วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สารวัตรนักเรียนเดนนรก: ครอบครัวซาราฮาณีในปัจจุบัน-๑



คงจะเป็นภาพสีและภาพขาวดำที่จำลองการใช้ Screen Tone ชุดสุดท้ายที่มีโอกาสได้วาดในปี ๒๕๕๙ นี้แล้วครับ
ท่านที่เคยมีโอกาสได้อ่าน "สารวัตรนักเรียนเดนนรก" ภาคแรก ๑๒ตอน นั้นคงน่าจะทราบว่าเนื้อเรื่องของนิยายภาพเรื่องนี้ถูกสมมุติขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๗ เพราะฉะนั้นถ้าผ่านมาจนถึงปัจจุบันก็จะนับเป็น ๒๒ปีแล้ว
แต่ก็นั่นละครับว่าจะยังมีใครยังจำ "พี่สาวคนที่๕ของพระเอก" ที่ไม่เปลี่ยนไปเลยสวนทางกับอายุจริง กับ "นางเอกหลัก+ภรรยาพระเอก" สุดจืดจางที่เปลี่ยนไปเยอะมากกันได้รึ (V-150 ติดปืนใหญ่รถถัง 90mm ยังมีบทมากกว่าพวกหล่อนอีก)

ที่น่าสนใจอีกอย่างภาพประกอบคติคำคมจากสารวัตรนักเรียนเดนนรกที่ลงไปเมื่อเดือนที่แล้ว(aagth1.blogspot.com/2016/12/hk33.html)มีผู้เข้าชมมากถึงกว่า ๑,๔๐๐ครั้ง
ซึ่งปกติตั้งแต่ลงภาพวาดและการ์ตูนเรื่องสั้นใน Blog นี้มายอดคนดูไม่เคยเกิน ๕๐๐ครั้ง ส่วนตัวก็นับว่าแปลกใจครับ

Airbus Helicopters ได้รับสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์ H145M จากเซอร์เบีย

Contract with Airbus Helicopters
Following the identified areas of cooperation in High Level Memorandum of Understanding signed between the Government of the Republic of Serbia and Airbus Group in October this year,
Contract for procurement of nine H145M helicopters, associated services and industrial cooperation was signed between Airbus Helicopters and Ministry of Defence and Ministry of Interior of Republic of Serbia.
http://www.mod.gov.rs/eng/10470/ugovor-za-nabavku-helikoptera-sa-airbus-helicopters-10470

H145M Royal Thai Navy in Germany (http://www.airbushelicopters.com)

ตามประกาศวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมารัฐบาลเซอร์เบียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจระดับสูงกับกลุ่มบริษัท Airbus Group เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ซึ่งมีตัวแทนในพิธีคือรัฐมนตรีกลาโหมเซอร์เบีย Zoran Djordjevic, ทูตฝรั่งเศสประจำเซอร์เบีย Christine Moro และทูตเยอรมนีประจำเซอร์เบีย Axel Dittmann
ซึ่งรวมถึงการลงนามสัญญากับบริษัท Airbus Helicopters ในการจัดหาเฮลิคอปเตอร์เอนกประสงค์ทางทหารแบบ H145M(EC645 T2 เดิม) จำนวน 9เครื่อง
โดยสัญญาระหว่างกระทรวงกลาโหมเซอร์เบียและกระทรวงมหาดไทยเซอร์เบียกับ Airbus Helicopters แบ่งเป็น H145M สำหรับกองทัพอากาศเซอร์เบีย และตำรวจเซอร์เบีย

สัญญาการจัดหา H145M ทั้ง 9เครื่องของเซอร์เบียประกอบไปด้วยระบบอุปกรณ์สำหรับเฮลิคอปเตอร์รุ่นล่าสุด รองรับตามความต้องการภารกิจ
ทั้งการลำเลียง, ค้นหาและกู้ภัย, การรบ, การส่งกลับทางสายแพทย์, การตรวจการณ์ และการรักษาความปลอดภัย
การสนับสนุนการส่งกำลังบำรุง ทั้งอะไหล่, เครื่องมือ และเอกสาร การถ่ายทอด Technology การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม ซึ่งจะดำเนินการที่โรงงานอากาศยาน Moma Stanojlovic ในเซอร์เบีย
รวมถึงการสนับสนุนสถาบันวิจัยและพัฒนาและโรงงานอากาศยานของเซอร์เบียในการตรวจสอบคุณภาพ การรับรอง และการแสวงหาโอกาสในอุตสาหกรรมความมั่นคงของเซอร์เบีย

H145M เป็นเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงทางทหารซึ่งมีใช้งานในกองทัพอากาศเยอรมนี(Luftwaffe) เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการของหน่วยรบพิเศษ KSK เยอรมนี
โดยลูกค้าส่งออกต่างประเทศรายแรกของ ฮ.H145M คือกองทัพเรือไทยจำนวน ๕เครื่องซึ่งได้รับมอบเข้าประจำการใน ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ กองการบินทหารเรือ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และมีเซอร์เบียเป็นลูกค้าส่งออกรายล่าสุด
เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพอากาศเซอร์เบียและตำรวจเซอร์เบียน่าจะนำ H145M ทั้ง 9เครื่องทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ/โจมตีเบา Gazelle ที่ผลิตภายใต้สิทธิบัตรโดย SOKO ตั้งแต่สมัยอดีตยูโกสลาเวียซึ่งประจำการมานานตั้งแต่ปี 1970s-1980s แล้วครับ

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ภาพเปิดเผยเครื่องบินขับไล่ JF-17 ของกองทัพอากาศพม่ากำลังทำการผลิตในปากีสถาน

JF-17 PAKISTAN AIR FORCE at the Le Bourget Airport for the Paris 2015 Airshow(wikipedia.org)


Second export order JF-17 production unit spotted at PAC
R-3 and R-1 Ruby units are for Myanmar Air Force the second customer after Nigeria
https://www.facebook.com/pakistanidefence/posts/10154502182492663
https://www.facebook.com/pakistanidefence/

สถานีโทรทัศน์ปากีสถานได้ออกอากาศรายงานสายการผลิตของเครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder ที่โรงงานอากาศยาน Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ใน Kamra จังหวัด Attock ของปากีสถาน
นอกจากสายการผลิตและทดสอบเครื่องบินขับไล่ JF-17 Block II ที่สร้างจากโรงงานแล้ว ยังมีภาพการประกอบสร้างเครื่อง JF-17 ที่มีรหัสติดว่า Ruby 01 และ R-3
โดยสื่อสังคม Online ทางทหารของปากีสถานระบุว่า JF-17 รหัส Ruby นี้คือเครื่องในสายการผลิตสำหรับกองทัพอากาศพม่าจำนวน 16เครื่อง ซึ่งพม่าเป็นลูกค้าของ JF-17 รายที่สองต่อจากกองทัพอากาศไนจีเรีย

ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ JF-17 หรือ FC-1 ของกองทัพอากาศพม่าออกมา
จากการให้สัมภาษณ์สื่อของนายทหารระดับสูงของกองทัพพม่าที่เข้าร่วมชมงานแสดงการบิน Zhuhai Air Show 2016 ที่จีนเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น นายทหารพม่าปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลรายระเอียดของโครงการ แต่ก็กล่าวว่าเครื่องบินขับไล่ที่พม่าจัดหาไม่ได้ชื่อ FC-1 Fierce Dragon ตามจีน หรือ JF-17 Thunder ตามปากีสถาน
มีนักวิเคราะห์ทางทหารบางรายตั้งข้อสังเกตว่าเครื่องบินขับไล่ JF-17 ที่พม่าจัดหานั้นน่าจะติดตั้งระบบอุปกรณ์ต่างๆเป็นรุ่นเฉพาะตามความต้องการของกองทัพอากาศพม่าเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-7M และเครื่องบินโจมตี A-5C จีนที่มีอายุการใช้งานมากและล้าสมัย
ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าพม่ามีแผนจะเปิดสายการผลิตในการประกอบเครื่องบินขับไล่ JF-17 ภายในประเทศ ซึ่งพม่ามีประสบการณ์ในการประกอบเครื่องบินฝึกไอพ่น K-8 จีนในประเทศโดยได้รับการสนับสนุนทางเทคนิคจากจีนมาแล้ว

เครื่องบินขับไล่ JF-17 หรือ FC-1 เป็นโครงการพัฒนาร่วมกันระหว่าง Chengdu Aircraft Corporation(CAC) จีน และ Pakistan Aeronautical Complex ปากีสถาน ซึ่งมีผู้ใช้งานหลักคือกองทัพอากาศปากีสถาน
JF-17 เป็นเครื่องบินขับไล่เบาเอนกประสงค์เครื่องยนต์เดี่ยวติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่นแบบ Klimov RD-93 รัสเซีย หรือ Guizhou WS-13 จีน มีความเร็วสูงสุด Mach 1.6 รัศมีการรบไกล 1,352km ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ GSh-30-2 30mm ในลำตัว มีตำบลอาวุธ 7แห่งสามารถติดตั้ง
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ จรวดธรรมดา ระเบิดธรรมดา ระเบิดนำวิถี และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น ทั้งของจีนและตะวันตกได้หลายแบบ
โดย JF-17 Block 2 นั้นเริ่มเปิดสายการผลิตที่โรงงาน PAC ตั้งแต่ 18 ธันวาคม 2013 ซึ่งปรับปรุงสมรรถนะเพิ่มระบบการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ, ระบบ Avionic ใหม่, Data Link และระบบสงคราม Electronic และบรรทุกอาวุธได้มากขึ้นครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรือไทยฝึกการรับส่งสิ่งของทางดิ่งระหว่างเฮลิคอปเตอร์ H145M และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.994

Thai Navy conducts first vertical replenishment exercises with H145M helicopter
The Royal Thai Navy (RTN) has conducted a series of vertical replenishment (VERTREP) trials with its new H145M helicopter.
The trials, conducted throughout December 2016 with the service's lead T 994-class coastal patrol craft
http://www.janes.com/article/66551/thai-navy-conducts-first-vertical-replenishment-exercises-with-h145m-helicopter



วันที่ 16 ธ.ค. 59 ฝูงบิน 202 จัด ฮ.ลล.(EC645T2) ปฏิบัติการ Hoist Transfer ร่วมกับเรือ ต.994




เมื่อเรือ ต. ฝึก VERTREP เรือเล็กที่สุดเท่าที่เคยฝึกกับ ฮ.

