วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กระทรวงกลาโหมเยอรมนีเตรียมยื่นฟ้อง HK ต่อกรณีปัญหาปืน G36

German Bundeswehr land force soldiers deployed with G36s

http://www.donaukurier.de/nachrichten/topnews/thema/Staatsanwaltschaft-wegen-Sturmgewehr-G-36-eingeschaltet;art189178,3070091

ภายใต้การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเยอรมนี นาง Ursula von der Leyen กระทรวงกลาโหมเยอรมนีเตรียมการยื่นฟ้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายต่อ HK
ต่อกรณีปืนเล็กยาว G36 มีปัญหาการใช้งานในกองทัพเยอรมนี โดยทางกระทรวงกลาโหมและอัยการศาลกำลังหาช่องทางตามกฎหมายแพ่งมาใช้ดำเนินคดีกับทางบริษัท HK ผู้ผลิตปืน
ในปี 2011 สำนักงานอัยการได้มีการพิจารณาหลังมีการยื่นเอกสารร้องเรียนต่อ HK กรณีสงสัยว่ามีการฉ้อโกง แต่ขั้นตอนตามกฎหมายได้หมดระยะเวลาลงเสียก่อน
ขณะเดียวกันทางรัฐมตรีกลาโหมนาง Leyen ได้ให้คณะกรรมการตรวจสอบสัญญาว่าข้อจำกัดด้านระยะเวลาที่มีอยู่สิบปีนั้นไม่ได้หมดอายุลงหลังปี 2005 ก่อนที่ปืน G36 จะถูกส่งมอบให้กองทัพเยอรมัน
นอกจากนี้คณะกรรมการการจัดซื้อจัดจ้างแห่งกองทัพสหพันธรัฐเยอรมนี(BAAinBw) ยังได้เตรียมดำเนินการยื่นเรื่องร้องเรียนเพื่อเรียกร้องความเสียหายทางแพ่งต่อ HK
โดยมีความกังวลถึงปืนจำนวน 4,500กระบอกที่ถูกสั่งซื้อระหว่างการรับประกันในช่วง 24เดือนที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมได้เรียกร้องจากผู้รับสัญญาให้กำจัดความผิดพลาดหรือการชดใช้ค่าเสียหาย
กองทัพเยอรมนีมีปืนเล็กยาว G36 ประมาณ 170,000กระบอก หลังจากปีที่เหตุการวิจารณ์ปัญหาของตัวปืนอย่างหลากหลาย ถึงความร้อนของปืนที่เพิ่มสูงขึ้นเกินไปขณะทำการยิงต่อเนื่องซึ่งไม่สามารถยอมรับได้
ทางรัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี นาง Layen จึงต้องการจัดการปัญหาโดยไม่ยอมรับการจัดหาและใช้งานปืน G36 รุ่นก่อนหน้านี้ในกองทัพเยอรมนีอีกต่อไปครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กองทัพอากาศออสเตรเลียรับมอบเครื่องบินลำเลียง C-27J เครื่องแรก

First RAAF C-27J touches down
http://australianaviation.com.au/2015/06/first-raaf-c-27j-touches-down-at-richmond/

กองทัพอากาศออสเตรเลียรับมอบเครื่องบินลำเลียงยุทธวิธีขนาดกลาง C-27J เครื่องแรก โดย C-27J หมายเลข A34-001 ได้ทำการลงจอดที่ฐานทัพอากาศ Richmond เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา
โดย C-27J เครื่องที่สองหมายเลข A34-002 จะบินมาถึงฐานทัพอากาศ Richmond ในเดือนสิงหาคม ซึ่งจะเป็นฐานบินหลักของ C-27J ในฝูงบินลำเลียงหมายเลข35(No.35 Squadron) กองทัพอากาศออสเตรเลีย
ซึ่งเครื่อง C-27J หมายเลข A34-001 ได้ออกจากโรงงานประกอบของ Alenia Aermacchi ที่ Turin อิตาลีทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2013
และเดินทางไปยังโรงงาน L-3 ใน Waco มลรัฐ Texas สหรัฐฯ เพื่อติดตั้งระบบป้องกันตัวจากอาวุธ ระบบสงคราม Electronic และระบบสื่อสาร ในเดือนมีนาคม 2014
ทั้งนี้ C-27J สองเครื่องแรกคือเครื่องหมายเลข A34-001 และ A34-002 ได้ทำการจดทะเบียนอากาศยานในเครื่องจักรภพสหราชอาณาจักรและทำการฝึกที่โรงงาน L-3 ตั้งแต้เดือนธันวาคม 2014
กองทัพอากาศออสเตรเลียได้สั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางสองเครื่องยนต์ C-27J จำนวน 10เครื่อง ในปี 2009 เพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียง DHC-4 Caribou ครับ

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

จีนสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กปริศนา

China builds mystery midget submarine
DigitalGlobe imagery published on Google Earth showing what appears to be a midget submarine at the Wuchang shipyard in Wuhan,
China. A Type 041 conventional submarine berthed at the same site in January is shown for comparison. (IHS/Google, DigitalGlobe)
http://www.janes.com/article/52572/china-builds-mystery-midget-submarine

ภาพถ่ายดาวเทียมของ DigitalGlobe ซึ่งเผยแพร่ใน Google Earth เหนืออู่ต่อเรือ Wuchang ที่ Wuhan สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2014 นั้น
มีการพบภาพเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) ลึกลับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายดาวเทียมเหนือบริเวณเดียวกันเมื่อเดือนมกราคม 2015 พบว่ามีเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า Type 041 Yuan มาจอดเทียบท่าแทนแล้ว
ซึ่งจากการเปรียบเทียบขนาดของเรือดำน้ำทั้งสองแบบจะเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นเรือคนละชั้นและมีขนาดแตกต่างกันมาก
การวิเคราะห์ขนาดของเรือดำน้ำขนาดเล็กปริศนาดังกล่าวคาดว่าเรือลำนี้มีความยาวตัวเรือประมาณ 35m กว้าง 4m มีระวางขับน้ำประมาณ 400-500tons

อู่ต่อเรือ Wuchang เป็นอู่ต่อเรือหลักที่สร้างเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบให้กับกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนในปัจจุบัน
เช่น เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Type 039 Song และ Type 041 Yuan รวมถึงเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า Type 032 Qing ซึ่งเป็นเรือดำน้ำตามแบบติดขีปนาวุธที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
มีข้อสังเกตุว่าเรือดำน้ำขนาดเล็กปริศนานี้ดูจะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับแบบเรือดำน้ำขนาดเล็ก KSS-550A ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กใหม่ทดแทนเรือเก่าอย่างทดแทนเรือชั้น Dolgorae
เพราะอย่างเรือดำน้ำ Type 032 SSB เองก็มีการวิเคราะห์ว่าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการทดสอบ Technology เรือดำน้ำแบบใหม่ๆของจีนมากกว่าจะมีคุณค่าทางยุทธศาสตร์ครับ

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

DCNS ฝรั่งเศสส่งมอบเรือฟริเกต FREMM ให้กองทัพเรืออียิปต์

DCNS Transfered the FREMM Frigate Tahya Misr to the Egyptian Navy

The Chief of Staff of the French Navy (left), French Defense Minister (center) and Egyptian Defense Minister attended the ceremony.

The Tahya Misr going out of DCNS shipyard the day after the transfer ceremony for her first sea trials with the Egyptian Navy crew onboard.

http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2836

วันที่ 23 มิถุนายนที่อู่ต่อเรือ Lorient ใน Brittany ที่ฝรั่งเศส บริษัท DCNS ได้ทำพีธีส่งมอบเรือฟริเกตแบบ FREMM ให้กองทัพเรืออียิปต์
ในพิธีรับมอบเรือมีผู้ร่วมงานสำคัญจากทั้งสองประเทศ เช่น นายพล Sedki Sobhy รัฐมนตรีกลาโหมอียิปต์ Jean-Yves Le Drian รัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส พลเรือเอก Osama Rabie ผู้บัญชาการกองทัพเรืออียิปต์
พลเรือเอก Bernard Rogel ผู้บัญชาการกองทัพเรือฝรั่งเศส และ Herve Guillou ประธานและ CEO บริษัท DCNS ฝรั่งเศส
โดยอียิปต์เป็นลูกค้ารายที่สองที่ฝรั่งเศสส่งออกเรือฟริเกต FREMM ต่อจากโมร็อกโคที่จัดหาเรือชื่อ Mohammed VI เข้าประจำการในปี 2014
เรือฟริเกต FREMM ของกองทัพเรืออียิปต์มีหมายตัวเรือคือ 1001 ชื่อของเรือคือ Tahya Misr (แปลว่า "อียิปต์จงเจริญ") ซึ่งเดิมทีคือเรือ D651 Normandie ของกองทัพเรือฝรั่งเศส ที่อียิปต์ได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2015
และในช่วงเดือนกรกฎาคมปี 2014 อียิปต์ได้ลงนามจัดหาเรือคอร์เวตแบบ Gowind 2500 จำนวน 4ลำกับ DCNS ซึ่งนับเป็นลูกค้ารายที่สองต่อจากกองทัพเรือมาเลเซีย
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกันระหว่าฝรั่งเศสและอียิปต์

