วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

กองทัพเรือเกาหลีใต้ถูกเรียกร้องให้สร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามจากอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือที่เพิ่มสูงขึ้น

(News Focus) S. Korea weighs merits, challenges of nuclear-powered subs
Christening ceremony of ROKS An Jung-geun, a Sohn Won-yil class KSS-II Type 214 submarine(wikipedia.org)

This undated Yonhap News TV image shows a submarine launched ballistic missile (SLBM) and the scene of a North Korean nuclear facility being destroyed, with flags of South Korea and the U.S. placed between the two images. (Yonhap)
http://english.yonhapnews.co.kr/national/2016/08/29/0302000000AEN20160829008900315.html

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีกำลังชั่งน้ำหนักในการเผชิญความท้าท้ายด้านการพัฒนาระบบอาวุธของกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี
ท่ามกลางการเติบโตของสายผู้สนับสนุนให้กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีมีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ประจำการ เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามใต้น้ำของกองทัพเรือประชาชนเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ที่ทวีเพิ่มขึ้น

จากการที่เกาหลีเหนือได้ทดสอบยิงขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำ SLBM(Submarine-Launched Ballistic Missile) ล่าสุดนั้น ทำให้สมาชิกรัฐสภาจากพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญทางทหารเกาหลีใต้บางส่วนมีแนวคิดสนับสนุนให้กองทัพเรือเกาหลีใต้ขยายขีดความสามารถของกองเรือดำน้ำด้วยการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เข้าประจำการ
ซึ่งเรือดำน้ำนิวเคลียร์นั้นมีระยะเวลาปฏิบัติการที่นานกว่าเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบที่กองทัพเรือเกาหลีใต้มีประจำการอยู่ในปัจจุบันมาก ทั้งเรือดำน้ำชั้น Chang Bogo(Type 209/1200), ชั้น Son Won-il(Type 214) และ KSS-III ที่กำลังสร้าง
อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลียังคงลังเลที่จะเปิดเผยการหารือความคิดเห็นนี้ต่อสาธารณชน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าอาจจะสร้างภาพลักษณ์ให้เข้าใจผิดได้ว่าเกาหลีใต้กำลังมองหาการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ของตนเองอยู่ และทำให้เกิดความกังวลด้านความมั่นคงต่อประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคโดยไม่จำเป็น
"มันไม่ได้เป็นเรื่องง่ายในการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ควรจะชั่งน้ำหนักในการเชื่อมโยงกับหลักการปลอดอาวุธนิวเคลียร์(Denuclearization)ของเรา" เจ้าหน้าที่ทางทหารเกาหลีใต้กล่าวปฏิเสธที่จะระบุชี้ชัด

กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ได้กล่าวเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมาว่าจะมีการเพิ่มขีดความสามารถของกองเรือดำน้ำเกาหลีใต้เพื่อป้องปรามภัยคุกคามจากขีปนาวุธเกาหลีเหนือที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ก็กล่าวปฏิเสธว่า "ยังไม่มีการตัดสินใจสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ในตอนนี้"
ในวันเดียวกันรัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี Han Min-koo ได้กล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเกาหลีใต้ว่า เกาหลีเหนือสามารถวางกำลังเรือดำน้ำติดขีปนาวุธได้เร็วที่สุดภายในปีนี้ โดยจะใช้เวลา 1-3ปีในการพัฒนาให้สามารถยิงขีปนาวุธจากเรือดำน้ำ SLBM โจมตีแผ่นดินใหญ่สหรัฐฯได้
"จากการเติบโตขึ้นของเสียงสนับสนุนการมีเรือดำน้ำนิวเคลียร์เพื่อการป้องกันตนเองที่ดีกว่า กระทรวงกลาโหมจะจับตามองถ้ามันมีประสิทธิภาพในการนำมาใช้งาน(เพื่อตอบโต้การโจมตีของข้าศึก)" รัฐมนตรีกลาโหม Han กล่าวโดยไม่ได้ชี้แจงรายละเอียด
ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี นาง Park Geun-hye เรียกร้องให้กองทัพเตรียมพร้อมเต็มอัตราสำหรับการยั่วยุใดๆจากเกาหลีเหนือและพร้อมตอบโต้การโจมตีที่เป็นไปได้
เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้คาดการณ์ว่าเกาหลีเหนือจะมีการทดสอบยิงขีปนาวุธ SLBM อีกหลายครั้งเพื่อการวางกำลังในช่วงต้น และจนถึงการที่เกาหลีเหนือจะมีแผนพยายามสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของตนเองในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าด้วย
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ไม่ได้ออกกฎรองรับความเป็นไปได้ในการมีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ท่ามกลางภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ ดังนั้นการตอบสนองสามารถถูกตีความได้ว่าจะมีการพิจาณาเป็นทางเลือกถ้าอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีทวีการคุกคามในการใช้จริงที่เด่นชัดมากขึ้น

