วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๕๙-๘




ช่วงเดือนสิงหาคมนั้นเหตุการณ์สำคัญของกองทัพบกไทยที่จำเป็นต้องกล่าวถึงคือ ข่าวอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ฮ.ท.๗๒ UH-72A Lakota หมายเลข 9656 ตก
โดย ฮ.ท.๗๒ UH-72A ทำการบินนำผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่๔ กลับไปที่ตั้งค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก หลังเสร็จภารกิจการช่วงประชาชนที่ประสบเหตุฝนตกหนักและน้ำท่วมทางภาคเหนือที่ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เกิดขาดการติดต่อเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ต่อมาชุดค้นหาจึงพบซากเครื่อง ฮ.ท.๗๒ UH-72A พร้อมร่างนักบิน ช่างเครื่อง และผู้โดยสารที่เสียชีวิตทั้ง ๕นายเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม บริเวณอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ใกล้ดอยอินทนนท์

รายนามนายทหารที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุครั้งนี้ทั้ง ๕ท่านคือ
พลตรี นพพร เรือนจันทร์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่๔
ร้อยเอก สุทัน อ่องเมือง นักบินที่๑
ร้อยโท นวพัฒน์ มณีโชติ นักบินที่๒
จ่าสิบเอก ชัยศักดา ทาโส ช่างเครื่อง
และ จ่าสิบตรี มงคลชัย รู้งาน ช่างเครื่อง
ทั้งนี้ทางกองทัพบกได้จัดพิธีศพและปูนบำเหน็จชั้นยศให้นายทหารทั้ง ๕นายอย่างสมเกียรติ

อุบัติเหตุครั้งนี้ถือเป็นอุบัติเหตุครั้งแรกของ ฮ.ท.๗๒ UH-72A นับตั้งแต่เข้าประจำการ ๖เครื่องเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015) สาเหตุเบื้องต้นคาดว่าน่าจะมาจากสภาพอากาศปิดและกระแสลมแปรปรวนรุนแรงที่ขณะนั้นภาคเหนือของไทยมีฝนตกหนักและน้ำท่วมหลายพื้นที่
ซึ่งกองทัพบกได้จัดหา ฮ.ท.๗๒ UH-72A จุดประสงค์หนึ่งก็เพื่อใช้ในงานธุรการทั่วไปและส่งกำลังบำรุงทดแทน ฮ.ท.๒๐๖ Bell 206 ซึ่งประจำการใน กองร้อยบิน กองพลทหารราบ เช่นเครื่องที่ตกมีรหัสนามเรียกขานว่า North Star 656 เป็นเครื่องประจำ กองร้อยบิน กองพลทหารราบที่๔
โดยกองทัพบกได้ลงนามสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ H145 จาก Airbus Helicopters เยอรมนี/ฝรั่งเศสอีก ๖เครื่องตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว (UH-72A ๖เครื่องก่อนหน้านี้สร้างโดย Airbus Helicopters, Inc. หรือ American Eurocopter สหรัฐฯเดิม)

อย่างไรก็ตามก็เช่นเดียวกับอุบัติเหตุ ฮ.๖ UH-1H กองทัพอากาศไทยที่ตกไปก่อนหน้านี้ไม่นานครับว่า น่าเศร้าที่สื่อสังคม Online ในไทยยังคงมมีการเผยแพร่ข่าวเท็จในช่วงเกิดเหตุ อย่างข่าวปล่อยว่าพบผู้รอดชีวิตแล้ว หรือฮ.ที่ตกเป็น ฮ.มือสองเก่าเป็นต้น
ทั้งที่ในความเป็นจริง ฮ.ท.๗๒ UH-72A นั้นเป็น ฮ.ใช้งานทั่วไปแบบใหม่ล่าสุดของกองทัพบกไทยซึ่งมีความทันสมัยสูง เป็นรุ่นเดียวกับที่กองทัพสหรัฐฯใช้งานในปัจจุบันเช่นในกองกำลังพิทักษ์รัฐกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army National Guard)
รวมถึงสื่อหลักของไทยที่เป็นสื่อสายทหารส่วนหนึ่งที่เน้นทำข่าวฉาบฉวย อย่างเขียนโจมตีว่านายพลที่โดยสารไปกับเครื่องสั่งการนักบินให้ทำการบินโดยไม่คำนึงถึงอันตราย ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติที่ผู้โดยสารจะมีอำนาจตัดสินใจเหนือนักบินที่เป็นผู้ทำการบังคับควบคุมอากาศยาน
ทั้งหมดจึงเป็นการบั่นทอนกำลังใจเจ้าหน้าที่ทหารที่เกี่ยวข้องและทำร้ายจิตใจญาติทหารที่เสียชีวิตและไม่ให้เกียรตินายทหารที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนด้วยครับ

