วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

สารวัตรนักเรียนเดนนรก: ชุดไปรเวท-๑

天龍 霞
ภาพแรกของปีใหม่นี้ ๒๕๖๐ ครับ ตัวละครหลักหนึ่งในนักเรียนหญิง(ที่มีกันแค่๒+๑คน)ของห้อง ๓/๑๓ ในชุดไปรเวท
ถ้าจำไม่ผิดการแต่งกายของวัยรุ่นแบบลุยๆในยุค 1990s น่าจะมีแนวประมาณนี้

ภาพนี้เป็นการลองปากกา Pigment ยี่ห้อ OHTO ด้ามแรกครับ
หัวแข็งกว่าใส้ปากกา Pigment ยี่ห้อ UniPin ที่เคยใช้มาตลอดที่นับว่าแข็งมากเหมาะกับคนมือหนัก เพราะ OHTO หัวปากกาหุ้มโลหะตลอดใส้
แต่ไม่ค่อยประทับใจที่หัวขนาด 0.1 เส้นยังหนาขนาดที่เห็นนี้อยู่เลย

ภาพประกอบจากสารวัตรนักเรียนเดนนรกที่ลงไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2016/12/blog-post_11.html) ก็มีผู้ชมถึง ๑,๗๐๐กว่าครั้ง
ก็แปลกใจครับที่ยอดเข้าชมมีมากขนาดนี้ต่อเนื่องหลายเดือนครับ

กองทัพอากาศฟิลิปปินส์นำเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50PH ปฏิบัติการรบจริงครั้งแรก

Philippine Air Force's FA-50PH fighter jets conduct first combat missions
Two PAF FA-50PH fighter jets (Credit: Philippine Air Force)
http://www.airrecognition.com/index.php/archive-world-worldwide-news-air-force-aviation-aerospace-air-military-defence-industry/global-defense-security-news/global-news-2017/january/3263-philippine-air-force-s-fa-50ph-fighter-jets-conduct-first-combat-
missions.html

กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ได้นำเครื่องบินขับไล่โจมตีความเร็วเหนือเสียง KAI FA-50PH เข้าร่วมการรบจริงเป็นครั้งแรกในปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อต้านกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายในพื้นที่จังหวัด Lanao del Sur ตามที่สื่อฟิลิปปินส์รายงานไปเมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา
สำนักข่าว Associated Press รายงานว่าอากาศยานที่ร่วมปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายนั้นรวมถึงเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 ที่จัดหาจากสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งติดอาวุธเป็นระเบิดธรรมดา Mk82 ขนาด 500lbs เครื่องละ 6ลูก
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพฟิลิปปินส์ พลเอก Eduardo Ano ประเมินว่า FA-50 สามารถนำไปใช้ได้ไม่เพียงเฉพาะการป้องกันประเทศและงานพิธีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรักษาความมั่นคงภายในด้วย เขากล่าวว่าเครื่องบินไอพ่นเกาหลีใต้มีสมรรถนะที่โดดเด่นและมีความแม่นยำ
เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2016 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ Rodrigo Duterte ซึ่งเพิ่งได้รับการเลือกตั้งในขณะนั้นได้ตั้งประเด็นขึ้นมาว่า บ.FA-50 ที่จัดหามาในสมัยรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี Benigno Aquino ถูกนำมาใช้แค่การแสดงการบินในงานพิธีเท่านั้น

กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ได้จัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีสองที่นั่ง FA-50PH จาก Korea Aerospace Industries สาธารณรัฐเกาหลี 12เครื่องวงเงิน $420 Million
ซึ่งปัจจุบันฟิลิปปินส์ได้รับมอบแล้ว 4เครื่อง ชุดแรก 2เครื่องในเดือนพฤศจิกายน 2015 และชุดที่สองอีก 2เครื่องในเดือนธันวาคม 2016
โดย FA-50 มีพื้นฐานมาจากเครื่องบินฝึกไอพ่นความเร็วเหนือเสียง KAI T-50 ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง KAI เกาหลีใต้และ Lockheed Martin สหรัฐฯ FA-50 เป็นเครื่องรุ่นที่มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้น ทำความเร็วได้สูงสุด 1.5Mach พิสัยการบิน 1,851km
ติดตั้งปืนใหญ่อากาศสามลำกล้องหมุน A-50 Vulcan 20mm กระสุน 205นัด มีตำบลอาวุธที่ปีกและใต้ลำตัวรวม 7จุด บรรทุกอาวุธและอุปกรณ์ได้หนัก 3,740kg เช่น AIM-9 Sidewinder, AGM-65 Maverick ระเบิดธรรมดาตระกูล Mk80s และกระเปาะจรวด Hydra 2.75" ครับ

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

รัสเซียและอินเดียจะพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos รุ่นเบาสำหรับเรือดำน้ำ เครื่องบินขับไล่ PAK FA และอาจจะส่งออกให้ประเทศที่สาม

Russia and India to develop BrahMos light cruise missile for PAK FA 5th-generation jet
The missile has a range of 290 km and carries a warhead weighing from 200 to 300 kg
http://tass.com/defense/927705

อาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำความเร็วเหนือเสียงแบบ BrahMos รุ่นขนาดเบาจะถูกพัฒนาเพื่อนำมาติดตั้งใช้กับเรือดำน้ำโดยยิงจากท่อ Torpedo ใต้น้ำและเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Sukhoi T-50 PAK FA(Prospective Airborne Complex of Frontline Aviation)
ตามที่ Alexander Leonov ผู้อำนวยการบริหารและนักออกแบบทั่วไปของ Machine-Building Research and Development Consortium กล่าวเมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมา

"เรากำลังทำงานกับอาวุธปล่อยนำวิถีรุ่นขนาดเบา มันควรจะมีขนาดพอดีกับท่อ Torpedo และควรจะมีขนาดเล็กลง 1.5เท่าตามน้ำหนักของมัน มันจะเป็นไปได้ที่จะติดตั้งในแบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นกับ(อากาศยาน)หลายรูปแบบของเรา
แน่นอนเรากำลังพัฒนามันอยู่ อย่างแรกสุดคือสำหรับเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แต่มันก็เป็นไปได้ที่จะติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ MiG-35 ได้ แม้ว่าเราจะยังไม่ได้ดำเนินการพัฒนาดังกล่าวก็ตาม" นาย Leonov กล่าว

Russian-Indian BrahMos cruise missiles may be supplied to third countries
http://tass.com/defense/927693

นาย Leonov ยังกล่าวด้วยว่ารัสเซียและอินเดียอาจจะเริ่มต้นการส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน BrahMos ส่งออกให้กับประเทศที่สามด้วย
"การส่งออกให้ประเทศที่สามมีความเป็นไปได้ มันเคยถูกยับยั้งไปก่อนหน้านี้เช่นที่กองทัพบกอินเดียได้จัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีจำนวนมาก และเช่นนั้นความสำคัญจึงถูกจัดไปให้ประเทศที่เป็นกลุ่มร่วมทุนเป็นหลัก แต่ตอนนี้เราสามารถเจรจากับประเทศอื่นๆได้แล้ว" เขากล่าว

BrahMos เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนความเร็วเหนือเสียงที่เป็นผลงานพัฒนาร่วมกันระหว่าง Machine-Building Research and Development Consortium รัสเซีย และ Defense Research and Development Organization(DRDO)อินเดีย
ซึ่งทั้งสองจัดกลุ่มร่วมทุน BrahMos ในปี 1998 โดยชื่ออาวุธปล่อยนำวิถีนำมาจากชื่อแม่น้ำ Brahmaputra(พรมหบุตร)ของอินเดีย และแม่น้ำ Moscow รัสเซีย อาวุธปล่อยนำวิถี BrahMos มีระยะยิง 290km และติดตั้งหัวรบขนาด 200-300kg
ปัจจุบัน BrahMos มีทั้งรุ่นฐานยิงบนชายฝั่ง รุ่นยิงจากเรือรบผิวน้ำ รุ่นอากาศสู่พื้นเช่นที่ติดกับเครื่องบินขับไล่ Su-30MKI กองทัพอากาศอินเดีย และรุ่นยิงจากท่อยิงแนวดิ่ง VLS ในเรือดำน้ำ ซึ่งทั้งหมดเป็นรุ่นที่ตัวจรวดมีขนาดใหญ่ครับ

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

กองทัพเรืออินเดียมองหาเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินใหม่

India seeks new naval fighter to replace rejected Tejas LCA
The Rafale is one of a number of options being presented to the Indian Navy as it looks to replace the rejected Tejas LCA as a carrier-borne combat aircraft.
The air force has already selected the French aircraft, but in a country where interoperability does not count for much, there is no indication that the navy will necessarily do the same. (French Navy)
http://www.janes.com/article/67252/india-seeks-new-naval-fighter-to-replace-rejected-tejas-lca

กองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy) ได้ออกเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) สำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบใหม่
หลังจากที่เครื่องบินขับไล่ Tejas LCA(Light Combat Aircraft) รุ่นปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบิน(Tejas Navy/Naval LCA) ที่พัฒนาโดย Hindustan Aeronautics Limited(HAL)อินเดียถูกปฏิเสธเนื่องจากไม่มีความเหมาะสมในการนำเข้าประจำการ