เรือฟริเกตแบบ FREMM เป็นโครงการสร้างเรือฟริเกตร่วมระหว่าง DCNS ฝรั่งเศส และ Fincantieri อิตาลี ซึ่งแบบเรือสำหรับกองทัพเรือฝรั่งเศสและกองเรืออิตาลีนั้นมีแตกต่างกันตามความต้องการของกองทัพเรือทั้งสองประเทศ
แบบเรือ FREMM ชั้น Aquitaine ของกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ต่อโดย DCNS ซึ่งขายให้อียิปต์นั้น มีความยาวตัวเรือ 142m ระวางขับน้ำ 6,000tons ทำความเร็วได้สูงสุด 27 knots พิสัยทำการ 6,000nm ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 15knots
กำลังพลประจำเรือและเจ้าหน้าที่อากาศยานรวม 108นาย มีความจุที่พักเพิ่มเติมรองรับทั้งได้อีก 145นาย ทั้งชายและหญิง
สำหรับเรือ Tahya Misr หรือเดิมคือ D651 Normandie ที่ส่งออกให้อียิปต์นั้น จะมีการถอดระบบอุปกรณ์ส่วนที่เป็นความลับซึ่งใช้งานเฉพาะกองทัพเรือฝรั่งเศสเท่านั้นออกไป
เช่น แท่นยิง VLS รุ่น SYLVER A70 ในแถวที่สองที่สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนได้, ระบบสงคราม Electronic แบบ SIGEN R-ECM สองระบบ และเครื่องรับสัญญาณ SATCOM สำหรับ Syracuse system เป็นต้น
แต่ระบบอุปกรณ์และอาวุธหลักส่วนใหญ่ของเรือยังคงถูกติดตั้งเพื่อส่งมอบได้ เช่น ป้อมปืนใหญ่กล Nexter Narwhal 20B ขนาด 20mm ซึ่งไม่มีในเรือ Mohammed VI ของกองทัพเรือโมร็อกโค
อีกทั้งเรือ Tahya Misr นั้นกองทัพเรืออียิปต์จะบรรจุกำลังพลประจำการบนเรือจำนวน 126นาย โดยเริ่มทำการฝึกกำลังพลที่ฝรั่งเศสตั้งแต่เดือนมีนาคม 2015 แล้ว คาดว่าเรือจะเดินทางไปที่คลอง Suez โดยมีพิธีฉลองในราวเดือนสิงหาคมครับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กองทัพเรืออินเดียโอนเครื่องบินฝึกไอพ่น Kiran ทั้งหมดให้กองทัพอากาศอินเดีย

HAL HJT-16 Kiran of Indian Navy

Indian Navy hands Kiran trainers to air force
http://www.janes.com/article/52513/indian-navy-hands-kiran-trainers-to-air-force

กองการบินกองทัพเรืออินเดียได้ทำการโอนย้ายเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นมัธยม HAL HJT-16 Kiran ที่เหลืออยู่จำนวน 9เครื่องให้กับกองทัพอากาศอินเดีย
เจ้าหน้าที่กองทัพเรืออินเดียได้ให้เหตุผลการโอนย้ายว่า เนื่องจากกองทัพเรืออินเดียได้รับมอบเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า BAE Systems Hawk 132 จำนวน 11เครื่องจากจำนวนที่สั่งจัดหา 17เครื่องแล้ว
ซึ่งอินเดียได้ซื้อสิทธิบัตรในการประกอบเครื่องบินฝึกไอพ่น Hawk โดยได้ส่งมอบเครื่องชุดแรกให้กองการบินทหารเรืออินเดียในปี 2010 และกองทัพเรืออินเดียจะได้รับมอบอีก 6เครื่องที่เหลือภายในปี 2016

เครื่องบินฝึกไอพ่น Kiran นั้นเป็นเครื่องที่ Hindustan Aeronautics Limited อินเดียทำการออกแบบผลิตเองในประเทศ เข้าประจำการครั้งแรกตั้งแต่ปี 1968 และมีจำนวนการสร้างสำหรับทั้งกองทัพอากาศอินเดียและกองทัพเรืออินเดียรวม 190เครื่อง
สำหรับกองทัพอากาศอินเดียนั้นมีแผนจะประจำการเครื่องบินฝึกไอพ่น Kiran ไปอีกไม่เกิน 4ปีข้างหน้า ซึ่งกองทัพอากาศอินเดียจะนำเครื่องบินฝึกไอพ่น HAL HJT-36 Sitara IJT ที่อินเดียพัฒนาเองในประเทศมาประจำการแทน
แต่อย่างไรก็ตามเครื่องบินฝึกไอพ่น Sitara นั้นประสบปัญหาความล่าช้าในการพัฒนาตั้งแต่ปี 2003 มายาวนานกว่าสิบปี โดยมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นหลายครั้ง จนกองทัพอากาศอินเดียจำเป็นต้องยืดอายุการใช้งาน บ.ฝึกKiran ออกไปก่อนครับ

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

F/A-18 กองทัพอากาศฟินแลนด์ประสบความสำเร็จในการทดสอบทิ้งระเบิดนำวิถี JDAM

Finnish Air Force Has Verified Its Air-to-Ground Capability


MLU 2 will give the Hornet provisions for the delivery of stand-off air-to-ground munitions, among other improvements.

For air launching, JDAM is carried on a fighter’s underwing pylons.
http://www.puolustusvoimat.fi/portal/puolustusvoimat.fi/!ut/p/c5/vZHLkqJAEEW_pT-grSxeRS0LquQNishrYyiD3aC09sBgy9ePEb2Y6MW4Msy7vHHzRN5EJbrpYzs2b9uhOX1sjyhHpbaxJE23XcA0WmABTuTamqoa2EwBZSgHZbNqr2dnOkxxC9cp4KW32olL4M-dsK1w2JpywtfXXlxxz5mUHAYv5G4EPcXpfCmYN7j1K3u57Sp_0rzAuNF8SIm_wKYF933A374mC0-EloKthamAs-JrmqyJbK21u_koJt8-_GcYoAKV5F8eKIVbnnBBOJdjS0PJA9u4z1IfzzKWaWIJOQKdOyow3bTXnKykpYefd5euPJH1xH_p6vNYEXkoy0Vls-tml6qbwUxTKJVlnSiSRCUiEZSVhWzw3nkTIt68x0TKfhfd9o-XZ6YeXj6dIhMN8ff56MaaXrvHIG_dkXqtfYZGZczPsnG4JEQOzdxYHOI9C7rK1pxLUceVObjdPFskQybv4hSMJv1VVBjyrKz6d6s-0m0YbM6nZtdM1y-3zqedd6BBmO55V-l2zpSkEV0PMJaqF7UaISww_Qr3Lyi0T12Nzt14FrE95T9Us79nWbiz/dl3/d3/L2dBISEvZ0FBIS9nQSEh/?pcid=f832dd8048c753079e209e8833fba23b

กองทัพอากาศฟินแลนด์ประสบความสำเร็จในการเพิ่มขีดความสามารถทางการรบแบบอากาศสู่พื้นของเครื่องบินขับไล่ F/A-18 ในการฝึกทิ้งระเบิดนำวิถีดาวเทียม JDAM ในสนามฝึกใช้อาวุธ Rovajarvi ใน Lapland ระหว่างวันที่ 8-12 มิถุนายนที่ผ่านมา
ภายใต้การสนับสนุนของกองบัญชาการทางอากาศ Satakunta และกองบัญชาการทางอากาศ Lapland ที่ร่วมการทดสอบฝึกสายการส่งกำลังบำรุง หลักการปฏิบัติงาน การให้คำแนะนำ และการสนับสนุนการยิง ตลอดหนึ่งสัปดาห์
F/A-18C/D ที่ผ่านการปรับปรุงครึ่งอายุการใช้งาน MLU 2 (Mid-Life Upgrade 2) ได้ทำการทดสอบทิ้งระเบิด JDAM จริงในสนามฝึกหลายแบบ ทั้ง GBU-31 ขนาด 2000lbs, GBU-32 ขนาด 1000lbs และ GBU-38 ขนาด 500lbs
ซึ่งการฝึกทดสอบนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินได้อย่างหลากหลายรูปแบบของ F/A-18 ซึ่งเป็นกำลังหลักของกองทัพอากาศฟินแลนด์
ที่ปัจจุบันฟินแลนด์ซึ่งเป็นประเทศเป็นกลางได้เพิ่มระดับความร่วมมือระหว่างกองทัพป้องกันประเทศกับมิตรประเทศในกลุ่ม Baltic และ NATO ในการเผชิญภัยคุกคามทางทหารจากรัสเซียที่มีการรุกล้ำน่านฟ้าและน่านน้ำฟินแลนด์ของมากขึ้นเรื่อยๆครับ

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

F-35B กองทัพอากาศอังกฤษประสบความสำเร็จในการทิ้งระเบิด Paveway IV

Royal Air Force F-35B Launches Paveway IV Weapon
Photo of the F-35 dropping the Paveway IV (Photo: U.S. F-35 Program Office)
http://www.military.com/daily-news/2015/06/19/royal-air-force-f35b-launches-paveway-iv-weapon.html

F-35B กองทัพอากาศอังกฤษประสบความสำเร็จในการทดสอบทิ้งระเบิดนำวิถี Laser Paveway IV ที่สนามฝึกใช้อาวุธ Atlantic ใน Patuxent River มลรัฐ Maryland สหรัฐฯ
โดยตัวระเบิดขนาด 500lbs นั้นถูกปิดการจุดระเบิดไว้(Unarmed) เพื่อวัตถุประสงค์ในการทดสอบทิ้งจากห้องเก็บอาวุธในตัวเครื่องของ F-35B STOVL รุ่นขึ้นลงทางดิ่งที่มีใช้ในนาวิกโยธินสหรัฐฯและกองทัพเรืออังกฤษ
การทดสอบการใช้อาวุธจริงของ F-35 นั้นประสบความสำเร็จไปหลายขั้นแล้วกับการทดสอบใช้อาวุธแบบต่างๆจากตัวเครื่อง เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120 AMRAAM, ระเบิดนำวิถีดาวเทียม JDAM เป็นต้น
ในส่วนกองทัพอากาศอังกฤษและกองทัพเรืออังกฤษนั้น นอกจากระเบิดนำวิถี Laser Paveway IV ที่เป็นอาวุธโจมตีภาคพื้นดินความแม่นยำสูงที่ใช้เป็นอาวุธหลักแบบหนึ่งที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2008 แล้ว
ยังจะมีการทดสอบติดตั้งและยิงอาวุธที่มีใช้งานในกองทัพอากาศและกองทัพเรืออังกฤษกับ F-35 เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-132 ASRAAM รวมถึงระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-39 SBD ที่มีใช้ในกองทัพสหรัฐฯเป็นต้น
ซึ่งระบบตรวจจับของ F-35 เช่น EOTS( Electro-Optical Targeting System) และระบบปฏิบัติการควบคุมการใช้อาวุธในห้องนักบินของ F-35 มีประสิทธิภาพสูงในการอำนวยความสะดวกการปฏิบัติการแก่นักบินมาก
F-35 สามารถติดอาวุธในรูปแบบตรวจจับยาก Stealth ได้มากกว่า 3,500lbs ในห้องบรรทุกภายในลำตัว4ตำบล หรือบรรทุกน้ำหนักได้สูงสุดกว่า 18,000lbs ใต้ท้องเครื่อง1ตำบล และจุดแข็งบนปีกอีก6ตำบล รวมทั้งหมด 11ตำบล
สำหรับนาวิกโยธินสหรัฐฯแล้วจะนำ F-35B ประจำการบนเรือยกพลขึ้นบกจู่โจม(LHA) ภายในปี 2018 ซึ่งขณะนี้ก็มีการทดสอบการปฏิบัติการบนเรือไปแล้วครับ

