วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

กองทัพเรือฟินแลนด์พบเรือดำน้ำไม่ปรากฎสัญชาติใกล้ Helsinki

Finnish Navy detects unidentified underwater object near Helsinki
Fast patrol boats from the Finnish Navy scour the waters off Helsinki Tuesday. Image: Jussi Nukari / Lehtikuva
http://yle.fi/uutiset/finnish_navy_detects_unidentified_underwater_object_near_helsinki/7959699

กองทัพเรือฟินแลนด์ตรวจพบความเคลื่อนไหวของวัตถุใต้น้ำในน่านน้ำใกล้เมืองหลวง Helsinki ซึ่งเป็นทะเลอาณาเขตของฟินแลนด์ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา และมีการตรวจพบวัตถุใต้น้ำเป็นครั้งที่สองในวันที่ 28 เมษายนนั้น
กองทัพเรือฟินแลนด์ได้มีการใช้ระเบิดลึกแรงกระแทกต่ำ( Low-Impact Depth Charge) ซึ่งเป็นระเบิดลึกขนาดเล็กใช้วัตถุระเบิดหนักราว 1kg จุดระเบิดใต้น้ำ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตือนวัตถุใต้น้ำซึ่งน่าจะเป็นเรือดำน้ำไม่ปรากฎสัญชาติดังกล่าวโดยไม่สร้างความเสียหายแก่ตัวเรือ
แต่อย่างไรก็ตามทางเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบปฏิบัติการของกองทัพเรือฟินแลนด์ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าวัตถุใต้น้ำดังกล่าวน่าจะเป็นเรือดำน้ำไม่ปรากฎสัญชาติหรือไม่
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่กองทัพเรือฟินแลนด์กำลังวิเคราะห์และสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาหลายวันถึงสัปดาห์ในการสรุปข้อมูล


แผนที่ประเทศฟินแลนด์ แสดงให้เห็นว่าเมืองหลวง Helsinki ตั้งอยู่ตอนบนของอ่าวฟินแลนด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเล Baltic โดยมีพรมแดนติดกับเอสโตเนียคือเมืองหลวง Tallinn และมหานคร Saint Petersburg ของรัสเซีย
โดยอ่าวฟินแลนด์มีพื้นที่ราว 30,000ตารางกิโลเมตร มีระดับความลึกเฉลี่ยเพียง 38m และลึกสุด 115m เท่านั้น
กองเรือ Baltic ของกองทัพเรือรัสเซียนั้น ฐานทัพเรือ Leningrad ที่เมืองท่า Kronstadt ห่างจากมหานคร Saint Petersburg ทางตะวันตก 30km มีเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าประจำการอยู่อย่างน้อย 1-2ลำคือ
เรือดำน้ำชั้น Project 877 Kilo 2ลำคือ B-227 Vyborg และ Project 877EKM Kilo B-806


1.ตรวจพบวัถตุใต้น้ำครั้งแรก 1100 เวลาท้องถิ่น วันที่ 27 เมษายน 2015
2.ตรวจพบวัถตุใต้น้ำครั้งที่สอง 0130 ตามเวลาท้องถิ่น วันที่ 27 เมษายน 2015
โดยเรือวางทุ่นระเบิดชั้น Hameenmaa ชื่อ Uusimaa พร้อมเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Hamina ชื่อ Hanko และเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งหน่วยยามฝั่ง Turva
3.แจ้งเตือนวัตถุต้องสงสัยใต้น้ำโดยการทิ้งระเบิดลึกในเวลาท้องถิ่น 0300

ทั้งนี้ฟินแลนด์เป็นประเทศเป็นกลางที่มีพรมแดนทางทะเลในทะเล Baltic ติดกับรัสเซียที่กำลังอยู่ระหว่างการซ้อมรบในพื้นที่ภาคตะวันตก
ซึ่งในช่วงหลังจากวิกฤตการณ์ยูเครนปี 2014 เป็นต้นมา ฟินแลนด์เผชิญการคุกคามจากรัสเซียบ่อยครั้งมากขึ้น เช่นการล้ำน่านฟ้าของอากาศยานรัสเซีย
และล่าสุดคือการตรวจพบเรือดำน้ำใกล้เมืองหลวง Helsinki นั้นถ้าเป็นเรือดำน้ำรัสเซียจริงย่อมเป็นการแสดงภัยคุกคามด้านความมั่นคงต่อฟินแลนด์อย่างมาก
ซึ่งขณะนี้กองทัพฟินแลนด์กำลังเตรียมพร้อมป้องกันประเทศโดยใช้ยุทโธปกรณ์เฝ้าระวังภัยคุกคามในขั้นสูงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครับ

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

กองทัพเยอรมนีขาดกระสุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับรถถังหลัก Leopard 2 และไม่มีอนาคตสำหรับปืนเล็กยาว G36 อีกต่อไป

http://www.n-tv.de/politik/Bericht-Leopard-2-fehlt-wirksame-Munition-article14982951.html

