วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๕๘

ช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมาซึ่งเป็นเดือนที่สามของปีงบประมาณ ๒๕๕๙ และเดือนสุดท้ายของปี ๒๕๕๘ ก็มีข่าวการดำเนินงานโครงการจัดหาของกองทัพอากาศและเหล่าทัพอื่นบางส่วนครับ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1097525756953739&set=a.259477600758563.72536.100000889756312
https://www.facebook.com/natee.sukjaroen

ในส่วนของกองทัพอากาศไทยนั้นมีความคืบหน้าของโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑
คือตามภาพที่ลงในข้างต้นที่การเผยแพร่ในช่วงกลางเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ นั้นเป็นภาพ บ.ข.๑๘ค F-5F หมายเลข 21104 ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ ที่มีข้อสังเกตว่าปลายหัวเครื่องดูยาวขึ้น ทำให้มีการวิเคราะห์ว่าอาจจะได้รับการติดตั้ง Radar ใหม่

สำหรับ F-5E/F Shark Nose (หัวแบน) ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ F-5E/F ฝูงที่สองของกองทัพอากาศไทยนั้นตลอดระยะเวลาที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔(1981) หรือ ๓๕ปี ก็ได้ผ่านการปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นมาแล้วสามครั้ง
ครั้งแรกปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988) ปรับปรุงติดตั้งจอภาพตรงหน้าและศูนย์เล็งอาวุธ HUD/WAC(Head-Up Display/Weapon Aiming Computer) จาก GEC Marconi,ระบบเป้าลวง AN/ALE-40 และระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับ AN/ALR-46 RWR(Radar Warning Receiver)
พร้อมขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Python-3 ของ Rafael อิสราเอล และกระเปาะปืนใหญ่อากาศ GPU-5 ขนาด 30mm ตั้งแต่ยังประจำการที่ ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ และย้ายฝูงไปประจำการที่ ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994)


(จำไม่ได้ว่าบันทึกมาจากแหล่งใด ขออภัยด้วยครับ)

ครั้งที่สองปี พ.ศ.๒๕๔๕(2002) คือโครงการ F-5T Tigris โดยบริษัท Elbit อิสราเอลเป็นการปรับปรุงใหญ่ของเครื่องบินขับไล่ F-5E/F ๑๘เครื่อง ที่ประจำการใน ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑
โดยเปลี่ยนห้องนักบินติดตั้งจอแสดงผล MFD(Multi-Function Display) หมวกนักบินติดจอแสดงผลศูนย์เล็ง DASH(Display And Sight Helmet) และระบบคันบังคับ HOTAS(Hands On Throttle-And-Stick)
ระบบอาวุธเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Python-4 แต่อย่างไรก็ตามโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5E/F ที่ผ่านมาไม่ได้มีการเปลี่ยน Radar แบบ AN/APQ-159 เป็น Radar รุ่นใหม่เช่น AN/APG-69 ที่เดิมมีการวางแผนไว้แต่อย่างใด

และครั้งที่สามปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) ซึ่งเป็นครั้งล่าสุดนั้น แม้ว่าเอกสารของกองทัพอากาศที่ระบุโครงการปรับปรุง F-5E/F จำนวน ๑๐เครื่องวงเงิน ๒,๐๕๐ล้านบาทนั้น จะระบุเพียงการปรับปรุงโครงสร้างเครื่องและระบบ Avionic
แต่จากแหล่งข้อมูลหลายแหล่งที่ระบุว่าบริษัท Elbit อิสราเอลเอลเป็นผู้รับสัญญาโครงการนั้น มีความเป็นไปได้ว่า F-5E/F ฝูงบิน๒๑๑ ที่ได้รับการปรับปรุงแล้วน่าจะติดตั้ง Radar แบบ Elta EL/M-2032 อิสราเอล
รวมถึงระบบ Avionic และระบบอาวุธใหม่เช่น หมวกนักบิน DASH IV รุ่นใหม่อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Python-5 และ Derby ซึ่งจะทำให้ F-5E/F มีขีดความสามารถในการรบทางอากาศนอกระยะสายตา(BVR: Beyond Visual Range)เป็นครั้งแรก