เรือ ต.994 เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ฝึกรับส่งสิ่งของทางดิ่งกับเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ EC645 T2 ระหว่างการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือยามฝั่ง ปีงบประมาณ 2560 
เพื่อขยายขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศ การรับส่งผู้ประสบภัย และการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ เรือ ต.994 จึงดัดแปลงตัวเรือโดย รื้อโครงผ้าใบท้ายเรือ และทาสีจุดรับส่งสิ่งของทางดิ่งเพิ่มเติมตามมาตรฐานการปฏิบัติการการบิน 
รวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่รับส่งเฮลิคอปเตอร์ไปฝึกรับส่งสิ่งของทางดิ่ง ณ ฝูงบิน 202 กองบิน 2 กบร.กร. 
การรับส่งสิ่งของกับเฮลิคอปเตอร์ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดนี้ นับได้ว่าเรือ ต.994 เป็นเรือรบขนาดเกือบเล็กที่สุดที่เคยปฏิบัติการรับส่งสิ่งของทางดิ่งกับเฮลิคอปเตอร์

ขอบคุณภาพ และ ข้อมูล จาก ผบ.เรือ ต.994

By Admin ต้นปืน561

https://www.facebook.com/squadron202/
https://www.facebook.com/squadron202/posts/1862348593994249
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/1210238315680727
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/

กองทัพเรือไทยได้ทำพิธีรับมอบเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ ฮ.ลล.๖ Airbus Helicopters H145M(EC645 T2) เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙(2016)
ซึ่งได้มีการยอมรับทางเทคนิคของ ฮ.สองเครื่องแรกตั้งแต่เดือนเมษายนแล้ว ก่อนที่มีการส่งมอบเครื่องมาถึงไทยเมื่อเดือนกันยายน
โดยก่อนหน้านี้ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนกองทัพเรือได้ทดสอบการปฏิบัติการของ ฮ.ลล.๖ H145M บนเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ร.ล.อ่างทอง(ลำที่๓) (LPD-791 HTMS Angthong) และบนเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.นเรศวร คือ ร.ล.ตากสิน (FFG-422 HTMS Taksin) มาแล้วตามที่ได้เคยรายงานไป
การฝึกรับส่งสิ่งของทางดิ่ง(VERTREP: Vertical Replenishment)ในทะเลระหว่างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.994 กับ ฮ.H145M เมื่อกลางเดือนธันวาคมนี้
จึงเป็นการแสดงขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างอากาศยานปีกหมุนเละเรือตรวจการณ์ขนาดเล็กของกองทัพเรือไทยครับ

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ญี่ปุ่นต้องการเป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาระบบ Radar ป้องกันภัยทางอากาศของไทย

Japan seeks to win Thai air defense radar contract - sources
http://www.reuters.com/article/japan-thailand-radar-idINKBN14B0YY

Radar site, JASDF 18th watch unit at Wakkanai city.(wikipedia.org)


J/FPS-3 ground-based Active Electronically Scanned Array(AESA) Air Defense Radar Japan Air Self Defense Force(www.clearing.mod.go.jp)

ตามแหล่งข่าวในรัฐบาลญี่ปุ่นสี่รายและในภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นหนึ่งราย ญี่ปุ่นต้องการหาทางเป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาระบบ Radar ป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพไทยซึ่งสร้างโดย บริษัท Mitsubishi Electric Corporation
เพื่อเป็นการเปิดตลาดยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คานอำนาจกับจีน ที่ในช่วงที่รัฐบาลชุดปัจจุบันของไทยซึ่งมีอำนาจมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๗(2014) กองทัพไทยได้มีการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากจีนหลายรายการ
เช่น รถถังหลัก VT4(MBT-3000) ๒๘คันในส่วนของกองทัพบกไทย, เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S26T ๓ลำของกองทัพเรือไทย และระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง KS-1C ๑ระบบของกองทัพอากาศไทยเป็นต้น

ญี่ปุ่นคาดว่าทางไทยจะเปิดโครงการจัดหาระบบ Radar ใหม่ได้ในปีหน้า(2017) โดยนอกจาก Radar ญี่ปุ่นน่าจะมี Radar จากสหรัฐฯ และยุโรปเข้าร่วมการแข่งขันด้วย
โดยการตั้งงบประมาณและคุณสมบัติของระบบในโครงการจัดหายังไม่มีการเปิดเผย แต่คาดว่าระบบ Radar ของบริษัท Mitsubishi Electric ญี่ปุ่นน่าจะมีราคาหลัก $100 million ขึ้นไปขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและความครอบคลุมการตรวจจับ
ทั้งนี้แหล่งข่าวให้ข้อมูลว่าญี่ปุ่นอาจจเสนอระบบ Radar ป้องกันภัยทางอากาศของตนในราคาถูกเพื่อให้เหมาะสมกับวงเงินงบประมาณกลาโหมที่มีอย่างจำกัดของไทย

J/FPS-3 Kai Radar Station at Kamo-Katakuriyama, Oita, Otakineyama, Wajima and Yago Cape since 2008-2009

reuters ระบุว่าระบบ Radar ป้องกันภัยทางอากาศที่ญี่ปุ่นจะเสนอให้ไทยพิจารณาคือ Radar แบบสถานีประจำที่ J/FPS-3 ซึ่งเป็นระบบรุ่นเก่าที่มีประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(Japan's Air Self Defense Force) เพื่อตรวจจับภัยคุกคามทางอากาศ
อย่างไรก็ตามทั้งทางรัฐบาลญี่ปุ่น บริษัท Mitsubishi Electric กองทัพไทย กองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย และกองทัพอากาศไทย ยังไม่ได้ให้ความเห็นใดๆอย่างเป็นทางการในกรณีนี้
โดยโฆษกกองทัพอากาศไทย พลอากาศตรี พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย ยืนยันว่ากองทัพอากาศยังไม่ได้ตัดสินใจเรื่องการจัดซื้อ Radar จากญี่ปุ่น เพียงแต่มีตัวแทนบริษัทมานำเสนออย่างไม่เป็นทางการเนื่องจากทราบว่าระบบที่ใช้อยู่กำลังจะหมดอายุ ซึ่งการจัดหาต้องมีการเตรียมการอีกหลายขั้นตอน

ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมาญี่ปุ่นได้การแก้ไขกฎหมายเพื่อผ่อนปรนข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญให้สามารถส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนขายให้แก่ต่างประเทศได้
ซึ่งประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นตลาดหนึ่งที่ญี่ปุ่นต้องการจะส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของตน เช่น เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Kawasaki P-1 และเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกกู้ภัยทางทะเล ShinMaywa US-2 เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นยังเป็นผู้เล่นรายใหม่ในตลาดการค้าอาวุธระดับนานาชาติที่จะต้องแข่งขันกับกลุ่มประเทศที่อยู่ในตลาดมาก่อนนานแล้วทั้งสหรัฐฯ รัสเซีย จีน และยุโรปครับ

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ภาพเปิดเผยจีนทำการทดสอบบินเครื่องบินขับไล่ FC-31 ต้นแบบเครื่องที่สอง



China’s second FC-31 takes flight
Chinese defence websites have published footage of what is apparently the second AVIC FC-31 Gyrfalcon fighter aircraft.
https://www.flightglobal.com/news/articles/chinas-second-fc-31-takes-flight-432720/

ภาพถ่ายที่เผยแพร่ใน Website จีนเปิดเผยถึงการทดสอบบินของเครื่องบินขับไล่ FC-31 Gyrfalcon เครื่องต้นแบบเครื่องที่สอง หรือ J-31 ซึ่งพัฒนาโดย Shenyang Aircraft Corporation ในเครือกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานจีน AVIC
ภาพแสดงให้เห็นว่าเครื่องบินขับไล่ต้นแบบ FC-31 เครื่องที่สองนี้มีความเปลี่ยนแปลงในส่วนรูปแบบปีก แพนหางระดับและแพนหางดิ่งคู่ที่ตัดเป็นหลี่ยมมุม ซึ่งมีภาพเปรียบเทียบระหว่างแบบจำลอง FC-31 ต้นแบบเครื่องแรกและเครื่องที่สอง