เอกสารขอข้อมูลที่ออกเมื่อวันที่ 17 มกราคมแต่ได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ครอบคลุมการจัดหาเครื่องขับไล่พหุภารกิจประจำเรื่องบรรทุกเครื่องบิน(MRCBF: Multi-Role Carrier Borne Fighters) จำนวน 57เครื่อง
สำหรับประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikramaditya(Admiral Gorshkov เดิม) และ INS Vikrant(ลำใหม่ที่อินเดียสร้างในประเทศ) ของกองทัพเรืออินเดีย
เพื่อทดแทนช่องว่างจากการยกเลิกการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Tejas LCA รุ่นประจำเรือบรรทุกเครื่องบินเมื่อเดือนธันวาคม 2016 เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ตรงความต้องการปฏิบัติการที่จะนำเข้าประจำการ

ตามที่ระบุไว้ในเอกสาร อากาศยานที่ถูกเลือกต้องสามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืนในทุกสภาพกาลอากาศ และจะต้องเข้ากันได้กับระบบป้องกันภัยทางอากาศประจำเรือ, มีระบบอาวุธอากาศสู่พื้น
ทำการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศให้กันเองแบบ Buddy-Buddy ได้, สามารถลาดตระเวนทางอากาศได้, มีระบบสงคราม Electronic และภารกิจอื่นๆที่ไม่ได้ระบุ
การส่งมอบเครื่องแรกคาดว่าควรจะเป็นภายใน 3ปีหลังจากที่มีการลงนามสัญญาจัดหา และจะต้องส่งมอบเครื่องครบทั้งหมดภายใน 3ปีหลังจากปีที่ส่งมอบเครื่องแรก

การระบุค่ารายการภารกิจเฉพาะและสมรรถนะมีเช่น การตั้งค่าอาวุธปฏิบัติการที่เครื่องมีสมรรถนะการบินสูงสุด(OCC: Operational Clean Configuration) คือ
ปืนใหญ่อากาศ, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond visual-Range Air-to-Air Missile) 4นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบต่อตีได้ทุกมุม(All-Aspect Air-to-Air Missile) 2นัด
เอกสารขอข้อมูลยังรวมความเป็นไปได้ในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเป้าหมายภาคพื้นดิน, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านการแพร่คลื่น Radar เช่นเดียวกับระเบิดนำวิถีความแม่นยำสูง และระเบิดธรรมดาจรวดธรรมดาด้วย

เอกสารขอข้อมูลระบุว่าอากาศยานจะเป็นแบบที่นั่งเดี่ยวหรือสองที่นั่งหรือมีทั้งสองรุ่น และจะมีหนึ่งเครื่องยนต์หรือสองเครื่องยนต์ก็ได้
สามารถปฏิบัติการได้จากเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ STOBAR(Short Take-off But Arrested Recovery) หรือ CATOBAR(Catapult Take-off But Arrested Recovery) หรือได้ทั้งสองแบบ
มีความพร้อมในการใช้งานหรือไม่มีหมวกนักบินแบบติดระบบแสดงผล (HMD: Helmet-Mounted Display)และจอแสดงผลขนาดใหญ่(large-area displays) มีหรือไม่มีระบบลงจอดอัตโนมัติ มีหรือไม่มี Radar แบบ AESA(Active Electronically Scanned Array)

ตามนโยบาย 'Make in India' ของรัฐบาลอินเดีย เอกสารขอข้อมูลยังขอให้ผู้ผลิตควรจะมีความประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์การผลิตอากาศยานในอินเดีย ซึ่งจะประจำการเสริมกับเครื่องบินขับไล่ MiG-29K/KUB(NATO กำหนดรหัส  Fulcrum-D) รัสเซียที่มีประจำการในกองทัพเรืออินเดียแล้ว
อากาศยานที่คาดว่าจะนำเสนอในโครงการนี้มีเช่น Dassault Rafale M ฝรั่งเศสซึ่งกองทัพอากาศอินเดียได้เลือกจัดหา Rafale 36เครื่องไป อย่างไรก็ตามเนื่องจากความต้องการของกองทัพเรืออินเดียไม่เหมือนกับกองทัพอากาศอินเดีย จึงไม่ได้มีความแน่นอนว่า Rafale M จะถูกเลือก รวมถึง SAAB Sea Gripen สวีเดนที่มีการเสนอให้อินเดียมาได้หลายปีแล้วครับ

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

รัสเซียเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ MiG-35 รุ่นใหม่เพื่อเข้าประจำการและส่งออกในอนาคต

Russia’s advanced MiG-35 fighter jet









Marina Lystseva/TASS
Russia’s United Aircraft-Building Corporation held an international presentation of its most advanced 4++-generation multirole fighter jet
http://tass.com/defense/927632




Putin notes good export potential for MiG-35 fighter jet
Russia’s advanced MiG-35 fighter jet will be able to use promising weapons, including laser armaments

ประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin กล่าวเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมาว่า เครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ยุคที่ 4++(4.75) Mikoyan MiG-35(NATO กำหนดรหัส Fulcrum-F) ที่มีความก้าวหน้าของรัสเซียที่เพิ่งมีการทดสอบการบินไปนี้มีศักยภาพในการส่งออกที่ดี
"เครื่องบินนี้มีพร้อมด้านศักยภาพการส่งออกที่ดี ผมยังหมายถึงอากาศยานแบบอื่นๆอีก ซึ่ง MiG-29 ปัจจุบันยังคงถูกใช้งานในมากกว่า 30ประเทศ"
ประธานาธิบดี Putin กล่าวในที่ประชุมขณะสนทนาผ่าน Video Link กับผู้บริหารและพนักงานของบริษัท MiG corporation รัสเซียผู้สร้างอากาศยานในการเริ่มการทดลองบินเครื่องบินขับไล่ MiG-35

ประธานาธิบดี Putin ยังคาดด้วยว่าเครื่องบินเครื่องยนต์ใบพัดพิสัยกลางแบบใหม่ของบริษัท MiG จะพร้อมเมื่อถึงเวลา
"การผลิตของอากาศยานพลเรือนเป็นการขอที่สูงมากในเศรษฐกิจของชาติ และความต้องการที่สูงของประชาชนของเรา ที่มีการวางแผนเดียวสำหรับบริษัท MiG
เครื่องบินใบพัด Turboprop พิสัยกลางจะถูกใช้สำหรับนเที่ยวบินพลเรือนภายในประเทศตามจุดมุ่งหมาย ผมคาดหวังอย่างสูงว่างานนี้จะเสร็จทันภายในเวลาที่กำหนด" ประธานาธิบดี Putin กล่าว

การทดสอบการบินของเครื่องบินขับไล่ MiG-35 รุ่นใหม่ล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา โดย Yuri Slyusar ประธาน United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซียกล่าวว่า
"การสั่งซื้อเครื่องในสายการผลิตเป็นจำนวนมากจะเริ่มต้นได้ในปี 2019" นาย Slyusar ยังเสริมว่าทุกระบบของ MiG-35 ถูกออกแบบและสร้างในรัสเซียทั้งหมด
MiG-35 เป็นเครื่องบินขับไล่ขั้นก้าวหน้าของรัสเซียที่สามารถใช้อาวุธสมรรถนะสูงในอนาคตที่รวมถึงอาวุธ Laser ได้

"เครื่องบินขับไล่นี้ถูกออกแบบโดยเฉพาะเพื่อปฏิบัติการในสมรภูมิที่ทวีความขัดแย้งที่ตึงเครียด และมีระบบป้องกันภัยทางอากาศที่หนาแน่น
ตัวชี้วัดความสำเร็จอย่างสูงนั้นต้องขอบคุณหลายๆครั้งไปยังชุดอุปกรณที่ติดตั้งในเครื่อง ทั้งระบบหาที่ตั้ง Optical ใหม่และการลดสัญญาณการแพร่คลื่น Radar
เราได้เพิ่มจำนวนตำบลติดอาวุธบนเครื่องจาก 6จุดเป็น 8จุด ที่สามารถใช้ได้ทั้งอาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นสำหรับทำลายล้างที่มีในปัจจุบันและอนาคต ที่หมายรวมถึงอาวุธ Laser ด้วย" นาย Slyusar กล่าวขณะเข้าพบตัวแทนกองทัพและกลุ่มอุตสาหกรรมครับ

Russia’s advanced MiG-35 fighter jet to use cutting-edge weapons
All the systems of the MiG-35 aircraft have been developed and produced domestically
http://tass.com/defense/927491

ระบบทั้งหมดของเครื่องบินขับไล่ MiG-35 นั้นถูกพัฒนาและผลิตภายในรัสเซีย ซึ่งรวมถึงระบบนำร่องแรงเฉื่อย และหมวกนักบินติดศูนย์เล็งเป้าหมาย
"เครื่องมีพิสัยการบินไกลขึ้นร้อยละ50 จากขนาดความจุถังเชื้อเพลิงภายในที่ใหญ่ขึ้น และขีดความสามารถในการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศซึ่งเครื่องสามารถใช้ mode เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศจากเครื่องในตระกูลเดียวกันได้"
นาย Slyusar ประธาน UAC กล่าว ซึ่ง MiG-35 นั้นมีพื้นฐานพัฒนามาจากเครื่องบินขับไล่ตระกูล MiG-29 ที่มีสายการผลิตอยู่แล้วทั้ง MiG-29K/KUB และ MiG-29M/M2 โดยมีความเร็วสูงสุด 2.23Mach และมีรัศมีการรบและพิสัยการรบเพิ่มขึ้นจาก MiG-29 รุ่นก่อนร้อยละ50 ครับ