ซึ่งการปรับปรุง บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F นี่คงจะเป็นครั้งสุดท้ายเนื่องจากข้อจำกัดด้านโครงสร้างอายุการใช้งานและสายการผลิตอะไหล่ของเครื่อง
โดยจะทำให้อายุการใช้งานฝูงบิน F-5E/F กองทัพอากาศไทยอยู่ที่เฉลี่ยราวเกือบ ๔๕-๕๐ปี คืออาจจะยืดอายุการใช้งานจนรอเวลาปลดได้ถึงปี พ.ศ.๒๕๖๙-๒๕๗๔(2026-2031) เลยทีเดียวครับ

ด้านกำลังเครื่องบินลำเลียงนั้นหลังจากที่กองทัพอากาศไทยได้พิธีปลดประจำการ บ.ล.๙ Nomad ไปมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ ก็มีรายงานโครงการจัดหากลุ่มเครื่องบินลำเลียงใหม่อยู่สามโครงการหลักคือ

http://www.dae.mi.th/auction/egpdae/procurement/special/58126112024.pdf
โครงการจัดซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง จำนวน๒เครื่อง วงเงิน ๒๓๑ล้านบาท นี้ยังไม่ทราบว่าจะเป็นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีหรือเป็นเครื่องบินลำเลียงใช้งานทั่วไปหรืองานธุรการครับ
แต่งบประมาณโครงการที่ตั้งไว้ราว $6.388 Million หรือถ้าตัดค่าใช้จ่าด้านอะไหล่ อุปกรณ์ ระบบส่งกำลังบำรุง การฝึก และอื่นๆ ราคาเครื่องน่าจะอยู่ที่ไม่เกิน $3 million
โดยตามเอกสารสารนั้นระบุไว้ว่าเป็นราคาประมาณการที่ได้จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเตรียมการจัดหาของคณะกรรมการศึกษาและรวบรวมเตรียมการจัดหา บ.ลำเลียงขนาดกลาง ระยะที่๒
(ก็ไม่ทราบครับว่าจะเป็นเครื่องบินลำเลียงแบบใด แต่ทางกองทัพอากาศน่าจะศึกษาแบบหรือมีแบบที่เป็นตัวเลือกไว้แล้ว
โดยมีข้อสังเกตว่าในส่วนผู้กำหนดราคากลางนั้นมีเสนาธิการกองบิน๗ ร่วมด้วย จึงไม่แน่ใจว่าจะเป็นการจัดหา บ.ล.๑๗ SAAB 340B เพิ่ม หรือจะเป็นเครื่องบินลำเลียงแบบอื่น)

http://www.dae.mi.th/auction/egpdae/procurement/special/58126134793.pdf
โครงการจัดซื้อเครื่องบินรับ-ส่งบุคคลสำคัญ จำนวน ๑เครื่อง วงเงิน ๑,๖๐๒,๔๘๒,๐๐๐บาท เข้าประจำการที่ ฝูงบิน๖๐๓ กองบิน๖ เป็นอีกโครงการหนึ่งแยกต่างหากจากโครงการเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง

http://www.dae.mi.th/auction/egpdae/procurement/special/58126180439.pdf
และโครงการจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินลำเลียงขั้นต้น จำนวน ๔เครื่อง วงเงิน ๑๒๐ล้านบาท เข้าประจำการที่ ฝูงบิน๖๐๔ กองบิน๖
ตามเอกสารสารนั้นระบุไว้ว่าเป็นราคาประมาณการที่ได้จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเตรียมการจัดหาของคณะกรรมการศึกษาและรวบรวมเตรียมการจัดหา บ.ฝึกนักบินลำเลียงขั้นต้น ระยะที่๒
(ไม่แน่ใจว่าคือการจัดหา บ.ฝ.๒๐ DA42 เพิ่มหรือเป็นเครื่องบินฝึกแบบอื่น)

