในการจัดหา ฮ.EC145 T2 แทนการจัดหา UH-72A เพิ่มเติม
เนื่องจากการจัดหาตามโครงการ FMS นั้น ฮ.ท.๗๒ UH-72A ที่กองทัพบกไทยสั่งจัดหาจะทำการผลิตพร้อมกับเครื่องที่จะส่งมอบให้กองทัพสหรัฐฯ
ซึ่งปัจจุบันสายการผลิตของ UH-72A ในอเมริกาเหนือที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2006 นั้นใกล้จะปิดแล้วเนื่องจากผลิตใกล้ครบจำนวนที่กองทัพสหรัฐฯต้องการแล้ว
โดย UH-72A ในกองทัพสหรัฐฯได้ถูกนำมาใช้ทดแทน UH-1 และ OH-58A/C ในภารกิจลำเลียงด้านธุรการ เช่นการส่งกำลังบำรุง การส่งกลับสายแพทย์ และการกู้ภัย ภายในแผ่นดินแม่สหรัฐฯเท่านั้น
(ไม่มีการส่งไปประจำการเพื่อทำการรบนอกประเทศ)



แต่จากข้อมูลในข่าวข้างต้นคือ ฮ.EC145 T2 ที่จะจัดหามา ๖เครื่องจะได้รับการติดตั้งอุปกรณ์และตกแต่งภายในให้เป็น ฮ.รับส่งบุคคลสำคัญ หรือ ฮ.VIP ครับ
นั่นอาจจะหมายความว่า ฮ.EC145 T2 จะเป็น ฮ.ใช้งานมาตรฐานพลเรือนโดยตรง ที่ต่างไปจาก EC645 T2 ที่กองทัพเรือสั่งจัดหา ๕เครื่อง ซึ่งเป็นรุ่นทางทหารโดยตรงและเป็นรุ่นใช้งานทางทะเล
ทำให้ดูเหมือนว่าการกำหนดแบบ ฮ.EC145 T2 ที่จัดหาใหม่จะเป็นเครื่องคนละแบบกับ ฮ.ท.๗๒ UH-72A ที่สั่งจัดหามาก่อน ซึ่งคาดว่าจะเข้าประจำการในส่วนกองร้อยบินประจำกองพลทหารราบ
และถ้าเป็นเช่นนั้นกองทัพบกอาจจะไม่ได้นำ EC145 T2 ๖เครื่องเข้าประจำการในศูนย์การบินทหารซึ่งเป็นหน่วยอากาศยานใช้กำลังรบหลัก
แต่อาจจะลงใน กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก เช่นเดียวกับ ฮ.ท.๑๓๙ AW139 ซึ่งเป็น ฮ.VIP เช่นกันนั้นหรือ? ตรงนี้ยังมีข้อสงสัยอยู่ครับ
(มีข่าวการปรับเปลี่ยนอัตราจัดและการจัดหาอากาศยานใหม่ของกองทัพบกไทยอีกมาก)

ทั้งนี้ ฮ.EC145 T2 ที่กองทัพบกไทยลงนามจัดหา ๖เครื่อง Airbus Helicopters กล่าวว่าจะเริ่มส่งมอบได้ภายในปี 2016 (๒๕๕๙)
โดยตามเอกสารของกรมการขนส่งทางบก งบประมาณที่ใช้ในโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบาแบบ EC145 T2 ๖เครื่องนี้มีวงเงินที่ ๙๙๙,๒๐๗,๔๓๖บาทครับ(ประมาณ $30.66 million)
http://www.matulee.com/cms/files/procurements/midprice/570501buy_helicopter_EC-145%20T2.pdf

อิสราเอลลงนามจัดหา F-35 เพิ่มเติม 14เครื่อง


Israel signs contract to purchase additional 14 F-35 fighter jets 
http://www.jpost.com/Israel-News/Israel-signs-contract-to-purchase-additional-14-F-35-fighter-jets-391789

เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาอิสราเอลได้บรรลุข้อตกลงในการลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แบบ F-35A ซึ่งพัฒนาและผลิตโดย Lockheed Martin เพิ่มเติมอีก 14เครื่อง วงเงิน $2.82 billion
สัญญาการจัดหาครั้งนี้ได้รวมการพัฒนาและติดตั้งระบบอำนวยการรบและการบินของอิสราเอลเองกับเครื่อง F-35 รวมถึงระบบสนับสนุน การฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่ภาคพื้น การซ่อมบำรุงและอะไหล่ด้วย
ซึ่งอิสราเอลได้ลงนามโครงการพัฒนาระบบร่วมกับ Lockheed Martin และ Pratt and Whitney ผู้ผลิตเครื่องยนต์ของ F-35 วงเงิน $688 million ในการพัฒนาระบบร่วมกับบริษัทของอิสราเอล
เช่น Elbit ได้รับสัญญาการพัฒนาหมวกนักบิน Helmet Mounted Display และระบบย่อยอื่นๆ ขณะที่ Israel Aerospace Industries จะสร้างปีกและเปิดสายการผลิตเครื่องในอิสราเอล

อิสราเอลได้ลงนามจัดหา F-35A ไปในปี 2010 แล้วจำนวน 19เครื่อง ทำให้จำนวนเครื่องที่จัดหาล่าสุดของอิสราเอลอยู่ที่ 33เครื่อง โดย F-35A ที่อิสราเอลจัดหามีราคาเฉลี่ยเครื่องละ $110 million
โดยกองทัพอากาศอิสราเอลมีแผนจะจัดหา F-35A เพิ่มเติมอีกชุด 17เครื่อง รวม 50เครื่อง เพื่อสามารถจัดตั้งฝูงบินขับไล่ได้อย่างน้อยสองฝูงบิน ฝูงบินละ 25เครื่อง
Aharon Marmarosh รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอลกล่าวว่า F-35A 2เครื่องแรกจะส่งมอบถึงอิสราเอลได้ภายในปลายปี 2016 และเครื่องที่เหลือจะทยอยส่งมอบไปจนถึงปี 2021 ครับ

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บราซิลรับมอบ RBS 70 ชุดสุดท้ายและอาจพิจารณาจัดหาเพิ่ม

Brazil receives last RBS 70 items, considers more
A Brazilian RBS 70 is shown here linked with SABER M60 and COAAe systems. Source: Brazilian Army
http://www.janes.com/article/49137/brazil-receives-last-rbs-70-items-considers-more

กองทัพบกบราซิลได้รับมอบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยสั้นมากแบบเคลื่อนย้ายด้วยบุคคลได้ SAAB RBS 70 ชุดสุดท้ายที่สั่งจัดหาในช่วงต้นปี 2014 จากสวีเดนวงเงิน $9.8 million
โดยโครงการจัดหานอกจากแท่นยิง 16แท่น จรวดรุ่น Mk II แล้วยังรวมถึงระบบจำลองการฝึก ระบบกล้องมองกลางคืน ระบบชุดทดสอบ อุปกรณ์ซ่อมบำรุง อะไหล่ อุปกรณ์สนับสนุน คู่มือและการฝึกด้วย
ซึ่งกองทัพบกบราซิลจะนำ RBS 70 เข้าประจำการในกองพลน้อยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่1 และโรงเรียนปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
ทั้งนี้การจัดหาระบบเพิ่มเติมตามแผนโครงการยุทธศาสตร์การป้องกันภัยทางอากาศ(PEE DAAe) กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณางบประมาณ การจัดตั้งระบบควบคุมและสื่อสารใหม่
ซึ่งกองทัพบกบราซิลกำลังพิจารณาถึงการศึกษาระบบ ปตอ.ใหม่ในส่วนขนาดลำกล้อง การบูรณาการ การส่งกำลังบำรุง และค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานด้วย

กองทัพบกบราซิลจะยังได้รับมอบปืนใหญ่ต่อสู้อากาศอัตตาจรสายพาน Gepard1A2 ขนาด 35mm แฝด มือสองจากเยอรมนี ชุดสุดท้ายอีก 13คัน จากที่สั่งจัดหาในเดือนพฤษภาคม 2013 ในเดือนกรกฎาคม 2015 นี้
โดยส่วนหนึ่งของการปรับปรุงระบบป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพบกบราซิลยังมี Radar ตรวจการณ์เพดานบินต่ำแบบเคลื่อนย้ายได้ด้วยบุคคล SABER M60 และศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้อากาศเคลื่อนที่ (COAAe)
ซึ่งพัฒนาโดย BRADAR ของบริษัท Embraer Defesa & Seguranca และศูนย์วิจัย Technology ของกองทัพบราซิล (CTEx) เอง
กองทัพบกบราซิลยังจะทำการประเมิน Radar ตรวจการณ์เพดานบินปานกลางระยะไกลแบบเคลื่อนที่ SABER M200 ที่พัฒนาโดย CTEx และ BRADER เช่นกัน
รวมถึงโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศประทับบ่ายิง Igla-S และระบบต่อสู้อากาศยานอัตตาจรล้อยาง Pantsir-S1 ที่มีปืนใหญ่กล 30mm และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ
ที่กำลังอยู่ระหว่างเจรจากับ Rosoboronexport รัสเซียด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กองทัพบกฟินแลนด์จะจัดหาปืนเล็กยาวจู่โจม FN SCAR สำหรับหน่วยรบพิเศษ

http://www.hs.fi/kotimaa/a1424430676159


The 3rd Generation FN SCAR -L & -H.