ผลจากวิกฤตการณ์ในยูเครนที่รัสเซียเข้าผนวก Crimea แทรกแซงการแบ่งแยกดินแดนของกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในเขต Donbass และมีการใช้กำลังทางทหารคุกคามยุโรปตะวันออกมากขึ้นเรื่อยๆนั้น
ทำให้เยอรมนีต้องทบทวนนโยบายด้านความมั่นคงของตนใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่งคือการปรับปรุงขีดความสามารถด้านกำลังของรถถังหลัก Leopard 2 ในกองทัพบกเยอรมัน
โดยตามแผนการปรับลดงบประมาณของกระทรวงกลาโหมเยอรมนี(BMVg)เดิมนั้น กองทัพบกเยอรมนี(Bundeswehr Heer)จะคงประจำการด้วยรถถังหลัก Leopard 2A6 และ Leopard 2A7 รวมราว 225คันเท่านั้น
ซึ่งรถรุ่นก่อนหน้านี้ที่มีการเก็บสำรองไว้เพื่อลดงบประมาณเช่น Leopard 2A4 และ Leopard 2A5 นั้นได้ขายส่งออกให้มิตรประเทศต่างๆเป็นจำนวนมากแล้ว
ทำให้กองทัพเยอรมันต้องนำ ถ.หลัก Leopard 2 ที่ยังเก็บสำรองไว้อยู่ซึ่งดูแลโดยเอกชนซื้อคืนนำกลับมาคืนสภาพเพื่อใช้ประจำการในกองทัพอีกครั้ง
ตามการแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี นาง Ursula von der Leyen การปรับปรุงรถถังหลัก Leopard 2 ราว 100คัน จะให้ให้กองทัพบกเยอรมนีมีรถถังหลักเพิ่มขึ้นเป็น 328คันในปี 2017

แต่อย่างไรก็ตามมีการวิเคราะห์ว่าในการต่อสู้กับรถถังหลักรุ่นใหม่ของรัสเซีย เช่นรถถังหลัก ARMATA T-14 ซึ่งกำลังจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการล่าสุดในการสวนสนามประกาศชัยชนะสงครามโลกครั้งที่2 วันที่ 9พฤษภาคมนี้ที่ Moscow นั้น
กระสุนปืนใหญ่รถถังที่ยิงจากปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบขนาด 120mm Rheinmetall L/55 ซึ่งเป็นอาวุธหลักของ Leopard 2A6 และ Leopard 2A7 นั้นยังมีประสิทธิภาพด้อยเกินไปที่จะต่อสู้กับเกราะและระบบป้องกันตัวเชิงรุกของรถถังรัสเซียรุ่นใหม่ๆ อย่างกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบมีครีบทรงตัว(APFSDS: Armour Piercing Fin Stabilized Discarding Sabot) DM63 ซึ่งสามารถเจาะเกราะเหล็กกล้า RHA ได้ 720mm ในระยะ 2,000m นั้นอาจจะเจาะเกราะรถถังหลัก T-14 ซึ่งยังเป็นความลับอยู่ไม่เข้า
ทำให้กองทัพบกเยอรมนีจะเสียเปรียบหากต้องเผชิญหน้ากับรถถังรัสเซียในสนามรบจริง ดังนั้นกองทัพเยอรมนีจึงมีแผนการพัฒนากระสุนเจาะเกราะแบบใหม่ให้ทันใช้ภายในปี 2017
โดยเคยมีข้อมูลเปิดเผยออกมาในสื่อก่อนหน้านี้ว่าแกนลูกดอกของกระสุน SABOT อาจจะเปลี่ยนจาก Tungsten เป็นกาก Uranium ไร้รังสี(DU:Depleted Uranium) เช่นเดียวกับกระสุน M829 ที่ใช้ในรถถังหลัก Abrams ของกองทัพสหรัฐฯครับ

Germany defence minister sees 'no future for G36'
The future of the German Army's G36 service rifle in its current form has been called into question by recent reports on its performance and comments by Germany's defence minister. Source: Bundeswehr
http://www.janes.com/article/50946/germany-defence-minister-sees-no-future-for-g36

และตามที่เคยรายงานปัญหาข้อบกพร่องของปืนเล็กยาว HK G36 ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายหลักของกองทัพเยอรมนีไปก่อนหน้านี้นั้น
เมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมารัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี นาง Ursula von der Leyen ได้ตั้งคำถามถึงอนาคตของปืน HK G36 ในการประชุมพิเศษของรัฐสภาที่ไม่ได้ออกสื่อ
โดยนาง von der Leyen ได้รายงานข้อมูลความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้ใช้งานในกองทัพถึงประสิทธิภาพของปืน HK G36 ว่าสถานะปัจจุบันนั้น HK G36 ไม่อนาคตในกองทัพเยอรมันอีกต่อไปแล้ว