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รัสเซียพัฒนาปืน Microwave ป้องกันภัยทางอากาศ และเปิดตัวอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Verba สำหรับส่งออก

Russia Develops 'Microwave Gun' Able to Deactivate Drones, Warheads
http://sputniknews.com/russia/20150615/1023369522.html

United Instrument Manufacturing Corporation(UIMC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือบริษัท Rostec Corporation รัสเซียได้ประกาศแผนการพัฒนาปืนยิงคลื่นความถี่สูงมากสำหรับการต่อต้านภัยคุกคามทางอากาศ
โดย UIIMC เปิดเผยข้อมูลเพียงว่า ปืนยิงคลื่น Microwave ประกอบไปด้วยเครื่องกำเนิดพลังงานกำลังสูง ระบบอำนวยการและควบคุม ระบบส่งกำลัง และจานสะท้อน ซึ่งจะติดตั้งบนฐานแคร่รถระบบต่อสู้อากาศยานอัตตาจร BUK
ปืน Microwave นี้สามารถทำงานได้ 360องศา ในระยะ 10km สามารถทำลายระบบวิทยุสื่อสารหรือระบบตรวจจับของอากาศยานรบและของอากาศไร้คนบังคับที่เพดานบินระดับต่ำ หรือหัวรบและระบบนำร่องโจมตีของอาวุธปล่อยนำวิถีความแม่นยำสูงได้
การพัฒนาปืน Microwave นี้่เป็นไปตามความต้องการของกระทรวงกลาโหมรัสเซียซึ่งเป็นความร่วมมือกับ ROSCOSMOS(องค์กรอวกาศสหพันธรัฐ) และ Rostec เพื่อตอบสนองต่อการเพิ่มระดับการป้องกันภัยคุกคามในสงครามยุคอนาคตครับ

KBM says Verba MANPADS now being sold internationally
Russia's latest MANPADS is now available for export. Source: Nikolai Novichkov
http://www.janes.com/article/52424/kbm-says-verba-manpads-now-being-sold-internationally

รัฐบาลและกองทัพรัสเซียร่วมกับองค์การและกลุ่มบริษัทด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัสเซียได้มีการจัดงานแสดงอาวุธ ARMY-2015 ที่เมือง Kubinka ชานมหานครหลวง Moscow เมื่อวันที่ 16-19 มิถุนายนนั้น
บริษัท KBM ได้เปิดตัวระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยสั้นมากเคลื่อนย้ายได้โดยบุคคลประทับบ่ายิง((MANPADS: Manportable Air Defence System) แบบ 9K333 Verba
โดย Valeriy Kashin นักออกแบบทั่วไปของ KBM ได้กล่าวเป็นครั้งแรกในงานว่า ระบบ Verba นั้นได้รับการอนุญาตในการผลิตเพื่อส่งออกให้ลูกค้าต่างประเทศแล้วแต่ไม่ได้ระบุข้อมูลประเทศลูกค้า
ซึ่งปัจจุบันระบบ Verba ได้มีการเปิดสายการผลิตเพื่อเข้าประจำการกองทัพรัสเซีย เช่น กองกำลังภาคพื้นดิน และกองพลน้อยพลร่ม หลายหน่วยตั้งแต่ปี 2014 แล้ว
ตัวจรวดแบบ 9M336 ของระบบ Verba นั้นติดตั้งหัวค้นหาเป้าหมายที่สามารถทำงานรับช่วงคลื่นได้สามช่วงคือ Ultraviolet, Near-Infrared และ Mid-Infrared
มีระยะยิงไกล 6km โดยเพิ่มความเร็วในการค้นหาและจับเป้าหมายขึ้น 2.5เท่า และต่อต้านการถูกลวงด้วยพลุ(Flare) ได้ดีขึ้นถึง 10เท่า
อีกทั้งยังทำงานแบบ Digital เต็มรูปแบบ สามารถติดตั้งและทำงานร่วมกับระบบระบุฝ่าย(IFF: Identification Friend or Foe) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ หรือทำงานเป็นระบบอิสระได้
ทั้งนี้ KBM ยังมีแผนที่จะพัฒนาระบบ Verba สำหรับรุ่นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ และรุ่นติดตั้งกับเรือเพื่อใช้งานทางทะเลด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Antonov ยูเครนจะร่วมมือกับซาอุดิอาระเบียสร้างโรงงานประกอบเครื่องบินลำเลียง An-132



Ukraine will construct an aviation plant in Saudi Arabia
http://www.antonov.com/news/400?lang=en
The first AN-132 prototype is planned to be constructed in a year and a half
http://www.antonov.com/news/401?lang=en

งานแสดงการบิน Paris Air Show 2015 ที่สนามบิน Le Bourget ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา Antonov ยูเครนได้ลงนามความร่วมมือในการพัฒนาและถ่ายทอด Technology อากาศยานร่วมกับซาอุดิอาระเบีย
โดยจะทำการออกแบบร่วมและมีการสร้างโรงงานประกอบอากาศยานสำหรับผลิตเครื่องบินลำเลียงเบาทางยุทธวิธี An-132 ภายในประเทศซาอุดิอาระเบีย
เครื่องบินลำเลียงเบา An-132 ที่พัฒนาต่อมาจาก An-32 นี้จะเป็นอากาศยานแบบแรกของ Antonov ที่จะมีการจัดตั้งสายการผลิตนอกยูเครน และมีความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนในการออกแบบร่วมกับบริษัทและองค์กรหลายชาติประกอบด้วย
KACST (King Abdulaziz City for Science and Technology) และ Taqnia ซาอุดิอาระเบีย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์วิทยาการอากาศยาน(Ukrainian Scientific Research Institute of Aviation Technologies) Altis Holding ยูเครน,
Broetje-Automation เยอรมนี, Pratt&Whitney แคนาดา, GEAviation สหรัฐฯ และอังกฤษ เป็นต้น

โครงการพัฒนาเครื่องบินลำเลียง An-132 นั้นได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2015 แล้ว โดยทาง Antonov ได้มีการลงนามความร่วมมือและเจรจาข้อตกลงความร่วมือในการพัฒนาร่วมกับหลายประเทศในข้างต้น
ทางซาอุดิอาระเบียจะนำ An-132 มาใช้งานในหลายภารกิจ ทั้งการส่งกำลังบำรุง ขนส่งกำลังพลทหารและยานยนต์ขนาดเบา ลำเลียงพลร่มส่งทางอากาศ ส่งสัมภาระทางอากาศ และส่งกลับทางสายแพทย์
ซึ่ง An-132 สามารถบรรทุกได้หนักสุด 9.2tons มีนักบินประจำเครื่อง 2นายในห้องนักบินแบบ Glass Cockpit สามารถปฏิบัติการได้จากสนามบินที่ทางวิ่งไม่มีการเตรียมการ ทำการบินในพื้นที่อากาศร้อนจัดหรือเขตภูเขาสูงที่อากาศเบาบางได้
Antonov คาดว่าจะมีการสร้าง An-132 เครื่องต้นแบบแล้วเสร็จภายอีกราวหนึ่งปีครึ่ง(18เดือน)ข้างหน้าครับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG ได้รับการสั่งจัดหาจากลูกค้ากลุ่มแรก

L-39NG has announced first customers
http://www.l-39ng.cz/media/news/l-39ng-has-announced-first-customers/

ระหว่างงาน Paris Air Show 2015 ที่ฝรั่งเศสในวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา AERO Vodochody สาธารณรัฐเชค ได้ประกาศความสำเร็จของโครงการเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG ว่าได้รับการสั่งจัดหาจากลูกค้ากลุ่มแรกแล้ว

ลูกค้ารายแรกของ L-39NG คือ LOM PRAHA s.p. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของเชค ซึ่งดำเนินกิจการด้านการบินให้กับหน่วยงานรัฐบาลเชค
เช่น การซ่อมบำรุงปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์ Mi-8, Mi-17, Mi-171, Mi-24 และ Mi-35 รวมถึงให้บริการศูนย์ฝึกนักบินจำลองและเครื่องบินฝึกให้กับนักบินกองทัพอากาศเชค
ปัจจุบัน LOM PRAHA s.p. มีเครื่องบินฝึก L-39 รุ่นดั้งเดิมอยู่ 7เครื่องจะได้รับการปรับปรุงเป็นมาตรฐาน L-39 Next Generation ทั้งการติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น FJ44-4M ของ Williams International และระบบ Avionic ใหม่ตามมาตรฐานตะวันตก
ซึ่งศูนย์ฝึกจำลองทางยุทธวิธีของ LOM PRAHA s.p. ที่ Pardubice เชคจะได้รับการติดตั้งระบบจำลองการบินและการฝึกทางยุทธวิธีการรบกับฝ่ายตรงข้ามแบบบูรณาการสำหรับการฝึกนักบินของ L-39NG
นอกจากการให้บริการแก่กองทัพอากาศเชคแล้ว LOM PRAHA s.p. ยังมีแผนที่จะจัดหา L-39NG ที่ทำการประกอบใหม่เพิ่มเติมเพื่อการขยายบริการไปยังลูกค้าต่างประเทศในระดับสากลอีกด้วย
ลูกค้ารายที่สองที่มีความเป็นไปได้คือ Draken International สหรัฐฯ ซึ่งต้องการปรับปรุง L-39 อย่างน้อย 6เครื่องของฝูงบินผาดแผลง Black Diamond Jet Team ซึ่งอยู่ในสังกัดของตน
และลูกค้ารายที่สามที่ส่งจดหมายขอข้อมูลกับทาง AERO คือฝูงบินผาดแผลงเอกชน Breitling Jet Team ฝรั่งเศส ที่ต้องการจะปรับปรุง L-39 ของต้นให้เป็น L-39NG เช่นกัน