กองทัพบกฟินแลนด์จะจัดซื้อปืนเล็กยาวจู่โจม FN SCAR จำนวนราว 500กระบอกสำหรับหน่วยรบพิเศษ ซึ่งได้มีการทดสอบปืนในกรม Utti jaeger ซึ่งเป็นศูนย์หน่วยรบพิเศษของกองทัพฟินแลนด์ไปก่อนแล้ว
โดย FN SCAR ที่จะจัดหานั้นคาดว่าจะเป็นรุ่นที่ใช้กระสุนขนาด 5.56x45mm ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนให้ใช้กระสุนขนาด 7.62x39mm ได้

7.6x39mm RK 95 TP assault rifle on display during Finnish Defence Forces 2014 Flag day

Finnish 7,62 mm model 62 assault rifle with bayonet. Photographed in Mikkeli Infantry museum.

ซึ่งหน่วยรบพิเศษของกองทัพบกฟินแลนด์จะยังคงใช้ปืนเล็กยาวจู่โจมพานท้ายพับได้แบบ Rk 95 TP ซึ่งใช้กระสุนขนาด 7.62x39mm ที่ผลิตออกมาจำนวนน้อยราว 20,000กระบอกช่วงปี 1995-1998 ต่อไปอยู่
แต่ในส่วนของโครงการจัดหาปืนเล็กยาวจู่โจมประจำกายของกองทัพฟินแลนด์ใหม่แทนปืนเล็กยาวจู่โจม Rk 62 ขนาด 7.62x39mm ที่มีระบบพื้นฐานมาจากปืนเล็กยาวตระกูล AK-47 นั้นจะมีขึ้นในอีก5-10ปีข้างหน้า
กองทัพฟินแลนด์ได้ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับสื่อในเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าปืนเล็กยาวจู่โจมประจำกายของกองทัพฟินแลนด์ใหม่จะเป็นของ FN หรือไม่ครับ

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงเยี่ยมชมเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ H-6K รุ่นล่าสุดของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน

Xi Jinping visit reveals H-6 bomber details

Chinese leader Xi Jinping's pre-New Year visit to a PLAAF bomber regiment provided the first full view of the cockpit of an XAC H-6K. Source: Via CCTV

The H-6K now serves in at least two PLAAF bomber regiments. (Chinese internet)

The nearly decade-old H-6M has only recently been seen armed with the KD-20 1,500-2,500 km range LACM. (Chinese internet)

http://www.janes.com/article/49127/xi-jinping-visit-reveals-h-6-bomber-details


สถานีโทรทัศน์ CCTV ได้รายงานข่าวประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์และกองทัพปลดประประชาชน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ได้เยี่ยมชมกรมบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ซึ่งได้มีการแสดงภาพเปิดเผยถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์แบบ H-6K รุ่นล่าสุด
H-6 ผลิตโดย Xian Aircraft Corporation (XAC) ซึ่งทำการลอกแบบมาจาก Tu-16 ของโซเวียต โดยเริ่มทำการผลิตในจีนมาตั้งแต่ช่วงปลายปี1960s
และเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์หลักของกองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนมาตลอด

H-6 สามรุ่นล่าสุดที่ Xian ทำการพัฒนาออกมาในยุคหลังคือ H-6H ที่เข้าประจำการในราวปลายปี 1990s ซึ่งสามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนอากาศสู่พื้น YJ-63/KD-63 ได้สองนัดที่ตำบลอาวุธใต้ปีก
H-6M ซึ่งเข้าประจำการในราวปี 2007 ซึ่งมีตำบลอาวุธใต้ปีก 4ตำบลสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนอากาศสู่พื้น KD-20/K-AKD-20 ระยะยิง 1,500-2,500km
และติดตั้งระบบสงคราม Electronic และระบบแจ้งเตือนการตรวจจับจากอาวุธปล่อยนำวิถีรุ่นใหม่

ส่วน H-6K รุ่นล่าสุดนั้นได้ปรับปรุงติดตั้งห้องนักบินเป็นแบบ Glass Cockpit มีจอแสดงภาพเอนกประสงค์(MFD:Multifunction Displays) 5จอหรือมากกว่า ออกแบบกระจกห้องนักบินใหม่ให้มีวิสัยทัศน์การมองเห็นที่ดีขึ้น
H-6K ยังเป็นเครื่องรุ่นแรกในตระกูล H-6 ที่นักบินประจำเครื่อง 3-4นายได้รับการติดตั้งเก้าอี้ดีดตัว ทั้งติดตั้ง Radar ขนาดใหญ่ที่ส่วนหัวเครื่องแทนห้องกระจกแบบเก่า และกระเปาะชี้เป้า Electro-Optical รุ่นล่าสุด
โดยโครงสร้างเครื่อง H-6K ใช้วัสดุผสมน้ำหนักเบารุ่นใหม่ ซึ่งเมื่อติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ Soloviev D-30-KP2 กำลังขับ 12tons จะสามารถเพิ่มรัศมีการรบได้ถึงร้อยละ30 เป็น 3,500km
อีกทั้ง H-6K ยังมีตำบลอาวุธใต้ปีก 6ตำบลสำหรับติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนอากาศสู่พื้น KD-20 หรือติดตั้งได้อีกหนึ่งนัดหรือมากกว่าในห้องบรรทุกระเบิดในตัวเครื่อง
ซึ่งนอกจากจะติดตั้งระเบิดธรรมดาได้เช่นเดิมแล้วยังรวมถึงระเบิดนำวิถีความแม่นยำสูงแบบต่างๆอีกด้วย

ถึงแม้ว่า H-6 จะเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ที่มีแบบแผนเก่าเพราะเครื่องต้นแบบคือ Tu-16 นั้นออกแบบมานานและกองทัพอากาศหลายประเทศที่เคยใช้ได้ปลดประจำการลงไปแล้ว
แต่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนก็ได้ทำการพัฒนาออกแบบปรับปรุง H-6 รุ่นใหม่ให้มีความทันสมัยสูงขึ้น
โดยเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6 จำนวนมากกว่า 120เครื่องจะเป็นกำลังหลักของกรมบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนต่อไปในอนาคตครับ

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กองกำลังตอบโต้ NATO ของกองทัพเยอรมนีมีปัญหาสภาพความพร้อมของกำลังรบ


รายงานพิเศษจากสื่อเยอรมนีแสดงให้เห็นถึงปัญหาสภาพความพร้อมของกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) ในส่วนกำลังรบที่เป็นผลมาจากการตัดลดงบประมาณทางทหารของกองทัพโดยรัฐบาลมาต่อเนื่องหลายปีมาก
โดยในการฝึกซ้อมรบของกองกำลังตอบโต้ NATO(NRF: NATO Response Force) ของกองทัพเยอรมนีในการฝึกร่วม Noble Ledger 2015 ที่นอร์เวย์นั้น
ถูกพบว่ามีการตัดลดงบประมาณในการฝึกลงไปมาก และแสดงให้เห็นถึงด้านความพร้อมของยุทโธปกรณ์ของกองทัพเยอรมนีที่ลดลง

ตัวอย่างหนึ่งคือมีรายงานว่ากองพันทหารราบยานเกราะที่371(Panzergrenadierbataillon 371) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลัง NRF ยังขาดยุทโธปกรณ์ในอัตราจัดอีกมาก
เช่น กล้องมองกลางคืน Lucie ร้อยละ76, ปืนพก P8 ร้อยละ41 และปืนกล MG3 อีกร้อยละ31 จากความต้องการใช้งานในกองพัน
แต่ที่น่าตกใจคือยานเกราะล้อยาง 8x8 Boxer ซึ่งนำมาฝึกร่วม NRF นั้น ส่วนป้อมปืน Remote ของรถถูกนำเอาด้ามไม้กวาดทาสีดำมาติดที่ป้อมปืนแทนที่จะเป็นปืนจริงๆ! เพราะยังไม่เคยได้รับมอบปืนมาติดเลย!





ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาหลังการสิ้นสุดสงครามเย็นนอกจากจากปรับลดขนาดกองทัพลงของเยอรมนี ซึ่งส่วนหนึ่งนำมาสู่การสำรองอาวุธและขายส่งออกไปยังต่างประเทศจำนวนมากแล้ว
ยังรวมไปถึงการที่รัฐบาลเยอรมนีลดงบประมาณกลาโหมลงมาต่อเนื่องหลายปีจากปัญหาภาวะเศรษฐกิของสหภาพยุโรป ทำให้ความพร้อมรบของกองทัพเยอรมนีลดลงไปอย่างมากด้วย
ซึ่งก็ได้เคยรายงานเรื่องความพร้อมรบของกำลังเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเยอรมนี ที่เครื่องบางแบบไม่สามารถทำการบินหลายเครื่อง และการจัดหา ฮ.ใหม่ทดแทน ฮ.เก่าก็มีความล่าช้าไปแล้ว

แต่การประเมินภัยคุกคามใหม่จากสถานการณ์ในยุโรปตะวันออกปัจจุบันที่รัสเซียได้แทรกแซงยูเครนทั้งการผนวก Crimea และสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธในเขต Donbass
และแสดงกำลังคุกคามประเทศสมาชิกNATOและประเทศเป็นกลางในยุโรปเหนือกลุ่มประเทศบอลติกนั้น
ก็เป็นที่น่ากังวลถึงสภาพความพร้อมของกองทัพเยอรมนีปัจจุบันในฐานะกำลังหลักของ NATO ว่าจะรับมือกับภัยคุกคามจากรัสเซียครั้งใหม่นี้ไม่ได้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กองทัพอากาศรัสเซียทำการซ้อมรบทางอากาศใกล้ยุโรปตะวันออก

Russia conducting major air exercises close to Europe
Russian combat aircraft, such as the Su-34, are conducting a series of live-fire exercises close to European airspace as relations with the West continue to worsen over the crisis in Ukraine. Source: Sukhoi
http://www.janes.com/article/49064/russia-conducting-major-air-exercises-close-to-europe

Jane's ได้รายงานข่าวจากสำนักข่าว Sputnik ว่ากองทัพอากาศรัสเซียได้เริ่มการฝึกซ้อมรบทางอากาศ Ladoga 2015 เหนือทะเลสาบ Ladoga ทางตะวันออกใกล้เมือง St Petersburg
โดยการซ้อมรบที่เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ มีอากาศยานเข้าร่วมการฝึกมากกว่า 50เครื่องทำการฝึกใช้อาวุธจริงในเขตภาคทหารตะวันตกของรัสเซีย
เช่น Su-34, MiG-29SMT, MiG-31BM และ Su-27 หลายรุ่น
มีการวิเคราะห์ว่าการซ้อมรบครั้งนี้ของกองทัพอากาศรัสเซียเป็นการตอบโต้การเพิ่มกำลังทหารและการซ้อมรบร่วมของกลุ่มประเทศ NATO ในยุโรปตะวันออก ที่เพิ่มขึ้นหลังวิกฤตการณ์ในยูเครนตั้งแต่ปี 2014 ครับ

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กองทัพอากาศไทยตรวจรับ ฮ.๑๑ EC725 ที่ฝรั่งเศส

"ตรวจรับทางเทคนิคเฮลิคอปเตอร์แบบ EC725 ของกองทัพอากาศ"

พลอากาศตรี เฉลิมวงษ์ กีรานนท์ ประธานกรรมการตรวจรับทางเทคนิค คณะที่ ๑ ของโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ (ระยะที่ ๑) และคณะกรรมการ 
เดินทางไปตรวจรับเฮลิคอปเตอร์แบบ EC725 เครื่องที่ ๑ ซึ่งผลิตโดยบริษัท Airbus Helicopters ระหว่างวันที่ ๘ -๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส
โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางค้นหาและช่วยชีวิต ทดแทนเฮลิคอปเตอร์ปฏิบัติภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตในปัจจุบัน
เพื่อให้กองทัพอากาศดำรงศักยภาพและขีดความสามารถในการค้นหาและช่วยชีวิตในภาพรวมทั้งทางทหารและพลเรือน ในฐานะเป็นหน่วยหลักด้านกำลังทางอากาศของประเทศ
ทั้งนี้โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางฯ (ระยะที่ ๑) เป็นการจัดหา เฮลิคอปเตอร์แบบ EC725 จำนวน ๔ เครื่อง ซึ่งกำหนดส่งมอบทั้ง ๔ เครื่องให้กองทัพอากาศภายในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘
เครดิตภาพ....กองทัพอากาศ (RTAF)



ที่มา Page รัชต์ รัตนวิจารณ์
https://www.facebook.com/rach2511/posts/10206005720560207
https://www.facebook.com/rach2511

จากชุดภาพล่าสุดจะเห็นว่า ฮ.๑๑ EC725 เครื่องแรก หมายเลข 20301 นั้นได้ทำการขึ้นบินทดสอบครั้งแรก
ในช่วงที่คณะกรรมการตรวจรับทางเทคนิคของกองทัพอากาศไทยเดินทางไปตรวจรับเครื่องที่โรงงาน Airbus Helicopters ที่ฝรั่งเศสแล้ว
ก็ตามข้อมูลที่รายงานในข้างต้นครับว่า ฮ.๑๑ EC725 ชุดแรก ๔เครื่องจะมีการส่งมอบและก็น่าจะเดินทางขนส่งมาถึงไทยได้ภายในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ นี้
โดยข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆเกี่ยวกับ ฮ.๑๑ EC725 ของกองทัพอากาศไทยน่าจะมีออกมาภายหลังจากนี้อีกครับ

สวีเดนตกลงกับรัสเซียที่จะไม่นำเครื่องบินขับไล่ลงจอดในเอสโตเนียระหว่างการร่วมฝึกซ้อมทางทหารในบอลติก

http://www.thelocal.se/20150216/cweden-agreed-to-russiand-emands

หนังสือพิมพ์สวีเดนได้รายงานบันทึกข้อตกลงร่วมหลังจากการพบกันระหว่าง Viktor Tatarinsev ทูตรัสเซียประจำสวีเดน และ Annika Soder เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศประจำสภาว่า
สวีเดนจะไม่นำเครื่องบินขับไล่ไปลงจอดในเอสโตเนียเช่นเดียวกับฟินแลนด์ ระหว่างการฝึกซ้อมร่วมทางทหารในเขตรัฐบอลติกสมาชิก NATO ซึ่งนำโดยสหรัฐฯในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนนี้
โดยทางทูตรัสเซียพอใจกับคำตอบของสวีเดนในข้อตกลงนี้
การซ้อมรบทางทหารในเขตรัฐบอลติกนั้นนำโดยสหรัฐฯซึ่งเป็นการตอบโต้ที่รัสเซียเริ่มแสดงการคุกคามทางทหารต่อกลุ่มประเทศบอลติกสมาชิก NATO มากขึ้น
ซึ่งทางรัสเซียเองไม่ต้องการให้ประเทศเป็นกลางในเขตบอลติกทั้งสวีเดนและฟินแลนด์เข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกซ้อมรบที่ถือว่าเป็นการคุกคามรัสเซียนี้

แต่อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีต่างประเทศของสวีเดนและฟินแลนด์ Margot Wallstrom และ Erkki Toumioja ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการซ้อมรบในเขตบอลติกว่า
การซ้อมรบนั่นเป็นความร่วมมือระหว่างพันธมิตรทางทหารของกลุ่มประเทศเสรีร่วมกับสหรัฐฯที่ไม่สามารถปล่อยให้รัสเซียไม่แยแสได้
โดยทางรัฐมนตรีต่างประเทศของสวีเดน Wallstrom ได้กล่าวอีกว่า
เรื่องเกี่ยวกับการซ้อมรบนั้นเกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหมและกองทัพสวีเดน(และฟินแลนด์) ซึ่งคำถามใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ควรจะไปถามกระทรวงกลาโหมและกองทัพมากกว่า

ความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างสวีเดนและรัสเซียนั้นตึงเครียดขึ้นเมื่อมีการตรวจพบเรือดำน้ำไม่ปรากฎสัญชาติในเขตทะเลบอลติกน่านน้ำสวีเดนเมื่อฤดูร้อนปี 2014 ซึ่งเชื่อว่าเป็นเรือดำน้ำรัสเซีย
นำมาสู่ปฏิบัติการตามล่าเรือดำน้ำตอบโต้ครั้งใหญ่ของกองทัพสวีเดนนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็น โดยกองทัพสวีเดนประเมินว่ามีเรือดำน้ำปฏิบัติการในเขตทะเลบอลติกมากที่สุดถึง 4ลำ
เช่นเดียวกับฟินแลนด์ที่ถูกอากาศยานกองทัพรัสเซียรุกล้ำน่านฟ้าจนต้องมีการนำเครื่องบินขับไล่บินขึ้นสกัดกั้นมาแล้วหลายครั้งตั้งแต่ช่วงปี 2014 หลังเกิดวิกฤตการณ์ในยูเครนครับ

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กองทัพเรืออินเดียทดสอบยิง Brahmos จากเรือพิฆาต INS Kolkata

Indian Navy Test Fires Brahmos Anti-Ship Missile From its New INS Kolkata Destroyer 
BRAHMOS Supersonic Cruise Missile was successfully test fired from the Indian Navy's newest destroyer INS Kolkata.