รวมถึงเครื่องยนต์ที่เดิมเครื่องบินขับไล่ FC-31 ต้นแบบเครื่องแรกที่เคยแสดงการบินสาธิตในงาน Zhuhai Airshow 2014 ที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ Klimov R-93 รัสเซียสองเครื่อง
ซึ่งเครื่องยนต์ R-93 นี้ถูกติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์เดี่ยว JF-17 หรือ FC-1 ที่เป็นงานพัฒนาร่วมระหว่าง Chengdu จีนและ Pakistan Aeronautical Complex ปากีสถาน
โดยเครื่องยนต์ดังกล่าน่าจะเป็นเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ Guizhou WS-13 จีนที่จะมาใช้แทน ย.รัสเซียทั้ง JF-17 และ FC-31 (จะเห็นได้ว่าภาพการบินของ FC-31 เครื่องที่สองไม่มีควันดำปรากฎแล้ว)


อย่างไรก็ตามสถานะของโครงการพัฒนา Shenyang FC-31 นั้นยังไมีความชัดเจน โดยในงาน Zhuhai Airshow 2016 ล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ไม่ได้มีการแสดงการบินของ FC-31 แต่อย่างใด
โดยมีการจัดแสดงแบบจำลองขนาดใหญ่และห้องนักบินแสดงแนวคิดระบบ Avionic ขั้นก้าวหน้าซึ่งประกอบไปด้วยก้านควบคุม จอภาพตรงหน้า Heads Up Display และจอแสดงผลเอนกประสงค์แบบสัมผัสขนาดใหญ่เท่านั้น ซึ่งทาง AVIC จีนไม่มีความเห็นต่อ FC-31 ออกมาครับ

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รัสเซียจะบริจาคเครื่องบินขับไล่ MiG-29 และรถถังหลัก T-72 ให้เซอร์เบีย

Russia to donate MiG-29s, T-72s to Serbia
Russia has agreed to donate Serbia with an arms package that includes six MiG-29s and 30 T-72 tanks. Source: PA
http://www.janes.com/article/66503/russia-to-donate-mig-29s-t-72s-to-serbia

รัฐบาลรัสเซียเห็นชอบที่จะบริจาคกลุ่มอาวุธยุทโธปกรณ์หลักให้กับเซอร์เบียตามการแถลงในหารือของทั้งสองประเทศที่ Moscow เมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา
โดยส่วนหลักของอาวุธที่รัสเซียจะบริจาคให้เซอร์เบียคือเครื่องบินขับไล่ MiG-29 (NATO กำหนดรหัส Falcrum) ที่เก็บสำรองไว้ 6เครื่องซึ่งเป็นความต้องการมายาวนานของกองทัพอากาศเซอร์เบีย
ยังรวมถึงการบริจาครถถังหลัก T-72S จำนวน 30คัน และรถหุ้มเกราะล้อยางลาดตระเวน BRDM-2 จำนวน 30คัน เช่นเดียวกับอาวุธปืนเล็กขนาด 14.5mm สำหรับกองทัพบกเซอร์เบียด้วย

นายกรัฐมนตรีเซอร์เบีย Aleksandar Vucic และรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Sergei Shoigu ได้บรรลุข้อตกลงในการบริจาคอาวุธเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม โดยการลงนามเอกสารข้อตกลงอย่างเป็นทางการมีขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม
การหารืออย่างครอบคลุมนี้ยังรวมถึงการขอบริจาคหรือจัดซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งเซอร์เบียหวังที่จะจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Buk-M2 และปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานติดอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้อัตตาจร 2K22 Tunguska จากรัสเซีย
อย่างไรก็ตามการขายยังไม่เสร็จสิ้น ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะดำเนินการเจรจาต่อไปโดยคาดหวังว่าจะได้ข้อสรุปที่ดีที่สุดในปี 2017 หรือ 2018 เมื่อเซอร์เบียหวังที่จะได้ข้อเสนอการจัดซื้อที่ดีกว่านี้จากรัสเซีย โดยเซอร์เบียต้องการตนให้มีความพร้อมด้านวงเงินจัดหาราว 500 million Euros ก่อน

MiG-29 รุ่นเก่าที่ปัจจุบันปลดประจำการจากกองทัพอากาศรัสเซียแล้วจะส่งมอบให้เซอร์เบียได้ในช่วงปี 2017 ประกอบด้วย MiG-29A(9.12A) 1เครื่อง และ MiG-29S(9.13) 3เครื่องซึ่งเป็นรุ่นที่นั่งเดี่ยว และ MiG-29UB(9.51) 2เครื่องซึ่งเป็นรุ่นฝึกสองที่นั่ง
เครื่องบินขับไล่ MiG-29 เหล่านี้คาดว่าจำเป็นได้รับการปรับปรุงสภาพที่สำคัญเพื่อให้สามารถประจำการในกองทัพอากาศเซอร์เบียได้จนถึงปี 2030 ซึ่งเซอร์เบียจะต้องออกค่าใช้จ่ายให้ทางรัสเซียดำเนินการในวงเงินประมาณ 180-230 million Euros หรือรวมสามระยะ 600 million Euros
ปัจจุบันกองทัพอากาศเซอร์เบียมีเครื่องบินขับไล่ MiG-21UM รุ่นสองที่นั่ง 3เครื่องซึ่งปรับปรุงให้สามารถติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ R-60 ได้, MiG-29B(9.12B) รุ่นที่นั่งเดี่ยว 2เครื่องและ MiG-29UB รุ่นฝึกสองที่นั่ง 1เครื่อง
ทั้งหมดประจำการอยู๋ในฐานทัพอากาศ Batajnica ใกล้ Balgrade โดยกองทัพอากาศเซอร์เบียังมี MiG-29B ที่งดบินอีกหนึ่งเครื่อง ทำให้ขีดความสามารถด้านการตรวจตราทางอากาศของเซอร์เบียอ่อนแอมากมานานหลายปี

ส่วนกองทัพเซอร์เบียปัจจุบันมีกองพันรถถังอยู่ 4กองพันคือ กองพันรถถังที่15 กองพลน้อยที่1, กองพันรถถังที่26 กองพลน้อยที่2, กองพันรถถังที่36 กองพลน้อยที่3 และกองพันรถถังที่46 กองพลน้อยที่4
โดยมีกำลังหลักเป็นรถถังหลัก M-84 จำนวน 212คันซึ่งผลิตมาตั้งแต่สมัยอดีตยูโกสลาเวียโดยมีพื้นฐานจากรถถังหลัก T-72M รุ่นส่งออกของอดีสหภาพโซเวียต และรถถังหลัก T-72M1 ที่ผลิตในอดีตเชคโกสโลวาเกีย 13คันจากที่เคยมี 48คัน
รวมถึงรถหุ้มเกราะล้อยางลาดตระเวน BRDM-2 จำนวน 36คันซึ่งเคยประจำการกองพันรถถังและกองพันยานเกราะกองพันละ 3คันเก็บสำรองไว้อีกราว 40คัน ซึ่งรถถังและรถเกราะของเซอร์เบียส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานมานานและถูกเก็บสำรองไว้เป็นจำนวนมากครับ

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรือพม่าทำพิธีเข้าประจำการเรือคอร์เวต Stealth เรือช่วยรบ และยานผิวน้ำไร้คนขับใหม่



Myanmar Navy Commissioned UMS Tabinshwehti 773 Stealth Corvette


Myanmar Navy Commissioned AP-01 Troop Carrier


Myanmar Navy Commissioned 6 new Landing Craft Mechanized(LCM) with BTR-3U 8x8 and PTL-02 6x6 105mm



Myanmar Navy Unmanned Surface Vehicle(USV)

https://www.facebook.com/www.myanmarnavy.org/posts/1324652050910280
https://www.facebook.com/www.myanmarnavy.org/posts/1324950090880476
https://www.facebook.com/www.myanmarnavy.org/
https://th-th.facebook.com/pages/Myanmar-Defence-Weapons/210114122377899

วันที่ 24 ธันวาคม 2016 ซึ่งเป็นวันครบรอบการก่อตั้งกองทัพเรือพม่าปีที่ 69 กองทัพเรือพม่าได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือรบและเรือช่วยรบที่สร้างเองในประเทศจำนวนหลายลำเช่น
เรือคอร์เวต Stealth UMS Tabinshwehti (พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้) 773 ซึ่งติดตั้งระบบอาวุธและอุปกรณ์ครบแล้วเช่น
ปืนใหญ่เรือทรง Stealth ที่ลอกแบบ Oto Melara 76/62, ปืนใหญ่กลป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System)ทรง Stealth NG-18 จีน(ลอกแบบ AK-630 รัสเซีย),
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-802A, จรวดปราบเรือดำน้ำ5ท่อยิง Type 81 จีนสองแท่นยิง(ลอกแบบ RBU-12000 รัสเซีย) และแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ 6นัด(เหมือน Gibka รัสเซียที่เกาหลีเหนือลอกแบบอีกที)