จะเห็นได้ว่าเป็นความคืบหน้าของโครงการจัดหาในส่วนกำลังเครื่องบินลำเลียงของกองทัพอากาศหลังจากที่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มีเครื่องบินลำเลียงรุ่นเก่าที่ใช้งานมานานต้องปลดประจำการลงไปหลายแบบครับ



อีกข่าวที่น่ายินดีคือโครงการผลิตอากาศยานไร้นักบินของกองทัพอากาศ จำนวน ๑๗เครื่อง วงเงิน ๕๗๙,๗๐๔,๖๐๐บาท ของ ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ
เข้าใจว่าน่าจะเป็น อากาศยานไร้นักบินต้นแบบประเภทยุทธวิธีขนาดกลาง บร.ทอ.๑ Tiger Shark II ซึ่งก็เป็นตามที่ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศที่เกี่ยวข้องในงาน Defense & Security 2015 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วว่า
กองทัพอากาศมีแผนจะจัดหา UAV มาประจำการในฝูงบิน๔๐๔ เพิ่มเติม เสริม Aerostar ที่มีอยู่ ๕เครื่อง โดย Tiger Shark II UAV ก็มีการทดสอบเครื่องต้นแบบไประยะหนึ่งจนเครื่องต้นแบบชุดแรกๆเลิกบินแล้ว
โดยล่าสุดมีข้อมูลว่ากำลังเริ่มการพัฒนาอากาศยานไร้นักบินรุ่นที่สาม Tiger Shark III แล้วครับ

HQ-9 after the 70th anniversary of the end of WWII parade held in Beijing.

ข่าวสุดท้ายในส่วนของกองทัพอากาศคือข่าวลือว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศที่จะจัหามาเป็นระบบป้องกันกองบินนั้น จะมีการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกลแบบ FD-2000 หรือ HQ-9 จากจีน
ซึ่งเดิมที่เคยมีข่าวว่ากองทัพอากาศสนใจจะจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ IRIS-T SLM/SLS ของ Diehl BGT Defence เยอรมนีเพื่อป้องกันกองบิน๗ เสริมการทำงานร่วมกับเครื่องขับไล่ Gripen
โดยตามข้อมูลข่าวลือการจัดหา FD-2000 นั้นจะจัดหามาสองระบบเพื่อให้แต่ระบบป้องกันกองบิน๑ หรือกองบิน๔ และกองบิน๗
แต่ทั้งนี้ข่าวนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันครับว่าจริงหรือไม่ โดยที่ผ่านมาจีนได้เสนอระบบป้องกันภัยทางอากาศ HQ-9 ให้ไทยพร้อมการถ่ายทอด Technology มาหลายปีแล้วครับ

SAAB Sea Gripen 3D CG concept

ส่วนของกองทัพเรือไทยนั้น นอกจากข่าวของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.มีแผนจะเปลี่ยนระบบอาวุธป้องกันฝั่งจากปืนใหญ่สนามเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำฐานยิงชายฝั่งตามที่เคยรายงานไปแล้วนั้น
ช่วงปลายเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ ก็มีอีกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข่าวที่ SAAB เสนอเครื่องบินขับไล่ Sea Gripen พร้อมการถ่ายทอด Technology นำไปปฏิบัติการร่วมกับเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรืออินเดียนั้น
นอกจากกองทัพเรือบราซิลซึ่ง SAAB มองว่าเป็นลูกค้ารายหนึ่งที่มีความเป็นไปได้แล้ว ทาง SAAB ยังมองว่ากองทัพเรือไทยยังเป็นลูกค้าที่มีความเป็นไปได้อีกรายด้วย
คำถามสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ที่ผ่านมาการให้ข้อมูลของทาง SAAB ต่อสื่อเกี่ยวกับการพัฒนา Sea Gripen นั้นประเทศที่ SAAB มองว่าเป็นลูกค้าที่เป็นไปได้สำหรับ Sea Gripen จะมีสามประเทศคือ บราซิล อินเดีย และไทยอยู่ในข่าวตลอด