BRAHMOS Supersonic Cruise Missile was successfully test fired from the Indian Navy's newest destroyer INS Kolkata.
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2416

กองทัพเรืออินเดียประสบความสำเร็จในการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำความเร็วเหนือเสียงแบบ Brahmos จากเรือพิฆาตชั้นใหม่คือ INS Kolkata
โดยกองทัพเรืออินเดียได้ขึ้นระวางประจำการ INS Kolkata ซึ่งเป็นเรือลำแรกของชั้นในวันที่ 16 สิงหาคม 2014 และกำลังสร้างเรือในชั้นนี้อยู่อีกสองลำ
เรือพิฆาตชั้น Kolkata ทั้งสามลำจะทำการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Brahmos ในแท่นยิงแนวดิ่ง VLS จำนวน 16นัด
ซึ่งนอกจากการโจมตีเป้าหมายเรือผิวน้ำแล้ว Brahmos ยังสามารถใช้เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินได้ด้วย

เรือพิฆาตชั้น Kolkata ติดตั้ง Radar ของ IAI อิสราเอล แบบ EL/M-2248 MF-STAR ระบบอาวุธนอกจาก Brahmos VLS 16นัด แล้ว
ยังติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Barak 8 32นัด, ระบบป้องกันระยะประชิดปืนใหญ่กลลำกล้องหมุนขนาด 30mm แบบ AK-630 4ระบบ
ปืนใหญ่เรือ Oto Melara 76mm แท่นยิง Torpedo ปราบเรือดำน้ำ 533mm 4นัด จรวดปราบเรือดำน้ำ RBU-6000 2แท่นยิง
ซึ่งระบบแท่นยิงแนวดิ่ง UVLM(Universal Vertical Launcher) ที่พัฒนาสำหรับ Brahmos นั้นทำให้เรือมีคุณสมบัติตรวจจับยากและสามารถทำยิงยิงจรวดได้ทุกทิศทางด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ภาพ ฮ.๑๑ EC725 เครื่องแรกของกองทัพอากาศไทย

เห็นภาพจากโมเดลกันมานานแล้ว ดูภาพจริงๆ ถ่ายจากบริษัท Eurocopter สาธารณรัฐฝรั่งเศส บ้างดีกว่า ฮ.ค้นหาและช่วยชีวิต EC 725 แบบล่าสุด ของกองทัพอากาศ ทำสีเรียบร้อยแล้วสวยงามมาก 
ขอบคุณเจ้าของภาพครับ





ที่มา Page PJ:พลร่มกู้ภัย กองทัพอากาศ
https://www.facebook.com/190797907634639/photos/pcb.788843304496760/788843237830100/
https://www.facebook.com/pages/พีเจพลร่มกู้ภัย-กองทัพอากาศ/190797907634639

จะเห็นได้จากชุดภาพข้างต้นว่า ฮ.๑๑ EC725 ใหม่ของกองทัพอากาศไทยเครื่องแรก หมายเลข 20301 นี้ซึ่งน่าจะเป็นเครื่องแรกจากโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ค้นหาและช่วยชีวิตชุดแรก ๔เครื่อง
ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมพร้อมในตัวเครื่องหลายอย่าง เช่น Radar ตรวจการณ์สภาพอากาศ, เสาอากาศและระบบ Sensor ตรวจจับต่างๆ, ระบบเป้าลวงป้องกันตัว และชุดรอกกว้านพร้อมไฟฉายในตัวเครื่อง เป็นต้น
จากหมายเลขเครื่องแสดงให้เห็นว่า ฮ.EC725 เครื่องนี้จะมาประจำการที่ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ ลพบุรี แทน ฮ.๖ UH-1H ที่ใช้งานมามากกว่า ๔๐ปี สำหรับกู้ภัยทางอากาศในพื้นที่การรบ(CSAR)
ที่น่าสังเกตุอีกจุดคือรูปแบบสีพรางเครื่องจะเป็นโทนขาวสลับเทา ซึ่งต่างจากสีพรางของ ฮ.๖ UH-1H ของกองทัพอากาศที่ใช้ในปัจจุบันที่เป็นโทนสีขาวสลับฟ้าครับ
(เดิมก่อนหน้านี้ UH-1H ของกองทัพอากาศ เคยใช้สีพรางเขียว น้ำตาล เทา สามสีเวียดนาม)

กองทัพอากาศไทยมีแผนจะจัดหา ฮ.ค้นหาและช่วยชีวิต แบบใหม่แทน ฮ.๖ UH-1H และ ฮ.๔ก S-58T ที่ปลดไปก่อนหน้านี้สิบกว่าปีแล้วจำนวน ๑๖เครื่อง
ซึ่งปัจจุบันได้มีการลงนามสัญญาจัดหากับ Airbus Helicopters ผู้ผลิตเครื่อง EC725 แล้ว ๖เครื่อง คือระยะที่๑ ๔เครื่องในปี ๒๕๕๕ และระยะที่๒ ๒เครื่องในปี ๒๕๕๗
การทดสอบการทำการบินครั้งแรกของ ฮ.๑๑ EC725 เครื่องแรกของกองทัพอากาศไทย และข้อมูลเพิ่มเติมน่าจะมีตามมาภายหลังจากนี้ครับ

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กองทัพอากาศสหรัฐฯอาจจะออกคุณสมบัติความต้องการเครื่องในโครงการ T-X ในเร็วๆนี้

T-38 Talon USAF

T-X Requirements Coming in 'Weeks'
http://www.defensenews.com/story/defense/show-daily/afa/2015/02/12/t-x-requirements-air-force-afa/23289555/

นายพล Robin Rand ผู้บัญชาการกองบัญชาการการฝึกและศึกษาทางอากาศ(AETC: Air Education Training Command) ได้ให้สัมภาษณ์สื่อในการประชุมทางวิชาการที่สมาคมสงครามทางอากาศกองทัพอากาศใน Orlando รัฐ Florida
ว่าการกำหนดคุณสมบัติความต้องเครื่องบินฝึกแบบใหม่ของกองทัพอากาศสหรัฐฯในโครงการ T-X ที่จะนำมาทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น T-38C Talon ที่ใช้งานมานานหลายสิบปีใกล้จะเสร็จแล้ว โดยน่าจะออกได้ภายในสัปดาห์เร็วๆนี้
และว่าทางรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐสภาจะอนุมัติการออกคุณสมบัติในเร็วๆนี้ แต่อย่างไรก็ตามนายพล Rand ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติเครื่องที่กองทัพอากาศสหรัฐฯกำหนดความต้องการแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามมีกระแสข่าวออกมาก่อนหน้านี้ว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯถูกกดดันจากรัฐบาลสหรัฐฯให้ลดคุณสมบัติเครื่องในโครงการ T-X ลงเพื่อประหยัดงบประมาณของรัฐ
แต่ทางด้านกองทัพอากาศสหรัฐฯเองก็พยายามที่จะคงรายละเอียดคุณสมบัติเครื่องตามความต้องการให้ได้มากที่สุด เพราะเป็นผู้ใช้งานที่จะต้องใช้เครื่องไปอีกหลายสิบปี และสามารถจะยืดอายุการใช้งาน T-38 ไปได้มากกว่านี้แล้ว
ซึ่งกองทัพอากาศสหรับฯต้องการเครื่องบินฝึกแบบใหม่จำนวนไม่ต่ำกว่า 300-400เครื่อง พร้อมระบบสนับสนุน เช่น ระบบจำลองการบินที่ทันสมัยสูงที่เป็นส่วนสำคัญของระบบ
ทั้งนี้กองทัพอากาศสหรัฐฯมีแผนอาจจะนำเครื่องบินฝึกในโครงการ T-X ไปใช้ในส่วนฝูงบินข้าศึกสมมุติสำหรับการฝึกนักบินขับไล่ในขั้นสูงด้วย

โครงการ T-X เป็นโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้าแบบใหม่เพื่อทดแทนเครื่องบินฝึก T-38 Talon ที่ใช้งานมาตั้งแต่ยุคปี 1960s หรือเกือบ50ปี
โดยเครื่องบินฝึกแบบใหม่จะนำมาใช้ฝึกนักบินที่จะเตรียมพร้อมไปเป็นนักบินขับไล่ของเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ที่เป็นกำลังหลักของกองทัพอากาศสหรัฐฯทั้ง F-22 และ F-35
ซึ่งการออกเอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ(request for proposal) จะมีขึ้นในไตรมาสที่4 ของปี 2016 และจะมีการลงนามสัญญาจัดหาในราวปลายปี 2017
งบประมาณในส่วนขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาในปีงบประมาณ 2016 จะอยู่ที่ $11.4 million ,เพิ่มเป็น $12.2 million ในปี 2017 เพิ่มเป็น $107.2 million ในปี 2018, $262.8 million ในปี 2019 และ $275.9 million ในปี 2020
บริษัทผู้ผลิตอากาศยานที่แสดงความสนใจจะส่งแบบเครื่องเข้าแข่งขันในโครงการก็มีเช่น
เครื่องบินฝึกแบบใหม่ที่ออกแบบร่วมระหว่าง Northrop Grumman, Boeing และ SAAB
KAI T-50 ที่เสนอโดย Lockheed Martin ซึ่งเป็นผู้ออกแบบร่วมกับ Korean Aerospace Industries เกาหลีใต้
T-100 ซึ่งพัฒนามาจาก M-346 เสนอโดย General Dynamics และ Alenia Aermacchi
และ Textron AirLand เสนอ Scorpion รุ่นใหม่ของตนเองครับ