กลุ่มของสมาชิกรัฐสภาจากพรรค Saenuri ที่เป็นพรรครัฐบาลเกาหลีใต้ได้กล่าวแถลงการณ์ว่า กองทัพเรือเกาหลีใต้ควรจะมุ่งสู่การตอบโต้ที่มีประสิทธิภาพต่อภัยคุกคามจากขีปนาวุธจากเรือดำน้ำเกาหลีเหนือด้วยการประจำการเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่สามารถตรวจจับและโจมตีเรือดำน้ำเกาหลีเหนือได้ดีกว่า
"เกาหลีใต้ล้อมรอบด้วยทะเลทั้งสามด้านซึ่งเสี่ยงต่อภัยคุกคามจากขีปนาวุธ SLBM เกาหลีเหนือ การวางกำลังเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่จำเป็นในการตอบโต้การยั่วยุดังกล่าว" Won Yoo-chul สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตัวแทนกลุ่มกล่าว
ด้านพรรคฝ่ายค้านเกาหลีใต้ที่ปกติจะไม่มีความเห็นร่วมกับพรรครัฐบาลบ่อยนัก ได้ถามกระทรวงกลาโหมเพื่อขอให้ชี้แจงถ้าประเทศมีความมุ่งมั่นตั้งใจและวิทยาการในการสร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์
"เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบนั้นมีความสามารถที่น้อยกว่าในการตรวจจับเรือดำน้ำติดขีปนาวุธ, มันจึงเข้าท่าที่จะมุ่งหน้าผลักดันการสร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์" Chin Young สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรค Minjoo ซึ่งเป็นแกนนำพรรคฝ่ายค้านกล่าว

ผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลีเหนือก็มีความเห็นไปในทางเดียวกัน Yang Wook ซึ่งเป็นผู้ติดตาม Korea Defense and Security Forum(KODEF) กล่าวว่าการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เป็นหนทางเดียวในการตอบโต้ขีปนาวุธ SLBM จากเกาหลีเหนือ เพราะเรือดำน้ำนิวเคลียร์สามารถตรวจจับและติดตามเรือดำน้ำติดขีปนาวุธของเกาหลีเหนือได้โดยมีโอกาสน้อยที่ถูกตนเองจะถูกตรวจจับได้
"เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ไม่ใช่อาวุธนิวเคลียร์แต่เป็นเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ ดังนั้นสหรัฐฯจึงไม่มีเหตผลที่คัดค้านถ้าเราตัดสินใจที่จะสร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์เพื่อเหตุผลในการป้องกันตนเอง" นาย Yang กล่าว
มุมมองของเขาได้สะท้อนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านขีปนาวุธรายอื่นๆ พวกเขายังกล่าวอีกว่าขณะที่ต้องใช้เวลาหลายปีในการสร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์ สหรัฐฯจำเป็นที่จะต้องวางกำลังเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของตนใกล้คาบสมุทรเกาหลีเพื่อช่วยตรวจจับขีปนาวุธ SLBM เกาหลีเหนือในช่วงเวลาดังกล่าว