A12 Sao Paulo Brazilian Navy with Sea Gripen Model (www.naval.com.br

บราซิลกับอินเดียนั้นพอเข้าใจได้ครับ เพราะกองทัพเรือบราซิลมีเรือบรรทุกเครื่องบินเบา A12 Sao Paulo ซึ่งเดิมคือเรือบรรทุกเครื่องบิน Foch ของกองทัพเรือฝรั่งเศส
ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือบราซิลมีแผนจะประจำการเรือ Sao Paulo ไปจนถึงปี 2039 ทำให้จำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินขับไล่ประจำเรือใหม่แทน AF-1 Skyhawk (A-4KU) ซึ่ง Sea Gripen เป็นตัวเลือกหนึ่ง ตามที่กองทัพอากาศบราซิลจะจัดหา Gripen E/F

ด้านกองทัพเรืออินเดียนั้นมีเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikramaditya ที่มี MiG-29K เป็นเครื่องบินขับไล่ประจำเรือ และเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant ลำใหม่ที่กำลังต่ออยู่ โดยมีแผนจะทำ Tejas Mk2 Navy ที่อินเดียพัฒนาเองมาเสริมด้วย
อย่างไรก็ตามเนื่องจากโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ Tejas นั้นล่าช้ามาก SAAB จึงเสนอ Gripen E/F ให้กองทัพอากาศอินเดียในโครงการเครื่องบินขับไล่ MMRCA ที่ตั้งใหม่ รวมถึง Sea Gripen สำหรับเป็นอีกทางเลือกในกรณีการพัฒนา Tejas Navy มีปัญหาล่าช้าด้วย

CVH-911 HTMS Chakri Naruebet Royal Thai Navy 2014
(จำไม่ได้ว่าบันทึกมาจากแหล่งใด ขออภัยด้วยครับ)

แต่สำหรับกองทัพเรือไทยแล้ว ร.ล.จักรีนฤเบศร จัดเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินประเภทเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งก็สงสัยมานานแล้วครับว่า
SAAB ไม่ทราบจริงๆหรือว่าเครื่องบินขับไล่ปีกตรึงที่ต้องขึ้นลงเรือบรรทุกเครื่องบินตามแบบไม่ว่าจะเป็นแบบ CATOBAR หรือ STOBAR เช่น F/A-18E/F Super Hornet, F-35C Lightning II CV, Rafale M, MiG-29K, Su-33, J-15 และ Sea Gripen นั้น
ไม่สามารถนำมาปฏิบัติการบนดาดฟ้า ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้?
เพราะอากาศยานที่จะปฏิบัติการบน ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้นั้นจะต้องเป็นอากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง เช่น อากาศยานปีกหมุน เฮลิคอปเตอร์ หรืออากาศปีกตรึงขึ้นลงทางดิ่ง อย่าง Harrier หรือ F-35B Lightning II STOVL เท่านั้น
ยกเว้นแต่ว่า SAAB จะมีแนวคิดแบบใหม่ที่จะทำให้เพียงปรับปรุง ร.ล.จักรีนฤเบศร เพียงบางส่วนก็จะสามารถนำ Sea Gripen มาปฏิบัติการได้ ซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นไปไม่ได้
และทางกองทัพเรือไทยเองก็ไม่น่าจะมีงบประมาณจัดหาเครื่องบินขับไล่ของตนเองด้วย
เพราะในการปรับปรุงกำลังทางเรือในส่วน ร.ล.จักรีนฤเบศร และเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ด้วยระบบอำนวยการรบ 9LV ล่าสุดก็จะใช้กำลัง Gripen C/D ของกองทัพอากาศไทยเชื่อมโยงทำการรบแบบเครือข่าย Datalink ครับ