ทาง AERO Vodochody คาดว่าเครื่องต้นแบบของ L-39NG ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ใหม่ Williams FJ44-4M จะประกอบเสร็จภายในปลายปี 2015
ซึ่งโครงการจะเสร็จสมบูรณ์ในขั้นแรกเมื่อมีการทดสอบ L-39 เดิมที่ปรับปรุงเป็นมาตรฐาน L-39NG ครบทั้งเครื่องยนต์และระบบ Avionic และจะเข้าสู่ขั้นที่สองเมื่อสามารถสร้างเครื่อง L-39NG แบบประกอบใหม่ทั้งหมดได้
AERO Vodochody คาดหวังว่าจะได้รับคำสั่งซื้อ L-39NG จากลูกค้าทุกรายรวม 20เครื่องครับ

Antonov ยูเครนเปิดเผยแผนการพัฒนาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ An-188 และ An-178 รุ่นมาตรฐานตะวันตก

Paris Air Show 2015: Antonov reveals An-188 strategic transport aircraft
Antonov An-188 jet powered medium transport aircraft Source: Antonov/Nick de Larrinaga
http://www.janes.com/article/52287/paris-air-show-2015-antonov-reveals-an-188-strategic-transport-aircraft

Dmytro Kiva ประธานและนักออกแบบของ Antonov ยูเครน ได้ประกาศข้อมูลอย่างเป็นทางการในงานแสดงการบิน Paris Air Show 2015 ที่ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า
Antonov มีแผนที่จะพัฒนาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์เครื่องยนต์ไอพ่นแบบใหม่คือ An-188 โดยมีพื้นฐานพัฒนามาจากเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์เครื่องยนต์ใบพัด An-70 ที่มีการสร้างและเปิดตัวไปแล้วก่อนหน้านี้
An-188 เป็นเครื่องบินลำเลียงหนักสี่เครื่องยนต์ไอพ่น มีน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 140tons และสามารถบรรทุกได้หนักสุด 40tons ซึ่งมีความใกล้เคียงกับ Airbus A400M Atlas เช่นเดียวกับ An-70
คือเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะระหว่างเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง Lockheed Martin C-130J(น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 79tons บรรทุกได้หนักสุด 20tons) และเครื่องบินลำเลียงหนัก Boeing C-17(น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 255tons บรรทุกได้หนักสุด 75tons)
ทางนาย Kiva ได้กล่าวว่า An-188 นั้นสามารถปฏิบัติการได้สนามบินที่ทางวิ่งไม่ได้รับการเตรียมการพร้อม และใช้ทางวิ่งสั้นเพียง 915m อีกทั้งเครื่องยนต์ไอพ่นที่ใช้ก็มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพียง 4,600kg ต่อชั่วโมง
และจากที่ยูเครนได้ตัดความสัมพันธ์ทางทหารกับรัสเซีย ทาง Antonov จะมีการพัฒนา An-188 มุ่งสู่ตลาดตะวันตกโดยติดตั้งเครื่องยนต์และระบบอุปกรณ์ Avionic ของตะวันตกด้วย

เมื่อทาง Jane's ถามว่าจะมีการสร้างเครื่องต้นแบบของ An-188 เมื่อไร นาย Kiva ตอบว่าขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการทำงานและการเจรจาซึ่งยังไม่สามารถที่จะระบุได้ในขณะนี้
เพราะการปรับแบบจาก An-70 มาเป็น An-188 นั้นไม่ได้มีเฉพาะในส่วนของเครื่องยนต์แต่ยังรวมถึงส่วนอื่นๆของตัวเครื่องเช่นปีกที่ต้องขยายขนาดขึ้นด้วย
ซึ่งตามแผนเดิมนั้น An-188 จะใช้เครื่องยนต์ไอพ่นจาก Motor Sich ของยูเครนเอง แต่มีความเป็นไปได้ที่จะมีการออกแบบให้ติดตั้งเครื่องยนต์ของบริษัทตะวันตก
โดยในส่วนของเครื่องยนต์ไอพ่นของยูเครนเองนั้นมีการพิจารณาอยู่สองแบบคือ Ivchenko-Progress D-436-FM ซึ่งเป็นเครืองยนต์ Turbofan รุ่นใหม่ในตระกูล D-436 ที่จะติดตั้งกับเครื่องบินโดยสาร An-158 ที่จะเสร็จพร้อมในปีหน้า
และเครื่องยนต์ไอพ่นแบบ I-28 ซึ่งไม่มีการระบุข้อมูลที่ชัดเจนของเครื่องยนต์แบบใหม่นี้ในขณะนี้

Antonov An-178 Cockpit

ทั้งนี้ Antonov เองยังได้เปิดเผยข้อมูลการพัฒนาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลาง An-178 ที่ได้นำเครื่องต้นแบบมาเปิดตัวในงาน Paris Air Show 2015 นี้ด้วยว่า
An-178-111 ซึ่งเป็นเครื่องรุ่นใหม่นั้นได้รับการออกแบบให้ติดตั้งระบบเครื่องยนต์และระบบ Avionic ของตะวันตกแทนที่ระบบรัสเซีย-ยูเครนเดิมที่ใช้ในเครื่องต้นแบบปัจจุบัน
เช่นการเปลี่ยนเครื่องยนต์จากเครื่องยนต์ไอพ่น D-346 สองเครื่องมาเป็น General Electric CF34-10 หรือ Pratt & Whitney PW1500
หลังจากงาน Paris Air Show 2015 จบลง Antonov คาดว่า An-178 จะได้รับการรับรองมาตรฐานการบินพลเรือน และสามารถส่งมอบเครื่องแรกให้ลูกค้าที่ลงนามสัญญาจัดหาไปเช่นสายการบิน Silk Airways อาเซอร์ไบจันจำนวน 10เครื่องในปี 2016
รวมถึงแผนการพัฒนา An-178 ในรุ่นอื่นๆ เช่น รุ่นเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ ที่สามารถติดตั้งถังบรรทุกเชื้อเพลิงขนาด 15,000kg แบบถอดออกจากห้องบรรทุกภายในตัวเครื่องได้ด้วยครับ

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Boeing มองความเป็นไปได้ในการเข้าซื้อกิจการ Sikorsky และพัฒนาอากาศยานปีกหมุนร่วมกัน

Paris Air Show 2015: Boeing eyes up possible Sikorsky buy
An artist's impression of Sikorsky-Boeing SB-1 Defiant compound co-axial helicopter that the two companies are developing for the US Army's JMR/FVL requirement. Source: Sikorsky-Boeing
http://www.janes.com/article/52233/paris-air-show-2015-boeing-eyes-up-possible-sikorsky-buy
Paris Air Show 2015: Boeing touts JMR-TD/FVL technology for future Apache and Chinook upgrades
http://www.janes.com/article/52234/paris-air-show-2015-boeing-touts-jmr-td-fvl-technology-for-future-apache-and-chinook-upgrades

ในงาน Paris Air Show 2015 ที่สนามบิน Le Bourget ฝรั่งเศสซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-21 มิถุนายนนี้ Boeing ได้เปิดเผยข้อมูลกำลังมีการเจรจากับกลุ่มเครือบริษัท United Technologies Corporation (UTC)
ถึงความเป็นไปได้ในการเข้าซื้อบริษัท Sikorsky ผู้ผลิตอากาศยานปีกหมุนชั้นนำซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือ UTC
โดย Chris Chadwick ประธานและผู้อำนวยการบริหารของแผนก Boeing Defense, Space & Security (BDS) ได้ให้ข้อมูลว่ามีหลายประเด็นที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับ UTC แต่ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเพิ่มเติม
ซึ่งทาง UTC เองก็กำลังมองแผนการจัดการอนาคตของ Sikorsky ไว้หลายทางซึ่งรวมถึงการขายให้ Boeing ด้วยวงเงิน $10 Billion

Boeing เองได้มองความเป็นไปได้ในความร่วมมือกับ Sikorsky ในการพัฒนา Technology อากาศยานปีกหมุนร่วมกันในอนาคต
อย่างโครงการ Joint MultiRole-Technology Demonstrator/Future Vertical-Lift (JMR-TD/FVL) ของกองทัพบกสหรัฐฯที่จะเป็นการพัฒนาระบบอากาศยานต้นแบบสาธิตยุคอนาคตเพื่อนำมาทดแทนเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบัน
เช่น FVL Medium สำหรับทดแทน ฮ.ลำเลียงขนาดกลาง UH-60 Blackhawk และ ฮ.โจมตี AH-64 Apache ในปี 2030s และ  FVL Heavy สำหรับทดแทน ฮ.ลำเลียงหนัก CH-47 Chinook ในปี 2040s
โดยเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky S-97 Raider ซึ่งเพิ่งจะมีการทดสอบการบินเครื่องต้นแบบไปนั้น จะถูกนำ Technology มาใช้ในการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์แบบใหม่ซึ่งเป็นโครงการร่วมของ Boeing และ Sikosky
คือ SB>1 (SB-1) Defiant ที่คาดว่าจะสามารถสร้างเครื่องต้นแบบเพื่อทำการบินได้ภายในไตรมาสที่3ของปี 2017
โดยโครงการ JMR นี้ Sikorsky มีคู่แข่งสำคัญคืออากาศยานปีกกระดก Bell Helicopter V-280 Valor ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา
(ทั้งนี้กองทัพบกสหรัฐฯยังลงนามสัญญาให้เงินทุนแก่ AVX และ Karem ในการพัฒนา Technology เฮลิคอปเตอร์ยุคอนาคต)
ซึ่งทาง Boeing เองยังมองความเป็นไปได้ในการนำ Technolgy ใบพัดร่วมแกนผสม Sikorsky X2 ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบสาธิตที่พัฒนาก่อน S-97
มาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถของอากาศปีกหมุนของตนคือ Apache และ Chinook ด้วย

แต่อย่างไรตามการที่ UTC จะขาย Sikorsky ให้กับกลุ่มบริษัทอื่นย่อมจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอากาศยานที่เชื่อมโยงกันเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะลูกค้าในกองทัพต่างๆ อย่างกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่จำเป็นต้องตัดงบประมาณสนับสนุนสำหรับโครงการวิจัยอากาศยานในอนาคตลง
"กรณีของ Sikorsky นี้ไม่ใช่เพราะว่า Sikorsky เป็นธุรกิจที่ไม่ดี Sikorsky เป็นธุรกิจเฮลิคอปเตอร์ที่ยอดเยี่ยม ขณะที่เราคิดถึงผลงานที่ผ่านมาก็มีคำถามจริงๆตามมาว่า
คุณจะวางตำแหน่งตัวเองสำหรับการเจริญเติบโตของ GDP ดังกล่าวข้างต้นต่ออัตรากำไรที่สูงขึ้นในอนาคตอย่างไร?" โฆษกของ UTC กล่าว