ฮ.จ.๑ AH-1F และ AH-1F EDA, ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3, ฮ.ท.๖๐ UH-60L/UH-60M และ ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 กองพันบิน ศูนย์การบินทหารบก กองทัพบกไทย

ทั้งนี้ก็มีข้อมูลออกมาเกี่ยวกับการปรับโครงการหน่วยใช้กำลังอากาศยานของกองทัพบกที่ผู้บัญชาการทหารบกเห็นชอบแล้วออกมาครับ โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ลงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ข่าวทหารบก ฉบับวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙


รายละเอียดเบื้องต้นของการปรับโครงสร้างหน่วยบินกองทัพบกนั้น ในส่วน ศูนย์การบินทหารบก จะแปรสภาพ กองพันบิน เป็น กรมบิน รับผิดชอบการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยอากาศยานปีกหมุนทางยุทธวิธีของกองทัพบก
กองบินปีกหมุนที่๑, กองบินปีกหมุนที่๒, กองบินปีกหมุนที่๓ และ กองบินปีกหมุนที่๙ (ผสม) จะแปรสภาพเป็น กองพันบินปีกหมุน จำนวน ๔กองพัน รับผิดชอบการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยอากาศยานที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่กองทัพภาค
แปรสภาพ กองบินเบา เป็น กองพันบินปีกติดลำตัว(หรือกองพันบินปีกตรึง) รับผิดชอบการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยอากาศยานปีกติดลำตัว(อากาศยานปีกตรึง)ทางยุทธวิธี และอากาศยานไร้นักบิน(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ขนาดกลางของกองทัพบก
และ กองบินสนับสนุนทั่วไป จะแปรสภาพเป็น กองพันบินปีกหมุนสนับสนุนทั่วไป


โดยจะมีการย้าย กองพันทหารขนส่งซ่อมบำรุงเครื่องบินทหารบก ซึ่งเดิมฝากการบังคับบัญชาที่ กรมการขนส่งทหารบก ไปขึ้นตรงกับ ศูนย์การบินทหารบก เปลี่ยนหน่วยเป็น กองพันซ่อมบำรุงเครื่องบินทหารบก
ทั้งนี้ยังรวมถึงการจัดตั้ง เหล่าการบิน ขึ้นเป็นทหารเหล่าใหม่ของกองทัพบก โดยจะมีการจัดตั้งหน่วยระดับ หน่วยบัญชาการ ซึ่งมีผู้บัญชาการระดับ พลโท ด้วย
แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมถึงแผนการปรับยกระดับฐานะหน่วยบินของกองทัพบกเพิ่มเติมในขณะนี้ซึ่งต้องติดตามกันต่อไปครับ


VT4 MBT-3000 Main Battle Tank test in Pakistan(wikipedia.org)

ในส่วนความคืบหน้าของโครงการจัดหารถถังหลัก VT4(MBT-3000) จาก NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น ขั้นต้นชุดแรก ๒๘คัน มีข้อมูลเพิ่มเติมมาเล็กน้อยครับว่า
แผนเดิมที่จะจัดหามาประจำการที่ กองพันทหารม้าที่๔ รักษาพระองค์ กองพลที่๑ รักษาพระองค์นั้นเพื่อทดแทน รถถังเบา M41A3 ที่ประจำการมานานมากกว่า๕๐ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕ 1962 ในกองพลทหารม้าสมัยนั้น)
ล่าสุดอาจจะมาการปรับเปลี่ยนนำไปประจำการทดแทนในส่วน กองพันทหารม้ารถถัง กองพลพลทหารราบ ของกองทัพภาคที่๒ คือ
กองพันทหารม้าที่๘ กองพลทหารราบที่๓ ที่ยังคงประจำการ ถ.เบา M41A3 หรือกองพันทหารม้าที่๒๑ กองพลทหารราบที่๖ ที่ยังคงประจำการด้วยรถถังหลัก M48A5 
หรืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นก็ได้ซึ่งยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจนในตอนนี้ครับ