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง MMP ครั้งแรก

France completes first MMP firing trials

France's DGA has completed the first firing trial of the MMP anti-tank missile. Source: MBDA
http://www.janes.com/article/48940/france-completes-first-mmp-firing-trials

DGA หน่วยงานด้านจัดหาอาวุธด้านความมั่นคงฝรั่งเศส และ MBDA บริษัทผู้ผลิตอาวุธชั้นนำของฝรั่งเศส ได้ประการความสำเร็จในการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง MMP ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
โดยทดสอบยิงเป้าหมายที่ระยะห่างเกินระยะสายตาจากจุดยิงที่ 4km ที่สนามทดสอบของ DGA ใน Bourge เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์
MBDA Missile de Moyenne Portee (MMP) เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบใหม่ของกองทัพบกฝรั่งเศสจะนำมาเข้าประจำการแทนระบบ MILAN ที่ใช้มานานหลายสิบปี
ซึ่ง MMP ใช้ระบบค้นหาแบบ Dual-Mode มีระบบจับความร้อนแบบไม่หล่อเย็น(uncooled thermal), กล้องโทรทัศน์กลางวัน(Daylight TV) และหน่วยอ้างอิงความเฉื่อย(IRU: inertial reference unit) ของ Sagem
มีระบบ Datalink สองทาง สามารถทำการยิงได้แบบ Fire and Forget, Man in the Loop และ Non Line Of Sight (NLOS)
ลูกจรวดขนาด 140mm ติดหัวรบแบบ Tandam สามารถเลืกโจมตีเป้าหมายได้แบบพุ่งใส่โดยตรงและพุ่งโจมตีจากด้านบน
กองทัพบกฝรั่งเศสจะนำ MMP เข้าประจำการในปี 2017 โดยจะจัดหาแท่นยิง 400ระบบ พร้อมลูกจรวด 2,850นัด
ซึ่งนอกจากสำหรับจะใช้กับทหารแล้วยังมีแผนที่จะนำ MMP ไปติดตั้งกับรถลาดตระเวน Jaguar 6x6 ด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สวีเดนและประเทศกลุ่มนอร์ดิกเปิดเผยแผนการป้องกันประเทศชิงรุก


Members of the Nordic Council

http://www.defensenews.com/story/defense/policy-budget/warfare/2015/02/10/sweden-nordic-cooperation-russia-nordefco-cooperation-nbg--sreide-battlegroup/22865811/

เพื่อตอบสนองสถานการณ์ด้านความมั่นคงของประเทศในกลุ่ม Nordic ซึ่งประกอบด้วย นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ และเดนมาร์ก จากสถานการณที่รัสเซียเข้าไปแทรกแซงทางทหารต่อยูเครนนั้น
สวีเดนซึ่งดำรงตำแหน่งประธาน Nordic Defense Cooperation (NORDEFCO) ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือทางทหารของกลุ่ม Nordic ในปี 2015นี้
ได้เสนอแผนการป้องกันกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อรับมือบกับภัยคุกคามจากรัสเซียที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็นเป็นต้นมา
โดยวาระมีแผนการเพิ่มประสิทธิภาพและการทำงานร่วมกันของเครือข่ายเฝ้าระวังในแต่ละประเทศ การปรับปรุงพัฒนาจัดตั้งกลุ่มรบร่วม Nordic-Baltic Battle Group (NBBG) และ Nordic Battle Group (NBG)
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ในทะเลเหนือ ทะเลArctic และทะเลBaltic ซึ่งเป็นการขยายกำลัง NBG ที่ปัจจุบันมีกำลังราว 1,600นาย ร่วมระหว่างฟินแลนด์และนอร์เวย์
เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศบอลติกสมาชิก NATO เอสโตเนีย แลทเวีย และลิทัวเนีย
"ชาตินอร์ดิกต้องพิจารณานโยบายด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์กับรัสเซียใหม่" Ine Eriksen Soreide รัฐมนตรีกลาโหมนอร์เวย์กล่าว ซึ่งนอร์เวย์เป็นประธาน NORDEFCO ในปี 2014

นับตั้งแต่การผนวก Crimea และเข้าแทรกแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในสงครามที่ภาค Donbass ของรัสเซียต่อยูเครนเป็นต้นมา
ประเทศกลุ่มนอร์ดิกที่มีพรมแดนติดกับรัสเซียได้เผชิญกับภัยคุกคามทางทหารโดยตรงจากรัสเซียที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่การสิ้นสุดสงครามเย็น
ทั้งการรุกล้ำน่านฟ้าของอากาศยานรบรัสเซียที่ต้องมีการส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นบินสกัดกั้นบ่อยครั้ง การตรวจับเรือดำน้ำในปรากฏสัญชาติทะเล Baltic น่านน้ำของสวีเดน
และเรือรบผิวน้ำของรัสเซียที่แสดงกำลังในน่านน้ำประเทศสมาชิกทั้งในทะเลเหนือ ทะเลArctic และทะเลBaltic
ไม่เฉพาะแต่นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และเดนมาร์กซึ่งเป็นสมาชิก NATO แต่ยังรวมถึงสวีเดนและฟินแลนด์ที่เป็นประเทศเป็นกลางด้วย
การร่วมกลุ่มความร่วมมือทางทหารของประเทศกลุ่มนอร์ดิกให้แน้นแฟ้นและมีศักยภาพการตอบโต้เชิงรุกมากขึ้น
จึงเป็นสิ่งจำเป็นของประเทศในกลุ่มนี้ในการรับมือกับภัยคุกคามจากรัสเซียที่ทวีความแข็งกร้าวมากขึ้นครับ

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กองทัพแคนาดาสอบสวนเหตุกระสุนปืนใหญ่นำวิถี 155mm สูญหายหลังถอนกำลังจากอัฟกานิสถาน

US Army artillerymen preparing a M982 Excalibur round for firing in Afghanistan, 2008.

Canadian army lost 3 GPS-guided artillery shells while leaving Afghanistan
http://www.ctvnews.ca/politics/canadian-army-lost-3-gps-guided-artillery-shells-while-leaving-afghanistan-1.2226364

กองทัพบกแคนาดากำลังสอบสวนเหตุที่กระสุนปืนใหญ่นำวิถีขนาด 155mm ที่คาดว่าจะเป็น M982 Excalibur ซึ่งนำวิถีด้วย GPS จำนวนสามนัดหายไปจากบัญชี
ขณะกองทัพแคนาดาทำการถอนกำลังกลับประเทศหลังสิ้นสุดภารกิจที่เมือง Kandahar อัฟกานิสถานในปลายปี 2011 ซึ่งมีการดำเนินการสอบสวนมาแล้ว 2ปี
กระสุนปืนใหญ่  M982 Excalibur พัฒนาโดย Raytheon Missile Systems และ BAE Systems Bofors เป็นกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155mm
นำวิถีด้วยระบบ GPS/INS ที่ใช้สำหรับยิงทำลายเป้าหมายที่ต้องการความแม่นยำสูง โดยมีระยะยิงไกลสุด 40-57km มีความคลาดเคลื่อนจากเป้าหมายไม่เกิน 5-20m
ซึ่งสามารถใช้ยิงสนับสนุนกำลังฝ่ายเดียวกันในระยะใกล้ราว 150m ได้ ทำการยิงจากปืนใหญ่สนามขนาด 155mm ทั้งแบบลากจูงและอัตตาจรมาตรฐาน NATO
เช่น M198, M777, M109A6, AS-90, Archer, G6 และ PzH 2000 เป็นต้น
เป็นที่น่ากังวลว่ากระสุนปืนใหญ่ M982 Excalibur อาจจะตกอยู่ในมือกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายหรือประเทศอื่นที่มีศักยภาพในการทำวิศวกรรมย้อยกลับเพื่อลอกแบบครับ

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กองทัพเรือสหรัฐฯทดสอบ Tomahawk รุ่นใหม่ที่สามารถยิงเป้าหมายเคลื่อนที่ในทะเลได้