นอกจาก Boeing แล้วก็มีรายงานว่าทางบริษัท Airbus และ Lockheed Martin ก็มีความสนใจในความเป็นไปได้ที่จะเข้าซื้อ Sikorsky ด้วยครับ

Antonov ยูเครนเปิดตัวเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี An-178 ในงาน Paris Air Show 2015







งาน Paris Air Show 2015 ที่สนามบิน Le Bourget ฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-21 มิถุนายนนี้ Antonov ยูเครนได้ทำการเปิดตัวการแสดงเครื่องบินลำเลียงแบบใหม่สุดของตนคือ An-178 ที่เพิ่งจะทำการบินครั้งแรกในวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา
โดย An-178 เป็นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีที่พัฒนามาจากเครื่องบินโดยสาร An-158 สามารถบรรทุกได้หนักสุด 18tons พิสัยการบินไกลสุดเมื่อบรรทุกเต็มอัตรา 1,000km ความเร็วเดินทาง 445knots และต้องการทางวิ่งยาว 2,500m
Antonov ตั้งเป้าที่จะให้ An-178 นำมาทดแทนเครื่องบินลำเลียงรุ่นเก่าของตน เช่น An-12, An-26 และ An-32 ที่มีใช้งานในกองทัพอากาศยูเคน รวมถึงกองทัพอากาศและสายการบินหลายประเทศ และแข่งขันกับตลาดเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางแบบอื่นๆ
ทั้ง Lockheed Martin C-130J-30 Hercules(บรรทุกได้หนัก 22tons), Embraer KC-390(บรรทุกได้หนัก 23tons) และ UAC-HAL IL-214 MTA(บรรทุกได้หนัก 15-20tons) ครับ

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สวีเดนและฟินแลนด์ฝึกยกพลขึ้นบกร่วมกับนาวิกโยธินสหรัฐฯและอังกฤษใน BALTOPS 2015




วันที่ 13 มิถุนายน 2015 ที่ RAVLUNDA สวีเดน กำลังผสมกองทัพสวีเดน ฟินแลนด์ สหราชอาณาจักร และนาวิกโยธินสหรัฐฯได้ทำการฝึกซ้อมการยกพลขึ้นบกร่วมในการฝึก BALTOPS 2015
ซึ่งได้รับการสนับสนุนกำลังเรือและอากาศยานจากทั้งสหรัฐฯ อังกฤษ และโปแลนด์ โดยพลเรือโท James G. Foggo III ผู้บัญชาการกองเรือที่6 กองทัพเรือสหรัฐฯได้ให้ความเห็นหลังจบการฝึกตามวิดิทัศน์ในข้างต้น
กองทัพประเทศเป็นกลางในกลุ่มยุโรปเหนือเขตทะเล Baltic ทั้งสวีเดนและฟิยแลนด์ ได้เพิ่มความร่วมมือทางทหารกับ NATO มากขึ้นในช่วงหลังมานี้
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามจากรัสเซียที่มีการใช้กำลังทหารคุกคามความมั่นคงประเทศเป็นกลางทั้งสวีเดนและฟินแลนด์มากขึ้นหลังวิกฤตการณ์ในยูเครนปี 2014 เป็นต้นมา
ทั้งนี้กองทัพสหรัฐฯยังได้พิจารณาความเป็นไปได้ได้สำหรับแผนการเพิ่มกำลังทหารเพื่อเข้าประจำในประเทศสมาชิก NATO เขตยุโรปตะวันออก เช่น สามชาติรัฐ Baltic ลิทัวเนีย แลทเวีย เอสโตเนีย รวมถึง โปแลนด์ โรมาเนีย ฮังการี บัลแกเรีย
ตั้งแต่ระดับกองร้อยจนถึงระดับกองพันพร้อมยุทโปกรณ์กำลังพลราว 150-750นาย รวมทั้งสิ้นเป็นระดับกองพลน้อยกว่า 5,000นาย เพื่อรับมือภัยคุกคามของรัสเซียที่มีกลุ่มประเทศดังกล่าวด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

INS Vikrant เรือบรรทุกเครื่องบินกองทัพเรืออินเดียลำแรกที่สร้างเองในประเทศออกจากอู่ต่อเรือ

India's indigenous aircraft carrier floated out

The Indian Navy's first indigenously built aircraft carrier, Vikrant, was floated out at Cochin shipyard in southern India on 10 June. Source: Indian Navy

The most visible aspects of work already completed include the flight deck, island structure, and hull sponsons. (Indian Navy)

Vikrant will now undergo minor structural work and outfitting for the next 18 months. (Indian Navy)

When completed, the 262 m-long, ski-jump equipped ship is expected to displace 40,642 tonnes. (Indian Navy)

http://www.janes.com/article/52172/india-s-indigenous-aircraft-carrier-floated-out

วันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมาเรือบรรทุกเครื่องบิน Project 71 INS Vikrant ซึ่งเป็นโครงการสร้างเรือบรรทุกเครื่องลำแรกของกองทัพเรืออินเดียที่อินเดียทำการต่อเองในประเทศ ได้ทำลากลากจูงออกจากอู่แห้งของบริษัท Cochin Shipyard Limited
โดยกำหนดการเดิมนั้นเรือจะถูกลากจูงออกจากอู่แห้งตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ติดปัญหาระบบประตูอู่และประตูทางลาดที่ต้องการการลากจูงตัวเรือ
ถ้าดูจากภาพทีมีการเผยแพร่ออกมาตัวเรือมีความเสร็จสมบูรณ์ไปมากทั้งในส่วนดาดฟ้าบิน หองบังคับการ(Island) Sponsons ที่แยกออกมาจากมาจากตัวเรือ และงานในส่วนที่อยู่ใต้น้ำของตัวเรือทั้ง เพลาเรือ ใบจักร หางเสือ และระบบรักษาการทรงตัวเรือ

อีก 18เดือนจากนี้ INS Vikrant จะได้รับการติดตั้งระบบอุปกรณ์ย่อยต่างเพิ่มเติม เช่น การวางสาย การวางท่อ ระบบอุปกรณ์Electronic ระบบระบายความร้อน ระบบระบายอากาศ และระบบปรับอากาศ
ซึ่งระบบหลักส่วนใหญ่เป็นระบบที่พัฒนาและออกแบบโดยกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศของรัสเซีย โดยมีรายงานจากสื่อท้องถิ่นของอินเดียวว่ามีการลงนามสัญญาจัดหา 14รายการระหว่างอินเดียกับ Rosoboronexport ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งออกยุทโธปกรณ์ของรัสเซีย
แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าระบบอุปกรณ์หลักจากรัสเซียจะเริ่มมีการส่งมอบในเร็วๆนี้แล้ว แต่คณะกรรมมาธิการความมั่นคงรัฐสภาอินเดียได้มีการทำเอกสารรายงานความล่าช้าในการดำเนินงานบริหารจัดการของทางรัสเซีย ซึ่งกล่าวว่าเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลรัสเซีย

INS Vikrant เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองของกองทัพเรืออินเดียที่ได้รับการตั้งชื่อนี้ตามเรือบรรทุกเครื่องบิน R11 INS Vikrant ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของกองทัพเรืออินเดียที่ปลดประจำการไปเมื่อปี 1997
(R11 INS Vikrant เดิมคือ HMS Hercules เป็นเรือบรรทุกเครื่องชั้น Majestic ของกองทัพเรืออังกฤษแต่สร้างไสร็จและไม่เคยถูกนำเข้าประจำการ เรือถูกซื้อต่อโดยอินเดียในปี 1957 และเข้าประจำการในปี 1961)
โดย INS Vikrant ลำใหม่นี้มีตัวเรือยาว 262m ระวางขับน้ำ 40,642tons ใช้ระบบรับส่งอากาศยานแบบ STOBAR(Short Take-Off But Arrested Recovery) มีอากาศยานประจำเรือเช่น เครื่องบินขับไล่ MiG-29K และ Tejas Navy ที่อินเดียกำลังพัฒนาเอง เฮลิคอปเตอร์ Ka-31 และ Dhruv ครับ

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เยอรมนีเลือกระบบป้องกันภัยทางอากาศ MEADS เพื่อแทนที่ Patriot

German configuration MEADS launcher (MEADS International)

Germany Selects MEADS For Missile Defense
http://www.defensenews.com/story/defense/2015/06/09/germany-selects-meads-for-missile-defense/28759981/

กองทัพเยอรมนีเลือกระบบป้องกันภัยทางอากาศ Medium Extended Air Defense System หรือ MEADS เป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานระบบป้องกันอากาศยานและขีปนาวุธทางยุทธวิธี Taktisches Luftverteidigungssystem (TLVS)
โดย MEADS จะถูกนำมาทดแทนระบบป้องกันภัยทางอากาศ Patriot ที่กองทัพเยอรมนีใช้งานมาตั้งแต่ปี 1980s
MEADS เป็นระบบที่พัฒนาโดยความร่วมมือระหว่าง MBDA Deutschland, MBDA Italia, Lockheed Martin และ Airbus Defence and Space
แข่งขันกับ Raytheon ที่เสนอระบบ Patriot รุ่นใหม่ ที่ทางด้านโปแลนด์นั้น Patriot มีโอกาสได้รับเลือกในการจัดหาเหนือ MEADS ตั้งแต่ปีที่แล้ว

แต่อย่างไรก็ตามโครงการร่วมระหว่าง MBDA เยอรมนีและอิตาลีนี้ ประสบปัญหาติดขัดเมื่อ Lockheed Martin สหรัฐฯถอนตัวออกจากโครงการไป
เยอรมนีซึ่งถือครองส่วนในโครงการอยู่ร้อยละ25 โดยเฉพาะระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานตระกูล IRIS-T ที่จะนำมาบูรณาการระบบเข้ากับ MEADS นั้นจะยังคงดำเนินการพัฒนาต่อไป
ทาง Thomas Homberg ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการของ MBDA Deutschland ได้กล่าวว่า
MEADS เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพิ้นดินที่สำคัญตรงความต้องการในการป้องกันประเทศเยอรมนีจากภัยคุกคามในระยะยาวทั้งปัจจุบันและอนาคตครับ