Pilots praise new MiG-35 fighter jet after test flight
The plane's operating range exceeds that of the MiG-29 aircraft by 50%
http://tass.com/defense/927511

Mikhail Belyayev นักบินทดสอบอาวุโสและรองประธานศูนย์ทดสอบการบิน Fyodorov กล่าวว่าระบบอุปกรณ์ทั้งหมดของเครื่องบินขับไล่ MiG-35 นั้นทำงานได้อย่างดีเยี่ยมระหว่างการทดสอบบินเที่ยวแรก
"นักบินทั้งทั้งสองที่รับหน้าที่ทดสอบบินกับเครื่องบินขับไล่ MiG-35UB(สองที่นั่ง) ได้รับคำสั่งให้สาธิตเสถียรภาพทางการบิน, การควบคุม และขีดความสามารถคล่องแคล่วในการดำเนินท่าทางการบิน
ระหว่างการบินทุกระบบเดินอากาศทำงานเป็นปกติ, หน่วยพลังงานอากาศยาน และระบบควบคุมที่ซับซ้อนยังทำงานปกติ เที่ยวบินได้ถูกประเมินค่าในทางบวก" Belyayev กล่าวครับ

MiG-35 fighter jet’s radar to track 30 targets at a time
MiG-35 fighter jet
Marina Lystseva/TASS
The plane’s power unit is a profoundly modernized engine RD-33 of the MK modification, which is characterized by high resistance
http://tass.com/defense/927627


Sergei Korotkov นักออกแบบทั่วไปของ United Aircraft Corporation ได้ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมาว่า ระบบ Radar ที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ MiG-35 นั้นสามารถติดตามเป้าหมายในเวลาพร้อมกันได้ 30เป้า
"Radar ที่ติดตั้งบนเครื่องสามารถตรวจจับและติดตามเป้าหมายจาก 10-30เป้าในเวลาพร้อมกันในระยะ 160km" Korotkov กล่าวในงานประสัมพันธ์เปิดตัว MiG-35 ต่อนานาชาติ
MiG-35 ยังมีสมรรถนะความคล่องแคล่วที่เพิ่มสูงขึ้นและติดตั้ง "อุปกรณ์ที่กำหนดให้ดีที่สุด" ขณะที่การออกแบบเครื่องถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยพิจารณาถึงการใช้ลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินด้วย

MiG-35 ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan สองเครื่องในตระกูล RD-33 ที่ปรับปรุงพัฒนาใหม่คือ RD-33MK ซึ่งเพิ่มคุณสมบัติความคงทนสูง ที่รวมถึงการทนทานต่อการถูกยิงด้วยอาวุธ
MiG-35 มีขีดความสามารถในการบินเข้าสู่ตำแหน่งที่ได้เปรียบในการโจมตี และจะเป็นเครื่องบินรบที่มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มศักยภาพการครองอากาศ  นักออกแบบทั่วไปของ UAC กล่าวครับ

MiG-35 warplane to become Russia’s sole light fighter jet





Russia’s United Aircraft-Building Corporation is holding an international presentation of the most advanced MiG-35 fighter
http://tass.com/defense/927646

พลอากาศโทพิเศษ(Colonel General) Viktor Bondarev ผู้บัญชาการกองทัพอากาศรัสเซีย(VKS: Russian Aerospace Force) กล่าวเมื่อวันที่ 27 มกราคมว่า กรมบินขับไล่เบาทุกกรมจะนำเครื่องบินขับไล่ MiG-35 เข้าประจำการในอนาคต
"ในเวลาที่จะมาถึงเราจะแทนที่หน่วยที่ใช้เครื่องบินขับไล่เบาทุกเครื่องอย่างชัดเจนด้วย MiG-35 รุ่นนี้" นายพล Bondarev กล่าว ซึ่ง MiG-35 จะถูกนำเข้าประจำการในฝูงบินผาดแผลง Swifts ทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-29 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันด้วย
"ผมเชื่อว่าวันนั้นจะไม่ไกลเกินไปเมื่อเรายังคงที่จะให้ฝูงบินผาดแผลง Swifts ใช้งานเครื่องบินที่งดงามนี้" นายพล Bondarev กล่าวโดยเสริมอีกว่า

"การพัฒนา MiG-35 เป็นชัยชนะที่แท้จริง เครื่องรุ่นนี้สามารถใช้อาวุธรุ่นใหม่ล่าสุดได้ทุกชนิดและอาวุธ Laser เช่นเดียวกันด้วย ขอบคุณอย่างมากสำหรับการสร้างสรรค์ที่งดงามนี้ ซึ่งได้ยืนยันอีกครั้งว่านั่นจะไม่มีเครื่องบินแบบใดที่ดีกว่าเครื่องเหล่านี้ในรัสเซีย
มันมีขีดความสามารถในการโจมตีด้วยท่าทางการบินที่คล่องแคล่วสุดยอดในการรบทางอากาศ และโจมตีเป้าหมายทั้งในทะเลและในอากาศ เรายังคงมีอากาศพลศาสตร์ที่ดีที่สุด
เรายังคงมีช่องว่างในการทำงานกับเครื่องยนต์อยู่บ้าง แต่เรารับประกันได้กับการพัฒนา Su-30SM และ Su-34 ว่าเราจะมีเครื่องยนต์ที่ดีที่สุด" นายพล Bondarev กล่าวขอบคุณไปยังคณะผู้ออกแบบอากาศยาน

มีรายงานก่อนหน้านี้ว่า MiG อาจจะพิจารณาการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ขนาดเบาซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งขนานไปกับการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ T-50 PAK FA(Prospective Airborne Complex of Frontline Aviation)ของสำนักออกแบบ Sukhoi
ซึ่ง Sergei Korotkov นักออกแบบทั่วไปของ UAC ที่ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งผู็อำนวยการบริหารของ MiG Corporation เรียกว่า "ค่อนข้างน่าจะเป็นไปได้" สำหรับการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่มีพื้นฐานจาก MiG-35 ครับ

Commander: Russia's MiG-35 fighter jet has big potential in Syria-like conflicts
Russian Aerospace Force Commander-in-Chief Bondarev earlier said the MiG-35 would become Russia's sole light fighter jet
http://tass.com/defense/927673

พลอากาศโทพิเศษ Viktor Bondarev ผู้บัญชาการทหารอากาศรัสเซียกล่าวว่า MiG-35 มีศักยภาพอย่างยิ่งสำหรับภารกิจรบในสงครามท้องถิ่นอย่างสงครามกลางเมืองในซีเรีย
"เครื่องบินที่งดงามด้วยคุณลักษณะที่โดดเด่นนี้สามารถทำภารกิจให้ประสบผลสำเร็จได้ทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศ และสามารถนำมาใช้ในความขัดแย้งท้องถิ่นอย่างในซีเรียได้" นายพล Bondarev กล่าว
กองทัพรัสเซียได้ทดสอบการใช้อากาศยานรบหลายแบบปฏิบัติการในการสนับสนุนกองทัพรัฐบาลซีเรียทั้งเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด Sukhoi Su-34 (NATO กำหนดรหัส Fullback) เครื่องบินขับไล่ Su-35 (NATO กำหนดรหัส Flanker-E)
รวมถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Tu-95MS(NATO กำหนดรหัส Bear) และเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Tu-160(NATO กำหนดรหัส Blackjack) ที่ใช้ในปฏิบัติการรบจริงครั้งแรกที่ซีเรีย

ขณะเดียวกันรัสเซียได้ใช้เครื่องบินขับไล่ MiG-29K ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินในซีเรียที่ปฏิบัติการจากฐานทัพอากาศบนบก ซึ่งแตกต่างจาก MiG-29 รุ่นดังเดิมอย่างมาก
"เราได้ทดสอบอากาศยานในตระกูลทุกแบบอย่างแท้จริงในซีเรียยกเว้น MiG-29 ซึ่งบินขึ้นจากฐานบินบนบก และ MiG-35 เป็นเครื่องบินที่ยอดเยี่ยมที่เพิ่มขีดความสามารถในการโจมตีทั้งภาคพื้นดินและทางอากาศในพิสัย 3,500km โดยไม่ต้องลงจอด ซึ่งนี่เหมาะกับเราอย่างมาก
เราจะจัดซื้อให้เร็วที่สุดเมื่อขั้นตอนการทดสอบสิ้นสุดลง โดยเร็วที่สุดเครื่องบินจะเข้าสู้สายการผลิตจำนวนมาก เราจะจะรับมอบมันในทันที" นายพล Bondarev กล่าว
ผู้บัญชาการทหารอากาศรัสเซียกล่าว่า MiG-35 จะกลายเป็นเครื่องบินขับไล่เบาแบบเดียวของรัสเซียด้วยครับ ซึ่งการทดสอบโดยผู้ผลิตจะมีอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2017 นี้ครับ

Russia ready to offer again its MiG-35 fighter jet to India
A military and industrial conference will be held in India in spring to discuss the deliveries, repairs and maintenance of Russian weapons
http://tass.com/defense/927686

วันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมารองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Dmitry Rogozin ได้กล่าวว่ารัสเซียพร้อมที่จะเสนอเครื่องบินขับไล่ MiG-35 ให้อินเดีย
โดยในการสัมมานาที่จะมีขึ้นอินเดียในฤดูใบไม้ผลินี้จะมีการหารือในส่วนการส่งมอบ,การซ่อมแซมและการบำรุงรักษาอาวุธรัสเซีย รวมถึงการจัดตั้งความร่วมมือระหว่างกันที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย "Make in India" ด้วย
"ในความสัมพันธ์นี้เรายังพร้อมที่จะเสนอเครื่องนี้(MiG-35)สำหรับกองทัพอากาศอินเดีย ไม่ต้องสงสัยว่าการพูดคุยจะเป็นในเรื่องนี้" นาย Rogozin กล่าว

ก่อนหน้านี้ UAC รัสเซียได้ส่ง MiG-35 เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MMRCA สำหนรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ 126เครื่องของกองทัพอากาศอินเดีย
อย่างไรก็ตามอินเดียได้เลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสเป็นผู้ชนะในโครงการ แต่การเจรจาที่ติดขัดระหว่างอินเดียกับฝรั่งเศสในเรื่องสายการผลิตในอินเดียทำให้อินเดียจะจัดหา Rafale เพียง 36เครื่องครับ

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

Rafael อิสราเอลเปิดเผยข้อมูลใหม่อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Spike SR

Rafael reveals Spike SR details
A Rafael Spike SR is seen hitting a stationary M60 tank during the live-fire demonstration for potential customers held in southern Israel in December 2016. Source: Rafael Advanced Defense Systems
The single large and three small apertures are seen on the nose of the Spike SR missile. (Rafael Advanced Defense Systems)
http://www.janes.com/article/67222/rafael-reveals-spike-sr-details


บริษัท Rafael Advanced Defense Systems อิสราเอลได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับ Jane's สำหรับระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Spike Short Range(SR) ใหม่สำหรับทหารราบ ซึ่งได้มีการสาธิตให้คณะตัวแทนจาก 15ประเทศชมเมื่อเดือนธันวาคม 2016 ที่ผ่านมา
"เราเชื่อว่า Spike SR เป็นระบบที่เบาที่สุด เล็กที่สุด และมีขีดความสามารถยิงแล้วลืมของอาวุธปล่อยนำวิถีด้วยกล้อง Electro-Optical แบบประทับบ่ายิงแนวหน้า ที่คุณสามารถหาได้ในสนามรบในปัจจุบันนี้" แหล่งข้อมูลของ Rafael กล่าว

Spike SR เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังในตระกูล Spike รุ่นล่าสุดที่มีขนาดเล็กที่สุดด้วยความยาวตัวอาวุธปล่อยนำวิถี 98cm, หน่วยควบคุมการยิง Control Launch Unit(CLU) พร้อม Battary หนัก 1.2kg, จรวดในท่อยิงหนัก 8.6kg
ทำให้น้ำหนักรวมของระบบทั้งหมดน้อยกว่า 10kg ซึ่งไม่มีระบบอาวุธปล่อยนำวิถียิงแล้วลืมในระดับเดียวกันแบบใดที่มีสายการผลิตในปัจจุบันมีน้ำหนักน้อยเท่านี้

Rafael ได้อธิบายว่าระบบตรวจจับค้นหาและเครื่องยนต์ Motor เป็นนวัตกรรมในการออกแบบ ซึ่งอาวุธปล่อยนำวิถีไม่ได้มีชุดดินขับ booster ต่างหากที่แยกออกจากท่อยิงโดยรวมเป็นชุดเดียวในส่วน motor
รูรับแสงขนาดใหญ่ด้านหน้าของหัวอาวุธปล่อยนำวิถีติดตั้งตัวตรวจจับ Infrared แบบไม่หล่อเย็นซึ่งสามารถติดตามเป้าหมายได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ที่ไม่เหมือนกับอาวุธปล่อยนำวิถีรุ่นอื่นในตระกูล Spike ที่ระบบค้นหาจะติดบนเบ้าวงแหวน

แหล่งข้อมูลของ Rafael กล่าวว่า ผลจากการลงทุนของบริษัทในการพัฒนาระบบค้นหาที่มีมุมมองกว้างและแข็งแรง ทำให้สามารถค้นหาและติดตามเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วได้แม้จะในช่วงเวลาสั้นๆ
รูรับแสงที่เหลืออีกสามรูในส่วนหัวของอาวุธปล่อยนำวิถีทางแหล่งข้อมูลของ Rafael กล่าวว่าเป็นกล้องกลางวันความละเอียดสูง

หน่วยควบคุมการยิง CLU ของระบบที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบให้สามารถถอดทิ้งได้ เนื่องจากไม่มีตัวตรวจจับในตัวมันเอง มีเพียงแต่จอ OLED พื้นฐานและก้านควบคุมที่ให้พลยิงใช้ในการควบคุมการค้นหาและติดตามเป้าหมายโดยใช้ระบบตรวจจับอาวุธปล่อยนำวิถีเท่านั้น
Rafael กล่าวว่า อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Spike SR มีระยะยิงไกลสุด 1,500m และมีระยะยิงใกล้สุด 50m ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

รัสเซียอาจจะเริ่มการสร้างเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้ายุคที่5 ในอีก 5ปี และเวียดนามได้รับมอบเรือดำน้ำชั้น Kilo ลำสุดท้ายครบ 6ลำ

Russia may launch construction of fifth-generation conventional submarine in 5 years
The submarine St. Petersburg, the lead vessel of this series, is undergoing operational evaluation in Russia’s Northern Fleet
Alexander Demianchuk/TASS
http://tass.com/defense/927172

Alexei Rakhmanov ประธาน United Ship-Building Corporation(USC) กลุ่มอุตสากรรมการสร้างเรือของรัสเซียให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมาว่า
การสร้างเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบยุคที่5 ลำแรกของรัสเซียนั้น อาจจะเริ่มต้นได้ในราว 5ปีข้างหน้า "ผมเชื่อว่าในประมาณ5ปี" นาย Rakhmanov กล่าวในการตอบคำถามที่เกี่ยวข้อง
Igor Vilnit ผู้อำนวยการบริหารของสำนักออกแบบกลาง Rubin ได้ให้ข้อมูลกับ TASS ก่อนหน้านี้ว่าเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Project 677 Lada ซึ่งเป็นเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าตามแบบยุคที่4 ของรัสเซียนั้นจะเป็นพื้นฐานให้กับเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้ายุคที่5

โดยเรือลำแรกของชั้นคือ B-585 Sankt Peterburg กำลังอยู่ระหว่างการประเมินค่าการปฏิบัติการในกองเรือทะเลเหนือ กองทัพเรือรัสเซีย ซึ่งตามที่ได้เคยรายงานไปว่าเรือลำนี้ใช้เวลาสร้างและแก้ปัญหามานานหลายปี
ส่วนเรือดำน้ำชั้น Lada อีก 2ลำคือ B-586 Kronshtadt และ B-587 Velikiye Luki นั้นกำลังอยู่ระหว่างการสร้าง หลังจากที่เคยถูกระงับการสร้างก่อนการแก้ไขแบบเรือใหม่
เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบยุคที่5 ของรัสเซียนี้มีการรายงานในชื่อว่าเรือดำน้ำชั้น Kalina ซึ่งจะเป็นเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าแบบแรกของกองทัพเรือรัสเซียที่จะติดตั้งระบบขับเคลื่อน AIP(Air Independent Propulsion) ครับ



Russia Delivered HQ-187 Ba Ria Vung Tau Sixth Project 636M Improved Kilo Submarine to Vietnam People's Navy

วันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา กองทัพเรือประชาชนเวียดนามได้รับมอบเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Project 636M(NATO กำหนดรหัสชั้น Improved Kilo) ลำที่6 คือ HQ-187 Ba Ria Vung Tau จากรัสเซียซึ่งเป็นลำสุดท้ายของชั้น
โดยเวียดนามได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำชั้น Kilo จำนวน 6ลำกับ Rosoboronexport รัฐวิสาหกิจด้านการจัดการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาลรัสเซียวงเงินประมาณ $2 billion ในปี 2009
ซึ่งกองทัพเรือประชาชนเวียดนามได้รับมอบเรือดำน้ำ 5ลำเข้าประจำการก่อนแล้วในช่วงปี 2014-2016 คือ HQ-182 Ha Noi, HQ-183 Ho Chi Minh City, HQ-184 Hai Phong, HQ-185 Khanh Hoa และ HQ-186 Da Nang ครับ

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

รัฐบาลไทยอนุมัติแผนการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทย

Thai government approves submarine procurement
http://www.janes.com/article/67207/thai-government-approves-submarine-procurement

Conventional Submarine model of China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) and China Shipbuilding & offshore International(CSOC) at Ship Tech.III 2016 (My Own Photo)

รัฐบาลไทยได้อนุมัติงบประมาณวงเงิน ๑๓,๕๐๐ล้านบาท($383 million) เพื่อสนับสนุนกองทัพเรือไทยในแผนโครงการจัดหาเรือดำน้ำระยะที่๑ แบบ S26T จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ๑ลำแรกจาก ๓ลำ
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ยืนยันหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคมที่ผ่านมา
ทาง Jane's เข้าใจว่าวงเงินงบประมาณโครงการดังกล่าวได้ถูกบรรจุรวมในงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ซึ่งอนุมัติโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช.ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว(2016)
นอกจากนี้คาดว่าจะมีการอนุมัติการจัดหาเรือดำน้ำลำที่๒ และลำที่๓ ตามมาภายหลัง ซึ่งโครงการจัดหาเรือดำน้ำทั้งหมด ๓ลำจะใช้วงเงินประมาณ ๓๖,๐๐๐ล้านบาท($1.02 billion)

อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีกลาโหมไทยกล่าวว่ายังไม่ได้มีการเสนอโครงการจัดหาเรือดำน้ำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ครม.แต่อย่างใด โดยอยู่ระหว่างที่กองทัพเรือจะจัดทำรายละเอียดเพื่อนำเสนอต่อไป
ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหมไทยเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการมีเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยว่า เพราะกองทัพเรือประเทศเพื่อนบ้านของไทยนั้นมีเรือดำน้ำกันเกือบหมดแล้ว
และทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของไทยนั้นมีมูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝั่งทะเลอันดามันซึ่งยังไม่เคยมีการสำรวจ รวมถึงจะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการปกป้องอธิปไตยของชาติ
ส่วนเรือดำน้ำลำที่๒ และลำที่๓นั้นก็มีความจำเป็นต้องจัดซื้อตามแผนงบประมาณผูกพัน ๑๑ปี เพราะมีเรือดำน้ำลำเดียวคงทำอะไรไม่ได้มาก ซึ่งเมื่อจัดหามาก็ต้องใช้งานได้ครับ

รัสเซียเตรียมส่งออกอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Buk-M3 และจะพัฒนาระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลางยุคที่5

Russian defense contractor prepares Buk-M3 antiaircraft missile systems for exports
Buk missile system
Sergei Fadeichev/TAS
The developments of the company in the niche of medium-range antiaircraft missile systems have already been exported for half a century
http://tass.com/defense/926668

การเตรียมการสำหรับระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง Buk-M3 รุ่นใหม่ในส่วนการส่งออกขายแก่ต่างประเทศและการกำหนดการอนุญาตส่งออกกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินงาน
ตามที่ Yuri Bely ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งการสร้างอุปกรณ์ Tikhomirov ให้ข้อมูลกับ TASS เมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา
โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา Tikhomirov เป็นส่วนหนึ่งของ Almaz-Antey Group ผู้ผลิตระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศพิสัยไกลของรัสเซียอย่าง S-300 และ S-400

"การพัฒนาของเราในระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานพิสัยกลางที่มีความเฉพาะได้ประสบความสำเร็จในการส่งออกมาแล้วเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ
เราหวังว่าสำหรับ Buk-M3 ซึ่งการกำหนดการอนุญาตส่งออกกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมการ จะพบกับอนาคตที่สดใสในตลาดส่งออกต่างประเทศ"
นาย Bely กล่าวโดยระบุว่า ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานถูกแบ่งเป็นระบบพกพาได้ด้วยบุคคล, ระบบพิสัยใกล้, พิสัยกลาง และพิสัยไกล ซึ่งมีความซับซ้อนโดดเด่นตามคุณสมบัติทางเทคนิคและราคาของพวกมัน
"ความสนใจของลูกค้าต่างประเทศขึ้นกับทั้งภารกิจที่ต้องการจะทำให้สำเร็จและความเป็นไปได้ด้านงบประมาณ เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศของประเทศเราในทุกชั้นทั้งหมดนั้น ถือเป็นสิ่งที่มีมูลค่าสำหรับตลาดนอกประเทศ" นาย Bely กล่าวครับ

Russia to develop 5th-generation medium-range anti-aircraft missile system
Air defense missile complex can be developed within 7-10 years, the developer told TASS
http://tass.com/defense/926693

Yuri Bely ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งการสร้างอุปกรณ์ Tikhomirov ยังข้อมูลกับ TASS อีกว่า ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานยุคที่5 ที่มีพื้นฐานจากอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง Buk จะถูกพัฒนาขึ้นใน 7-10ปีนี้
"ประสบการณ์ในการพัฒนาระบบวิทยาการขั้นสูงที่ซับซ้อน ซึ่งแสดงถึงการสร้างระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาสยานพิสัยกลางยุคที่นั้น อาจจะต้องเวลา 7-10ปีขึ้นอยู่กับสถานะการณ์ที่เอื้ออำนวย" เขากล่าว
หลักการตัดสินใจนั้นได้มีขึ้นแล้วในการดำเนินงานกับระบบอาวุธปล่อยนำวิถีตระกูล Buk โดยไม่ได้มีการรอการสั่งการทางเทคนิคอย่างเป็นทางการจากกระทรวงกลาโหมรัสเซีย นาย Bely ยังกล่าวเพิ่มว่า Almaz-Antey จะดำเนินงานที่เกี่ยวข้องด้วยงบประมาณภายในของตนเอง

"ระบบใหม่นี้คาดว่าจะรวมการปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนการต่อต้านการถูกรบกวนสัญญาณ(Jamming) และความอยู่รอด, ขีดความสามารถการรบแบบหุ่นยนต์อัตโมัติ, พิสัยตรวจจับและการทำลายที่ไกลขึ้น
และบูรณาการอย่างใกล้ชิดเป็นหนึ่งเดียวกับระบบป้องกันภัยทางอากาศอื่นอย่างครบวงจร หรือในอีกความหมายหนึ่งคือการการสนับสนุนการเชื่อมโยงระบบควบคุมเครื่อข่ายการรบ(Network Centric)" นาย Bely กล่าวครับ

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

ยูเครนจะพัฒนารถถังหลัก T-Rex ซึ่งมีสมรรถนะเทียบเท่า T-14 Armata รัสเซีย

Ukraine to develop the T-Rex a new main battle tank to compete the Russian T-14 Armata MBT.
Drawing of new Ukrainian project of main battle tank "T-Rex" (Image: gazeta.ua)
http://armyrecognition.com/january_2017_global_defense_security_army_news_industry/ukraine_to_develop_the_t-rex_a_new_main_battle_tank_to_compete_the_russian_t-14_armata_mbt_12301171.html




http://andrei-bt.livejournal.com/459443.html

Arey Engineering Group ยูเครนภายใต้การควบคุมของ Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจด้านการจัดการกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงยูเครนได้ประกาศแผนการพัฒนารถถังหลักแบบใหม่ที่มีรหัสว่า 'T-Rex'
ซึ่งรถถังหลัก T-Rex ของยูเครนนี้จะใช้การออกแบบและ Technology ใหม่ล่าสุดแห่งอนาคต ซึ่งเทียบเท่ากับรถถังหลัก T-14 Armata รัสเซียที่จะเข้าประจำการในอนาคต

รถถังหลัก T-Rex ยูเครนจะติดตั้งระบบควบคุมการยิงยุคหน้าและเกราะป้องกันที่ใช้วิทยาการขั้นก้าวหน้าแบบล่าสุด พร้อมระบบป้องกันเชิงรุก Active Protection System ที่สามารถต่อต้านจรวดต่อสู้รถถังและอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังได้
พลประจำรถทั้ง 3นาย(ผู้บังคับการรถ, พลขับ, พลยิง)จะอยู่ในสถานีหุ้มเกราะเรียงกันที่ตัวถังรถแคร่ฐานด้านหน้า ที่ติดตั้งระบบตรวจการณ์มองได้รอบตัว 360องศาเหมือน T-14 รัสเซีย

เช่นเดียวกับ T-14 ถ.หลัก T-Rex ใช้ป้อมปืนแบบไร้พลประจำป้อมติดตั้งปืนใหญ่รถถังขนาด 125mm พร้อมระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติ, ปืนกลร่วมแกน และป้อมปืน Remote สำหรับปืนกลหนักด้านบนป้อม
ตามข้อมูลของผู้ออกแบบรถถังหลัก T-Rex จะมีสมรรถนะการรบเหนือกว่า T-64BM Bulat และ T-84M Oplot-M ที่ยูเครนพัฒนามาก่อนหน้านี้อย่างมากครับ

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

พิธีปล่อยเรือลงน้ำเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ร.ล.ท่าจีน ที่เกาหลีใต้

Royal Thai Navy's new Frigate FFG-471 HTMS Tachin launching ceremony at Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) Okpo-Dong shipyard, Geoje, South Gyeongsang, Busan, Republic of Korea, 23 January 2017




กองทัพเรือจัดพิธีปล่อยเรือฟริเกตสมรรถนะสูงต่อจากบริษัท DSME ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีลงน้ำ

วันนี้(23 มกราคม 2560) เวลา 15.39 น. พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือฯ พร้อมด้วยนางปรานี อารีนิจ ภริยาเป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ 
โดยมีพลเรือเอก รังสฤษดิ์ สัตยานุกูล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือฟริเกต และRDMl.Park Young-Sik Commander, Naval Education&Training Group 1(Flag Escort to the C-in-C, RTN) ให้การต้อนรับ 
และมีพลเรือตรีกฤษฎาภรณ์ พันธุมโพธิ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์กองทัพเรือ นาวาเอกไพฑูรย์ ชีชะนะ ผู้ช่วยฑูตฝ่ายทหารเรือไทย/โตเกียว พร้อมภริยา,
Cdr.Kim, Young Sik Asia-Pacific Desk, Foreign Policy Division,ROKN HQs Ens.Kim, Hyunmin Foreign Policy Division, ROKN HQs (Translator) และผู้แทนบริษัท DSME ร่วมพิธีฯ ณ อู่ต่อเรือบริษัท DSME เมืองปูซาน ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

