วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นักบินทดสอบเครื่องบินขับไล่ F-35 เปิดเผยว่าเครื่องรบแบบ Dogfight ไม่ได้ โดย Pentagon ปฏิเสธรายงานดังกล่าว

Test Pilot Admits the F-35 Can’t Dogfight
At top and above F-35s and F-16s. Air Force photos
https://medium.com/war-is-boring/test-pilot-admits-the-f-35-can-t-dogfight-cdb9d11a875

นักบินทดสอบของเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II JSF(Joint Strike Fighter) ที่ไม่เปิดเผยชื่อได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลผ่านเอกสารจำนวน5หน้าซึ่งถูกถอดชั้นความลับเพื่อใช้ในการอ้างอิงอย่างเป็นทางการว่า
F-35 นั้นเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ไม่สามารถทำการรบทางอากาศแบบพันตูหรือ Dogfight ได้ โดยเครื่องมีข้อด้อยด้านพลังงานที่ไม่สามารถไต่ระดับหรือเลี้ยวในการหัวหัวเข้าหาหรือหลบการยิงปืนใหญ่อากาศของเครื่องบินขับไล่ข้าศึกได้

โดยผลการทดสอบนี้มาจากการเก็บข้อมูลการจำลองการรบทางอากาศบริเวณสนามฝึกกลางทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้ฐานทัพอากาศ Edwards มลรัฐ California วันที่ 14 มกราคม 2015
ระหว่าง F-35A AF-02 ซึ่งเป็นเครื่อง F-35A CTOL เครื่องต้นแบบของกองทัพอากาศสหรัฐฯที่อายุมากที่สุดเครื่องหนึ่ง กับ F-16D Block 40
การทดสอบการจำลองการรบทางอากาศระยะประชิดในหลายสถานการณ์ทั้งรุกและรับมีการเก็บข้อมูลของเครื่องหลายด้านเช่น มุมปะทะ(AoA: Angles of Attack คือมุมห่างระหว่างหัวเครื่องที่ชี้กับทิศทางที่เครื่องเคลื่อนที่ไปจริงในอากาศ)
นักบินทดสอบ F-35 พบว่าเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้มีความคล่องตัวในการเลี้ยวฉวัดเฉวียนไม่ดีพอที่จะเข้าโจมตีหรือหลบการเข้าโจมตีของ F-16
นักบินทดสอบยังได้รายงานว่าข้อได้เปรียบของ F-35 ตรงที่คุณสมบัติการตรวจจับได้ยาก Stealth ต่อ F-16 ในการรบทางอากาศระยะประชิดนั้นไม่ได้มีความน่าเชื่อถือมากพอเพื่อทำการบินทดสอบจริงแต่อย่างใด
ซึ่ง F-16 ที่มีขนาดเล็กกว่าสามารถหักเลี้ยวเข้าวางตัวในตำแหน่งยิงโจมตี หรือเลี้ยวฉากออกจากแนวยิงโจมตีของ F-35 ที่มีขนาดใหญ่และอุ้ยอ้ายได้ง่ายกว่า
ทั้งนี้ F-35 จะบินได้ดีที่สุดเมื่อปราศจากการติดตั้งอาวุธใดๆในห้องติดอาวุธภายในลำตัวหรือใต้ปีก เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ยุคก่อนอย่าง F-16 เมื่อติดอาวุธหรืออุปกรณ์เสริมที่มีน้ำหนักมากใต้ปีกเช่นถังเชื้อเพลิงสำรอง
แต่นั้นก็ดูจะเป็นข้อผิดพลาดในการออกแบบทางอากาศพลศาสตร์ของโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ที่ยาวนานกว่าสิบปีและใช้งบประมาณไปแล้วหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตามแนวโน้มของการรบทางอากาศในยุคอนาคตนั้นจะเป็นการรบแบบนอกระยะสายตาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็เป็นที่พิสูจน์มาในปฏิบัติการทางอากาศในหลายสงครามที่ผ่านมาแล้วว่า
เครื่องบินขับไล่ครองอากาศที่มีขนาดใหญ่และมีความคล่องตัวไม่สูงนักอย่าง F-15E จะเป็นฝ่ายมีชัยในการรบทางอากาศในการทำลายภัยคุกคามทางอากาศจากระยะไกล Radar และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาสสู่อากาศสมรรถนะสูง
โดยคุณสมบัติของเครื่องบินไล่ยุคที่ที่5 อย่าง F-35 ซึ่งตรวจจับได้ยากและติดตั่งระบบตรวจจับขั้นสูงหลายระบบจะเป็นการเพิ่มความได้เปรียบมากยิ่งขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการรบทางอากาศระยะประชิดแล้ว F-35 ยังมีจุดอ่อนมาก ซึ่งก็เป็นที่น่ากังวลสำหรับประเทศที่ร่วมโครงการ JSF ที่จะนำ F-35 มาทดแทนเครื่องบินขับไล่เก่าในกองทัพอากาศของตนครับ

Pentagon Defends F-35 After Report Says it Can't Dogfight
http://www.military.com/daily-news/2015/07/01/pentagon-defends-f35-after-report-says-it-cant-dogfight.html

หลังจากที่บทความนี้ได้ออกมาเผยแพร่ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือ Pentagon ได้ออกมาปฏิเสธรายงานของนักบินทดลองเครื่องรายนี้ โดยโฆษกของสำนักงานโครงการร่วม F-35(F-35 Joint Program Office) ได้กล่าวว่า
F-35A AF-2 นั้นเป็นเครื่องต้นแบบสำหรับทดสอบสมรรถนะทางการบิน ซึ่งระบบ Software และอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเครื่องหมายเลขนี้นั้นยังมีการพัฒนาไม่เสร็จสมบูรณ์ดี
เช่น หมวกนักบินที่นักบินทดสอบใช้ก็ไม่ได้เป็นหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง(HMDS:Helmet Mounted Display System)ที่จะใช้จริงซึ่งทำงานรวมกับระบบตรวจับของเครื่องอย่าง EOTS(Electro-Optical Targeting System) ในการเล็งอาวุธด้วย
ทั้งนี้ทาง Pentagon เองได้กล่าวว่าผลการทดสอบการจำลองบินการต่อสู้ระยะประชิดในครั้งนั้นเป็นการทดสอบตามขั้นตอนซึ่งประสบความสำเร็จดี และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้พัฒนาเครื่องในสายการผลิตจำนวนมากที่จะนำเข้าประจำการจริง
โดย F-35A รุ่นที่จะเข้าประจำการจริงนั้นจะมีความสมบูรณ์พร้อมในการปฏิบัติรบทางอากาศทั้งระยะนอกสายตาและระยะประชิด รวมถึงใช้โจมตีภาคพื้นดินที่สูงกว่า F-16 อย่างมาก
ซึ่งทางโฆษกได้กล่าวว่าถ้าเป็นสถานการณ์การรบจริง F-35 จะเป็นฝ่ายมีชัยจาก Technology ที่เหนือกว่า โดยเฉพาะการรบนอกระยะสายตาที่จะเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ของการรบทางอากาศในปัจจุบันและอนาคตมากกว่าการรบระยะประชิดครับ