คติคำคมจาก สารวัตรนักเรียนเดนนรก-๑


เป็นการทดลองการจำลอง Screen Tone แบบเดียวกับที่ใช้ใน Manga ญี่ปุ่น โดยใช้ Photoshop
จะค่อนข้างเห็นได้ชัดว่าเมื่อย่อภาพในขนาดสำหรับแสดงผลใน Web(72dpi) คุณภาพจะค่อนข้างใกล้เคียงกับหนังสือ Manga ที่ถูก Scan และทำความสะอาดเพื่อลงในWeb
ซึ่งสำหรับภาพที่วาดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ใน Website อย่างเดียว โดยไม่ได้ตั้งใจจะนำไปพิมพ์ลงหนังสือที่เป็นรูปเล่มแต่แรกแล้วนั้น
การทำภาพเป็น Screen Tone ขาว-ดำเป็นจุดเท่านั้นแบบนี้อาจจะไม่เหมาะนัก ถ้าเทียบกับการใช้ Grayscale ที่ไล่ระดับสีขาว-เทา-ดำ 0-100% ซึ่งก็ต้องดูเป็นกรณีไปครับ

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นกับปัญหาแนวทางการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทน

Mitsubishi F-2A

Japan's Fighter Procurement Crunch
http://www.defensenews.com/story/defense/air-space/strike/2015/06/06/japan-fighter-f35-jasdf-f15-f2-upgrade-situational-awareness-sensors/28379749/

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ตัดสินเลือกเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 42เครื่อวงเงิน $8 billion ในปี 2011 เพื่อเป็นเครื่องบินขับไล่ทดแทน F-4EJ ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force)ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี 1970s
กระบวนการจัดหานั้นเป็นไปอย่างช้าๆแต่มั่นคง โดยในปี 2015 นี้กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศได้รับงบประมาณ 103.2พันล้านเยน($827.4 million) สำหรับการจัดหา F-35 จำนวน 6เครื่อง
และรัฐบาลญี่ปุ่นยังได้อนุมัติวงเงินเพิ่มเติมอีก 17.7พันล้านเยนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายขั้นต้นในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมภายในประเทศ และอีก 18.1พันล้านเยนสำหรับค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์และการฝึก
ทั้งนี้บริษัทอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นมีแผนที่จะผลิตชิ้นส่วนของ F-35 จำนวน 24ระบบด้วย

ซึ่ง Richard Aboulafia รองประธาน นักวิเคราะห์ ของ Teal Group ได้ให้ความเห็นว่าการจัดหา F-35 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง
เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลือกเครื่องบินขับไล่แบบอื่นที่เสนอมาในช่วงเวลานั้นเช่น F/A-18E/F Super Hornet หรือ Typhoon แล้ว
แม้ว่าสมรรถนะพื้นฐานบางด้านเช่น ความเร็ว อัตราระดับการไต่ ความคล่องตัว พิสัยการบิน และน้ำหนักบรรทุกอาจจะด้อยกว่า แต่ F-35 มีขีดความสามารถในด้านคุณสมบัติการตรวจจับได้ยาก(Stealth) และระบบตรวจจับที่ดีกว่ามาก
ทำให้ F-35 จะเพิ่มขีดความสามารถของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นในอนาคตให้สูงมากยิ่งขึ้น
ทาง Corey Wallace นักวิเคราะห์นโยบายความมั่นคงของสถาบันการศึกษาเอเชียตะวันออก วิทยาลัย Freie นคร Berlin ก็ได้ให้ความเห็นว่า
ขีดความสามรถของระบบตรวจจับและการหยั่งรู้สถานการณ์ขั้นสูงของ F-35 นั้นจะช่วยเสริมขีดความสามารถในการป้องกันประเทศของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นมากขึ้น
เช่นการเชื่อมโยงการรบแบบเครือข่ายร่วมกับเรือพิฆาต Aegis ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการป้องกันและโจมตีตอบโต้กลับ ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯในการพัฒนาระบบร่วมกันอีกด้าน
อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นต้องการที่จะให้อุตสาหกรรมภายในประเทศมีส่วนร่วมกับการจัดซื้อกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ เพื่อเป็นการรับประกันในการจัดหา F-35 ในปี 2020s ด้านนาย Aboulafia กล่าวว่า
"ในประเทศอื่น F-35 ถูกติดราคาขายที่สูง ซึ่งนั้นเป็นปัญหาร้ายแรงในการที่ควรจะทดแทนเครื่องเก่าด้วยเครื่องที่มีราคาแพงน้อยกว่า
แต่สำหรับญี่ปุ่นแล้วญี่ปุ่นได้จ่ายในราคาที่สูงมากสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ของตน นั่นทำให้ F-35 ไม่แตกต่างจาก F-15 และ F-2 ในแง่ช่วงระยะเวลาค่าใช้จ่าย"

ด้านเครื่องบินขับไล่ยุคที่4 ที่เป็นกำลังหลักของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นในปัจจุบันคือ F-15J และ F-2 นั้นก็จะมีการปรับปรุงสมรรถนะให้สูงขึ้น
โดย F-15J นั้นมีการปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นเพื่อรองระบบอาวุธและอุปกรณ์ใหม่ๆ เช่น Link 16, Helmet Mounted Sight และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบใหม่อย่าง AAM-5
(มักถูกเรียกด้วยสื่อและนักวิเคราะห์ภายในประเทศว่า F-15J Kai)
ส่วน F-2 นั้นจะมีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรบแบบอากาศสู่อากาศให้สูงขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามแนวทางการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ทั้งสองแบบนั้นไม่ใช่แนวทางที่ยั่งยืน เพราะในอนาคตอันใกล้เครื่องบินขับไล่ทั้งสองแบบจำเป็นจะต้องถูกปลดประจำการลง
ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจัดการโครงสร้างกำลังของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศในอีก 10ปีข้างหน้า
สำหรับ F-2 นั้นคาดว่าอาจจะเริ่มมีการปลดประจำการในช่วงปลายปี 2020s ส่วน F-15J ที่จะประจำการมาก่อนตั้งแต่ปี 1980s จะปลดประจำการภายหลังจากนั้น
ทั้งนี้มีนักวิเคราะห์ทางทหารของญี่ปุ่นรายหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
"F-2 เป็นเครื่องบินที่ห่วยลองถาม JASDF ดูสิ มันจำเป็นที่จะต้องถูกปลดทิ้งเพื่อนำเงินมาใช้กับ F-15 แต่ก็ไม่มีการจัดหาเครื่องทดแทน F-15
(ที่จริง F-22 ควรจะมาทดแทน F-15 มากกว่าที่จะจัดหา F-35 แต่สหรัฐฯไม่อนุมัติการส่งออก F-22 ให้ญี่ปุ่น)
ซึ่ง F-15 แบกรับภาระบนอายุขัยของโครงสร้างมันมาหลายทศวรรษ พวกเขาจำเป็นต้องลงเงินเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างภายใน(ของJASDF)
กองทัพอากาศสหรัฐฯนั้นมีแผนที่ประจำการ F-15 ไปถึงปี 2040 ญี่ปุ่นควรจะร่วมมือกับสหรัฐฯอย่างใกล้ชิด เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา Technology ในการยืดอายุการใช้งาน F-15 ของทั้งสองประเทศต่อไปในอนาคต"

และนั่นเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อกำลังเครื่องบินขับไล่ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นในอนาคต
ซึ่งอาจจะต้องให้ความหวังกับโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5ของตนเอง อย่าง ATD-X Shinshin ที่เครื่องต้นแบบจะทำการบินครั้งแรกราวปลายปีนี้ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Antonov ยูเครนจะร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานโปแลนด์ในการปรับระบบของตนสู่มาตรฐานตะวันตก

Ukraine, Poland to Develop New Generation Patrol Plane
http://sputniknews.com/europe/20150606/1023031164.html

Oleh Bogdanov รองผู้อำนวยการสำนักออกแบบอากาศยาน Antonov ยูเครนได้แถลงเปิดเผยข้อมูลในการประชุมที่ Bydgoszcz โปแลนด์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา
ถึงการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศของโปแลนด์ ในการพัฒนาปรับปรุงระบบอากาศยานของ Antonov ให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานตะวันตก ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ของโปแลนด์และบริษัทตะวันตก
โดยกลุ่มอากาศยานที่ Antonov จะมีความร่วมมือกับโปแลนด์นั้นคือเครื่องบินโดยสาร An-148, An-158 และเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี An-178 ที่เพิ่งทำการบินเครื่องต้นแบบไปเมื่อเร็วๆนี้
ซึ่ง Antonov หวังให้กลุ่มอากาศยานลำเลียงดังกล่าวสามารถผลิตส่งออกขายให้กับกองทัพอากาศ หน่วยงานรัฐบาล และสายการบินเอกชน ในหลายประเทศทั่วโลกได้เป็นจำนวนมาก

A concept model of the Antonov An-148 300 MPA aircraft, which Antonov is now looking to develop with Polish industry. Source: Paul Jackson
http://www.janes.com/article/52050/antonov-looks-to-poland-for-aircraft-westernisation-mpas

ทั้งนี้ Antonov ยังมีแผนที่จะพัฒนาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล An-148-300 MPA(Maritime Patrol Aircraft) ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินโดยสาร An-148
ที่จะเสนอให้ทั้งกองทัพยูเครนและกองทัพโปแลนด์เข้าประจำการในอนาคต อาจรวมถึงประเทศอื่นๆที่สนใจ เช่นกลุ่มประเทศแถบเอเชียที่ต้องการเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลแบบใหม่ด้วย

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ประเมินว่าอุตสาหกรรมทางทหารของยูเครนนั้นได้รับผลกระทบจากสงครามในภาค Donbass ที่มีต่อเนื่องมากว่าหนึ่งปีค่อนข้างมาก
ทำให้บริษัทผลิตอาวุธของยูเครนต้องเพิ่มสายการผลิตยุทโธปกรณ์สำหรับส่งมอบให้กองกำลังความมั่นคงของยูเครนเป็นสำคัญ
(โดยเฉพาะรถรบภาคพื้นดินที่สูญเสียไปในการรบค่อนข้างมาก ซึ่งมีการผลิตใหม่และซ่อมคืนสภาพปรับปรุงใหม่อยู่หลายแบบ เช่น รถเกราะ Dozor, รถรบทหารราบ BTR-3 และรถถังหลัก T-64 เป็นต้น)
แต่ทางยูเครนเองก็ยืนยันว่าอุตสาหกรรมด้านอากาศยานของยูเครนยังมีขีดความสามารถในการผลิตและส่งมอบอากาศยานตามคำสั่งซื้อที่ลูกค้าต้องการได้อยู่ครับ