การตรวจและประเมินผลการฝึกองค์บุคคลและองค์ยุทธวิธีกองเรือ กองบิน และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ กองการฝึก กองเรือยุทธการ จัดกำลังพลร่วมกับผู้แทนกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กองเรือยุทธการ 
เป็นชุดตรวจและประเมินผลการฝึกองค์บุคคลและองค์ยุทธวิธีกองเรือ กองบิน และ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ 
บน เรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งจอดเทียบท่า บริเวณท่าเทียบเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี


http://www.fleet.navy.mi.th/ftc/825.php

(แถมเรื่องนี้ยังกลายเป็นประเด็นนำมาวิจารณ์กองทัพเรือในสื่อต่างๆด้วย อันนี้เป็นการบ่นส่วนตัวท่านที่ไม่ต้องการอ่านกรุณาข้ามไปครับ

ผมว่ามีสำนักข่าวหลายแห่งที่ไม่ค่อยมีมาตรฐานในการทำข่าวด้านวิทยาการทางทหาร แค่แปลศัพท์เฉพาะทางทหารหรือระบุประเภทชื่อรุ่นยุทโธปกรณ์ยังผิดเพี้ยนไปมาก และบางที่มักจะมีการใส่ประเด็นแอบแฝงส่วนตัวอย่างไม่เหมาะสมต่อจรรยาบรรณของสื่อสารมวลชนอาชีพ
และที่แย่ไปกว่าอีกอย่างคือมีหลาย Page หลาย Group บน Facebook ที่เป็นกลุ่มการเมืองมักจะนำเอาข่าวหรือบทความใน Blog นี้ไปใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงทางการเมืองของกลุ่มตน
ซึ่งเป็นกรณีร้ายแรงที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของ Blog นี้ ที่ต้องการจะเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร Technology การทหาร โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองรวมถึงผลประโยชน์ใดๆที่จะสร้างปัญหาตามมาภายหลังด้วย

ที่จริงควรเป็นเรื่องที่จะต้องออกมาชี้แจงกันมานานแล้วครับ คือเรื่องการนำข่าวและบทความของ Blog นี้ไปเผยแพร่ที่อื่น โดยเฉพาะใน Webboard กับ Page หรือ Group บน Facebook
ว่ากันตามตรงช่วงหลายปีหลังมานี้ข่าวและบทความต่างๆใน Blog นี้ถูกนำไปคัดลอกลงไปเผยแพร่ใน Webboard และ Facebook เป็นจำนวนมาก 
ผมรู้เพราะ Blogspot และ Google จะมีการแจ้งข้อมูลแหล่งที่มาการเข้าชมอยู่

อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีดังกล่าวนี้ที่แย่ก็คือถึงแม้จะมีการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่ครอบคลุมเรื่องลิขสิทธิ์ของเจ้าของผลงานใน Internet แล้วก็ตาม
แต่ในความเป็นจริงยังมี Webboard และ Page หรือ Group บน Facebook จำนวนหนึ่งที่มักเอาข่าวหรือบทความใน Blog นี้ไปลงโดยไม่ให้ที่มาทั้งแหล่งข่าวต้นทางอ้างอิงเดิมและ Blog นี้แม้แต่ Link เดียว ซึ่งส่วนตัวไม่พอใจอย่างมาก 
ถึงส่วนใหญ่จะแปลข่าวและลงภาพที่มีที่มาจากต่างประเทศก็ตามเถอะ แต่ก็พยายามจะเสริมข้อมูลอธิบายเนื้อหาเสริมที่ไม่มีในข่าวด้วย แล้วมันก็ถูก"ขโมย"ไปลงแล้วเขียนอย่างกับว่าตัวเองเขียนเองแปลเองเสียเช่นนั้น