รายงานผลการทดสอบปืนจากสถาบัน Fraunhofer, ศูนย์เทคนิคอาวุธและกระสุนกองทัพเยอรมนี WTD 91 และสถาบันวิจัยอมภัณฑ์ เชื้อเพลิง และสารหล่อลื่น WIWeB
ซึ่งทำการทดสอบปืนเล็กยาว HK G36 ในรุ่น A0, A1, A2, A3 และ A4 พร้อมกับปืนเล็กยาวแบบอื่นที่ไม่ทราบชนิดและจำนวน ด้วยการทดสอบยิงกระสุนขนาด 5.56x45mm มาตรฐานที่ใช้ในกองทัพเยอรมัน
จากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่าปืนจะต้องมีความแม่นยำในการยิงเป้าหมายในระยะ 300m ที่ร้อยละ90 นั้น เอกสารที่เปิดเผยได้รายงานว่าปืนเล็กยาว HK G36 ไม่สามารถผ่านการทดสอบได้
โดยปืนมีปัญหาความแม่นยำที่ลดลงขณะทำการยิงกลอย่างต่อเนื่องเนื่องจากความร้อนของลำกล้องปืนที่สูงเกินไป โดยในเวลา 600วินาที ความร้อนของปืนจะพุ่งสูงจาก 15องศาเซลเซียสเป็น 45องศาเซลเซียส
นั่นหมายความว่าความแม่นยำในการยิงของปืนจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ53 เมื่อทำการยิงกระสุนจากซองกระสุนขนาด 30นัด หมดเพียงสองซองเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ทางยุทธวิธี

อย่างไรก็ตามทางบริษัท Heckler & Koch ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและผลิตปืนเล็กยาว HK G36 ได้ออกมาประท้วงผลการายงานของกระทรวงกลาโหมเยอรมนี
โดยโฆษกของ HK ได้กล่าวว่าการทดสอบของรัฐบาลเยอรมนีต่อปืน G36 นั้นไม่เป็นธรรม เนื่องจากปืนแบบอื่นๆที่ใช้เทียบเคียงในการทดสอบมีระบบการทำงานที่แตกต่างจาก G36
และยังกล่าวด้วยว่าการทดสอบนี้เป็นการเล่นงานทางการเมืองของรัฐบาลเยอรมนี อีกทั้งยังจะส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของอุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ของเยอรมนีที่มียอดขายทั่วโลกจำนวนมากด้วย

กระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้เปิดโครงการศึกษาเพิ่มเติมของปืนเล็กยาว HK G36 สองโครงการ ซึ่งโครงการแรกจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคมนี้
ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลผลการใช้งานปืนจากเจ้าหน้าที่ของกองทัพที่ปฏิบัติการภาคสนามเช่นที่อัฟกานิสถานเมื่อปีที่ผ่านมา
เพื่อวิเคราะห์ว่าทหารเยอรมันจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นหรือไม่ที่ต้องใช้ปืนเล็กยาว G36 เป็นอาวุธประจำกายเมื่อต้องอยู่ในปฏิบัติการรบจริง ไม่ว่ารายงานที่ได้จะมีผลเป็นลบหรือไม่ก็ตาม
ส่วนโครงการวิเคราะห์อื่นที่ริเริ่มโดยเลขานุการความมั่นคงรัฐ Katrin Suder จะสิ้นสุดภายในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้ประโยชน์จากโครงการทดสอบวิเคราะห์ปืนเล็กยาว G36 ในการปรับโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประโยชน์ในสร้างกระบวนการตัดสินใจจัดซื้อต่อไปครับ

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

แบบจำลองเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ใหม่อาจเปิดเผยความต้องการจัดหาของกองทัพเรือจีน

LHD model hints at potential Chinese requirements

A company-produced model of what could be China's first landing helicopter dock amphibious assault ship. Source: Via CJDBY website

The LHS has three sponsons featuring vertical launchers, possibly for SAM systems. (Via CJDBY website)

http://www.janes.com/article/50920/lhd-model-hints-at-potential-chinese-requirements

ภาพแบบจำลองเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ (LHD: landing helicopter dock) ใน website CJDBY อาจจะเป็นการเปิดเผยความต้องการจัดหาเรือสนับสนุนปฏิบัติการยกพลขึ้นบกแบบใหม่ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
โดยข้อมูลข่าวลือและภาพสามมิติ Fan Art ของเรือ LHD ที่มีคาดว่าอาจจะกำหนดแบบคือ Type 081 นั้นการเผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของจีนมาได้ระยะหนึ่งแล้ว
แต่แบบภาพแบบจำลองของเรือ LHD ล่าสุดที่มีการเผยแพร่นั้นดูจะมีความน่าเชื่อถือมากพอสมควร สำหรับโครงการจัดหาเรือ LHD ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนที่มีขีดความสามารถเช่นเดียวกับกองทัพเรือประเทศมหาอำนาจเช่นสหรัฐฯ

ปัจจุบันกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนมีแผนจะจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) แบบ Type 071 เข้าประจำการจำนวน 6ลำ ซึ่งปัจจุบันได้ปล่อยลงน้ำแล้ว 4ลำ คือ
LPD-998 Kunlun Shan, LPD-999 Jinggang Shan และ LPD-989 Changbai Shan ที่เข้าประจำการแล้วในกองเรือทะเลใต้
ส่วน LPD-978 Tanggula Shan, LPD-979 Tai Shan และ LPD-980 ซึ่งยังไม่ได้ตั้งชื่อ สองลำแรกอยู่ระหว่างการก่อสร้างและลำที่สามอยู่แผนการสร้างเพื่อจะเข้าประจำการในกองเรือทะเลตะวันออก

มีการวิเคราะห์ว่าแบบจำลองเรือ LHD ของจีนนั้นมีระวางขับน้ำประมาณ 40,000tons แสดงแบบจำลองเฮลิคอปเตอร์บนดาดฟ้าบินจำนวน 14เครื่อง ประกอบไปด้วย ฮ.ลำเลียง Z-8 ของจีน และ ฮ.Kamov ของรัสเซีย
ซึ่งมีรายงานว่าในปี 2006 จีนสนใจจะจัดหา ฮ.ลำเลียงจู่โจมติดอาวุธแบบ Ka-29 จากรัสเซียจำนวนหนึ่งอยู่
ตัวแบบจำลองเรือ LHD มี Lift ยกอากาศยานพร้อมอู่ลอยขนาดใหญ่ท้ายเรือคล้ายกับการออกแบบของเรือชั้น Mistral ของฝรั่งเศส
ในด้านระบบอาวุธป้องกันเรือนั้นมีการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยใกล้ป้องกัยเฉพาะจุดแบบ HHJ-10 ที่คล้ายกับ RIM-116 RAM จำนวน 2ระบบ
และอาจติดตั้งระบบป้องกันระยะประชิดปืนใหญ่กลลำกล้องหมุน Type 730 หรือ Type 1130 อีก 1ระบบ
และ sponson ที่ติดเสริมจากกราบซ้ายเรือสองจุด และกราบขวาเรือหนึ่งจุด ซึ่งติดตั้งระบบ VLS สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบใหม่ที่ดูคล้ายกับ Aster 15 ที่ติดตั้งกับเรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle ของฝรั่งเศสครับ

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

ฝรั่งเศสวางกำลังรถถังหลัก Leclerc ในโปแลนด์

France deploys Leclerc MBTs to Poland
France's deployment of Leclerc MBTs to Poland is designed to send a strong signal to Moscow as part of NATO reassurance measures in Eastern Europe. Source: F Lert
http://www.janes.com/article/50833/france-deploys-leclerc-mbts-to-poland

ฝรั่งเศสได้วางกำลังกองกำลังเฉพาะกิจยานเกราะในโปแลนด์เพื่อเข้าร่วมการฝึกกองกำลังร่วม NATO กับกองทัพโปแลนด์เป็นเวลา 2เดือน
โดยกองกำลังผสมเฉพาะกิจในชื่อ Sous groupement tactique Interarmees (SGTIA: joint services tactical subgroup) ซึ่งเดินทางออกจากฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมานั้น มีกำลังยานเกราะประกอบด้วยเช่น
รถถังหลัก Leclerc 15คันจากกรม 12eme Regiment de Cuirassiers, หมดรถรบทหารราบล้อยาง 8x8 VBCI 4คันจาก กองพัน 16eme Bataillon de Chasseurs
และหมวดรถเกราะล้อยาง VAB 3คัน และรบเกราะทหารช่าง EGB 1คันจากกรม 13eme Regiment du Genie
ส่วนแยกของกองทัพฝรั่งเศสได้วางกำลังทหาร 300นายอย่างเต็มอัตราใน Drwsko Pomorskie ภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้เพื่อทำการฝึกร่วมในโปแลนด์เป็นเวลา 2เดือนร่วมกับกองทัพชาติสมาชิกอื่นๆของ NATO
เช่นกองกำลังยานเกราะของสหรัฐฯและแคนาดา อย่างการฝึก Puma 2015 ที่จะจัดระหว่างวันที่ 11-29 พฤษภาคมนี้

การวางกำลังของฝรั่งเศสในโปแลนด์นี้เป็นเวลา 6เดือนหลังจากอังกฤษได้วางกำลังทหารและยานเกราะของกองทัพอังกฤษเข้าฝึกร่วมกับ NATO ที่โปแลนด์ในรหัส Black Eagle
ประกอบไปด้วยรถถังหลัก Challenger 2, รถรบทหารราบ Warrior ทหารอังกฤษ 1,300นาย และยานเกราะร่วม 100คัน
ซึ่งฝรั่งเศสยังได้วางกำลังอากาศยานของกองทัพอากาศฝรั่งเศสเช่นเครื่องบินขับไล่ Rafale 4เครื่อง ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน ถึง 1 กันยายน 2014 ที่ฐานทัพอากาศ Malbork โปแลนด์
เพื่อสนับสนุนภารกิจการลาดตระเวนทางอากาศในน่าฟ้าเขต Baltic ของ NATO
และกองทัพเรือฝรั่งเศสยังได้ส่งเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Falcon 50 ร่วมปฏิบัติการในเขตทะเล Baltic ร่วมกับ NATO ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2014
พร้อมกับและเครื่องบินแจ้งเตือนและควบคุมทางอากาศ E-3F AWACS ของกองทัพอากาศฝรั่งเศสซึ่งปฏิบัติการมามากกว่า 350ชั่วโมงแล้ว
โดยทั้งหมดเป็นการตอบสนองภารกิจของ NATO ต่อภัยคุกคามของรัสเซียในเขตยุโรปตะวันออกหลังจากที่เข้าแทรกแซงยูเครนหลังการผนวก Crimea ในปี 2014 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