เยี่ยมชมกองร้อยทหารปืนใหญ่ค้นหาเป้าหมาย กองพลทหารปืนใหญ่
น.อ.วุฒิไกร ปั้นดี ผบ.กรม ป.พล.นย. พร้อมคณะเยี่ยมชมกองร้อยทหารปืนใหญ่ค้นหาเป้าหมาย กองพลทหารปืนใหญ่ ค่ายพิบูลสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ระบบยุทโธปกรณ์อีกแบบที่มีการพบภาพว่ามีการนำเข้าประจำการแบบเงียบๆคือ ระบบ Radar ค้นหาเป้าหมายที่ตั้งปืนใหญ่/เครื่องยิงลูกระเบิด (Artillery Locating and Fire Correction Radar) แบบ BL904A(Type 904A) หรือ RA3 ของ NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีน
ซึ่งมีการพบภาพระบบ RA3 ทั้งรถติดจานสัญญาณ radar และรถที่บังคับการติดตั้งบนรถบรรทุก Volvo FM 400 6x6 ๒คันจอดอยู่ในโรงเก็บบริเวณที่ตั้ง กองพลทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี (มีข้อมูลว่าระบบผลิตโดยโรงงานในเครือ NORICO จีน แต่จัดหาจากบริษัท Polytechnology ไทย)
เคยมีรายงานออกมาก่อนหน้านี้ว่ากองทัพบกได้จัดหาระบบ Radar ค้นหาเป้าหมายใหม่จากจีนแบบ Type 904A หรือ BL904A หรือ RA3 ๒ระบบ สำหรับมาประจำการใน กองร้อยทหารปืนใหญ่ค้นหาเป้าหมาย กองพลทหารปืนใหญ่ แต่ก็ไม่มีรายละเอียดข้อมูลมากนัก
ซึ่งคุณสมบัติเบื้องต้นของ Radar ค้นหาเป้าหมาย ป./ค. แบบ NORINCO RA3 นั้นระบบประกอบด้วย รถติดเสาอากาศส่งสัญญาณขนาดใหญ่, รถติดตู้ควบคุม และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำงานได้ด้วยตนเองไม่ต้องใช้สาย Cable
สามารถค้นหาที่ตั้งยิงของปืนใหญ่, เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 300mm จนถึง 122mm, เครื่องยิงลูกระเบิด จากการตรวจจับวิถีกระสุนหรือตำบลกระสุนตกได้ ๑๘จุด ตรวจจับเป้าหมายภาคพื้นดินได้ 6เป้าาหมายพร้อมกัน และอากาศยานบินระดับต่ำได้ 99เป้าหมาย 
มีระยะตรวจจับปืนใหญ่ 155mm ไกลสุด 60km ตรวจจับจรวด 122mm ไกลสุด 30km มีความน่าเชื่อถือในการตรวจจับร้อยละ ๘๐ รวมถึงมีการเพิ่มคุณสมบัติบางประการเหนือกว่ารุ่นที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนใช้เอง
ถือว่าเป็นระบบที่ค่อนข้างทันสมัยระดับหนึ่งสำหรับกองทัพบกไทยในการใช้ค้นหาที่ตั้งฐานยิงปืนใหญ่ เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง และเครื่องยิงลูกระเบิด ของฝ่ายตรงข้ามเพื่อยิงตอบโต้ได้อย่างแม่นยำครับ





DTI จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ปรับปรุงแผนแม่บทการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีจรวดเพื่อความมั่นคง เพื่อการวิจัยพัฒนาจรวดที่ตอบสนองกับสภาพแวดล้อมภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงและการใช้งานของกองทัพ เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ 
เมื่อวันที่ 3 ส.ค.59 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดย พล.อ. สมพงษ์ มุกดาสกุล ผอ.สทป. เป็นประธานฯ ในการจัดสัมมนาและมีผู้แทนจากหน่วยงานในกองทัพที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีประสบการณ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ได้นำเสนอความเป็นมาของแผนแม่บทการวิจัยและพัฒนาของ สทป. งานวิจัยและนโยบายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวโน้มเทคโนโลยี และขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาภายในประเทศ และผู้แทนจากหน่วยงาน 
ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากกองทัพทั้ง 3 เหล่าทัพ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กรมสรรพวุธ กรมยุทธการ กรมส่งกำลังบำรุง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร 
ร่วมกันแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิเคราะห์หาแนวโน้มเทคโนโลยีและขีดความสามารถในการวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ที่เหมาะสมสอดคล้องและความต้องการใช้งานในประเทศ 
ซึ่งประกอบด้วยโครงการหลัก 8 โครงการ