ผมทราบครับว่าคงจะมีทั้งผู้ที่อ่านและไม่ได้อ่านหัวข้อการบ่นนี้ 
และว่าไปตามตรงผมเองก็ไม่อำนาจใดๆที่จะไปห้ามการคัดลอกข่าวหรือบทความใน Blog นี้ไปลงทั้ง Facebook หรือ Webboard ที่ไหนๆก็ตาม รวมถึงวิจารณ์การทำงานของสื่อหลักๆในปัจจุบันด้วย
แต่อยากจะบอกให้ท่านที่ได้อ่านทราบว่า ผมไม่สบายใจอย่างมากต่อสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้มานานแล้วครับ)

ส่วนของกองทัพบกไทยนั้นก็มีความคืบหน้าการจัดหายุทโธปกรณ์บางส่วนครับ

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท. 
ประกาศราคากลางการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์พร้อมติดตั้งและถ่ายทอด Technology สำหรับโครงการปรับปรุงพัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120mmแบบอัตตาจรล้อยาง วงเงิน ๕๗๐.๒๒ ล้านบาท จากบริษัท Elbit Systems Land and C4I อิสราเอล


Elbit เองมี Soltam SPEAR ที่เป็นระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรขนาด 120mm ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุก 4x4 อยู่
ตรงนี้ก็เข้าใจว่าโครงการพัฒนาระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง 120mm ของ ศอว.ศอพท.กับ Elbit Systems ในข้างต้น ก็น่าจะเป็นระบบที่ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุก 4x4 อย่าง รยบ.๑/๔ตัน เช่น รยบ.๕๐ หรือ รยบ. ๑ ๑/๔ตัน HMMWV

ซึ่งในส่วนของกองร้อยเครื่องยิงลูกระเบิดหนัก กรมทหารราบ นั้นก็น่าจะใช้ รยบ.ในการลากจูง ค.120mm 
ส่วนรถเกราะติดเครื่องยิงลูกระเบิด 81mm BTR-3M1 และ รถเกราะติดเครื่องยิงลูกระเบิด 120mm BTR-3M2 ที่ประจำการใน กรมทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์
ก็น่าจะเป็นระบบรถหุ้มเกราะล้อยางติดเครื่องยิงลูกระเบิดอัตราจรแบบแรกๆที่กองทัพบกไทยจัดหาเข้าประจำการ

แต่ก็ไม่แน่ใจครับว่าระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง 120mm ที่จะจัดหาพร้อมการถ่ายทอด Technology จาก Elbit Systems นี้จะเป็นการจัดหาลงในหน่วยลักษณะใด
ทั้งนี้ก็จะเห็นได้ว่าในช่วงหลักมานี้ ศอว.ศอพท.มีความร่วมมือกับ Elbit Systems แล้วหลายโครงการเช่น โครงการปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATGM 155mm ที่ดำเนินการอยู่
อีกส่วนคือก็เพิ่งมีข่าวว่า DTI มีโครงการพัฒนาลูกระเบิดยิง 120mm แบบนำวิถีด้วย ตรงนี้ไม่ทราบว่าจะนำมาใช้ด้วยกันได้หรือไม่ครับ

(จำได้ว่าเมื่อปี ๒๕๕๖ บริษัทปรีชาถาวรอุตสาหกรรม มีการเปิดตัวระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง ขนาด 120mm บนรถยนต์บรรทุก 4x4 ขนาด ๑/๔ตัน สำหรับนาวิกโยธิน กองทัพเรือครับ

พิธีรับมอบ ฮ.ใช้งานทั่วไปแบบ 17 (Mi-17 V-5)
โดย ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบกเป็นประธานในพิธี วันที่ 11 ธ.ค.58 ณ โรงเก็บอากาศยานที่สอง กบท.ศบบ.