เรือลำเลียงพล AP-01 UMS Chindwin ซึ่งมีแบบแผนเดียวกับเรือพยาบาล AH-02 ที่เข้าประจำการในปี 2015
เรือระบายพลขนาดกลาง(LCM) 6ลำ หมายเลข 1707, 1708, 1709, 17010, 1711 และ 1712 ซึ่งบรรทุกรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3U และรถหุ้มเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง 105mm PTL-02 บนเรือ

และการสาธิตยานผิวน้ำไร้คนขับ MUSV-2 (USV: Unmanned Surface Vehicle) ที่น่าจะใช้เรือยางท้องแบน RHIB(Rigid Hull Inflatable Boat) ของ Sillinger ฝรั่งเศส
ที่ติดตั้งระบบควบคุมระยะไกลโดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่หาได้ในตลาดเปิด(อย่าง Saitek HOTAS) ซึ่งอาจจะสามารถติดอาวุธเช่นปืนกลได้

ตามที่พลเอกอาวุโส Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่ากล่าวในพิธีว่า "การสร้างเรือรบบนพื้นฐานการพึ่งพาตนเองจะช่วยประหยัดเงินและเป็นประโยชน์ต่อพม่า"
การนำเรือรบ, เรือช่วยรบ และยานผิวน้ำไร้คนขับชุดใหม่เข้าประจำการดังกล่าวนี้จะเป็นการเพิ่มศักยภาพของกองทัพเรือพม่าให้สูงขึ้นด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ใหม่จีนมีข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม

Details emerge about requirement for China's new strategic bomber
Impression of China's new strategic bomber, according to China Military Online. Source: Via China Military Online
http://www.janes.com/article/66423/details-emerge-about-requirement-for-china-s-new-strategic-bomber

บทความที่เผยแพร่ใน Website China Military Online เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมานั้นได้เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับรายละเอียดความต้องการคุณสมบัติของเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์แบบใหม่ของจีน
ตามที่สื่อ Online จีนอ้างถึง พลเรือตรี Yin Zhuo ผู้อำนวยการคณะกรรมการผู้ชำนาญการให้คำปรึกษาของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Navy)
ตามด้วยการให้คำยืนยันเมื่อวันที่ 1 กันยายน โดย พลอากาศเอก Ma Xiaotian ผู้บัญชาการกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Air Force) ว่า
จีนกำลังพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์พิสัยไกลแบบใหม่ซึ่งถูกอ้างชื่อในบทความว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ H-20

ขณะที่นายพล Ma ไม่ให้รายละเอียดใดๆเกี่ยวกับโครงการ ทางนายพล Yin ซึ่งปกติจะปรากฎตัวต่อสื่อจีนในฐานะผู้ให้ความเห็นด้านการพัฒนาทางทหารของจีนนั้นให้ความเห็นว่า
"อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน, อาวุธนิวเคลียร์, และอาวุธอื่นๆพร้อมทั้งอุปกรณ์นั้นจะถูกนำไปติดตั้งกับเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ของเรา(จีน)แบบครบทุกที่" ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วที่จีนจะพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ใหม่
เขายังระบุว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกลที่ประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนปัจจุบันคือเครื่องบินทิ้งระเบิดตระกูล H-6(ซึ่งจีนลอกแบบจากเครื่องบินทิ้งระเบิด Tupolev Tu-16 รัสเซีย NATO กำหนดรหัส Badger ซึ่งจีนปรับปรุงเพิ่มเติมหลายรุ่น)
ว่า H-6 นั้นไม่ใช่เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ที่แท้จริง และตั้งข้อสังเกตุว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ใหม่ควรจะมีคุณสมบัติเทียบเคียงได้กับเครื่องบินทิ้งระเบิด Stealth แบบ Northrop Grumman B-2 Spirit กองทัพอากาศสหรัฐฯ

ประสบการณ์และองค์ความรู้ในการออกแบบอากาศยานที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยากนั้นมาจากการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ Stealth คือ Chengdu J-20 และ Shenyang FC-31 ทั้งสองแบบ
ร่วมด้วยกับการทำความเข้าใจและการประยุกต์วิทยาการด้านวัสดุศาสตร์ขั้นก้าวหน้า นอกจากนี้ ณ ปัจจุบันยังเป็นเวลาที่เหมาะสมในการสร้างความคืบหน้าความต้องการสำหรับเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ใหม่ นายพล Yin กล่าว
แม้ว่าจีนจะไม่เคยพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ก็ตาม แต่การผลิตเครื่องบินลำเลียงหนักทางยุทธศาสตร์ XAC Y-20 และเครื่องบินไอพ่นโดยสารพาณิชย์ Comac C919 ได้สะท้อนถึงการดำเนินการของอุตสาหกรรมอากาศยานจีนที่สามารถแสวงหาความชำนาญทางเทคนิคที่จำเป็นในการเริ่มต้นพัฒนาโครงการได้
บทความดังกล่าวยังอ้างถึงผู้ให้ความเห็นทางทหารจีนอีกรายคือ Li Li ผู้ซึ่งกล่าวว่าความท้าท้ายทางเทคนิคในการสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียงแบบตรวจจับได้ยากนั้นเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นอย่างมากๆครับ

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบ T-X ของ Boeing สหรัฐฯและ Saab สวีเดนทำการบินครั้งแรก

Boeing and Saab fly their new T-X aircraft
The first prototype for Boeing-Saab's T-X offering made its maiden flight on 20 December, with the second prototype set to do the same in early 2017. Source: Boeing-Saab
http://www.janes.com/article/66466/boeing-and-saab-fly-their-new-t-x-aircraft


Boeing T-X Takes Off, The first of two production-ready aircraft built for the U.S. Air Force's advanced pilot training competition, took to the skies Dec. 20 over St. Louis for its first flight.

วันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา Boeing สหรัฐฯ และ Saab สวีเดนได้ประกาศความสำเร็จในการทดสอบบินครั้งแรกของเครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบ T-X ของตนที่เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึก T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
เครื่องบินฝึกไอพ่นเครื่องยนต์เดี่ยวสองที่นั่ง Boeing T-X ทำการบินครั้งแรกเป็นเวลา 55นาทีที่โรงงานอากาศยานของ Boeing ที่ St Louis มลรัฐ Missouri วันเดียวกับที่ทั้งสองบริษัทแถลงการ
ถือเป็นก้าวสำคัญของโครงการพัฒนาร่วมของทั้งสองบริษัทที่ต้องการจะเป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นใหม่จำนวนมากกว่า 350เครื่อง เพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น Northrop Grumman T-38 Talon ที่กองทัพอากาศสหรัฐฯใช้งานมานานหลายสิบปี
พร้อมกันกับก้าวสำคัญนี้ เครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบ Boeing T-X เครื่องที่สองกำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบภาคพื้นดิน คาาดว่าจะทำการบินครั้งแรกได้ภายในต้นปี 2017

เครื่องบินฝึกไอพ่นต้นแบบ Boeing-Saab T-X เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan General Electric Aviation GE F404, ห้องนักบิน Glass Cockpit และระบบสถาปัตยกรรมเปิด
ขณะที่ประธานแผนก Phantom Works ของ Boeing นาย Darryl Davis ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดการแบ่งการทำงานระหว่าง Boeing และ Saab
แต่เขากล่าวว่าคุณสมบัติของอากาศยานนั้นนำมาจากทั้งเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet และ Saab Gripen ที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบอากาศยานใหม่

โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นใหม่ T-X กองทัพอากาศสหรัฐฯ นอกจาก Boeing-Saab ที่เข้าแข่งขันแล้วยังมีผู้เข้าแข่งขันอีกหลายรายด้วยกันคือ
Lockheed Martin สหรัฐฯ และ Korean Aerospace Industries เกาหลีใต้ที่เสนอ T-50A, Raytheon สหรัฐฯ และ Leonardo อิตาลี ที่เสนอ T-100(พัฒนาจาก M-346) และ Northrop Grumman สหรัฐฯที่เสนอเครื่องที่ออกแบบใหม่ที่มีการพบเห็นเครื่องต้นแบบเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ยังมีรายงานล่าสุดเมื่อต้นเดือนธันวาคมว่า Sierra Nevada Corporation สหรัฐฯ และ Turkish Aerospace Industries ตุรกี มีแผนที่จะเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่นที่ออกแบบใหม่ด้วย แต่ Jane's ไม่ได้รับคำตอบใดๆแม้ว่าการร้องขอการยืนยันรายละเอียดก็ตาม
โดยเครื่องบินฝึกไอพ่นใหม่โครงการ T-X กองทัพอากาศสหรัฐฯจะมีความพร้อมการปฏิบัติการขั้นต้นตามแผนในปี 2024 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Antonov ยูเครนเปิดตัวเครื่องบินลำเลียงสาธิต An-132D

Antonov rolls out An-132 demonstrator 
Antonov rolled out the new An-132D multipurpose turboprop transport on 20 December in Kiev, Ukraine, as the Saudia Arabia-backed project prepares to enter the flight test phase.
https://www.flightglobal.com/news/articles/antonov-rolls-out-an-132-demonstrator-432607/


(spotters.net.ua)


วันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมาที่ Kiev บริษัท Antonov ยูเครนได้ทำพิธีเปิดตัวเครื่องบินลำเลียงใบพัดเอนกประสงค์ An-132D ใหม่ซึ่งมีซาอุดิอาระเบียเป็นผู้สนับสนุนโครงการ โดยจะมีการเตรียมการทดสอบการบินในปี 2017
โครงการพัฒนาเครื่องบินลำเลียง Antonov An-132D ใช้ระยะเวลาดำเนินการราว 2ปี ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ โดยพัฒนาจากเครื่อบินลำเลียง An-32 ที่ออกแบบมาแล้ว 40ปีด้วยการปรับปรุงใช้ระบบอุปกรณ์ของตะวันตกที่ทันสมัย
เช่น ระบบ Avionic จาก Honeywell สหรัฐฯ, เครื่องยนต์ใบพัด Turboprop Pratt & Whitney Canada PW150A แคนาดา, ใบพัดของ Messier Bugatti Dowty ฝรั่งเศส(ปัจจุบันคือ Safran Landing Systems), ระบบบริหารจัดการทางอากาศและระบบดำรงชีพ(life support systems) Liebherr เยอรมนี และระบบแหล่งพลังงานเสริม(Auxiliary Power Units)จาก Hamilton Sundstrand สหรัฐฯ(ปัจจุบันถูกรวมใน UTC Aerospace Systems)

การประกอบ An-132D เครื่องต้นแบบสาธิตเครื่องแรกได้ดำเนินการที่โรงงานอากาศยานของ Antonov ในยูเครน แต่สายผลิตจำนวนมากของเครื่องจะดำเนินการที่กรุง Riyadh ซาอุดิอาระเบีย
โดยการมีส่วนร่วมของบริษัท Taqnia Aeronautics และศูนย์เทคโนโลยีการบินแห่งชาติ KACST(King Abdulaziz City for Science and Technology) ซาอุดิอาระเบียที่ถือครองหุ้นร้อยละ50 ของทรัพย์สินทางปัญญาในการลงทุนออกแบบเครื่องบินลำเลียง An-132
ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการพัฒนาภาคส่วนอุตสาหกรมอากาศยานของซาอุดิอาระเบียเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การผลิตชิ้นส่วนอากาศยานจนถึงประกอบสร้างอากาศยานเองภายในประเทศ โดยซาอุดิอาระเบียจะเริ่มได้รับมอบ An-132 ในราวปี 2018
มีรายงานว่าในปี 2015 กองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียจะจัดหา An-132D จำนวน 2เครื่องเพื่อดัดแปลงเป็นเครื่องสงครามอิเล็กทรอนิคทางอากาศ(Airborne Electronic Warfare) และ 4เครื่องสำหรับใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัย(Search and Rescue)

เครื่องบินลำเลียง An-132 ถูกออกแบบให้สามารถบรรทุกสัมภาระได้หนักถึง 8tons ที่เพดานบินถึง 28,000ft. โดยติดตั้งชุดอุปกรณ์ที่ทันสมัยล่าสุดและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยหลายรายการ
โครงการนี้เป็นการช่วยให้บริษัท Antonov สามารถอยู่รอดได้หลังจากที่ยูเครนและรัสเซียตัดความสัมพันธ์ทางทหารหลังที่รัสเซียผนวก Crimea และแทรกแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธในภาค Donbass ยูเครน ทำให้ Antonov เสียรัสเซียที่เดิมลูกค้ารายหลักไป
ในพิธีเปิดตัวเครื่องบินลำเลียง An-132D ที่ Kiev นี้ ประธานาธิบดียูเครน นาย Petro Poroshenko และเจ้าชาย Turki Saud Mohammed Al Saud แห่งซาอุดิอาระเบียได้เป็นแขกร่วมงานพิธีด้วยครับ

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

แคนาดาระงับการขายยุทโธปกรณ์ด้านความมั่นคงให้กับไทย

Canada blocks sale of defence equipment to Thailand
Canada's Minister of Foreign Affairs Stephane Dion has recently blocked the sale of military equipment to Thailand
http://www.janes.com/article/66459/canada-blocks-sale-of-defence-equipment-to-thailand

รัฐบาลแคนาดาได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ว่าเมื่อเร็วๆนี้รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแคนาดา Staphane Dion ได้ระงับการขายยุทโธปกรณ์ทางทหารให้กับไทย
โฆษกของฝ่ายกิจการต่างประเทศแคนาดา(GAC: Global Affairs Canada) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลแคนาดาที่ดูแลด้านความสัมพันธ์และการค้าระหว่างประเทศ ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวชนิดของยุทโธปกรณ์ที่ระงับการขายให้ไทย แต่กล่าวว่ามูลค่าวงเงินการขายนั้นมีจำนวน "พอประมาณ"
โฆษกแคนาดาได้ชี้ให้เห็นว่าการระงับการขายนี้ตัดสินใจบนพื้นฐานแบบกรณีต่อกรณี(Case by Case) และนั่นเป็นการตอบสนองต่อข้อกังวลของแคนาดา เกี่ยวกับรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทยที่สูงขึ้น นับตั้งแต่ไทยมีปัญหาภายประเทศตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา

Canadair CL-215 Royal Thai Navy

อุตสาหกรรมด้านความมั่นคงของแคนาดาส่วนใหญ่จะเป็นฐานการผลิตย่อยในเครือบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงนานาชาติ เช่น General Dynamics Land Systems Canada , Pratt & Whitney Canada, Bell Helicopter Canada, Bombardier Aerospace และอื่นๆ
ซึ่งนอกจากโครงการจัดหายานเกราะล้อยาง 8x8 กองทัพบกไทยในอดีตช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๑(1997-1998) ที่แคนาดาได้ส่งรถหุ้มเกราะล้อยาง LAV III เข้ามาแข่งขันและได้รับคะแนนเป็นอันดับ๑ แต่ก็ไม่ได้มีการจัดหาจนถึงการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ยูเครนในปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008)
หรือเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก CL-215 ที่มีประจำการในกองทัพเรือไทยมานาน หรืออาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ ADATS ของ Oerlikon Canada ที่มีประจำการในกองทัพอากาศไทยเช่นกันเป็นต้นนั้น ก็ไม่มีข่าวการจัดหายุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ระหว่างแคนาดากับไทยมากนัก
แต่เนื่องจากอาวุธยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์ทางทหารในปัจจุบันนั้นจะมีการใช้ชิ้นส่วนประกอบจากหลายแหล่ง ก็เป็นไปได้ว่าจะมีการจัดหายุทโธปกรณ์บางรายการของกองทัพไทยที่รัฐบาลแคนาดาระงับการขายระบบของตนให้กับไทยครับ

DCNS ฝรั่งเศสจะลงนามสัญญาโครงการจัดหาเรือดำน้ำกองทัพเรือออสเตรเลียเพิ่มเติมภายในปี 2017

DCNS to Sign Next $36B Australian Future Sub Program Contract in Fall
Paris – DCNS expects to sign the next Australian contract on the AU $50 billion (US $36 billion) Future Submarine Program in fall 2017, covering further design work on the planned attack boats, the French naval shipbuilder said Tuesday.
http://www.defensenews.com/articles/dcns-to-sign-next-36b-australian-future-submarine-program-contract-in-fall

The Shortfin Barracuda Block 1A(dcnsgroup.com.au/futuresubmarines/barracuda.php)

บริษัท DCNS ฝรั่งเศสแถลงเมื่อวันที่ 20 ธันวาคมว่าบริษัทคาดว่าจะสามารถลงนามโครงการจัดหาเรือดำน้ำในอนาคตของกองทัพเรือออสเตรเลียวงเงิน A$ 50 billion($36 billion) ภายในปี 2017 ครอบคลุมงานออกแบบเพิ่มเติมตามแผนการสร้างเรือดำน้ำโจมตีที่วางไว้
"สัญญาต่อไประหว่าง DCNS และรัฐบาลออสเตรเลียควรจะถูกลงนามในฤดูใบไม้ร่วงปีหน้า มันจะเป็นข้อตกลงว่าด้วยการศึกษาที่สมบูรณ์และแนวคิดการออกแบบของเรือดำน้ำแห่งอนาคต" DCNS กล่าวในการแถลง โดยคาดว่าจะมีอีกหลายสัญญาระหว่าง DCNS และออสเตรเลียตามมา

การสร้างเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าลำแรกจาก 12ลำมีกำหนดจะเริ่มขึ้นในปี 2020 กำหนดตารางเวลาสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการเตรียมงานของทีมออสเตรเลียที่จะดำเนินการได้ในปี 2020
โรงงานของ DCNS ใน Adelaide รัฐ South Australia จะดำเนินงานได้ในต้นปีหน้าและจะสนับสนุนการถ่ายทอด Technology จากฝรั่งเศส พัฒนาผู้รับงานของออสเตรเลีย และออกแบบอู่ต่อเรือใน Adelaide ใหม่
"โรงงานและแรงงานท้องถิ่น Adelaide ของเราจะเริ่มต้นที่ 50คนในปี 2017 เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ของเราในฐานะส่วนหนึ่งของชุมชน" Herve Guillou ประธานและผู้บริหาร DCNS กล่าวในพิธีก่อตั้งโรงงานที่ Adelaide
DCNS เน้นย้ำในพิธีเปิดอู่ต่อเรือที่ Adelaide ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหมออสเตรเลียและรัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศสได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลร่วมกัน
"ข้อตกลงนี้ถือเป็นก้าวที่สำคัญในความสัมพันธ์ทวิภาคีอันลึกซึ้งของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความร่วมมือการปฏิบัติการระหว่างกองทัพเรือทั้งสองของเรา และการลงทุนในการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี" Jean-Yves Le Drian รัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศสกล่าวในการแถลง

โดยรัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศสย้ำว่าการเยือนอ่าวเมือง Sydney ออสเตรเลียของเรือพหุภารกิจ(Multi-Mission Ship เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง)ใหม่ของกองทัพเรือฝรั่งเศสชั้น Batiment คือ A621 D’Entrecasteaux นั้นเป็นการแสดงการสะท้อนถึงความร่วมมือการปฏิบัติการร่วมกัน
A621 D’Entrecasteaux เป็นเรือลำแรกของเรือชั้น Batiment มีฐานที่ Noumea ใน New Caledonia ถูกออกแบบมาสำหรับลาดตระเวนตรวจการณ์ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะพื้นที่ 1.36ล้านตารางกิโลเมตรในแปซิฟิก
"ข้อตกลงนี้ถูกตั้งขึ้นเป็นกรอบการทำงานเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลฝรั่งเศสและออสเตรเลียที่จำเป็นสำหรับการพัฒนากองเรือดำน้ำอนาคตของกองทัพเรือออสเตรเลีย" รัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศสกล่าวในการแถลง

วันที่ 30 กันยายน DCNS ได้รับสัญญากรอบการทำงานของเรือดำน้ำแบบ Barracuda Shortfin 1A ซึ่งรวมถึงการออกแบบขั้นต้น, การร่วมงานกับ Lockheed Martin และสร้างโครงสร้างพื้นฐานของอู่ต่อเรือในออสเตรเลีย
ซึ่ง Lockheed Martin สหรัฐฯจะเป็นผู้จัดหาระบบอำนวยการรบบูรณาการให้กับเรือดำน้ำอนาคตใหม่ของกองทัพเรืออสเตรเลียครับ

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กองทัพบกอังกฤษจะจัดตั้งกองพลน้อยจู่โจมหน่วยแรกโดยตัดลดกำลังรถถังหลักลงจำนวนมาก

British Army to form first strike brigade, cut MBT numbers
The British Army is to lose one of its three Challenger 2 regiments under plans announced on 15 December to create the new 'Strike Brigade' concept Source: Crown Copyright
http://www.janes.com/article/66333/british-army-to-form-first-strike-brigade-cut-mbt-numbers

แถลงการของรัฐสภาอังกฤษโดยรัฐมนตรีกลาโหมอังกฤษ นาย Michael Fallon มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า
กองทัพบกสหราชอาณาจักรกำลังจะจัดตั้งกลุ่มรบทดลองเพื่อทดสอบแนวคิดการปฏิบัติการรูปแบบใหม่คือ 'กองพลน้อยจู่โจม'(Strike Brigades) และจะนำรถหุ้มเกราะสายพานตระกูล Ajax ของบริษัท General Dynamics สาขาสหราชอาณาจักร เข้าประจำการ
อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวนี้จะทำให้กองทักบกอังกฤษสูญเสียกรมรถถังหลัก Challenger 2 ไปหนึ่งกรมจากสามกรมที่มีในปัจจุบัน โดยหน่วยจะถูกแปรสภาพเปลี่ยนไปใช้รถเกราะสายพาน Ajax แทน

ภายใต้สิ่งที่รัฐมนตรีกลาโหม Fallon เรียกว่าขั้นตอน 'การปรับแต่งกองทัพ 2020' กองพันทหารราบสี่กองพันจะกลายมาเป็นหน่วยให้คำปรึกษาเป็นการเฉพาะสำหรับกลุ่มรบทดลองนี้
เขายังกล่าวอีกว่ากำลังสำรองของกองทัพใหม่ที่ประกอบด้วยกองพันทหารราบสองกองพัน และกรมเก็บกู้วัตถุระเบิด(EOD: explosive ordnance disposal) จะถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2017
"การพิจารณายุทธศาสตร์กลาโหมและความมั่นคง(SDSR: Strategic Defence and Security Review) มีนัยสำคัญในการเพิ่มระดับความพร้อมรบที่จำป็นของกองทัพ ส่งเสริมโดยการลงทุนในขีดความสามารถใหม่และกองพลเพื่อการรบในสงครามใหม่ ที่เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังร่วม 2025"
นาย Fallon กล่าวในการเขียนการประกาศแถลงการคำสั่งรัฐมนตรีซึ่งเป็นการเริ่มต้นโครงการกองพลน้อยจู่โจม

กลุ่มรบการทดลองจู่โจม(Strike Experimentation Group) มีแผนที่จะจัดตั้งขึ้นที่ Warminster ในปี 2017 และแหล่งข้อมูลในกองทัพอังกฤษกล่าวว่า หน่วยที่ดูเหมือน่าจะถูกโอนย้ายไปเข้าสู่กองพลน้อยจู่โจมหน่วยแรกน่าจะเป็นภายในสิ้นทศวรรษนี้
กองพลน้อยจู่โจมที่1 จะประกอบด้วยสองหน่วยที่มีรถเกราะสายพาน Ajax ในอัตราจัดคือ กรมทหารม้า Household และกรมทหารม้าหลวง King's Royal Hussars ที่ปัจจุบันมีรถถังหลัก Challenger 2 ประจำการในหน่วย
กองพันที่1 กรมทหารรักษาพระองค์ Scots Guards and The Highlanders, กองพันที่4 กรมทหารหลวง Royal Regiment of Scotland จะถูกบรรจุในกองพลน้อยด้วยรถหุ้มเกราะล้อยาง MIV(Mechanised Infantry Vehicle) 8x8 ในอัตราจัด

กลุ่มรบใหม่นี้จะบัญชาการกองพันทหารราบเฉพาะพิเศษใหม่ซึ่งถูกอุทิศให้เป็นหน่วยให้คำปรึกษาที่จะถูกจัดตั้งขึ้นที่ York ในปี 2017 ก่อนจะย้ายไป Aldershot ในปี 2020
ประกอบไปด้วย กองพันที่1 กรมทหารหลวง Scotland, กองพันที่4 กรมทหารราบ The Rifles, กองพันที่2 กรมทหารหลวง The Princess of Wales และกองพันที่2 กรม The Duke of Lancaster ครับ

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

BAE Systems เปิดตัวรถหุ้มเกราะสายพาน AMPV ต้นแบบสำหรับกองทัพบกสหรัฐฯ

BAE Systems rolls out first AMPV prototype for US Army
An AMPV in the medical evacuation role is shown here with the higher roof line for greater internal volume, explosive reactive armour package, and roof-mounted protected weapon station. Source: IHS/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/66301/bae-systems-rolls-out-first-ampv-prototype-for-us-army

15 ธันวาคมที่ผ่านมา BAE Systems สาขาสหรัฐฯได้ทำพิธีเปิดตัวรถต้นแบบคันแรกของรถหุ้มเกราะเอนกประสงค์ AMPV(Armored Multi-Purpose Vehicle) ที่โรงงานของบริษัทใน York มลรัฐ Pennsylvania
"การส่งมอบชุดรถต้นแบบจะมีต่อเนื่องไปจนถึงปี 2017 และการทดสอบการพัฒนาจะดำเนินไปจนถึงปี 2018" BAE Systems กล่าวในแถลงการ

ในเดือนธันวาคม 2014 บริษัท BAE Systems ได้รับสัญญาระยะเวลา 52เดือนซึ่งครอบคลุมขั้นตอนการพัฒนาทางวิศวกรรมและการผลิต(EMD: Engineering and Manufacturing Development) และสายการผลิตระดับต่ำ(LRIP: Low-Rate Initial Production) ของรถเกราะสายพาน AMPV
ในขั้น EMD รถเกราะ AMPV ทั้งหมด 29คันซึ่งแบ่งเป็น 5รุ่นย่อยจะถูกส่งมอบ สัญญาในขั้นสายการผลิตระดับต่ำจะครอบคลุมรถ 289คัน และภายใต้แผนปัจจุบันคาดว่าจะมีการผลิตรถเกราะ AMPV ใน 5รุ่นรวม 2,907คัน
ซึ่งรถเกราะสายพาน AMPV ทั้ง 5รุ่นจะนำมาทดแทนรถสายพานลำเลียงตระกูล M113A3 ที่ยังคงประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯ ทั้งรถบรรทุกเครื่องยิงลูกระเบิด 120mm, รถเกราะที่บังคับการ, รถเกราะส่งกลับสายแพทย์, รถเกราะพยาบาล, และรถเกราะเอนกประสงค์
รถเกราะสายพาน AMPV มีพื้นฐานจากการปรับปรุงรถแคร่ฐานของรถรบทหารราบ M2 Bradley IFV(Infantry Fighting Vehicle) โดยถอดส่วนป้อมปืนออกและดัดแปลงเพื่อรองรับแต่ละภารกิจโดยเฉพาะ