ภาพ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งแต่ก่อนเข้าประจำการถึงปลดระวางประจำการ



รวบรวมจาก Page ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย
https://www.facebook.com/pages/รลพุทธเลิศหล้านภาลัย/269264429759835

 

 



ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย หรือเดิมคือ FF-1077 USS Ouellet ขณะเข้ารับการปรับปรุงสภาพเรือที่อู่ Cascade General Shipyard, Swan Island, Portland รัฐ Oregon สหรัฐฯเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๑(1997-1998)
กองทัพเรือใช้งบประมาณในการปรับปรุงเรือไปราว $14 million โดยกำลังพลประจำเรือชุดรับเรือชุดแรกได้เดินทางไปดูงานปรับปรุงและรับมอบเรือที่สหรัฐฯ(น่าจะตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๓๙ 1996) ก่อนจะนำเรือกลับมาไทย


ปฏิบัติหน้าที่



ตรวจซ่อมบำรุงท่อหลังแท่นยิง ASROC

ที่หัวหิน

 

ยามเรือเดิน ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย

ทัศนสัญญาณ

โทรทัศน์ในห้องเมสจ่า

 
สหโภชน์


ความภาคภูมิใจไม่รู้ลืม ถ่ายภาพร่วมกัน หลังจากการยินจรวดปราบเรือดำน้ำ (ASROC) ได้สำเร็จ

ฮ.Super Lynx 300 บินผ่าน

ฝึกชุดตรวจค้นเรือ(VBSS) ร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐฯ CARAT 2008

 
ฝึก CARAT 2010 ร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐฯ

 
ฝึก AUSTHAI 2011  ร่วมกับกองทัพเรือออสเตรเลีย
เป็นการฝึกชุดตรวจค้นเรือ(VBSS) บน ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย

     

 
ซ่อมบำรุงเรือ



ต่อไปเราคงไม่ได้เห็น ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย จอดคู่กันที่สัตหีบเช่นนี้อีกแล้ว

 

 


ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย จะอยู่ในใจพวกเรา ชุดรับเรือ ตลอดไป

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

ลิทัวเนียสนใจจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร PzH 2000 จากเยอรมนี

Lithuania seeks PzH 2000 artillery buy
Lithuania is looking to buy 12 PzH 2000 SPA systems from former Germany Army stocks. Source: Krauss-Maffei Wegmann
http://www.janes.com/article/50744/lithuania-seeks-pzh-2000-artillery-buy

รัฐมนตรีกลาโหมลิทัวเนีย Juozas Olekas ได้กล่าวระหว่างการเยือนเยอรมนีว่า ลิทัวเนียสนใจจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน PzH 2000 (Panzerhaubitze 2000) ขนาด 155mm จำนวน 12ระบบ จากคลังอาวุธกองทัพบกเยอรมนี
"การเจรจาอย่างเจาะจงที่จะเริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมนี้ก็น่าจะคาดหวังได้ว่าจะทำให้ในอนาคตอันใกล้เราจะได้มีขีดความสามารถที่จำเป็น" รัฐมนตรีกลาโหมลิทัวเนียกล่าว
นอกจากนี้ลิทัวเนียยังได้สนใจที่จะจัดหารถรบทหารราบล้อยาง 8x8 แบบ Boxer จากเยอรมนีด้วย
การจัดหาอาวุธเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดหาอาวุธภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือยุทโธปกรณ์(OCCAR) ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์
ที่เป็นการช่วยเหลือลิทัวเนียซึ่งเป็นหนึ่งในสามชาติในรัฐ Baltic สมาชิก NATO ให้มีกองทัพที่ทันสมัยขึ้นครับ

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

เบลารุสเริ่มรับมอบเครื่องบินฝึก Yak-130 จากรัสเซีย

Belarus begins receiving Yak-130 aircraft from Russia
The Yak-130 demonstrates its offensive capabilities in this shot showing its underwing hardpoints. Belarus seems likely to field the aircraft primarily in a combat role. Source: Irkut
http://www.janes.com/article/50794/belarus-begins-receiving-yak-130-aircraft-from-russia