สำหรับเรือฟริเกตสมรรถนะสูง หรือเรือหลวงท่าจีน(ลำใหม่) ต่อโดยบริษัท DSME.(DAEWOO Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD.) ประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี โดยการสร้างเรือดำเนินการ ณ อู่ต่อเรือของบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลี 
เป็นเรือฟริเกตที่จัดหาจะมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบได้ 3 มิติ คือ การปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ และการปฏิบัติสงครามผิวน้ำ 
โดยสามารถปฏิบัติงานร่วมกับ เฮลิคอปเตอร์กองทัพเรือ ในการรับ-ส่ง เฮลิคอปเตอร์ และนำ เฮลิคอปเตอร์เข้าเก็บในโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ได้ 
นอกจากนั้น ยังได้เพิ่มขีดความสามารถของระบบตรวจการณ์ และระบบอาวุธในการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ และการป้องกันภัยทางอากาศให้มีประสิทธิภาพสูง 
อีกทั้งระบบอาวุธและระบบอำนวยการรบ ได้รับการออกแบบให้มีขีดความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธี ที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบการรบของเรือฟริเกต ชุด เรือหลวงนเรศวร และ เรือหลวงจักรีนฤเบศร ได้ 
เป็นผลทำให้การปฏิบัติการรบร่วมในลักษณะกองเรือ (Battle Group) รวมทั้งการปฏิบัติการรบร่วมกับอากาศยานของกองทัพอากาศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
ประกอบกับข้อเสนอการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่บริษัทฯ เสนอ จะทำให้เพิ่มขีดความสามารถให้อู่เรือไทยและบุคคลากรทั้ง ทร. และภาคเอกชนให้มีความรู้ความชำนาญ รองรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการบำรุงรักษา 
ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือรบในประเทศได้

กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาดำเนินการ โดยได้เชิญชวนอู่เรือของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา จำนวน 13 ราย ซึ่งรวมถึงอู่เรือจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ด้วย 
เพื่อเปิดกว้างให้มีการแข่งขันให้กองทัพเรือ ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยมีผู้เสนอแบบเรือ 5 ราย ได้แก่ อู่เรือจากสาธารณรัฐอิตาลี ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐเกาหลี (2 ราย) และสาธารณรัฐประชาชนจีน 
หลังจากนั้นได้ดำเนินการคัดเลือกแบบตามแนวทางการจัดหายุทโธปกรณ์หลักของกองทัพเรือ 
โดยผลการพิจารณาปรากฏว่า แบบเรือของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd. (DSME) สาธารณรัฐเกาหลี สามารถตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือได้ดีที่สุด 
และเป็นแบบเรือที่ตรงตามความต้องการของกองทัพเรือมากที่สุด จึงได้รับการคัดเลือก แบบเรือฟริเกตที่ได้รับการคัดเลือก เป็นแบบที่พัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) ซึ่งเรือฟริเกตที่กองทัพเรือจัดหา 
มีการออกแบบและสร้างเรือ โดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และกองทัพเรือเกาหลี อีกทั้งได้รับการรับรองเป็นแบบที่ได้รับรองจากสถาบันจัดชั้นเรือซึ่งเป็นสมาชิกของ IACS (International Association of Classifications Society) 

โดยแบบเรือดังกล่าว มีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000 ไมล์ทะเล กำลังพล 136 นาย ลักษณะของเรือออกแบบโดยใช้ Stealth Technology และลดการแพร่คลื่นแม่เหล็กตัวเรือ รวมทั้งลดการแพร่เสียงใต้น้ำ 
ติดตั้งระบบอำนวยการรบและระบบอาวุธจากยุโรปและอเมริกา ซึ่งสามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ รวมทั้งป้องกันตัวเองในระยะประชิด ตามมาตรฐานยุโรป สหรัฐฯ และกองทัพเรือที่มีใช้งานและกำลังจัดหา
การสร้างเรือ จะดำเนินการ ณ อู่ต่อเรือของบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างปี 2556 – 2561 โดยมีค่าจ้างสร้างเรือรวมทั้งสิ้นประมาณ 14,997 ล้านบาท 
ซึ่งเป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม อะไหล่เครื่องมือ เอกสาร ส่วนสนับสนุน การทดสอบทดลอง การฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นงบประมาณผูกพันระยะเวลา 6 ปี

คุณลักษณะและขีดความสามารถโดยสังเขปของเรือฟริเกตสมรรถนะสูง

ภารกิจ
ภารกิจในยามสงคราม กิจหลักป้องกันอธิปไตยเหนืออาณาเขตทางทะเลของไทย กิจรองุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง
ภารกิจในยามสงบ รักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของเส้นทางคมนาคมทางทะเล พิทักษ์รักษาสิทธิอธิปไตยทางทะเล ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ และรักษากฎหมายตามกฎหมายให้อำนาจทหารเรือ

ขีดความสามารถ
ขีดความสามารถทั่วไป โดยสามารถนำเรือ/เดินเรือแบบรวมการที่ทันสมัย ระบบขับเคลื่อนที่ควบคุมง่าย รวดเร็ว ทนทาน ง่าย และประหยัด ความทนทะเลได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 6 ขึ้นไป 
โครงสร้างเรือแข็งแรง มีโอกาสอยู่รอดสูงในสภาพแวดล้อมของการสู้รบและการปนเปื้อนทางนิวเคลียร์/เคมี/ชีวะ
ขีดความสามารถด้านการควบคุมบังคับบัญชาและการตรวจการณ์ ด้วยระบบอำนวยการรบและระบบตรวจการณ์ที่ทันสมัยและขีดความสามารถสูง รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและสื่อสารกับเรือ อากาศยาน และหน่วยบนฝั่ง 
ตลอดจนสามารถตรวจการณ์ครอบคลุมทุกมิติและทั้งกลางวันและกลางคืน
ขีดความสามารถการรบ โดยสามารถปฏิบัติการรบได้ ๓ มิติ โดยให้ความสำคัญในการการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำเป็นลำดับแรก โดยสามารถตรวจจับเป้าหมายระยะไกลด้วยโซนาร์ลากท้ายและโซนาร์ติดใต้ท้องเรือ 
แล้วต่อตีเรือดำน้ำได้ที่ระยะไกลด้วย Vertical Launch Anti-Submarine Rocket หรือตอร์ปิโด และลำดับที่สอง การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ โดยใช้เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติระยะไกล และระยะปานกลางในการค้นหา ตรวจจับ และติดตามเป้าข้าศึก 
รวมทั้งแลกเปลี่ยนและประสานการปฎิบัติกับเรือและอากาศยานที่ร่วมปฏิบัติการ แล้วโจมตีเป้าหมายด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีฯ แบบ ESSM และอาวุธปืนของเรือ ส่วนการป้องกันทางอากาศระยะไกล 
หรือพื้นที่ชั้นนอกของกองเรือ (Battle Group) จะใช้การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยานของกองทัพอากาศในการค้นหา ตรวจจับและโจมตี และการปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ โดยสามารถโจมตีเป้าหมายได้ที่ระยะไกล 
โดยปฏิบัติร่วมกับเรือและอากาศยานในการพิสูจน์ทราบเป้า ส่งมอบเป้าและให้ใช้อาวุธจากระยะพ้นขอบฟ้า รวมทั้งโจมตีเป้าพื้นน้ำและใต้น้ำด้วยเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือ
ขีดความสามารถในการป้องกันตนเอง ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีฯ ปืนใหญ่เรือและปืนรองต่อสู้อากาศยาน ระบบอาวุธป้องกันระยะประชิด (CIWS) ระบบลวงทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมความเสียหายแบบรวมการที่สั่งการได้จากศูนย์กลางหรือแยกสั่งการ 
มีระบบควบคุมการแพร่สัญญาณออกจากตัวเรือ
ขีดความสามารถในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารตรวจจับ ดักรับ วิเคราะห์ และก่อกวนสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าของเป้าหมายได้
ขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบร่วม โดยผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี ให้สามารถปฏิบัติการรบร่วมในลักษณะกองเรือ (Battle Group) ได้แก่ ร.ล.จักรีนฤเบศร เรือฟริเกต ชุด เรือหลวงนเรศวร เรือคอร์เวต ชุด เเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
รวมทั้งการปฏิบัติการรบร่วมกับ เครื่องบินกองทัพอากาศ ตามบทบาทหน้าที่ที่จะได้รับมอบหมาย ซึ่งเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จะทำหน้าที่ควบคุมการปราบเรือดำน้ำเป็นหลัก
เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ได้รับการออกแบบตัวเรือและโครงสร้างรองรับการปรับปรุงให้สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ SM2 รวมทั้งได้มีแผนเตรียมการรองรับไว้แล้ว โดยบริษัทผู้ผลิตระบบประกอบที่เกี่ยวข้องได้แก่ 
แท่นยิงแท่นยิงอาวุธปล่อยฯ แนวตั้ง ระบบอำนวยการรบ เรดาร์ควบคุมการยิงและ เรดาร์ชี้เป้า (Illuminator) สามารถปรับปรุงรองรับการยิงอาวุธปล่อยฯ ดังกล่าวได้ เมื่อกองทัพเรือต้องการและสถานการณ์ด้านงบประมาณเอื้ออำนวย