ตามที่ James Miller ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของแผนกรถรบ BAE Systems กล่าวว่า "AMPV จะมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่และการป้องกันในระดับเดียวกับ M2 Bradley ซึ่งมันถูกออกแบบให้ปฏิบัติการร่วมกัน"
รถรบทหารราบ M2 Bradley IFV และรถรบทหารม้า M3 Bradley CFV(Cavalry Fighting Vehicle) จำนวนประมาณ 2,000คันที่ถูกเก็บไว้จะถูกนำมาใช้เป็นรถเกราะ AMPV โดยรถเกราะ AMPV บางรุ่นส่วนมากตัวถังจะถูกยกด้านหลังพลขับและส่วนเครื่องยนต์ที่ด้านหน้าเพื่อเพิ่มพื้นที่ภายในให้มากขึ้นครับ

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Diehl เยอรมนีพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถี IRIS-T ให้เพิ่มขีดความสามารถการโจมตีอากาศสู่พื้น

Diehl develops air-to-surface capability for IRIS-T AAM
A RNoAF F-16AM prepares to fire an air-to-surface variant of the Diehl BGT Defence IRIS-T AAM over Norway in September 2016. Source: Diehl BGT Defence
http://www.janes.com/article/66304/diehl-develops-air-to-surface-capability-for-iris-t-aam

กองทัพอากาศนอร์เวย์ได้ทดสอบขีดความสามารถใหม่ของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Diehl BGT Defence เยอรมนีในการยิงเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น
การพิสูจน์แนวคิดการทดสอบยิงเป็นการตรวจจับเป้าหมาย, ติดตามเป้า และโจมตีเป้าหมายเรือเร็วโจมตีขนาดเล็ก ซึ่งทดสอบในนอร์เวย์เมื่อเดือนกันยายน 2016 ซึ่งอาวุธปล่อยนำวิถี IRIS-T ถูกติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ F-16AM กองทัพอากาศนอร์เวย์

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มอุตสาหกรรม 6ชาติที่นำโดยบริษัท Diehl BGT Defence เยอรมนี ถูกออกแบบมาเพื่อทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศตระกูล AIM-9 Sidewinder ซึ่งประจำการมาเป็นเวลานาน
ซึ่ง IRIS-T ได้มีการส่งมอบเข้าประจำการในชาติที่ร่วมโครงการพัฒนาคือ เยอรมนี, กรีซ, อิตาลี, นอร์เวย์ สวีเดน และสเปน ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2005 จากนั้นก็สามารถส่งออกเข้าประจำการในหลายประเทศทั้ง ออสเตรีย, แอฟริกาใต้, ซาอุดิอาระเบีย, และไทย
IRIS-T สามารถติดตั้งกับอากาศยานรบได้หลายแบบ เช่น AMX International AMX, Boeing F/A-18, Eurofighter Typhoon, Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon, Panavia Tornado และ Saab JAS-39 Gripen

IRIS-T เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ที่มีความคล่องแคล่วสูง ใช้ระบบตรวจจับ Imaging Infrared (IIR) แบบโจมตีเป้าหมายได้ทุกมุม(All Aspect) ใช้ระบบขับเคลื่อนเชื้อเพลิงแข็ง Nammo
IRIS-T มีขนาดและจุดศูนย์ถ่วงคล้ายคลึงกับ AIM-9L/M Sidewinder คือยาว 2.94m เส้นผ่าศูนย์กลาง 127m มีครีบปีกพื้นผิวควบคุมการบิน 350mm และมีน้ำหนักรวม 89kg
ติดตั้งหัวรบระเบิดแรงสูงแตกสะเก็ด(High-Explosive Fragmentation)หนัก 11.4kg พร้อมชนวนเฉียดระเบิดโดยใช้ Radar ช่วย
มีขีดความสามารถยิงแบบตรวจจับเป้าก่อนแล้วยิง(LOBL: Lock-On Before Launch) และยิงก่อนแล้วตรวจจับเป้าภายหลัง(LOAB: Lock-On After Launch) มีระยะโจมตีเป้าหมายไกลสุดถึง 13.5nmi(25km)

ตามที่โฆษกของบริษัทให้ข้อมูลกับ Jane's ขีดความสามาาถด้านการยิงเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นสามารถใช้ชุดจรวด IRIS-T มาตรฐานทั้งหัวรบและระบบนำวิถี IIR เดิมโดยเพียงแต่ปรับปรุงในส่วนชุดคำสั่งเพิ่มเติมใหม่ในการเพิ่มขีดความสามารถโจมตีภาคพื้นดินเท่านั้น
อย่างไรก็ตามนอกจากแผนการทดสอบกับ F-16 แล้วขณะนี้ยังไม่มีแผนที่จะทดสอบขีดความสามารถการยิงอากาศสู่พื้นใหม่นี้กับอากาศยานแบบอื่นที่ติดตั้ง IRIS-T ได้ครับ

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กองทัพอากาศพม่าทำพิธีเข้าประจำการเฮลิคอปเตอร์ H120 และเครื่องบินลำเลียง Beechcraft 1900 ใหม่


69th Year ceremony of Myanmar Air Force commissioned Beechcraft 1900 and Airbus Helicopters H120(Eurocopter EC120)
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1155215237867778&id=210114122377899
https://www.facebook.com/pages/Myanmar-Defence-Weapons/210114122377899

วันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ ฐานทัพอากาศ Meiktila ซึ่งเป็นวันครบรอบการก่อตั้งกองทัพอากาศพม่า(Tatmadaw Lay) ครบรอบปีที่69 พลเอกรองอาวุโส(Vice Senior General) Soe Win รองผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่าได้เป็นประธานในพิธีรับมอบอากาศยานใหม่เข้าประจำการในกองทัพอากาศพม่า
โดยในพิธีมีการจัดแสดงอากาศยานใหม่คือเครื่องบินลำเลียง Beechcraft 1900D สหรัฐฯจำนวน 4เครื่อง ซึ่งก่อนหน้านี้กองทัพอากาศพม่าได้เคยจัดหา Beechcraft 1900D เข้าประจำการแล้ว 2เครื่องในปี 2015
อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศพม่าได้สูญเสียเครื่องบินลำเลียง Beechcraft 1900D 1เครื่องจากอุบัติเหตุตกที่นครหลวง Nay Pyi Taw ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 5นายเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2016 ขณะทำภารกิจส่งกำลังบำรุงและช่วยผู้ประสบภัยหนาว


อากาศยานอีกแบบที่เข้าประจำการในวันเดียวกันคือเฮลิคอปเตอร์ Airbus Helicopters H120 หรือเดิมคือ Eurocopter EC120B Colibri ฝรั่งเศสจำนวน 4เครื่อง ซึ่งน่าจะเป็นเครื่องชุดแรกของกองทัพอากาศพม่าที่จัดหาล่าสุด
H120 หรือเดิมคือ EC120 เป็นเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงเบา ติดตั้งเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ Turbomeca Arrius 2F กำลัง 504HP 1เครื่อง มีความเร็วเดินทาง 120knots พิสัยทำการ 383nmi นักบินประจำเครื่อง 1-2นาย ผู้โดยสาร 4นาย
ซึ่งจีนได้ซื้อสิทธิบัตรการผลิต ฮ.H120 ในประเทศในชื่อ Harbin HC120 ตั้งแต่ปี 2004 เข้าประจำการในกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนและกองกำลังตำรวจจีน
โดยในกลุ่มประเทศ ASEAN นอกจากกองทัพอากาศพม่าแล้ว ฮ.EC120 ยังมีประจำการในกองทัพอากาศมาเลเซีย, กองทัพอากาศสิงคโปร์ และกองทัพอากาศอินโดนีเซียครับ

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สหรัฐอนุมัติความเป็นไปได้ในการขาย Radar Sea Giraffe สำหรับปรับปรุงเรือตัดน้ำแข็งชั้น Hamilton ฟิลิปปินส์

The Philippines – AN/SPS-77 Sea Giraffe 3D Air Search Radars
http://www.dsca.mil/major-arms-sales/philippines-ansps-77-sea-giraffe-3d-air-search-radars

Philippine Navy frigate FF-15 BRP Gregorio del Pilar (ex-WHEC-715 USCGC Hamilton US Coast Guard Hamilton class cutter) exercise CARAT 2013(wikipedia.org)

ตามเอกสารของสำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ (DCSA: Defense Security Cooperation Agency) ที่ประกาศเมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมาระบุว่า
รัฐบาลสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขาย Radar ตรวจการณ์ทางอากาศสามมิติแบบ AN/SPS-77 Sea Giraffe พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนและการฝึกให้รัฐบาลฟิลิปปินส์วงเงิน $25 million
ซึ่ง DCSA ได้ยื่นข้อเสนอนี้ให้สภา Congress อนุมัติการรับรองความเป็นไปได้ในการขายเมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา

กองทัพเรือฟิลิปปินส์มีความต้องการเพิ่มขีดความสามารถการหยั่งรู้อาณาเขตทางทะเล(MDA: Maritime Domain Awarenes) ของตนในการลาดตระเวนตรวจการณ์ในน่านน้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะ(EEZ: Exclusive Economic Zones) ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯให้ความสำคัญต่อฟิลิปปินส์ในกรณีนี้
Radar ตรวจการณ์ทางอากาศสามมิติ AN/SPS-77 Sea Giraffe จะถูกนำไปติดตั้งเพื่อปรับปรุงเรือฟริเกตชั้น Gregorio del Pilar กองทัพเรือฟิลิปปินส์ 2ลำแรกซึ่งเดิมคือเรือตัดน้ำแข็งชั้น Hamilton ของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯซึ่งได้ส่งมอบให้ฟิลิปปินส์ตามโครงการ EDA(Excess Defense Articles)แล้ว 3ลำคือ
FF-15 BRP Gregorio del Pilar(WHEC-715 USCGC Hamilton) เข้าประจำการเมื่อเดือนธันวาคม 2011, FF-16 BRP Ramon Alcaraz(WHEC-716 USCGC Dallas) เข้าประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2013 และ FF-17 BRP Andres Bonifacio(WHEC-719 USCGC Boutwell) ซึ่งเพิ่งเดินทางถึงฟิลิปปินส์เมื่อ 9 ธันวาคมที่ผ่านมาโดยมีกำหนดเข้าประจำการในปี 2017

Sea GIRAFFE 3 D radar on Polish Corvette(wikipedia.org)

SEA GIRAFFE AMB เป็น Radar ตรวจการณ์ทางอากาศสามมิติซึ่งพัฒนาโดยบริษัท SAAB สวีเดน โดย Radar AN/SPS-77 SEA GIRAFFE เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯโดยติดตั้งบนเรือ LCS(Littoral Combat Ship) ชั้น Independence
Sea Giraffe เป็น 3D Phase Array Radar ทำงานย่านความถี่ C-band มุมตรวจจับมากกว่า 70องศา หมุนที่ความเร็ว 60รอบต่อนาที มีขีดความสามารถในการตรงจับเป้าหมายทางอากาศและเป้าหมายผิวน้ำในระยะ 180km ครอบคลุมความสูงถึง 20,000m
ซึ่งเรือฟริเกตชั้น Gregorio del Pilar หรือเรือตัดน้ำแข็งชั้น Hamilton เดิมที่กองทัพเรือฟิลิปปินส์จัดหาไปนั้นเป็นเรือเก่าที่สร้างมาตั้งแต่ปี 1960s ซึ่งยังขาดขีดความสามารถด้านอุปกรณ์ตรวจจับที่ทันสมัยครับ

รัสเซียจะส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35 ให้จีนชุดแรกในเดือนธันวาคม 2016

Russia to provide first batch of Sukhoi-35 jets to China by mid December — source
Originally the deliveries were to begin as of next year, but eventually a decision was made to speed up the process
http://tass.com/defense/919313

แหล่งข่าวในภาคส่วนระบบความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหารกับต่างประเทศของรัสเซียให้ข้อมูลกับ TASS ว่า
รัสเซียจะส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35 ชุดแรกจำนวน 4เครื่องให้จีนภายในวันที่ 25 ธันวาคม 2016 ที่จะถึงนี้ "Su-35 ชุดแรก 4เครื่องจะบินไปยังจีนในวันที่ 25 ธันวาคม" แหล่งข่าวกล่าว
ตามแผนเดิมการส่งมอบจะมีขึ้นในปีหน้า(2017) แต่จากการตัดสินในท้ายที่สุดว่าจะเร่งกระบวนการทำงานให้เร็วขึ้นทำให้การจัดส่ง Su-35 ของจีนชุดแรกจะเป็นภายในช่วงวันสุดท้ายของปี 2016 นี้

เมื่อเดือนพฤศจิกายนรองหัวหน้าฝ่ายบริการความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหารของสหพันธรัฐรัสเซีย Vladimir Drozhzhov ได้ให้ข้อมูลกับ TASS ว่า รัสเซียได้เริ่มต้นการทำหน้าที่ตามภาระสัญญาในระยะแรกต่อการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 ให้จีน
โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2015 รัสเซียและจีนได้ลงนามข้อตกลงร่วมกันในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 จำนวน 24เครื่องวงเงิน $2 billion ซึ่งรัสเซียจะยังส่งมอบอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดินและเครื่องยนต์อะไหล่ให้จีนด้วย
ตามที่แหล่งข่าวในระบบความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหารให้ข้อมูลกับ TASS ก่อนหน้านี้ สัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในระยะเวลา 3ปี
รัฐบาลท้องถิ่นของเขตพื้นที่ Khabarovsk ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานอากาศยาน Komsomolsk-on-Amur(ซึ่งเป็นสถานที่ผลิต Su-35) ได้เคยกล่าวก่อนหน้านี้ว่า Su-35 ชุดแรก 4เครื่องจะถูกส่งมอบให้จีนภายในสิ้นปีนี้
ซึ่งขัดแย้งกับที่ Sergey Chemezov ประธานของ Rostec กลุ่มเครืออุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียให้ข้อมูลว่าจะไม่มี Su-35 ส่งมอบให้จีนภายในปี 2016 นี้

Sukhoi Su-35 เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4.75(4++) ซึ่งมีความคล่องตัวสูง ติดตั้งเครื่องยนต์แบบปรับทิศทางแรงขับได้(Thrust Vector Control Engine) และระบบตรวจับที่ทันสมัยเช่น Passive Phased Array Radar แบบ Irbis-E
Su-35 สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 2,500km/h หรือมากกว่า 2 Mach มีพิสัยการบินไกลถึง 3,400km โดยไม่จำเป็นต้องเติมเชื้อเพลิงใหม่ และมีรัศมีการรบ 1,600km
Su-35 ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ GSh-301 30mm ความจุกระสุน 150นัด และมีตำบลอาวุธ 12จุดสามารถติดตั้งระเบิดธรรมดาและระเบิดนำวิถี, จรวดธรรมดาและจรวดนำวิถี, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศและอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นได้หลายแบบ

ปัจจุบันกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) และกองบินกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLANAF: People's Liberation Army Naval Air Force) สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ตระกูล Su-27 (NATO กำหนดรหัส Flanker) เป็นจำนวนมากรองจากกองทัพอากาศรัสเซียและกองทัพเรือรัสเซีย
ทั้ง Su-27SK และ Su-30MKK และ Su-30MK2 ที่จัดหาจากรัสเซีย และเครื่องที่จีนได้รับสิทธิบัตรการผลิตจากรัสเซียในประเทศและที่จีนปรับปรุงพัฒนาเองทั้ง Shenyang J-11, J-11B, J-15 และ J-16
ทำให้เกิดข้อกังวลว่าการที่จีนจัดหา Su-35 จากรัสเซียเพราะต้องการทำวิศวกรรมย้อนกลับลอกแบบ Technology ขั้นสูงของรัสเซียโดยเฉพาะเครื่องยนต์ Saturn 117S(AL-41F1S) ซึ่งจีนต้องการจัดหาเครื่องยนต์อะไหล่เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามทางรัสเซียยืนยันว่าสัญญาการจัดหา Su-35 ให้จีนในครั้งนี้จะมีการข้อกำหนดและการตรวจสอบที่รัดกุม เพื่อไม่ให้จีนนำเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ของรัสเซียไปลอกแบบโดยไม่ได้รับอนุญาตครับ

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรืออียิปต์รับมอบเรือดำน้ำ Type 209/1400 ลำแรกจากเยอรมนี

Egypt takes delivery of first Type 209 submarine
http://www.janes.com/article/66179/egypt-takes-delivery-of-first-type-209-submarine







https://www.facebook.com/EgyptMilitary/posts/1031898630255939
https://www.facebook.com/EgyptMilitary

วันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา กองทัพเรืออียิปต์ได้ทำพิธีรับมอบเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแบบ Type 209/1400 ลำแรกที่อู่ต่อเรือบริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) ที่ Kiel เยอรมนี
โดยเรือดำน้ำ U209/1400 สองลำแรกของกองทัพเรืออียิปต์ที่ปล่อยลงน้ำแล้วคือ S41 ที่ทำพิธีรับมอบในวันนี้และลำที่สองคือ S42 ที่มีพิธีตั้งชื่อเรือในวันเดียวกันจะมีพิธีรับมอบตามมาภายหลังในปีหน้า

กองทัพเรืออียิปต์ได้สั่งจัดหาเรือดำน้ำแบบ Type 209/1400mod จำนวน 2ลำในปี 2011 และสั่งจัดหาเพิ่มอีก 2ลำในปี 2014 รวมทั้งหมด 4ลำจากบริษัท TKMS เยอรมนี
ซึ่งเรือดำน้ำ U209/1400mod 2ลำแรกของกองทัพเรืออียิปต์นั้นได้มีการปล่อยลงน้ำและทำการทดลองเรือในทะเลตั้งแต่ปี 2015-2016 ส่วนเรือ 2ลำหลังกำลังอยู่ระหว่างการสร้าง

กองทัพอียิปต์ยืนยันว่าเรือดำน้ำ Type 209/1400mod ของตนนั้นมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธประจำเรือทั้ง Torpedo หนักขนาด 533mm แบบ DM2A4 Seahake Mod4 และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากใต้น้ำ UGM-84L Harpoon Block II
โดยเรือดำน้ำ U209/1400 นั้นมีความยาวเรือประมาณ 61.2m ระวางขับน้ำขณะดำใต้น้ำ 1,586tons มีท่อยิง Torpedo 8ท่อ บรรทุก Torpedo ไปกับเรือได้ 14นัด มีกำลังพลประจำเรือประมาณ 30นายครับ