สื่อแห่งชาติเบลารุสได้รายงานเมื่อวันที่ 16 เมษายนว่า กองทัพอากาศเบลารุสเริ่มได้รับมอบเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบา Yak-130 จากจำนวน 4เครื่องที่สั่งจัดหาจากรัสเซียในปี 2012
โดยมีภาพออกมาว่ามี Yak-130 อย่างน้อยหนึ่งเครื่องถูกขนส่งมาโดยเครื่องบินลำเลียงหนัก IL-76 ตรงจากโรงงานอากาศยาน Irkutsk ในรัสเซียมายังฝูงบินทิ้งระเบิดและลาดตระเวนที่116 ฐานทัพอากาศเบลารุสใน Lida
และสื่อบางแห่งรายงานว่ากองทัพอากาศเบลารุสได้รับมอบ Yak-130 แล้ว 2เครื่อง คาดว่ากองทัพอากาศเบลารุสจะได้รับมอบ Yak-130 ครบ 4เครื่องในปลายปี 2015 นี้ครับ

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

โรมาเนียต้องการจะซื้อ F-16 เพิ่มอีกฝูง

F-16AM Portuguese Air Force

Romania intends to buy another F-16 squadron, C-27J Spartan military aircraft arrives in Romania
http://www.romaniajournal.ro/romania-intends-to-buy-another-f-16-squadron-f16-spartan-military-aircraft-arrives-in-romania/

กองทัพอากาศโรมาเนียมีความตั้งใจจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16 เพิ่มขึ้นอีกฝูง หลังจากที่ได้มีการจัดหา F-16AM/BM Block 15 MLU มือสองจากโปรตุเกสจำนวน 12เครื่องซึ่งจะเข้าประจำการครบภายในปี 2016 นี้
โดยร่างโครงการความต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่นี้ต้องการเครื่องเพิ่มอีกอย่างน้อย 12เครื่องสำหรับฝูงที่สอง เพื่อรองรับการปลดประจำการ MiG-21 Lancer จำนวน 36เครื่อง ที่จะปลดในปี 2018
แต่อย่างไรก็ตามแผนการดังกล่าวนี้ทางรัฐมนตรีกลาโหมโรมาเนีย Mircea Dusa กล่าวว่ายังไม่มีการลงนามสัญญาใดๆในขณะนี้เพราะขึ้นอยู่กับวงเงินงบประมาณกลาโหมของโรมาเนียเองด้วยว่าจะเพียงพอหรือไม่
ล่าสุดกองทัพอากาศโรมาเนียได้รับมอบเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง C-27J Spartan เครื่องที่7 จากที่ลงนามจัดหาในปี 2006 วงเงิน 217 million Euros
โดยกองทัพอากาศโรมาเนียนำ C-27J เข้าประจำการที่ฝูงบินลำเลียงและลาดตระเวนที่902 กองบินขนส่งทางอากาศที่90
ซึ่งหลังจากการเข้าร่วม NATO กองทัพโรมาเนียได้ปรับเปลี่ยนยุทโธปกรณ์ของตนให้เป็นระบบมาตรฐานตะวันตกเพื่อทดแทนระบบเก่าสมัยสงครามเย็นของอดีตสหภาพโซเวียตครับ

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

รัฐมนตรีกลาโหมบราซิลกล่าวว่าอังกฤษอาจจะไม่คัดค้านการขาย Gripen ให้อาเจนตินา


UK may not oppose Gripen sale to Argentina: Brazilian minister
http://www.flightglobal.com/news/articles/uk-may-not-oppose-gripen-sale-to-argentina-brazilian-411287/

รัฐมนตรีกลาโหมบราซิล Jacques Wagner กล่าวต่อสื่อเมื่อวันที่ 15 เมษายนว่า รัฐบาลสหราชอาณาจักรอาจจะไม่ต่อต้านการขาย Gripen NG ให้อาเจนตินา
โดยการแถลงในงานจัดแสดงยุทโธปกรณ์ Latin American Aviation and Defence 2015 ที่ Rio de Janeiro บราซิลเมื่อวันที่ 14-17 เมษายนที่ผ่านมานั้น
เป็นเวลาให้หลัง6เดือนที่รัฐมนตรีกลาโหมอาเจนตินา Agustin Rossi ให้ความสนใจเครื่องบินขับไล่ Gripen NG ที่สวีเดนให้สิทธิบัตรการผลิตแก่บราซิลในการประกอบและส่งออก
รวมถึงเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี Embraer KC-390 ที่อาเจนตินาเป็นหนึ่งในสามชาติหุ้นส่วนในการพัฒนาและจัดหาเครื่องร่วมกับบราซิลด้วยด้วย
อย่างไรก็ตามเนื่องจากอากาศยานทั้งสองแบบของบราซิลนั้นมีชิ้นส่วนอุปกรณ์บางส่วนที่จัดหามาจากอังกฤษ ทำให้เกิดปัญหาว่าอังกฤษอาจจะไม่อนุมัติการส่งออกอุปกรณ์สำหรับ Gripen ให้บราซิล เนื่องจากอังกฤษจำกัดการขายอาวุธให้อาเจนตินาอยู่