US Navy test shows Tomahawk cruise missile with synthetic guidance can hit moving targets at sea
A synthetically guided Tomahawk cruise missile successfully hits a moving maritime target Jan. 27 after being launched from the USS Kidd (DDG-100) near San Nicolas Island in California. The missile altered its course toward the target after receiving position updates from surveillance aircraft. (U.S. Navy photo)

lA Tomahawk cruise missile hits a moving maritime target Jan. 27 after being launched from the USS Kidd (DDG-100) near San Nicolas Island in California. (U.S. Navy photo)
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2395

วันที่ 27 มกราคม 2015 เรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke DDG-100 USS Kidd กองทัพเรือสหรัฐฯทำการยิงทดสอบอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนพื้นสู่พื้น Tomahawk Block IV รุ่นใหม่ในการโจมตีเป้าหมายเคลื่อนที่บนผิวน้ำ
ซึ่งเป้าหมายเคลื่อนที่ในทะเล ณ สถานีทดสอบใกล้เกาะ San Nicolas มลรัฐ California ถูกจรวดพุ่งชนประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบนำวิถีสังเคราะห์แบบใหม่(synthetic guidance)
โดยระบบนำวิถีจะทำการสังเคราะห์และรับข้อมูลจากระบบเครือข่ายสื่อสารในเชื่อมโยง ติดตาม และโจมตีเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ในระยะไกลได้
ทีมพัฒนา Naval Air Warfare Center Weapons Division (NAWCWD) ได้ทำการพัฒนาระบบร่วมกับ Tomahawk Weapons System (PMA-280) และ Raytheon Missile Systems
เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของระบบ Tomahawk รุ่นใหม่ ซึ่งมีความอ่อนตัวในการใช้งานและจะประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้มาก

อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน Tomahawk เป็นระบบอาวุธโจมตีเป้าหมายหลักของเรือรบผิวน้ำเช่นเรือพิฆาต และเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ของกองทัพเรือสหรัฐฯ
ซึ่งเดิมที Tamahawk มีการแบ่งเป็นสองรุ่นหลักคือ Tomahawk Land Attack Missile(TLAM) สำหรับการโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน และ Tomahawk Anti Ship Missile(TASM) สำหรับโจมตีเป้าหมายเรือผิวน้่ำ
แต่กองทัพเรือสหรัฐฯได้ยกเลิกการใช้ Tomahawk รุ่น TASM ในช่วงปี 1990s เนื่องจากมีการวิเคราะห์ว่าจรวดมีขนาดใหญ่และช้าเกินไปในการโจมตีเรือรบผิวน้ำที่มีระบบป้องกันกันตัวสูง
การพัฒนา Tomahawk Block IV นั้นจะทำให้กำลังรบผิวน้ำและใต้น้ำของกองทัพเรือสหรัฐฯมีขีดความสามารถในการโจมตีเป้าหมายได้แทบจะทุกรูปแบบทั่วโลกมากขึ้นครับ

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Embraer KC-390 ทำการบินขึ้นเป็นครั้งแรก


วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2015 Embraer บราซิล ประสบความสำเร็จในการทดสอบการบินขึ้นเป็นครั้งแรกของเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลาง KC-390
นักบินทดสอบเครื่องต้นแบบเครื่องแรก Mozart Louzada และ Marcos Salgado de Oliveira Lima พร้อมเจ้าหน้าที่วิศวกรรมการบิน  Raphael Lima และ Roberto Becker
ได้ทำการบินจากสนามบินเป็นเวลา 1ชั่วโมง 25นาที ในการประเมินผลการทำงานและคุณภาพการบินของเครื่องซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดี



Embraer's KC-390 tactical transport aircraft successfully performed its maiden flight
http://www.airrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=1482

Embraer KC-390  เครื่องต้นแบบเครื่องแรกเปิดตัวออกจากโรงงาน Embraer ที่ Gaviao Peixoto, Sao Paulo เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2014
โดยเป็นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางบรรทุกสัมภาระได้หนักสุด 23tons ทำความเร็วสูงสุดได้ราว 478knots(860km/h)
สามารถทำภารกิจได้ทั้งการลำเลียงทางทหาร การส่งกำลังบำรุง การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การกู้ภัย และดัดแปลงเป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศได้

มีการลงทุนในโครงการพัฒนาแล้วกว่า $1.9 billion ทั้งกองทัพอากาศบราซิลและประเทศร่วมทุนในการจัดหา เช่น อาร์เจนตินา เชค และ โปรตุเกส
ในส่วนของกองทัพอากาศบราซิลได้ลงนามจัดหา KC-390 จำนวน 28เครื่องวงเงิน $3.2 billion ภายในระยะเวลากว่า 10ปี เพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียง C-130
Embraer ตั้งเป้าที่จะขาย KC-390 ได้ใน 77ประเทศ จำนวน 728เครื่อง วงเงิน $50 billion ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ยูเครนจะเพิ่มจำนวนสายการผลิตรถถังของโรงงานเช่น Oplot ขึ้นอีกหลายเท่า

http://andrei-bt.livejournal.com/333712.html

จากที่แปลตัวบทความภาษารัสเซีย(Google Translate)มาได้คราวๆคือ
Roman Romanov ผู้อำนวยการทั่วไปของ Ukroboronprom องค์กรรัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ของยูเครนได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่า
สายการผลิตรถถังของยูเครนจะเพิ่มอัตราเป็น 25เท่าคือ จาก 5คันเป็น 120คัน
โดยตามแผนในปี 2015 จะเริ่มสายการผลิตรถถังหลัก Oplot จำนวน 40คัน และในปี 2016 จะเพิ่มจำนวนเป็น 100-120คัน
ซึ่งก็ตามที่ทราบว่าสายการผลิตและปรับปรุงรถังหลักของยูเครนอยู่ที่โรงงาน Malyshev เมือง Kharkiv ที่กำลังผลิตรถถังหลัก Oplot ให้กองทัพบกไทยพร้อมกับปรับปรุง ถ.หลัก T-64 ใหม่ให้กองทัพยูเครน
รวมถึงโรงงานที่ผลิตยุทโธปกรณ์อื่นๆในยูเครนก็เพิ่มสายการผลิตขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น รถเกราะล้อยาง 4x4 แบบ Dozor ที่มีแผนการผลิตที่ 50คัน ก็วางแผนจะเพิ่มเป็นมากกว่า 100คันในปีถัดๆไป
และระบบอื่นๆในระยะสั้นอย่าง UAV ระบบ Radar ค้นหาเป้าหมายสำหรับตรวจจับการยิงของ เครื่องยิงลูกระเบิด ปืนใหญ่ และเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง และ Radar ตรวจการณ์ 3มิติ ภายในปี 2016

ตรงนี้ก็ไม่ทราบว่าในส่วนการเพิ่มอัตราสายการผลิตรถถังหลัก Oplot ซึ่งจากรูปประกอบในข้างต้นปี 2014 ผลิตออกมา 5คัน ปี2015 จะผลิต 40คัน และปี 2016 จำนวน 120คัน
ตามที่กล่าวไปในข้างต้นนั้นนี่คือรถถังหลัก Oplot ที่ยูเครนจะผลิตและส่งมอบให้กองทัพบกไทยตามสัญญาการจัดหาหรือไม่
เพราะ Oplot จำนวน 5คันที่ผลิตในปี 2014 ก็น่าจะคือรถถัง Oplot ชุดแรก 5คันที่กองทัพบกไทยได้รับมอบในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วครับ

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กองทัพเรือฝรั่งเศสและกองทัพเรือสหรัฐฝึกซ้อมร่วมการเก็บกู้วัตถุระเบิด

Marine Nationale and US Navy Sailors Exchanged EOD Know-How on board Jean Bart Frigate 

U.S. Navy EOD divers are fast ropping on board French Navy anti-aircraft frigate Jean Bart from an MH-60S Seahawk belonging to Helicopter Sea Combat Squadron 15 (HELSEACOMBATRON 15)
HSC-15 ‘Red Lions’. Picture: French Navy

Marine Nationale and US Navy EOD teams trained together and shared their know-how on board French Navy anti-aircraft frigate Jean Bart. Picture: French Navy

http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2380

วันที่ 22 มกราคม 2015 ที่ผ่านมาหน่วยเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิดใต้น้ำกองทัพเรือสหรัฐฯ(EOD Divers) ได้ทำการฝึกร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับกำลังพลกองทัพเรือฝรั่งเศส
โดยทำการฝึกที่เรือฟริเกตต่อต้านภัยทางอากาศ D615 Jean Bart ชั้น Cassard กองทัพเรือฝรั่งเศส
ซึ่ง Jean Bart ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งหมู่เรือคุ้มกันของเรือบรรทุกเครื่องบิน CVN-70 USS Carl Vinson กองทัพเรือสหรัฐฯในการฝึกร่วมเป็นเวลา 3เดือน
ชุดหน่วยทำลายวัตถุระเบิดใต้น้ำผสมฝรั่งเศส-สหรัฐฯได้ทำการฝึกร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดชุดตรวจค้นเรือ(VBSS: Visit, Board, Search, and Seizure) เพื่อค้นหาวัตถุระเบิดจำลองในเรือ
การพิสูจน์ทราบ ถอดถอน เคลื่อนย้าย และทำลายวัตถุระเบิด(RECONEDEX: Recognition, Neutralization, Removal and Destruction of Explosives)
การฝึกร่วมในครั้งนี้ได้เพิ่มพูนทักษะและขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมของเจ้าหน้าที่ EOD ของกองทัพเรือทั้งสองประเทศเป็นอันมาก