ในการยั่วยุครั้งล่าสุดของรัฐบาล Pyongyang ในทดสอบการยิงขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำ SLBM แบบ KN-11 หรือ Pukkuksong-1 หรือ Bukgeukseong-1 เป็นครั้งที่11 ที่เมืองท่า Sinpo ทางตะวันออกของประเทศ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา
โดยการยิง SLBM จากเรือดำน้ำติดขีปนาวุธ(SSB) ที่เกาหลีเหนือพัฒนาทุกระบบทั้งหมดด้วยตนเอง ได้ประสบความสำเร็จในการยิงจากเรือดำน้ำที่อยู่ใต้น้ำเป็นระยะทาง 500km ตกภายในน่านฟ้าควบคุมทางอากาศญี่ปุ่นลึกเข้าไป 80km
ซึ่งการยิงเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมนับเป็นการยิงครั้งที่สามตั้งแต่เดือนเมษายนที่พบว่าเป็นการยิงที่ประสบความสำเร็จ ขณะที่การทดสอบยิงที่ผ่านมานั้นจบลงด้วยความล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จเพียงบางส่วน
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการที่เกาหลีเหนือผลักดันการพัฒนาระบบอาวุธใต้น้ำจะเป็นภัยคุกคามความมั่นคงที่เป็นการขุดหลุมฝังศพให้เกาหลีใต้และสหรัฐฯ โดยขีปนาวุธ SLBM เป็นระบบที่ตรวจับได้ยากก่อนที่จรวดจะโผล่เหนือผิวน้ำ
เมื่อร่วมเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ได้ และขีปนาวุธข้ามทวีป ICBM(Intercontinental Ballistic Missile) ขีปนาวุธ SLBM จัดรวมเป็นคลังแสงนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า "สามเหล่านิวเคลียร์"(Nuclear triad) ครับ

North Korea 'setting up nuclear backpack attack units', says report

วิทยุเสรีเอเชีย(RFA: Radio Free Asia) ได้รายงานอ้างแหล่งข่าวไม่ระบุชื่อของเกาหลีเหนือเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า 
ทหารชั้นยอดของกองทัพประชาชนเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ได้รับการถูกคัดเลือกให้ประจำการในหน่วยโจมตีพิเศษที่จะนำระเบิดนิวเคลียร์แบบสะพายหลัง(Nuclear Backpacks) ติดตัวและลักลอบเข้าไปในแนวหลังข้าศึกเพื่อจุดชนวนเมื่อเกิดสงคราม
"เหล่าทหารที่เยี่ยมยอดได้ถูกคัดเลือกจากทั้งหมวดลาดตระเวนและกองพลน้อยทหารราบเบา เพื่อจัดตั้งหน่วยนิวเคลียร์สะพายหลังระดับกองพัน" แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่าหน่วยพิเศษนี้ได้รับการจัดตั้งเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนว่าหน่วยโจมตีนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือดังกล่าวจะถูกใช้ในปฏิบัติการลักษณะหน่วยพลีชีพ(suicide squads) หรือไม่ครับ

North Korea building railway-mounted missile launchers, says report

จากการรายงานของวิทยุเสรีเอเชีย(RFA: Radio Free Asia) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีกำลังระบบส่งขีปนาวุธอัตตาจรสำหรับการยิงขีปนาวุธพิสัยไกลจากเครือข่ายรางรถไฟของประเทศ
แหล่งข่าวให้ข้อมูลกับ RFA ว่าการทำงานดังกล่าวได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่โรงงานยานพาหนะที่เป็นของรัฐบาลเกาหลีเหนือและมี 6ระบบที่กำลังทำการสร้างในเดือนสิงหาคมนี้
เกาหลีเหนือมีรถบรรทุกติดแท่นยิงระบบส่งขีปนาวุธ(Transport Erector Launcher Trucks)ที่ผลิตจากจีน ซึ่งน่าจะมีมาตั้งแต่อย่างน้อยในปี 2012 แต่เห็นได้ชัดว่าเกาหลีเหนือกำลังมองการกระจายความเสี่ยงสำหรับการพัฒนาระบบส่งขีปนาวุธของตน
ซึ่งระบบส่งขีปนาวุธอัตตาจรบนรางรถไฟนี้สามารถทำให้ขีปนาวุธถูกซ่อนในอุโมงค์ลับได้ แม้ว่าระบบการเคลื่อนที่มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดของระบบรถไฟของเกาหลีเหนือที่มีสภาพย่ำแย่ก็ตามครับ 

ภัยคุกคามจากการที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเร่งการพัฒนาระบบอาวุธนิวเคลียร์หลายรูปแบบอย่างต่อเนื่องนั้น ได้สร้างแรงกดดันต่อกระทรวงกลาโหมและกองทัพสาธารณรัฐเกาหลีเป็นอย่างมาก 
และเป็นการนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเข้าสู่การแข่งขันสะสมอาวุธอย่างเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆด้วยครับ