1.โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถีแบบ DTI-1G ระยะที่ 2
2.โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดสมรรถนะสูง แบบ DTI-2 ระยะที่ 2
3.โครงการพัฒนาสนามทดสอบ
4.โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดส่งดาวเทียม
5.โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดขนาด 2.75 นิ้ว
6.โครงการวิจัยและพัฒนา ระบบจรวดดัดแปรสภาพอากาศ
7.โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องนำวิถีระยะยิง 80 กิโลเมตร
8.โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดต่อสู้รถถัง

กรอบแนวคิดและทิศทางสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีจรวด สามารถดำเนินการได้จริงภายใต้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมาะสม ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการพึ่งพาตนเองทางด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศของประเทศไทย 
และถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง และเป็นองค์ความรู้ที่สามารถพัฒนาต่อยอดในการผลิตยุทโธปกรณ์ชนิดอื่น ๆ ได้ด้วยตนเอง รวมถึงสามารถต่อยอดไปถึงอุตสาหกรรมในด้านอื่น ๆ ในอนาคตต่อไป
https://www.facebook.com/dtithailand/posts/622692637890740

เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) มีแผนการพัฒนาวิทยาการระบบจรวดต่อยอดโครงการจรวดเพื่อความมั่นคง
คือจรวดหลายลำกล้องนำวิถี DTI-1G 302mm ระยะที่๒ และ จรวดหลายลำกล้อง DTI-2 122mm ระยะที่๒ ยังมีโครงการพัฒนาจรวดเพิ่มเติมอีกหลายระบบ
ทั้งจรวดหลายลำกล้องนำวิถีระยะยิง 80km, จรวด 2.75"(70mm) ซึ่งน่าจะเป็นจรวดสำหรับอากาศยาน เหมือนโครงการ เห่าฟ้า 2.75" ของกองทัพอากาศในอดีต
จรวดต่อสู้รถถัง ซึ่งเป็นโครงการล่าสุดหลังจากที่การพัฒนาเครื่องจรวดต่อสู้รถถังเบบ ๒๕ คจตถ.๒๕ ขนาด 73mm ในอดีตที่ไม่ประสบความเร็จในการนำมาใช้งานจริง
จนถึงการสร้างสนามทดสอบจรวด และถึงขั้นพัฒนาจรวดส่งดาวเทียมที่ทำให้ในอนาคตไทยไม่ต้องพึ่งต่างประเทศในการทดสอบจรวดพิสัยไกลและส่งดาวเทียมไปอวกาศอีกต่อไป ซึ่งก็ต้องติดตามความคืบหน้าต่อไปในอนาคตครับ 

Royal Thai Navy first Marsun M58 Patrol Boat PGB-561 HTMS Laemsing.

ความคืบหน้าสำคัญของกองทัพเรือไทยล่าสุดคือ โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนเรือหลวงแหลมสิงห์ ซึ่งในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้เสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเลแล้ว และจะมีการทดสอบระบบอาวุธตามาในช่วงต้นเดือนกันยายนนี้
โดยคาดว่า ร.ล.แหลมสิงห์จะมีการทำพิธีขึ้นระวางประจำการในราวปลายเดือนกันยายนนี้ตามที่ได้รายงานไปครับ

Conventional Submarine model of China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) and China Shipbuilding & offshore International(CSOC) at Ship Tech.III 2016 (My Own Photo)

