วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรือมาเลเซียทำพิธีวางกระดูกงูเรือฟริเกตแบบ Gowind

Boustead & Royal Malaysian Navy Held the Gowind Frigate LCS - SGPV Keel Laying Ceremony
Minister of Defence of Malaysia Hishammuddin Hussein during the ceremony

From left to right: Chief of Navy Admiral Abdul Aziz Jaafar, Minister of Defence of Malaysia Hishammuddin Hussein, Tan Sri Dato' Seri Ahmad Ramli Hj Mohd Nor BHIC Managing Director

The Gowind model on display at LIMA 2015 featured NSM anti-ship missile launchers
http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2016/march-2016-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/3671-boustead-a-royal-malaysian-navy-held-the-gowind-frigate-lcs-sgpv-keel-laying-ceremony.html

วันที่ 8 มีนาคม 2016 ที่ผ่านมาบริษัท Boustead Heavy Industries Corporation Berhad (BHIC) และกองทัพเรือมาเลเซีย(TLDM: Tentera Laut DiRaja Malaysia)
ได้ทำพิธีวางกระดูกงูเรือฟริเกตแบบ Gowind 2500 หรือเรือ Littoral Combat Ship (LCS) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดหาเรือรบผิวน้ำรุ่นที่สอง Second Generation Patrol Vessel (SGPV) ของกองทัพเรือมาเลเซีย
โดยพิธีวางกระดูกงูเรือฟริเกตลำแรกของชั้นนี้ผู้บัญชาการทหารเรือมาเลเซีย พลเรือเอก Abdul Aziz Jaafar และรัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Hishammuddin Hussein นั่นได้ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีด้วย
"เรือรบ Littoral Combat Ship ของเราจะถูกส่งมอบตรงตามกำหนด!" รัฐมนตรีกลาโหม Hishammuddin กล่าว เป็นการสร้างความมั่นใจว่าโครงการจัดหาสร้างเรือรบด้วยตนเองของมาเลเซียครั้งใหม่นี้จะไม่ประสบปัญหาความล่าช้าเหมือนโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Kedah (แบบเรือ Blohm+Voss MEKO 100 เยอรมนี)

ในช่วงต้นปี 2011 กองทัพเรือมาเลเซียได้ตั้งโครงการ SGPV สำหรับการจัดหาเรือฟริเกตคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก Stealth จำนวน 6ลำ วงเงิน 6พันล้านริงกิต($1.9 billion)
ปลายปี 2011 ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นชนะในโครงการนี้คือบริษัท DCNS ฝรั่งเศส ที่เสนอแบบเรือ Gowind 2500 โดยผู้ได้รับสัญญาโครงการคืออู่เรือ Boustead และ DCNS
ทั้งนี้อู่ต่อเรือของบริษัท Boustead ใน Lamut รัฐ Perak นั้นได้รับการปรับปรุงภายใต้การให้คำปรึกษาจาก DCNS เพื่อการสร้างเรือในโครงการ
ที่รวมถึง Lift ยกชิ้นส่วนเรือใหม่, โรงประกอบ Block เรือสองแห่ง, โรงประกอบส่วนแผงภายในเรือสามแห่ง และแนววางกระดูงูเรือสามส่วน ซึ่งจะทำให้ภายในปี 2020 อู่สามารถต่อเรือ 3ลำเสร็จได้พร้อมกัน

เรือฟริเกตในโครงการ SGPV-LCS กองทัพเรือมาเลเซียนั้นใช้แบบเรือคอร์เวต DCNS Gowind 2500 ซึ่งนอกจากมาเลเซียแล้วยังได้รับเลือกจัดหาจากกองทัพเรืออียิปต์ด้วย
คุณสมบัติของเรือฟริเกต Gowind 2500 กองทัพเรือมาเลเซียมีความยาวตัวเรือ 111m ระวางขับน้ำ 3,100tons เครื่องยนต์ดีเซล CODAD แบบ MTU 20V 4เครื่อง ทำความเร็วได้ 28knots พิสัยทำการ 5,000nm
ติดตั้งระบบอำนวยการรบ DCNS SETIS, Radar ตรวจการณ์ Thales SMART-S Mk2, Radar ควบคุมการยิงและกล้อง EO แบบ Rheinmetall TMX/EO Mk2 และ Sonar แบบ Thales CAPTAS-2
อาวุธติดตั้งปืนใหญ่เรือ BAE Systems Bofors 57mm Mk3 Stealth, ปืนใหญ่กล MSI DS30M Mk2 30mm 2กระบอก อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Kongsberg NSM 8นัด อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ MBDA VL-MICA 16นัด และแท่นยิง Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแฝดสาม J+S Marine 2แท่น
มีลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางในเรือ คาดว่าเรือลำแรกในชั้นจะถูกปล่อยลงน้ำได้ในราวเดือนธันวาคมปี 2018 ครับ