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สมาชิกวุฒิสภาออสเตรเลียตอบโต้ความเห็นอดีตเจ้าหน้าที่กองกำลังญี่ปุ่นเรื่องโครงการเรือดำน้ำของกองทัพเรือ

Hakuryu (SS-503) visits Pearl Harbor, Feb 2013

Australian senator slams Japan over submarine capability comments
http://www.reuters.com/article/2015/06/04/australia-japan-submarine-idUSL3N0YQ08120150604

สมาชิกวุฒิสภาออสเตรเลียที่มีอิทธิพลได้ออกมาให้ความเห็นตอบโต้อดีตเจ้าหน้าที่กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นเกี่ยวกับโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือออสเตรเลีย

โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมาอดีตผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น โคบายาชิ มาซาโอะ
ได้แสดงความเห็นวิจารณ์ออสเตรเลียเรื่องขีดความสามารถในการสร้างเรือดำน้ำภายในประเทศต่อสำนักข่าว Australian Broadcasting Corporation(ABC) ว่า
"พวกเขาไม่มีแรงงานที่มีทักษะพอจะทำงานกับเหล็กกล้าทนแรงดึงสูง(high-tension steel) มันเป็นเรื่องยากแม้แต่ในญี่ปุ่นเองก็ตาม"
อีกทั้งผู้บังคับการเรือดำน้ำกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ยามาอุจิ โทชิฮิเดะ ยังได้ให้ความเห็นแก่ ABC เรื่องความสามารถในการรักษาความปลอดภัย Technology เรือดำน้ำที่ญี่ปุ่นจะถ่ายทอดให้ออสเตรเลียด้วยเช่นกันว่า
"เรากังวลว่า Technology เรือดำน้ำของเราจะรั่วไหลไปสู่จีน"

ทำให้ในวันพฤหัสบดีสมาชิกวุฒิสภาอิสระจากออสเตรเลียใต้ Nick Xenophon ได้ออกมาตอบโต้ความเห็นของเจ้าหน้าที่กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นอย่างรุนแรงว่า
"เป็นที่รู้กันทั่วว่าทั้งเยอรมันและฝรั่งเศสพร้อมที่จะสร้างเรือดำน้ำที่มีขีดความสามารถและน่าเชื่อถือสูงได้ภายในแผ่นดินของออสเตรเลีย
ญี่ปุ่นดูเหมือนจะพยายามหาข้อแก้ตัวที่จะให้เงินมูลค่า50พันล้านของภาษีที่ชาวออสเตรเลียจ่ายส่วนใหญ่ไปตกอยู่กับญี่ปุ่นทั้งหมด"

โครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ทดแทนเรือดำน้ำชั้น Collins จำนวน 12ลำ วงเงิน A$50 billion($38.84 billion) ที่จะต่อเองในประเทศของกองทัพเรือออสเตรเลียนั้นเป็นโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ใหญ่โครงการหนึ่งของออสเตรเลีย
นอกจาก TKMS เยอรมนี และ DCNS ฝรั่งเศสจะเสนอแบบเรือดำน้ำของตนแล้ว ญี่ปุ่นยังได้เสนอ Technology เรือดำน้ำชั้น Soryu ของตนให้ออสเตรเลียด้วย
ซึ่งนับเป็นความพยายามในการส่งออกอาวุธครั้งใหม่ของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด และมีการใช้รัฐธรรมนูญสันติภาพที่ห้ามญี่ปุ่นเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงคราม เช่น การผลิตอาวุธเพื่อส่งออก
โดยเป็นความพยายมหนึ่งที่ทั้งออสเตรเลียและญี่ปุ่นจะเพิ่มความสัมพันธ์ทางการทหารร่วมกันเพื่อรับมือภัยคุกคามในภูมิภาคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการรับมือการขยายกำลังทหารของจีนในภูมิภาคนี้

แต่อย่างไรก็ตามวุฒิสมาชิก Xenophon ได้ออกมาโจมตีว่า "เรือดำน้ำญี่ปุ่นไม่เคยถูกส่งออกมาก่อน และความเห็นของพวกเขาได้แสดงสิ่งที่อยู่ลึกภายในของพวกเขา"
โดยกล่าวอีกว่าการแสดงความเห็นลักษณะนี้ของเจ้าหน้าที่กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของญี่ปุ่นที่จะส่งออกยุทโธปกรณ์ของตนและเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกับออสเตรเลียครับ

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โอกาสของเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกญี่ปุ่น ShinMaywa US-2 ในกองทัพเรือไทย

http://www.nagasaki-np.co.jp/f24/CO20150528/wo2015052801001965.shtml

สำนักข่าวเกียวโด (Kyodo News) ญี่ปุ่นได้รายงานการให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีกลาโหมไทย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า
กองทัพอากาศไทยแสดงความสนใจในการจัดหาอากาศยานจากญี่ปุ่น โดยกล่าวว่ามีความจำเป็นต้องตรวจสอบความเป็นไปได้ให้ครอบคลุมในหลายด้าน เช่น ด้านค่าใช้จ่ายและความสะดวกในการจัดหา เป็นต้น


มีการวิเคราะห์ว่าอากาศยานแบบดังกล่าวน่าจะเป็นเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกแบบ ShinMaywa US-2 ที่ประจำการอยู่ในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF)
และญี่ปุ่นได้อนุมัติการส่งออกให้ต่างประเทศแล้วคือกองทัพเรืออินเดียจำนวน ๑๘เครื่อง วงเงิน $1.65 billion และมีประเทศในกลุ่ม ASEAN คืออินโดนีเซียกำลังให้ความสนใจจัดหาเช่นกัน
โดย US-2 ที่ถูกส่งออกนั้นจะถูกนำมาใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัยทางทะเล สนับสนุนปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และดับเพลิงทางอากาศ ซึ่งไม่ขัดกับข้อห้ามรัฐธรรมนูญสันติภาพที่ไม่ให้ญี่ปุ่นผลิตอาวุธส่งออก




ส่วนตัวมีข้อสังเกตุว่าถ้าไทยจะสนใจเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก US-2 ของญี่ปุ่นจริงน่าจะเป็นในส่วนของกองทัพเรือมากกว่ากองทัพอากาศที่ไม่มีเครื่องลักษณะนี้ประจำการในปัจจุบันครับ
โดยกองการบินทหารเรือมีความต้องการเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกแบบใหม่ทดแทน บ.ธก.๑ CL-215 ที่ประจำการมานานตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ จำนวน ๒เครื่อง แต่ยังไม่มีโครงการจัดหาเสียที
ที่ผ่านมา CL-215 ของกองทัพเรือก็ได้ถูกนำออกมาใช้ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยทางทางทะเล ร่วมถึงการดับเพลิงทางอากาศมาแล้วหลายครั้ง
ก็เห็นกองทัพเรือเคยศึกษาข้อมูลเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกแบบใหม่ทดแทน CL-215 อยู่หลายแบบ
เช่น Bombardier 415 หรือเดิมคือ CL-415 ซึ่งเป็นเครื่องรุ่นที่พัฒนาต่อจาก CL-215  ที่มีใช้ในหลายประเทศ ในกลุ่ม ASEAN ก็เช่นหน่วยยามฝั่งมาเลเซีย ก็เป็นเครื่องที่เหมาะสมจะมาแทน CL-215
แต่จนถึงปัจจุบันก็ไม่เห็นมีการจัดตั้งโครงการจัดหาเสียที

ถ้าเทียบสมรรถนะของ CL-215 ที่ทำความเร็วได้สูงสุด 157knot มีพิสัยการบินไกลสุด 1,760nm นาน ๑๑ชั่วโมง โดยบรรทุกผู้โดยสารได้ ๑๘คน หรือน้ำ 5,346litres
กับเครื่อง US-2 ที่ขนาดใหญ่กว่าเกือบสองเท่า คือทำความเร็วได้สูงสุด 302knot มีพิสัยการบินไกลสุด 2,538nm พร้อมผู้โดยสาร ๒๐คนแล้ว แม้ว่า US-2 จะมีราคาแพงกว่ามากแต่ก็มีสมรรถนะสูงกว่า CL-215 มากเช่นกัน
ซึ่งหากข่าวความสนใจอากาศยานจากญี่ปุ่นของไทยคือ US-2 มีการจัดหาได้จริงแล้ว ก็นับเป็นการจัดหาอากาศยานจากญี่ปุ่นของไทยครั้งใหม่ในรอบหลายปี
จากที่หน่วยงานของรัฐบาลไทยเคยจัดหาอากาศยานจากญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองมาบ้าง
เช่น เฮลิคอปเตอร์ Kawasaki KH-4 (พัฒนาจาก Bell 47) และ Kawasaki KV-107IIA (Boeing Vertol CH-46) และ Sikorsky S-62J ที่ผลิตโดย Mitsubishi
 ซึ่งญี่ปุ่นได้สิทธิบัตรในการผลิตในประเทศและส่งออกให้ไทยเมื่อกว่า ๔๐-๕๐ปีก่อนเป็นต้น

ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นชุดปัจจุบันของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ได้มีความพยายามในการตีความเพื่อแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญให้ญี่ปุ่นเพื่อลดข้อจำกัดของกองกำลังป้องกันตนเองและเพิ่มความร่วมมือทางการทหารกับมิตรประเทศได้มากขึ้น
จะเห็นได้จากการเสนอขาย Technology เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Soryu ในโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ของกองทัพเรือออเตรเลียแทนเรือดำน้ำชั้น Collins
การจัดงานแสดง Technology ด้านความมั่นคงที่โยโกฮามา การเพิ่มความร่วมมือด้านการซ้อมรบกับมิตรประเทศ โดยเฉพาะใน ASEAN ที่เพิ่งมีการซ้อมรบทางทะเลกับฟิลิปปินส์ และจะส่งมอบเรือตรวจการณ์มือสองให้
ซึ่งญี่ปุ่นเองต้องการเข้ามามีบทบาทความร่วมมือด้านความมั่นคงและทางทหารกับประเทศในกลุ่ม ASEAN มากขึ้นเพื่อเป็นการคานอำนาจกับจีนที่เข้ามาขยายอิทธิพลคุกคามต่อประเทศกลุ่ม ASEAN เช่น ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้มากขึ้น