ส่วนเรื่องโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T ระยะที่หนึ่ง ๑ลำ วงเงิน ๑๑,๐๐๐ล้านบาท จากสาธารณรัฐประชาชนจีนก็เป็นประเด็นที่ส่วนตัวคิดว่าน่าเบื่อ เพราะพอเรื่องเงียบหายได้สักพักก็จะถูกจับมาเป็นประเด็นในสื่อกระแสหลักอีก
ถ้าดูจากการให้สัมภาษณ์สื่อของรัฐมนตรีกลาโหม พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หลังการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำสัปดาห์เมื่อวันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคมประมาณว่า
มีตังก็ซื้อ ไม่มีตังก็เลิกซื้อ เห็นว่าน่าจะในรัฐบาลนี้นะ ขึ้นอยู่งบประมาณจะผ่านสภา(สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช.)หรือเปล่าก็คงจะรู้
ถ้าดูจากการพิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ที่จะต้องเสร็จสิ้นก่อนสิ้นสุดปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙(2016) ในเดือนกันยายนนี้ก็อาจจะได้ทราบครับว่าโครงการจัดหาเรือดำน้ำจีนจะผ่านหรือจะเงียบหายไปอีกครั้ง
อย่างในกรณีที่กองทัพเรือปากีสถานจัดหาเรือดำน้ำแบบ S20P จากจีน ๘ลำ ซึ่ง๔ลำจะต่อในจีนนั้นจะได้รับมอบในปี 2022-2023 ส่วนอีก ๔ลำที่จะต่อในปากีสถานจะได้รับครบภายในปี 2028
จะเห็นได้ว่าเรือดำน้ำจะต้องใช้เวลาสร้างตัวเรือและเตรียมการฝึกพร้อมการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆไม่ต่ำกว่า ๖-๗ปี ถ้ามีการลงนามจัดหาช้าเท่าไรก็ได้เรือช้าเท่านั้น หรือไม่ก็ต้องยกเลิกโครงการแล้วไปตั้งโครงการใหม่ในอนาคตเช่นที่เคยเกิดขึ้นครับ

Mark 54 Torpedo aboard the DDG-71 USS Ross in March 2008.(wikipedia.org)

ทั้งนี้จากรายงานการที่กองทัพเรือไทยสั่งจัดซื้อ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแบบ Mk54 Mod0 ขนาด 324mm จากบริษัท Raytheon สหรัฐฯในรูปแบบการจัดซื้อแบบ FMS(Foreign Military Sales) ร่วมกับการจัดซื้อของกองทัพเรือสหรัฐฯเองนั้น
ก็ยิ่งเป็นการเน้นย้ำที่ชัดเจนนอกจากการฝึกร่วมทางทหารหลายการฝึกของกองกองทัพสหรัฐฯรวมกับกองทัพไทยในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) นี้ เช่น Cobra Gold 2016, Balance/Teak Torch 2016, Hanuman Guardian 2016, Guardian Sea 2016 ฯลฯ ว่ากองทัพสหรัฐฯยังเห็นกองทัพไทยเป็นพันธมิตรที่สำคัญภูมิภาคและยังพร้อมที่จะอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนให้ไทยอยู่
แต่ถึงขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า Torpedo เบา Mk54 ที่กองทัพเรือไทยสั่งจัดหานั้นมีจำนวนเท่าใด
และจะนำมาใช้กับเรือรบผิวน้ำที่มีแท่นยิง Torpedo เบาแฝดสามแบบ Mk32 SVTT และ PMW49A ที่ติดตั้งกับเรือหลายชุด เช่น เรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร(Mk32), ชุด ร.ล.ตาปี(Mk32), ร.ล.มกุฎราชกุมาร(PMW49A) เรือคอร์เวตชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์(Mk32)
หรือเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำอย่าง ฮ.ปด.๑ SH-60B ที่ปัจจุบันสามารถติดตั้ง Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแบบ Mk46 ได้ครับ


เมื่อวันที่ 8 - 10 สิงหาคม 2559 พลอากาศเอก สุทธิพันธ์ กฤษณะคุปต์ ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เดินทางมาตรวจเยี่ยมกองกาลังทางอากาศไทย ในการฝึกผสมPitch Black16 ณ เมืองดาร์วินประเทศออสเตรเลีย 
การเดินทางครั้งนี้ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น จาก Air Marshal Gavin Leo Daviesผู้บัญชาการทหารอากาศออสเตรเลีย และได้ร่วมคณะในการตรวจเยี่ยมกองกำลังทางอากาศไทยพร้อมกัน

