วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

กองทัพอากาศมาเลเซียอาจจะตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ภายในปี 2016-2020

MiG-29N of the Royal Malaysian Air Force

Malaysia Expected To Order Fighters In 2016-20
http://aviationweek.com/awin-only/malaysia-expected-order-fighters-2016-20

โครงการจัดหาเครื่องบินไล่ใหม่เพื่อทดแทน MiG-29N ของกองทัพอากาศมาเลเซียซึ่งล่าช้ามายาวนานจนต้องมีการปรับปรุงยืดอายุการใช้งาน MiG-29N ออกไปอีกระยะนั้น
ได้มีความคืบหน้าเพิ่มเติมล่าสุดคาดว่าจะมีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ราว 18เครื่องภายในช่วงปี 2016-2020
ทั้งนี้กองทัพอากาศมาเลเซียได้จัดหาเครื่องบินขับไล่ MiG-29N จากรัสเซียจำนวน 18เครื่องในช่วงปี 1990s ซึ่งระหว่างเข้าประจำการประสบอุบัติเหตุถึงขั้นจำหน่ายไปอย่างน้อย 2เครื่อง ปัจจุบันคาดว่ามีเครื่องที่พร้อมรบราว 12เครื่อง
มาเลเซียจึงกำหนดความต้องการเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่เป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดกลางสองเครื่องยนต์ซึ่งเหมาะกับการวางกำลังของประเทศที่แบ่งเป็นสองส่วนคือปลายแหลมมาลายูและเกาะบอร์เนียวซึ่งมีปัญหาพรมแดนทางทะเลกับจีน
ตั้งแต่ปี 2011 มีบริษัทต่างๆได้เสนอแบบเครื่องของตนให้มาเลเซีย เช่น Eurofighter Typhoon, Dassault Rafale, Boeing F/A-18E/F Super Hornet และ Sukhoi Su-30
ซึ่งกองทัพอากาศมาเลเซียได้มีการจัดหา F/A-18D 8เครื่อง และ Su-30MKM 18เครื่อง เข้าประจำการไปแล้วก่อนหน้านี้

โดยในจำนวนเครื่องขับไล่สองเครื่องยนต์ที่เสนอมานี้ สวีเดนยังคงเสนอ SAAB Gripen ให้ด้วย แต่ตอนแรกกองทัพอากาศมาเลเซียไม่ได้ให้ความสนใจมากนักเนื่องจากเป็นเครื่องขับไล่ขนาดเบาเครื่องยนต์เดียว
แต่เนื่องจากราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นรายได้หนึ่งของมาเลเซียมีราคาลดลงในตลาดโลกทำให้มีผลต่องบประมาณรัฐ มาเลเซียจึงอาจจะกลับมาสนใจ Gripen อีกครั้งเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการต่ำกว่าเครื่องขับไล่สองเครื่องยนต์
อีกทั้ง SAAB ยังให้ข้อเสนอแก่มาเลเซียทั้งการแลกเปลี่ยน Technology การค้าต่างตอบแทน และการให้เช่ายืม Gripen C/D 16เครื่องประจำการในกองทัพอากาศมาเลเซียเป็นเครื่องขั้นระยะชั่วคราวก่อนที่จะได้รับมอบ Gripen E/F ด้วย
ซึ่ง SAAB มีประสบการณ์ในการยื่นข้อเสนอลักษณะนี้กับหลายประเทศมาแล้วทั้ง เชค ฮังการี และบราซิล เป็นต้น
อย่างไรก็ตามเนื่องจากสายการผลิตของ Gripen C/D อาาจะต้องปิดตัวลงเพื่อนำทรัพยากรและคนงานไปใช้ในการผลิต Gripen E/F ให้กับกองทัพอากาศสวีเดนและกองทัพอากาศบราซิล
ถ้ามาเลเซียจะเลือกจัดหา Gripen C/D ต้องการเร่งโครงการให้เร็วขึ้น แต่ถ้าเลือก Gripen E/F ก็จะได้รับมอบเครื่องช้าลงเนื่องจากต้องรอสายการผลิตให้ประเทศอื่นก่อน

ในส่วนของเครื่องแบบอื่นนั้นทาง Boeing เองค่อนข้างมั่นใจว่า F/A-18E/F Super Hornet จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า Gripen เพราะมีพิสัยบินไกลและบรรทุกอาวุธได้มากว่าเกือบสองเท่า
แต่ทั้งนี้ถ้ามาเลเซียเลือกที่จะจัดหา Super Hornet ก็ควรต้องตัดสินใจภายในกลางปีนี้ เพราะจะมีผลต่อการตัดสินใจของ Boeing ว่าจะยังคงเปิดสายการผลิตของ Super Hornet ต่อไปหรือไม่
ด้าน BAE Systems ซึ่งเสนอ Eurofighter Typhoon, Dassault ที่เสนอ Rafale และ Rosoboronexport ที่เสนอ Su-30 นั้นในงาน LIMA 2015 ที่เพิ่งจบลงยังไม่รายงานข้อมูลเพิ่มเติมครับ