ตั้งแต่ 19 กันยายน 2014 เป็นต้นมาฝรั่งเศสเองก็ได้ส่งกำลังรบเข้าร่วมสนับสนุนรัฐบาลอิรักในปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายในประเทศ โดยมีการส่งกำลังเช่น
เครื่องขับไล่ Rafale 9เครื่อง และ Mirage 2000D 6เครื่อง เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ C-135FR และ เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Atlantique2 ในรหัสปฏิบัติการ Chammal
ซึ่งเรือฟริเกตต่อต้านภัยทางอากาศ Jean Bart ได้เข้าร่วมกลุ่มเรือบรรทุกเครื่องบินจู่โจม USS Carl Vinson สหรัฐฯที่วางกำลังในอ่าวเปอร์เซีย เพื่อสนับสนุนการโจมตีต่อต้านกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายครับ

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เรื่องสั้น: แด่วีรบุรุษนิรนาม

แด่วีรบุรุษนิรนาม

            ครั้งที่ฉันเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา ฉันได้รับมอบหมายจากอาจารย์ในรายวิชาเรียนให้เขียนเรียงความเกี่ยวกับวันทหารผ่านศึก ฉันจึงได้สอบถามคุณพ่อซึ่งท่านเป็นนายทหารของกองทัพบกซึ่งเป็นทหารผ่านศึก
ฉันได้ถามคุณพ่อว่าในสงครามท่านเป็นวีรบุรุษหรือเปล่า ท่านตอบว่า “ไม่”
แล้วท่านก็ย้อนกลับมาถามฉันว่า “แล้วแกคิดว่าวีรบุรุษคืออะไร”
ฉับตอบไปว่า “นักรบฝ่ายธรรมะผู้กล้าหาญที่ต่อสู้เพื่อทำลายข้าศึกเหล่าอธรรม”
ท่านขำฮึๆก่อนจะกล่าวต่อไปว่า
“ถ้างั้นนั่นก็ไม่ใช่ฉันหรอก ฉันก็เคยถามปู่ฉันทวดของแกเหมือนกันว่า ปู่เป็นวีรบุรุษสงครามหรือเปล่า ปู่แกตอบฉันว่า แกไม่เคยเป็นและไม่อยากจะเป็นด้วย ตอนนั้นฉันยังเด็กเกินที่จะเข้าใจว่าปู่แกหมายความว่ายังไง จนฉันได้ไปออกรบจริงฉันถึงเข้าใจความหมายของสิ่งที่ปู่แกบอก
 ตอนที่กระสุนมันปลิวว่อนนะ ในหัวเราไม่มีเรื่องอุดมการณ์อะไรแล้ว เราจะคิดแค่ว่าจะทำอย่างไงเราและเพื่อนๆถึงจะรอดไปจากสถานการณ์บ้านี้ได้ มีคนมากมายเข้าสู่สนามรบเพราะอยากเป็นวีรชนอะไรพวกนั้นและหลายคนได้ตายไป เหมือนฉันจะจำได้ว่าพวกอเมริกันมีเรื่องตลก(ร้าย)เล่าอยู่เรื่องหนึ่งว่า อยากได้เหรียญกล้าหาญรึไปกระโดดทับระเบิดสิ!
ทหารก็เป็นคนไม่มีใครอยากตายแบบโง่ๆหรอก แต่บางครั้งเราถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องเสี่ยง จะมากหรือน้อย รอด พิการ หรือตายก็ตาม สุดท้ายเมื่อสงครามจบพวกเราก็มักถูกโลกลืมไป”
พ่อไปหยิบหนังสือรุ่นของโรงเรียนและเปิดหน้าหนึ่งให้ฉันดู ท่านเล่าให้ฉันฟังต่อว่า
“คนเราเกิดมาเลือกคนที่เป็นพ่อแม่พี่น้องหรือญาติไม่ได้ เมื่อมาเป็นทหารเราก็เลือกคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ได้ แต่ในสนามรบเราเลือกได้ว่าใครเป็นเพื่อนของเรา และเพื่อนแท้คือคนที่อยู่เคียงข้างเราและทำทุกอย่างเพื่อเราในเวลาที่พวกมันควรไปอยู่ที่อื่นมากกว่า”
คุณพ่อชี้ไปที่ภาพรูปหมู่รูปหนึ่งที่มีภาพท่านกับพวกคุณลุงเพื่อนของท่านสมัยยังเป็นเด็กหนุ่ม ท่านบอกกับฉันสั้นๆว่า
“เพราะฉะนั้นสำหรับฉันไอ้พวกนี้ต่างหากล่ะวีรบุรุษ!
            หลังจากที่ฉันถามเรื่องนี้จบ คุณพ่อไปหยิบกีตาร์โปร่งที่เก็บไว้ซึ่งไม่ได้เล่นมานาน ท่านดีดกีตาร์ร้องเพลงหนึ่งซึ่งฉันจำได้เลาๆว่าเป็นเพลงของวงหนึ่งที่เคยชนะประกวด เป็นเพลงเกี่ยวกับทหารอันมีเนื้อว่า




สลุต - Psyco Slim
หุบเหวหรือเปลวไฟ จะเดินไปเพราะใจสั่ง
เลือดที่พร้อมหลั่งเพื่อปลายทางสว่างไสว
เพื่อชาติและราชันย์ เพื่อมิ่งขวัญของปวงไทย
ไม่ยอมให้ใครมาทำลายจะเข้าขวาง
*ภูมิใจในเลือด ในวิญญาณ ไม่มีเปลี่ยน
ร่วมเปล่งเป็นเสียง ให้ขึ้นใจให้พร้อมกัน
ร่วมเปลี่ยนชีวิต เพื่อดวงใจ เพื่อราชันย์
ชูธงชาตินั้นให้ปลิวไสว
**ลา ลา ลา ลา จะกลับมาหาดวงใจ
กายที่สูญไป ฝากชื่อไว้ในแผ่นดิน
*,**
กายที่สูญไป ฝากชื่อไว้ในแผ่นดิน
ใต้ร่มธงไทย มาร่วมใจกัน สร้างชาติ สร้างฝัน ร่วมร้องไชโย
ใต้ร่มธงไทย มาร่วมใจกัน สร้างชาติ สร้างฝัน ร่วมร้องไชโย

เรียบเรียงโดย น.ส.อาริษา


วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฝรั่งเศสและเยอรมนีลดจำนวนการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger ลง


France Cuts Order for Tiger Helicopters
http://www.defensenews.com/story/defense/air-space/strike/2015/01/31/france-cuts-order-tiger-helicopters/22530483/

Dominique Maudet รองประธานบริษัทบริหาร Airbus Helicopters ได้กล่าวว่าฝรั่งเศสตัดสินใจตัดการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีโจมตี Tiger จำนวน 20เครื่องลงเนื่องจากราคาเครื่องที่สูงขึ้น
และจะทำการปรับปรุง ฮ.Tiger สองรุ่นที่มีประจำการในกองทัพบกฝรั่งเศสให้ขีดความสามารถสูงขึ้น
ตามแผนปีงบประมาณ 2014-2019 กองทัพบกฝรั่งเศสมีแผนการจัดหา ฮ.โจมตี Tiger 80เครื่อง
แบ่งเป็นรุ่น Tiger HAP สำหรับภารกิจยิงสนับสนุนและคุ้มกัน 40เครื่อง และ Tiger HAD สำหรับภารกิจยิงสนับสนุนและโจมตี 40เครื่อง
แต่เนื่องจากราคาของเครื่องที่สูงทำให้ต้องลดจำนวนเครื่องที่จะจัดหา 60เครื่องเพื่อให้คงวงเงินการไว้จัดหาให้มากที่สุด โดยจะมีการสร้าง ฮ. Tiger เครื่องใหม่ส่งมอบได้ 16เครื่องภายในปี 2019
ทั้งนี้นอกจากการจัดหา ฮ.Tiger HAD รุ่นโจมตีใหม่ 24เครื่องแล้ว Airbus Helicopters จะทำการปรับปรุง Tiger HAP รุ่นคุ้มกันอีก 36เครื่องให้เป็นรุ่นโจมตี
โดย Tiger HAD Block 2 รุ่นโจมตีล่าสุดได้มีการปรับปรุงให้ใช้เครื่องยนต์กำลังสูงขึ้น ปรับปรุงระบบควบคุมการยิงให้ดีขึ้น ติดตั้งถังเชื้อเพลิงภายนอกเพื่อเพิ่มพิสัยการบินได้
รองรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Hellfire และ Spike และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Mistral ซึ่งจะส่งมอบเครื่องแรกที่ปรับปรุงเสร็จได้ภายในสิ้นปี 2017