การฝึกผสมทางอากาศนานาชาติ Pitch Black 2016 ที่ Darwin ออสเตรเลียระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม-19 สิงหาคม นั้น
มีกองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force)เป็นเจ้าภาพจัดการฝึกร่วมกับกำลังอากาศจากมิตรประเทศ เช่น กองทัพอากาศสหรัฐฯ กองทัพอากาศสิงคโปร์ กองทัพอากาศอินโดนีเซีย เข้าร่วมการฝึก
ในส่วนกองทัพอากาศไทยได้มีการส่งเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A/B EMLU(Enhanced Mid Life Upgrade) ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ และเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H เข้าร่วมการฝึกด้วย
โดยการฝึก Pitch Black 2016 กองทัพอากาศไทยได้เปิดเผยเครื่องบินขับไล่ F-16A/B EMLU ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ซึ่งติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T และหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง JHMCS(Joint Helmet-Mounted Cueing System) เป็นครั้งแรกในการฝึกนานาชาติ
ซึ่งทั้งอาวุธปล่อยนำวิถี IRIS-T และหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง JHMCS นั้นมีการพบเห็นภาพเปิดเผยว่าถูกนำมาใช้กับ F-16A/B EMLU ที่ปรับปรุงครึ่งอายุมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) แล้ว
จากข้อมูลล่าสุดทาง Thai Aviation Industries(TAI) ผู้ดำเนินโครงการปรับปรุงภายในไทยร่วมกับ Lockheed Martin สหรัฐฯ กำลังดำเนินการปรับปรุงเครื่อง F-16A/B Block 15 OCU ชุดสุดท้าย ๖เครื่องของฝูงบิน๔๐๓ จากจำนวน ๑๘เครื่อง
และกำลังรอการรับมอบกระเปาะตรวจการณ์ชี้เป้าหมายแบบ AN/AAQ-33 Sniper Advanced Targeting Pod ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธความแม่นยำสูงของ F-16A/B EMLU มากขึ้นครับ




พิธีบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินรับ-ส่งบุคคลสำคัญ แบบ SSJ100LR
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๑๘ SSJ100LR ( Sukhoi Superjet 100LR) จำนวน ๒ เครื่อง ณ ท่าอากาศยานทหาร ๒ กองบิน ๖ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ 
ในโอกาสนี้ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมให้เกียรติเข้าร่วมพิธี โดยมี พลอากาศเอก.ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้การต้อนรับ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ประธานฝ่ายสงฆ์ ได้ทำการเจิมและประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้กับเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๑๘ ทั้ง ๒ เครื่อง 
ซึ่งจะประจำการ ณ ฝูงบิน ๖๐๓ กองบิน ๖ และพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายต่อไป
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1237393199646684.1073742252.838645852854756
https://www.facebook.com/กองบิน6-Wing-6-RTAF-838645852854756/

สำหรับการเข้าประจำการของ บ.ล.๑๘ Sukhoi Superjet 100LR จำนวน ๒เครื่องนั้นก็นับเป็นประวัติศาสตร์ใหม่ของกองทัพอากาศไทยในการจัดหาอากาศยานจากรัสเซียแบบแรกเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๖๐๓ กองบิน๖ ดอนเมือง
โดยกองทัพอากาศจะได้รับมอบเครื่องบินโดยสาร SSJ100LR อีก ๑เครื่องในอีกสองปีข้างหน้าตามแผนในการจัดเพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๕ Avro HS-748 ที่เดิมมี ๖เครื่องที่ปลดประจำการไปเมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙

จากการให้สัมภาษณ์สื่อของผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ได้กล่าวว่า
กองทัพอากาศกำลังศึกษาโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีแบบใหม่ทดแทน บ.ล.๘ C-130H จำนวน ๑๒เครื่อง ซึ่งมีอายุการใช้งานมาแล้ว ๓๖ปี ซึ่งจะใช้งานได้อีกอย่างมากไม่เกิน ๕ปีเป็นอย่างมาก
แต่เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่อย่าง Lockheed Martin C-130J Super Hercules ที่กองทัพอากาศสหรัฐฯและหลายประเทศทั่วโลกใช้นั้นมีราคาสูง ซึ่งกองทัพอากาศกำลังทำการศึกษาเครื่องบินลำเลียงแบบอื่นๆด้วย