แต่ท่าทีของรัฐบาลอังกฤษล่าสุดตามที่รัฐมนตรีกลาโหมบราซิล Wagner กล่าวนั้นไม่ได้มีเจตนาในการคัดค้านเพื่อห้ามขาย Gripen หรือ KC-390 ให้แก่อาเจนตินาแต่อย่างใด
ทว่าทั้งนี้ทาง Embraer อาจจะต้องพบอุปสรรคในการจัดหาอุปกรณ์ทดทดแทนจากประเทศอื่นๆแทนอังกฤษ เช่น Radar และเก้าอี้ดีดตัว สำหรับ Gripen และระบบควบคุมการบินและคันบังคับสำหรับ KC-390
แต่ Wagner ไม่ได้กล่าวว่าบราซิลหรืออาร์เจนตินาจะต้องออกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการออกแบบให้ Gripen และ KC-390 รองรับอุปกรณ์ใหม่จากแหล่งอื่นหรือไม่
ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหมบราซิล Wagner ยังได้อธิบายรายละเอียดเรื่องการจำกัดการส่งออกของอังกฤษว่า การแก้ปัญหานี้ขึ้นอยู่กับว่าอังกฤษจะหารือกับอาเจนตินาเรื่องอธิปไตยเหนือหมู่เกาะ Falklands โดยให้สหประชาชาติเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยหรือไม่
และทางรัฐมนตรีกลาโหมบราซิลยังได้ยอมรับว่ารัฐบาลบราซิลยังติดค่าใช้จ่ายแก่บริษัท Embraer สำหรับการพัฒนา KC-390 อยู่ราว $200 million ซึ่งรัฐบาลบราซิลเพิ่งจะจ่ายไป $40 million จากทั้งหมดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วครับ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

กองทัพเรือไทยปลดระวางประจำการ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย และอนาคตหลังการปลดประจำการเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

พิธีปลดระวางประจำการ ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย

พลเรือตรี สานนท์  ผะเอม ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ ๑ กองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีปลดระวางประจำการ ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย 
ตามคำสั่ง กห.ที่ ๙๔/๒๕๕๘ ลง ๓ ก.พ.๕๘ ให้ปลดระวางประจำการ ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย
ทั้งนี้เพื่อรำลึกถึงคุณความดี ที่ ร.ล. พุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ปฏิบัติราชการในกองทัพเรือสืบมา เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘ ณ ท่าเทียบเรือจุกเสม็ด กทส.ฐท.






http://www.frigate1.com/index.php/th/generalnews/216-2015-04-09-02-48-07

กองทัพเรือไทยจัดหาเรือฟริเกตชั้น Knox มือสองจากกองทัพเรือสหรัฐฯคือ
ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือเดิมคือ FF-1095 USS Truett ซึ่งเข้าประจำการเมื่อเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ.๒๕๓๗
และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย หรือเดิมคือ FF-1077 USS Ouellet ซึ่งเข้าประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ.๒๕๓๙
ซึ่งเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทั้งสองลำนั้นเป็นเรือฟริเกตชั้น Knox รุ่นที่ติดตั้งระบบป้องกันตัวระยะประชิด CIWS แบบ Phalanx ขนาด 20mm


เดิมทีนั้นกองทัพเรือมีความต้องการในการจัดหาเรือฟริเกตชั้น Knox จำนวน ๔-๖ลำในช่วงก่อนปี ๒๕๔๐ แต่ได้ปรับลดเหลือเพียง ๒ลำ
โดยก่อนหน้านั้นกองทัพเรือต้องการจัดหาเรือพิฆาตชั้น Charles F. Adams มือสองจากสหรัฐฯ ซึ่งปลดประจำการในช่วงใกล้เคียงกัน
เนื่องจากต้องการเรือที่มีแท่นยิง Mk13 สำหรับยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ RIM-66 Standard SM-1
แต่ทางสหรัฐฯได้เสนอเรือฟริเกตชั้น Knox ซึ่งตัวเรือมีอายุการใช้งานน้อยกว่าให้กองทัพเรือแทน
ทั้งนี้สหรัฐฯยังได้ปฏิเสธที่จะเสนอเรือฟริเกตชั้น Knox ที่เป็นรุ่นติดตั้งแท่นยิง Mk25 สำหรับ RIM-7 Sea Sparrow ด้วย

เหตุผลที่กองทัพเรือปลดประจำการ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ก่อน ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็เนื่องจากอายุการใช้งานตัวเรือโดยรวมที่มากกว่าครับ
เพราะเดิมนั้น FF-1077 USS Ouellet นั้นเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯช่วงปี 1970–1993
ซึ่งตัวเรือได้ผ่านการปรับปรุงตัวเรือใหม่มาระยะหนึ่งก่อนที่จะส่งมอบให้กองทัพเรือไทยประจำการเป็น ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย
ขณะที่ FF-1095 USS Truett นั้นเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯช่วงปี 1974–1994
และส่งมอบให้กองทัพเรือไทยแบบ Hot Transfer ในปีเดียวกันที่ปลดคือ พ.ศ.๒๕๓๗
ซึ่ง ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั่นมีกำหนดจะปลดประจำการถัดไปในปี พ.ศ.๒๕๖๐