ในการต่อเรือชุดนี้กองทัพเรือได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อเรือ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของการต่อเรือภายในประเทศ โดยกองทัพเรือจะทำการต่อเรือฟริเกตสมรรถณะสูงเองอีก 1 ลำ ตามแนวทางพระราชดำริพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
โดยที่ผ่านมาบริษัท DSME. จำกัด และ บริษัท ไฮเทค เอเจ โฮลดิ้ง จำกัด (บริษัทผู้แทนในระเทศไทยของบริษัท DSME จำกัด) ได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับกองทัพเรือ และบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด บริษัท 
ในด้านความร่วมมือการพัฒนาขีดความสามารถในการซ่อม สร้าง และดัดแปลงเรือ ของกรมอู่ทหารเรือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อ 30 กันยายน 2559 ณ ห้องรับรองกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1408382035879815
https://www.facebook.com/prthainavy

https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1407188075999211
https://www.facebook.com/prthainavy/








เตรียมทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำ

ร.ล.ท่าจีน (เรือฟริเกตสมรรถนะสูง) ลำใหม่ล่าสุดของ ทร. ไทบ กำลังเคลื่อนย้ายเพื่อเตรียมนำมาประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันจันทร์ที่ 23 ม.ค.60 นี้ โดยมี พล.ร.อ.ณะ อารีนิจ ผบ.ทร. เป็นประธานในพิธี

เรือลำดังกล่าว ต่อโดยบริษัท DSME ประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ซึ่งคาดว่าจะเข้าประจำการในปี 2561

กองทัพเรือ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาทั้งองค์วัตถุ องค์บุคคล และ องค์ยุทธวิธี อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กองทัพเรือมีความพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับภัยคุกคามทุกรูปแบบ 
เราจะเป็นเครื่องมือที่จะยืนยันได้ถึงเสรีภาพในการใช้ทะเล ของประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งนี้ ด้วยความพยายามที่จะเป็นเลิศให้สมกับ motto ของ ผบ.ทร. ที่ว่า "To Become The Best"

By Admin ต้นปืน561
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/1231109940260231
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/

จากชุดภาพข้างต้นจะเห็นได้ว่าระบบอาวุธและอุปกรณ์บางระบบของเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) ซึ่งเป็นเรือผิวลำแรกของกองทัพเรือไทยที่สร้างจากสาธารณรัฐเกาหลีนั้นได้รับการติดตั้งแล้ว
เช่น ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 ทรง Stealth, ระบบป้องกันระยะประชิดปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน Phalanx 20mm CIWS, Radar นำร่องเดินเรือ และระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม SATCOM เป็นต้น
โดยหลังจากพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ร.ล.ท่าจีน จะมีการดำเนินการก่อสร้างต่อโดยการติดตั้งระบบอาวุธและอุปกรณ์ที่เหลือจนครับ(เห็นได้จากระดับท้องเรือที่จมน้ำว่าเรือยังไม่ได้ติดตั้งระบบหลายๆอย่างที่มีน้ำหนักถึงระดับระวางขับน้ำปกติ)

เรือฟริเกต เรือหลวงท่าจีน ลำใหม่นี้นับเรือลำที่๓ ของราชนาวีไทยแล้วที่ได้รับพระราชทานนามนี้ โดย ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๑) นั้นเป็นเรือสลุปชุดเดียวกับ ร.ล.แม่กลอง ซึ่งต่อที่อู่ต่อเรือ Uraga ญี่ปุ่นที่เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๘๐(1937)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่๒ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๑) ถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตโจมตีทางอากาศจนท้องเรือทะลุ ต่อมาสำรวจตรวจสอบสภาพเรือแล้วว่าไม่สามารถจะซ่อมแซมเพื่อนำกลับเข้าประจำการได้จึงต้องปลดประจำการไป

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๔(1951) กองทัพเรือไทยได้รับมอบ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๒) ซึ่งเดิมคือเรือฟริเกตตรวจการณ์ชั้น Tacoma PF-36 USS Glendale กองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งรับมอบพร้อมกับ ร.ล.ประแส(ลำที่๒) คือ PF-47 USS Gallup ที่ฐานทัพเรือ Yokosuka
ซึ่งสหรัฐฯส่งมอบเรือเป็นการช่วยเหลือทางทหารแก่กองทัพเรือไทยที้่สูญเสีย ร.ล.ประแส(ลำที่๑) ที่เดิมเป็นเรือคอร์เวตชั้น Flower กองทัพเรืออังกฤษชื่อ HMS Betony ซึ่งรับมอบพร้อม ร.ล.บางประกง(ลำที่๑) ที่เดิมคือ HMS Burnet เมื่อ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๐(1947)

ในราชการสงครามเกาหลีกองทัพเรือไทยได้สูญเสีย ร.ล.ประแส(ลำที่๑) ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๙๔(1951) จากการเกยตื้นและถูกข้าศึกล้อมระดมยิงใส่ระหว่างภารกิจยิงสนับสนุนชายฝั่งในพายุหิมะ จนต้องมีคำสั่งสละเรือใหญ่และให้เรือพิฆาตสหรัฐฯยิงทำลายเรือทิ้งเพื่อไม่ให้ตกในมือข้าศึก
ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๒) และ ร.ล.ประแส(ลำที่๒) นั้นได้ประจำการมาจนปลดประจำการวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๓(2000) ปัจจุบัน ร.ล.ท่าจีน นำไปจัดแสดงเป็นเรือพิพิธภัณฑ์ที่โรงเรียนเตรียมทหาร และ ร.ล.ประแส ที่ปากน้ำประแส จังหวัดระยอง

โครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงระยะที่๒ กองทัพเรือมีแผนที่จะดำเนินการสร้างในไทยโดยกรมอู่ทหารเรือที่ได้รับการถ่ายทอด Technology และการปรับปรุงอู่ราชนาวีมหิดลอดุยเดช จากบริษัท DSME เกาหลีใต้
ซึ่งอยู่ในระหว่างการวางแผนการปรับปรุงอู่ต่อเรือโดยการจัดหาและติดตั้งเครื่องมือก่อสร้างใหม่ เช่น เครนที่รับน้ำหนักชิ้นส่วนได้มากขึ้น รวมถึงการเตรียมขออนุมัติงบประมาณก่อสร้างถ้ามีโอกาสอำนวย
ส่วนตัวคิดว่าคงน่าจะได้รับพระราชทานนามชื่อเรือว่า 'เรือหลวงแม่กลอง' เป็น ร.ล.แม่กลอง ลำที่๒ คู่กับ ร.ล.ท่าจีนลำใหม่ หรือชื่อเรือ 'เรือหลวงประแส' เพื่อเป็นเกียรติกับ ร.ล.ประแส(ลำที่๑) ที่สูญเสียไปในสงครามเกาหลีครับ

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

โครงการรถถังหลัก Altay ตุรกีประสบปัญหาเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องยนต์

Turkey's Altay MBT project hit by engine technology transfer issues
Tümosan has cancelled a contract with AVL List to help develop a local engine for Turkey's Altay MBT, after the imposition of technology transfer restrictions by Austria. Source: Otokar
http://www.janes.com/article/67104/turkey-s-altay-mbt-project-hit-by-engine-technology-transfer-issues

แผนการสร้างรถถังหลัก Altay ของตุรกีประสบปัญหาติดขัดหลังจากที่บริษัท Tümosan ตุรกีซึ่งมีแผนจะเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ยกเลิกสัญญาการสนับสนุนทางเทคนิคหลักกับบริษัท AVL List GmbH ออสเตรีย
การยกเลิกสัญญานี้มีตามมาจากการที่รัฐสภาออสเตรียมีมติเป็นเอกฉันท์รับรองการเคลื่อนไหวที่ไม่มีผลผูกพันในการกำหนดการห้ามส่งออกอาวุธให้ตุรกีเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2016 จึงเป็นเงื่อนไขในการะงับการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ตุรกี
โดยออสเตรียได้ดำเนินการมาตรการดังกล่าวเพื่อตอบโต้ความรุนแรงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เพิ่มสูงขึ้นของรัฐบาลพลเรือนตุรกีที่นำโดยประธานาธิบดีตุรกี Recep Tayyip Erdogan หลังความล้มเหลวในความพยายามจะก่อรัฐประหารโดยทหารส่วนหนึ่งในกองทัพตุรกีเมื่อเดือนกรกฎาคม 2016

Tümosan ได้รับงานจากสำนักงานปลัดกระทรวงเพื่ออุตสาหกรรมกลาโหม(Undersecretariat for Defense Industries: SSM) ในการพัฒนาเครื่องยนต์ที่สร้างภายในประเทศสำหรับรถถังหลัก Altay
Tümosan ได้ทำสัญญาจัดซื้อกับ AVL List ออสเตรียในปี 2015 เพื่อจัดหาการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสนับสนุนการพัฒนาและบูรณาระบบเครื่องยนต์สำหรับรถถังหลัก Altay
เนื่องจากเงื่อนไขการลงโทษในห้ามการถ่ายทอดเทคโนโลยี Tümosan จึงยกเลิกสัญญากับ AVL List เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา

"เนื่องจากการยอมรับโดยรัฐบาลออสเตรีย(ของมาตรการ)เพื่อยืนยันในการส่งออกสิทธิบัตรที่มีเงื่อนไขว่าถูกแทรกแซงจากการเมืองภายในของตุรกี...สัญญาตามที่มีการบันทึกไว้และการรับประกันรายได้ที่ได้รับจากบริษัทจะถูกยกเลิก
มันเป็นที่เข้าใจได้ว่านี้จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงที่(บริษัท)จะเผชิญหน้าในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับส่วนประกอบย่อยที่สำคัญจากการถูกลงโทษคว่ำบาตรต่อตุรกีเมื่อเร็วๆนี้โดยเฉพาะจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป"
Tümosan แถลงในเอกสารที่มีการเผยแพร่โดยส่วนการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนของตุรกี(Public Disclosure Platform: KAP) เมื่อวันที่ 17 มกราคม แถลงการดังกล่าวยังเสริมด้วยว่า "Tümosan จะเดินหน้าเป็นผู้จัดส่งในการพัฒนาเครื่องยนต์ในประเทศให้ได้มากที่สุด" ครับ

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

Sig Sauer P320 เป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาปืนพกใหม่ XM17 ของกองทัพบกสหรัฐฯ

For U.S. Army variant of Sig Sauer P320 9mm semi-automatic pistol will replace M9 Beretta
Sig Sauer P320 semi-automatic pistol 9x19 Parabellum caliber.