แม้ว่าการจัดหายุทโธปกรณ์จากญี่ปุ่นที่เป็นอาวุธทางการรบในสงครามโดยตรงอาจจะเป็นไปไม่ได้สำหรับไทยในขณะนี้(รวมถึงประเทศอื่นๆใน ASEAN ด้วย)
แต่ยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันเชิงรับ หรือเพื่องานด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติช่วยเหลือประชาชนแบบต่างๆ
อย่างเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก ShinMaywa US-2 นั้นก็เป็นระบบที่น่าสนใจสำหรับไทยจะพิจารณาถ้าญี่ปุ่นยินดีอนุมัติการขายให้โดยไม่ติดขัดปัญหาอะไร
เพราะกองการบินทหารเรือ กองทัพเรือ จำเป็นต้องหาเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกแบบใหม่มาแทน CL-215 ที่ใช้มานานได้แล้ว และอาจจะร่วมถึงหน่วยบินของหน่วยงานรัฐบาลอื่นๆของไทยด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กองทัพอากาศฟินแลนด์จะฝึกการทิ้งระเบิดจริงครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2

An F/A-18 from the Finnish Air Force

Air Force to drop bomb at Rovajarvi during exercise
http://www.finlandtimes.fi/national/2015/06/01/17192/Air-Force-to-drop-bomb-at-Rovaj%C3%A4rvi-during-exercise

การฝึกซ้อมรบของกองทัพป้องกันฟินแลนด์ที่สนามฝึกยิงปืนใหญ่ที่ Rovajarvi ในสัปดาห์หน้านั้น
จะเป็นครั้งแรกของกองทัพอากาศฟินแลนด์ที่จะมีการฝึกทิ้งระเบิดจริงนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2 เป็นต้นมา

จุดประสงค์หลักในการฝึกเป็นการทดสอบความพร้อมรบของเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D ที่ผ่านการปรับปรุงครึ่งอายุการใช้งานแล้ว
ที่ปัจจุบันมี F/A-18 ที่ผ่านการปรับปรุงเสร็จสิ้นไปราวครึ่งหนึ่งของจำนวนเครื่องที่กองทัพอากาศฟินแลนด์มีทั้งหมด(F/A-18C 54เครื่อง F/A-18D 7เครื่อง)
โดยการฝึกใช้อาวุธหลักจะเป็นการทดสอบใช้อาวุธนำวิถีความแม่นยำสูง เช่น ระเบิดนำวิถีดาวเทียม JDAM ในสนามฝึกใช้อาวุธจริง

ปัจจุบันกองทัพอากาศฟินแลนด์กำลังอยู่ในระหว่างการเพิ่มขีดความสามารถในการรบของกำลังทางอากาศหลักอย่างเครื่องบินขับไล่ F/A-18 ให้สูงขึ้น
เพื่อรับมือภัยคุกคามทางอากาศจากอากาศยานกองทัพรัสเซียที่มักจะรุกล้ำน่านฟ้าฟินแลนด์ซึ่งเป็นประเทศเป็นกลางบ่อยครั้งขึ้นในช่วงหลังวิกฤตการณ์ในยูเครนปี 2014 เป็นต้นมา
รวมถึงภัยคุกคามจากกำลังรบภาคพื้นดินและทางทะเล เช่น กรณีการค้นพบวัตถุใต้น้ำซึ่งน่าจะเป็นเรือดำน้ำรัสเซียในทะเลอาณาเขตใกล้เมืองหลวง Helsinki ที่นับเป็นภัยความมั่นคงต่อฟินแลนด์อย่างยิ่งครับ

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Rolls-Royce ได้รับสัญญาจัดหาเครื่องยนต์สำหรับรถเกราะ Scout SV กองทัพบกอังกฤษ

Pre-production prototype of the Scout SV (PMRS variant)

Rolls-Royce awarded Scout SV engine subcontract
http://www.janes.com/article/51871/rolls-royce-awarded-scout-sv-engine-subcontract

Rolls-Royce Power Systems ได้รับการลงนามสัญญากับ General Dynamics European Land Systems ในการจัดหาเครื่องยนต์สำหรับรถเกราะสายพาน Scout Specialist Vehicles ของกองทัพบกอังกฤษ
โดยเครื่องยนต์ดีเซลแบบ MTU Series 199 TE21 V-8 กำลัง 800hp(600kw) จำนวน 589เครื่องพร้อมระบบหล่อเย็นและระบบกำเนิดพลังคู่(สัญญาไม่รวมเครื่องยนต์สำรองและอะไหล่)
จะถูกนำมาติดตั้งกับรถเกราะสายพาน Scout SV จำนวน 589คัน ซึ่งกองทัพบกอังกฤษจะนำรถเกราะ Scout SV เข้าประจำการแทนรถเกราะสายพานตระกูล CVR(T) เช่น FV107 Scimitar
Rolls-Royce จะทำการส่งมอบเครื่องยนต์ชุดแรกตั้งแต่ปี 2016 จนถึงเครื่องสุดท้ายในปี 2022 ครับ

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๕๘-๒

รายงานความคืบหน้าการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยบางส่วนในช่วงก่อนเดือนมิถุนายน ปี ๒๕๕๘ ครับ


https://www.facebook.com/amnatster.ikkyu

ส่วนของกองทัพบก มีภาพที่น่ายืนยันได้ว่ารถถังหลัก BM Oplot ชุดที่สองจำนวน ๕คัน ถูกขนย้ายมาทางเรือถึงท่าเรือที่ไทยลงรถบรรทุกพ่วงชานต่ำแล้วครับ
ซึ่งจะเห็นได้จากภาพว่าเรือขนส่งมาจอดเทียบท่าตอนกลางคืนและรถบรรทุกพ่วงชานต่ำที่เป็นรถตราอักษร Scania น่าจะเป็นของบริษัทเอกชนหลายคัน
ต่างจากการขนส่งรถชุดแรก ๕คันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ผ่านมาที่เป็นการขนส่งมาตอนกลางวัน ก็น่าจะแน่ใจได้ว่าเป็นรถชุดที่สองครับ




ที่มา page โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน
https://www.facebook.com/M58PGB/posts/663328557135150
https://www.facebook.com/M58PGB

ส่วนของกองทัพเรือ จากเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่กรมอู่ทหารเรือ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคมที่ผ่านมา(เป็นวันอาภากร พอดีด้วย) นั้น
การสอบสวนสาเหตุเบื้องต้นคาดว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรในโรงเก็บอุปกรณ์ต่อเรือตรวจการณ์ปืน ซึ่งมีสีและทินเนอร์ที่เป็นวัสดุไวไฟ ลามไปอาคารกองควบคุมคุณภาพ
การประเมินความเสียหายอุปกรณ์ก่อสร้างเรือซึ่งเป็นของบริษัท MARSUN ที่ใช้ในโครงการต่อเรือตรวจการณ์ปืนนั้นได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
คาดว่าโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนที่เดิมมีกำหนดส่งมอบในงานเดือนสิงหาคมนั้นคงจะต้องล่าช้าออกไปอีก
โดยมีรายงานว่าจะมีการย้ายการก่อสร้างเรือจากอู่แห้งหมายเลข๑ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ไปที่อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า เนื่องจากอุปกรณ์ทีใช้ในการก่อสร้างได้รับความเสียหาย
แต่อย่างไรก็ตามโครงการก็จะยังคงเดินหน้าต่อไปแม้มีอุปสรรคครับ



ที่มา Page รัชต์ รัตนวิจารณ์
https://www.facebook.com/rach2511

ส่วนของกองทัพอากาศ ฮ.๑๑ EC725 เครื่องที่สาม (หมายเลข 20303) ออกจากโรงงาน Airbus Helicopters แล้วครับ
ล่าสุดมีการขนส่ง ฮ.๑๑ EC725 สองเครื่องแรก(หมายเลข 20301 และ 20302) ถูกส่งมาทางเครื่องบินลำเลียงหนัก Antonov An-124 มาที่สนามบินอู่ตะเภาตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม
และมีการประกอบเครื่องทำการบินเคลื่อนย้ายไปกองบิน๒ เพื่อประจำการในฝูงบิน๒๐๓ แล้ว โดยกำหนดรับมอบเครื่องสองลำแรกภายในเดือนมิถุนายนนี้ และสองลำหลังในเดือนกรกฎาคม
ซึ่งน่าจะมีพิธีการรับมอบ ฮ.๑๑ EC725 ชุดแรกสี่เครื่อง เข้าประจำการอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมนี้ครับ

นวนิยายตำนานเจ้าคีรี ฉลองเนื่องในโอกาสยอดชมเกิน๑๐๐ท่าน



ตอนเข้าไปหน้าจัดการนิยายของ Dek-D.com แบบใหม่พบตัวเลขยอดผู้ชมเป็น ๑๐๑ ซึ่งตรงกับ กองพลส่งทางอากาศที่๑๐๑ (101st Airborne Division) ทหารพลร่มกองทัพบกสหรัฐฯอันโด่งดังสมัยสงครามโลกครั้งที่๒นั่นเอง
เลยวาดภาพประกอบฉลองยอดผู้ชมเสียหน่อยครับ (สาวๆในเรื่อง เจ้านางมิโอ่ซา ท่านหญิงอ่าซา และท่านหญิงมาซ่ากะ กับพระเอก(กระมัง) ผู้กองอาลียะ)
สำหรับเรื่องนี้ลงมาห้าเดือนยอดคนอ่าน ๑๐๑ท่าน และมีผู้ติดตาม ๖ท่าน นับว่ายังดีที่ว่ายังพอมีคนอ่านบ้างถึงจะน้อยก็เถอะ (นิยายเรื่องอื่นที่อยู่ในอันดับต้นๆยอดคนอ่านเป็นพันเป็นหมื่นทั้งนั้น)

โปรดติดตามนวนิยาย "ตำนานเจ้าคีรี" ตอนใหม่ได้ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์ครับที่
http://writer.dek-d.com/aagth1/writer/view.php?id=1308077