ตลอดระยะเวลาที่ประจำการมาราว ๒๐ปีนั้น เรือฟริเกตชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นเรือที่มีขีดความสามารถในการทำสงครามต่อต้านเรือดำน้ำสูงที่สุดแบบหนึ่งของกองทัพเรือ
เนื่องจากติดตั้งระบบปราบเรือดำน้ำหลายอย่างที่ค่อนข้างทันสมัยในเวลานั้นหลายแบบเช่น
ระบบควบคุมการยิงอาวุธปราบเรือดำน้ำ Mk114, Sonar หัวเรือแบบ AN/SQS-26CX, Sonar ชักหย่อนแบบ AN/SQS-35(V) และ Sonar ลากท้ายแบบ AN/SQR-18A(V)1
ซึ่ง Sonar ชักหย่อน กับ Sonar ลากท้าย นั้นไม่ค่อยได้มีการฝึกใช้งานมากนักเนื่องจากถูกออกแบบมาสำหรับใช้ในเขตทะเลลึกที่ระดับความลึก 250m ลงไปสำหรับตรวจจับเรือดำน้ำนิวเคลียร์มากกว่า
และระบบอาวุธหลักคือ จรวดปราบเรือดำน้ำแบบ RUR-5 ASROC ในแท่นยิงแบบ Mk16 ๘ท่อยิง ซึ่งติดตั้ง Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแบบ Mk44 sหรือ Mk46 มีระยะยิงราว 10nmi
พร้อมระบบเป้าลวง Torpedo แบบ T-Mk 6 Fanfare และ AN/SLQ-25 Nixie นับว่าเป็นระบบปราบเรือดำน้ำที่ค่อนข้างทันสมัยที่สุดของกองทัพเรือไทยในขณะนั้น


อย่างไรก็ตามตลอดที่ประจำการมากว่าเกือบ๒๐ปี เรือฟริเกตชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในช่วงหลายปีหลังค่อนข้างจะประสบปัญหาเรือการซ่อมบำรุงเรือค่อนข้างมาก
โดยเฉพาะในส่วนเครื่องยนต์กังหังไอน้ำ Westinghouse steam turbine ขนาด 35,000shp ซึ่งเป็นระบบที่เก่าและล้าสมัย สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงค่อนข้ามาก และซ่อมบำรุงยาก
ดูได้จาก Clip ขั้นตอนการติดไฟหม้อน้ำของ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ครับ


ปัจจุบันนี้เรือที่ใช้เครื่องยนต์กังหันไอน้ำนั้นได้ทยอยกันปลดประจำการออกจากกองทัพเรือทั่วโลกจนแทบจะหมดแล้ว
ซึ่งรวมถึงเรือฟริเกตชั้น Knox ในกองทัพเรือต่างๆทั่วโลกทั้ง กองทัพเรือกรีซที่ปลดไปหมดแล้ว กองทัพเรือไต้หวัน กองทัพเรือเม็กซิโก กองทัพเรือตุรกี และกองทัพเรืออียิปต์ในอนาคตอันใกล้

สำหรับกองทัพเรือไทยเองนั้นในอนาคตหลังปี พ.ศ.๒๕๖๐ กองทัพเรือไทยจะคงกำลังเรือฟริเกตที่เป็นเรือรบผิวน้ำหลักจำนวน ๘ลำด้วยกันคือ
ชุด ร.ล.เจ้าพระยา ๒ลำ, ชุด ร.ล.กระบุรี ๒ลำ, ชุด ร.ล.นเรศวร ๒ลำ และเรือฟริเกตชุดใหม่ที่สั่งต่อกับ DSME สาธารณรัฐเกาหลี ๒ลำ ซึ่งลำที่สองจะต่อในไทย
ในขณะที่เรือฟริเกตเก่าทั้ง ร.ล.มกุฎราชกุมาร, ชุด ร.ล.ตาปี รวม ๕ลำซึ่งมีอายุการใช้งานนานและค่อนข้างล้าสมัยมากแล้วจะมีการปลดประจำการลงในอนาคตอันใกล้
นับจากนี่ต่อไปหลังจากที่มีการปลดประจำการเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ลงหมดทั้งสองลำนั้น กองทัพเรือไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดกำลังทางเรืออีกมากทั้งกองเรือฟริเกตที่๑ และกองเรือฟริเกตที่๒
โดยเฉพาะในส่วนกองเรือฟริเกตที่๑ ที่จะมีเรือปลดไปหลายลำและอาจจะมีเรือใหม่เข้าประจำการครับ