กองบินสนับสนุนทั่วไป ศูนย์การบินทหารบก ได้ทำพิธีรับมอบ ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 ชุดที่สอง จำนวน ๒เครื่องไปเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่งเมื่อรวมกับเครื่องชุดแรก ๓เครื่องทำให้ กทบ.ศบบ.มี ฮ.Mi-17V5 ประจำการรวม ๕เครื่องครับ


สุดท้ายในแง่ความคืบหน้าการจัดส่งรถถังหลัก Oplot จากยูเครนให้กองทัพบกไทยนั้นก็นับได้ว่าทาง Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงยูเครนไม่สามารถจะดำเนินการตามแผนที่สัญญาไว้ได้ครับ
เพราะตามแผนที่จะทำการผลิตรถถังหลัก Oplot ให้ได้ ๔๐คันภายในปี 2015 เพื่อจะส่งมอบให้กองทัพบกไทยได้เกือบครบจำนวนที่จัดหานั้น ความจริงสามารถจัดส่งได้เพียง ๕คันในชุดที่สองเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘ เท่านั้น
และยิ่งไปไม่ได้เข้าไปใหญ่ที่จะขยายสายการผลิตรถถังหลัก Oplot เป็น ๑๒๐คันภายในปี 2016 (ความเห็นส่วนตัวคิดว่าในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ยูเครนควรจะจัดส่ง ถ.หลัก Oplot ให้ได้อย่างน้อย ๑๕คันขึ้นไป รวมเป็น ๒๕คัน หรือครึ่งหนึ่งของจำนวนที่สั่งทั้งหมด)
เฉพาะในส่วนของโรงงาน Malayshev คงจะมีการปรับปรุงรถถังหลัก T-64B1M ส่งออกให้คองโก และรถถังหลัก T-72B1-1050 ส่งออกให้เอธิโอเปีย รวมถึงการซ่อมคืนสภาพรถถังหลัก T-64, T-72 และ T-80 เข้าประจำการในกองทัพยูเครนเองที่ยังเป็นไปตามเป้าบ้าง

ในกรณีของกองทัพไทยนั้นก็ตามที่ได้รายงานเรื่องที่คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแบบรถถังของกองทัพบกไปไปดูงานที่ Norinco จีน และ Uralvagonzavod รัสเซีย 
ก็น่าจะชัดเจนว่าทางกองทัพบกได้มองหาทางเลือกใหม่สำหรับแผนการจัดหารถถังหลักในอนาคตแล้ว ซึ่งในส่วนของสื่อ Website Blog ทหารของรัสเซียและยูเครนนั้นก็มีการนำบทความใน Blog นี้ไปอ้างอิงหลายที่ครับเช่น

จากที่วิเคราะห์มาจะดูตรงกันครับว่า(นอกจากในส่วนความเห็นเพิ่มเติมของพวกรัสเซียที่ส่วนหนึ่งดูถูกคนไทยแล้ว) 
ถ้าทางยูเครนยังแก้ปัญหาการผลิตรถถังหลัก Oplot ส่งมอบให้กองทัพบกไทยล่าช้าไม่ได้ โครงการจัดหารถถังหลัก Oplot ก็คงจะยุติที่ ๔๙คัน สำหรับ กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ เท่านั้น
โดยกองพันทหารม้ารถถังที่จะจัดหารถถังหลักใหม่ ก็คงจะต้องคัดเลือกแบบรถถังหลักใหม่ที่ไม่ใช่ Oplot ไม่ว่าจะเป็น T-90 หรือ VT4 (MBT-3000) หรือแบบอื่นๆ 
ซึ่งคงจะทำให้สายการผลิตของรถถังหลัก Oplot ของโรงงาน Malyshev และ KMDB ต้องยุติลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อการส่งออกรถถังหลักผลิตใหม่จากโรงงานของ Ukroboronprom ครับ