กองทัพฝรั่งเศสและกองทัพเยอรมนีมีปัญหาการจัดการโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ของ Airbus Helicopters ร่วมกันอีกหลายแบบซึ่งเป็นผลจากราคาเครื่องที่ถีบตัวสูงขึ้นและการตัดลดงบประมาณกองทัพของรัฐบาล
นอกจาก ฮ.โจมตี Tiger ที่กองทัพบกเยอรมนีลดจำนวนการจัดหาลงจาก 80เครื่องเป็น 68เครื่องแล้ว ซึ่ง ฮ.Tiger ที่ประจำการในกองทัพบกเยอรมนีเป็นรุ่น Tiger UHT สำหรับการยิงสนับสนุนพหุภารกิจ
ก็มี ฮ.ลำเลียง NH90 TTH ซึ่งกองทัพบกเยอรมนีลดจำนวนการจัดหาจาก 122เครื่อง เหลือ 82เครื่อง
โดยมีการสั่งเปลี่ยนแบบ NH90 ของกองทัพบกที่สั่งจัดหาให้เป็นรุ่น NH90 NFH สำหรับกองทัพเรือเยอรมนี 18 เครื่อง จากความต้องการที่จะจัดหา ฮ.ใช้งานทางทะเลใหม่ 30เครื่อง
ส่วนกองทัพบกฝรั่งเศสมีความต้องการจัดหา NH90 TTH จำนวน 68เครื่อง โดยสั่งจัดหาชุดแรกแล้ว 34เครื่อง และกองทัพเรือฝรั่งเศสสั่งจัดหา NH90 NFH จำนวน 27เครื่อง
ด้านนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงได้แสดงความกังวลว่าถ้ากองทัพฝรั่งเศสต้องการจะคงความเป็นกองทัพที่ยิ่งใหญ่แล้วก็จำเป็นต้องคงกำลังเฮลิคอปเตอร์ไว้ให้มากพอครับ

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประสบการณ์ที่ได้รับจากการประกวดโครงการนวนิยายรางวัลสุภัทร สวัสดิรักษ์ ครั้งที่๓



วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๘ ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล ที่ผ่านมามีการจัดงานการประกาศผลรางวัลสุภัทร สวัสดิรักษ์ ครั้งที่ ๓ ประจำปี ๒๕๕๖ ซึ่งผมก็เป็นนักเขียนคนหนึ่งที่ส่งนวนิยายเรื่องยาวเข้าร่วมประกวดในโครงการนี้
โดยโครงการครั้งนี้มีผู้ส่งผลงานนวนิยายเข้าประกวดถึง ๔๐เรื่อง ทำให้คณะกรรมการต้องเลื่อนการพิจารณาประกาศผลจากเดือนพฤศจิกายนปี ๒๕๕๗ มาเป็นเดือนมกราคม ๒๕๕๘ ดังกล่าว
ซึ่งมีผลงานนวนิยายที่เข้ารอบ ๙ท่าน และมีท่านได้รับรางวัลที่๑("แผ่นดินของใคร") รางวัลที่๒("ทางบุญ") และรางวัลที่๓("รหัสลับตามพรลิงค์") ครบทุกรางวัลเป็นครั้งแรกในการจัดการประกวด
แม้ว่าผลงานของผมจะไม่ได้เข้ารอบแต่ส่วนตัวผมก็ต้องขอบพระคุณกองบรรณาธิการและคณะกรรมการทุกท่านที่ให้โอกาสอ่านและพิจารณาผลงานนวนิยายของผมที่ส่งเข้าประกวดในครั้งนี้
อาทิ คุณนรีภพ สวัสดิรักษ์, รศ.ดร.คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์, คุณชมัยภร แสงกระจ่าง รวมถึงคณะกรรรมการท่านอื่นที่ไม่ได้เอยนาม ณ ที่นี้ด้วยครับ
(รายละเอียดท่านสามารถติดตามได้จากนิตยสารสกุลไทย รายสัปดาห์ ซึ่งน่าลงบทความรายงานการการประกาศผลในฉบับต่อไป)

ส่วนตัวผมเองก็ทราบตั้งแต่แรกแล้วครับว่านวนิยายเรื่องยาวที่ตนเองเขียนนั้นไม่น่าจะได้รับรางวัลหรือเข้ารอบแต่อย่างใด
เพราะแม่ผมซึ่งเป็นอาจารย์สังคมโรงเรียนมัธยมศึกษา(เกษียณอายุราชการแล้ว)และเป็นผู้ติดตามอ่านนิตยสารสกุลไทยมาตลอดก็ได้ให้ความเห็นเมื่อได้อ่าน ๑๐ตอนแรกแล้วว่า
"เรื่องบ้าอะไรของเธอเนี่ย!? ยิงกันหูดับตับไหม้ระเบิดตูมตามกันทั้งเรื่อง! ชื่อตัวละครกับพูดจาก็เป็นภาษาข่าขมุอะไรก็ไม่รู้? คนที่อ่านเรื่องนี้จบเสร็จแล้วต้องลุกขึ้นมาฆ่าคนที่นั่งอยู่ข้างๆแน่!"
(อ่านไปก็หัวเราะไป ทั้งๆที่ไม่ใช่นิยายตลกชวนหัว)

นวนิยายเรื่อง "ตำนานเจ้าคีรี" นี้ผมใช้เวลาเขียนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ จนถึงเดือนเมษายน ๒๕๕๗ (๑๐เดือนเต็ม)จึงส่งต้นฉบับ โดยเป็นนวนิยายเรื่องยาวลำดับที่๒ ของนิยายสงครามชุด "รัฐไกลา"
(นวนิยายเรื่องแรกในนิยายชุดรัฐไกลาที่เขียนคือ "คีตะคีรีไม่รู้จบ แนวรบตะวันตกไม่เคยสิ้นสุด" ซึ่งได้เคยนำลงให้อ่านที่ TAF ไปแล้ว)
ระหว่างเขียนได้ใช้ฐานข้อมูลจากแหล่งต่างๆเกี่ยวกับปฏิบัติการลับของกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆของ OSS และ SOE ฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่สมรภูมิพม่าช่วงสงครามโลกครั้งที่๒
ซึ่งเก็บรวบรวมมามากกว่า ๖ปีเป็นจำนวนมาก ประกอบจินตนาการเล็กน้อย และประสบการณ์ตรงบางส่วนจากคำบอกเล่าของญาติที่เป็นทหารผ่านศึก
ผมคิดว่าในโครงการประกวดนวนิยายรางวัลสุภัทร สวัสดิรักษ์ ครั้งที่๓ นี่ผมคงจะเป็นผู้เข้าประกวดที่อายุน้อยที่สุด และน่าเป็นรายเดียวที่ส่งนิยายสงครามเข้าประกวดครับ

ปี ๒๕๕๗ ที่เพิ่งผ่านไปนอกจากโครงการประกวนวนิยายรางวัลสุภัทร สวัสดิรักษ์นี้ ผมก็ได้ทำผลงานและส่งเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆหลายอย่างในปีเดียวครับ
เช่น ไปขายหนังสือนิยายภาพ "บุกบูรพา ทหารม้าเกรียงไกร เหรียญชัยสมรภูมิ" ในงาน งาน Original and Community only event วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๗ ที่กองพลทหารม้าที่ ๒ รักษาพระองค์
และส่งนิยายภาพ "บุกบูรพา" ดังกล่าวเข้าประกวดในงาน 8th International MANGA Award ที่สถานทูตญี่ปุ่นด้วยตนเองในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นต้น

ว่ากันตามตรงผมคิดว่าตนเองอายุมากเกินไปที่จะเขียนการ์ตูน Comic หรือ Manga หรือนิยายสำหรับกลุ่มผู้อ่านวัยรุ่นแล้ว แต่ก็ยังมีประการณ์ชีวิตไม่มากพอที่จะเขียนนวนิยายที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์สูงเช่นกัน
อย่างไรก็ตามผมถือคติตามที่นักเขียนนามอุโฆษ ป.อินทรปาลิต เจ้าของผลงานหัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน ได้เคยให้คำแนะนำแก่ผู้ติดตามผลงานที่ไปหาท่านแล้วถามว่าอยากเป็นนักเขียนต้องทำอย่างไร
คำตอบคือ "เขียน เขียน เขียน แล้วก็เขียน" และนั่นคือคติพจน์ในการทำงานเขียนของผมครับ