มองว่าถ้าดูจากที่กองทัพบกไทยได้จัดหาเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C-295W จากบริษัท Airbus Defence and Space(EADS CASA สเปนเดิม) ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ไปเยี่ยมชมเครื่องเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ที่ผ่านมา
ก็ทำให้ดูเหมือนสำหรับกองทัพอากาศไทยคงอาจจะต้องมองไปยังการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีหนักที่เหมาะสมทดแทน C-130H เป็นหลัก โดยอาจจะไม่มีการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางทดแทน บ.ล.๑๔ G222 ที่ปลดไป
ทำให้เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางสองเครื่องยนต์นั้น อาจจะให้แต่เหล่าทัพมีการจัดหาเครื่องเพื่อรองรับภารกิจใช้งานของตนเอง เช่น C-295W กองทัพบก และกองทัพเรือที่มีความต้องการเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีของตนเช่นกันแต่ยังไม่มีงบประมาณจัดซื้อตอนนี้

อย่างไรก็ตามเรื่องแนวคิดในการจัดหาเครื่องบินขับไล่จากรัสเซียนั้น ผอ.ทอ.ชี้แจ้งว่า
จะต้องดูความเหมาะสมเป็นสำคัญ เพราะตอนนี้กองทัพอากาศไทยเองก็มีเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A/B EMLU และ บ.ข.๒๐ Gripen C/D รวมถึงเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นสูง KAI T-50TH ที่กำลังจัดหาอยู่แล้ว
การจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่เป็นการลงทุนยุทโธปกรณ์ที่นอกจากมีงบประมาณเพียงพอแล้วจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ภัยคุกคาม Technology ไม่ได้ซื้อมาแล้วใช้ได้เลย ต้องฝึกกำลังพลไม่ต่ำกว่า ๕ปีและเตรียมคนรุ่นต่อๆไปด้วย

ส่วนการจัดซื้อเครื่องบินโดยสาร Airbus A340-500 จากการบินไทยเดิมที่จะรับมอบในราวเดือนตุลาคมนี้นั้น ทาง ผอ.ทอ.กล่าวว่า เป็นการจัดซื้อโดยใช้งบประมาณรัฐโดยเครื่องรุ่นนี้จะถูกใช้ในภารกิจการเดินทางรับส่งระยะไกลที่จะได้ไม่ต้องแวะลงจอดเพื่อเติมเชื้อเพลิงใหม่บ่อยๆ
ตรงนี้ส่วนตัวคิดว่าจำเป็นถ้าเกิดในกรณีที่กองทัพอากาศไทยมีภารกิจจะทำการอพยพคนไทยออกจากประเทศที่อยู่ห่างไกลมากๆ ซึ่ง Airbus A340 จะช่วยลดภาระได้มากครับ

พลอากาศเอก ปฎิพันธ์ วะนะสุข ประธานกรรมการจัดซื้อ ฮ.ค้นหาและข่วยชีวิตในพื้นที่การรบได้เป็นผู้แทน ทอ.ในพิธีลงนามจัดซื้อฮ.แบบ EC725 จากบริษัท AIRBUS HELICOPTERS สาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2559
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10210488879716384&set=a.10200114519123853.201503.1176621495
https://www.facebook.com/rach2511

 ฮ.๑๑ EC725 (Airbus Helicopters H225M) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ กองทัพอากาศไทย
http://www.airbushelicopters.com/website/en/press/The-Royal-Thai-Air-Force-receives-four-EC725s_1815.html

การลงนามจัดซื้อ ฮ.๑๑ EC725 ของ Airbus Helicopters(ปัจจุบันกำหนดรหัสเป็น H225M) ของกองทัพอากาศไทยล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙(2016)ที่ผ่านมานั้น เข้าใจว่าน่าจะเป็นโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบระยะที่๓ แล้ว
นับตั้งโครงการระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่องลงนามเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕(2012) ส่งมอบครบแล้วในวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘(2015),
ระยะที่๒ จำนวน ๒เครื่องลงนามเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ส่งมอบภายในปี ๒๕๖๐(2017) และระยะที่๓ จำนวน ๒เครื่อง วงเงิน ๒,๔๐๐ล้านบาท คาดว่าจะส่งมอบได้ในราวปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
ดังนั้นกองทัพอากาศไทยได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ EC725 แล้วรวม ๘เครื่อง ทั้งนี้ตามข้อมูลล่าสุดดูเหมือนกองทัพอากาศจะลดจำนวนความต้องการ ฮ.EC725 ลงจาก ๑๖เครื่องเหลือ ๑๒เครื่อง ทำให้มีเครื่องที่ต้องสั่งจัดหาอีกอย่างน้อย ๔เครื่องครับ