Sgt. Spencer Jimick, a squad leader with Special Purpose Marine Air-Ground Task Force Crisis Response-Africa aims his M9 Beretta at a target during a live-fire range near Naval Air Station Sigonella, Italy, Sept. 10, 2016.
http://armyrecognition.com/january_2017_global_defense_security_army_news_industry/for_u.s._army_variant_of_sig_sauer_p320_9mm_semi-automatic_pistol_will_replace_m9_beretta_12001171.html

บริษัท Sig Sauer Inc. สวิสเซอร์แลนด์-เยอรมนีสาขาสหรัฐฯซึ่งมีที่ตั้งใน Newington มลรัฐ New Hampshire ได้รับสัญญาจัดหาวงเงิน $580,217,000 สำหรับโครงการจัดหาปืนพก XM17 Modular Handgun System
โดยรวมในส่วนการจัดหาปืนพก, อุปกรณ์ประกอบ และกระสุนที่มีพื้นฐานจากปืนพก Sig Sauer P320 ขนาด 9x19mm Parabellum ส่งมอบให้กองทัพบกสหรัฐฯเพื่อทดแทนปืนพก Beretta M9 อิตาลี
ซึ่งกองทัพบกสหรัฐฯได้ประกาศว่า Sig Sauer เป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาปืนพก XM17 MHS เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้กองทัพสหรัฐฯก็มีปืนพกของ Sig Sauer ใช้งานในหน่วยปฏิบัติบัติการพิเศษบ้าง เช่น Sig Sauer M11(P228) 9mm

โครงการจัดหาปืนพก XM17 มีการออกร่างเอกสารขอข้อเสนอในเดือนมิถุนายน 2015 เพื่อการจัดหาปืนพกที่มีประสิทธิภาพและอำนาจการสังหารมากกว่าปืนพกที่กองทัพบกสหรัฐฯมีประจำการในปัจจุบัน
ตามแผนกองทัพบกสหรัฐฯต้องการจัดหาปืนพกใหม่ 280,000กระบอกจากผู้จัดจำหน่ายรายเดียว โดยมีกำหนดการทดสอบการทำงานและการใช้งานภาคสนามในปี 2017 และจะเปิดสายการผลิตเต็มอัตราได้ในปี 2018
กองทัพบกสหรัฐฯยังมีแผนจัดซื้อปืนพกรุ่น Compact ในตระกูลเดียวกับปืนที่ชนะโครงการอีก 7,000กระบอก โดยในส่วนเหล่าทัพอื่นที่เข้าร่วมโครงการ XM17 เช่นนาวิกโยธินสหรัฐฯอาจจะจัดหาปืนพกเพิ่มเติมอีก 212,000กระบอก

Sig Sauer สามารถเอาชนะผู้แข่งขันในโครงการรายอื่นทั้ง Glock ออสเตรียสาขาสหรัฐฯ, FN Herstal เบลเยี่ยมสาขาสหรัฐฯ และ Barreta อิตาลีสาขาสหรัฐฯ โดยก่อนหน้านั้น Smith & Wesson สหรัฐฯ และหุ้นส่วน General Dynamics Ordnance Tactical Systems(GDOTS) สหรัฐฯ ถูกคัดออกไปก่อนแล้ว
โดยปืนพก XM17 นั้นจะถูกนำเข้าประจำการทดแทนปืนพก M9 ซึ่งมีพื้นฐานจากปืนพก Barreta 92FS ที่เข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯมาตั้งแต่ปี 1985 เป็นเวลากว่า 30ปี  ทดแทนปืนพก M1911A1 .45ACP และปืนลูกโม่ Smith & Wesson .38 ที่ใช้มาตั้งแต่สมัยสงครามโลก
ปืนพก Sig Sauer P320 เป็นปืนพกที่ออกแบบมาเป็นรูปแบบ Modular และปรับแต่งได้ มีด้ามจับที่เปลี่ยนขนาดให้เหมาะกับมือผู้ใช้ได้ มีขนาดกระสุนให้เลือกหลายชนิดทั้ง 9mm, .357SIG และ .40SGW เป็นต้น ครับ

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

อินโดนีเซียอนุมัติการจัดหาเครื่องบินลำเลียง Airbus A400M จำนวน 5เครื่อง

Indonesia approves acquisition of five Airbus A400Ms for USD2 billion
Indonesia has approved the acquisition of five A400M aircraft for the country's air force. Source: Airbus
http://www.janes.com/article/67064/indonesia-approves-acquisition-of-five-airbus-a400ms-for-usd2-billion

แหล่งข่าวในรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงอินโดนีเซียได้ยืนยันข้อมูลกับ Jane's เมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมาว่า
รัฐบาลอินโดนีเซียได้อนุมัติการจัดหาเครื่องบินลำเลียงหนักเอนกประสงค์แบบ Airbus A400M Atlas จำนวน 5เครื่องวงเงิน $2 billion ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับปรุงกำลังการขนส่งทางอากาศของกองทัพอินโดนีเซีย

โดย A400M 5เครื่องจะถูกสร้างในรูปแบบเครื่องบินลำเลียงและใช้งานทางธุรการซึ่งจะนำเข้าประจำการในฝูงบิน31 และฝูงบิน32 ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara)
โครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียง A400M นี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกลาโหม, ข่าวกรอง และการต่างประเทศ(Komisi I) ของสภาผู้แทนราษฏรอินโดนีเซียตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2017
ซึ่งการอนุมัติการจัดหานี้มีเงื่อนไขหนึ่งคือ บ.ลำเลียง A400M 3เครื่องสุดท้ายจะดำเนินการประกอบสร้างในขั้นสุดท้ายที่โรงงานอากาศยาน PT Dirgantara ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านอุตสากรรมอากาศยานของอินโดนีเซียใน Bandung ด้วย
ทาง Jane's เข้าใจว่าข้อกำหนดในสัญญาจะอนุญาตให้วิศวกรอินโดนีเซียทำการศึกษาและสังเกตการประกอบหลายๆชิ้นส่วนหลักของอากาศยาน รวมถึงปีกและโครงลำตัวเครื่องสำหรับ A400M 2เครื่องแรกที่ดำเนินการสร้างที่โรงงานอากาศยานของ Airbus ใน Seville สเปน

รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Ryamizard Ryacudu ได้เปิดเผยครั้งแรกเมื่อกลางปี 2016 ว่ารัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนพิจารณาจัดหาเครื่องบินลำเลียงหนัก A400M เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการลำเลียงและขนส่งทางอากาศของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าจำนวนเท่าไร
ซึ่งปัจจุบันนอกจากเครื่องบินลำเลียงขนาดเบาและขนาดกลาง เช่น C-212, CN-235 และ C-295 ซึ่งจัดหาจากบริษัท Airbus(ตั้งแต่สมัยบริษัท CASA สเปน) เดิมที่มีสิทธิบัตรการผลิตและซ่อมบำรุงโดย PT Dirgantara อินโดนีเซียแล้ว
กองทัพอากาศอินโดนีเซียยังมีเครื่องบินลำเลียงหนักแบบ Lockheed C-130H 13เครื่อง และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ L-100-30 4เครื่องจากสหรัฐฯ ซึ่งมีอายุการใช้งานมานานและเคยเกิดอุบัติเหตุตกจนสูญเสียไปแล้ว 4เครื่อง
ทั้งนี้อินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่สองในกลุ่ม ASEAN ที่จัดหา A400M เข้าประจำการต่อจากกองทัพอากาศมาเลเซียที่ได้จัดหา A400M แล้ว 4เครื่อง

ตามข้อมูลของ Airbus เครื่องลำเลียงหนักสี่เครื่องยนต์ใบพัด A400M สามารถบรรทุกได้หนักสุด 37tons มีพื้นที่บรรทุกปริมาตร 340m3ในภารกิจส่งกำลังบำรุง ลำเลียงทหารหรือพลร่มพร้อมเครื่องสนามเต็มอัตราได้ 116นายในที่นั่งสี่แถวในภารกิจลำเลียงทางทหาร
เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา A400M มีพิสัยทำการ 1,780nmi และเมื่อบรรทุกสัมภาระหนัก 25tons เครื่องสามารถบินขึ้นและลงจอดจากทางวิ่งที่จำกัดความยาวเพียง 750m ได้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

กองทัพเรือไทยจะปลดประจำการเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ และชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ ในอีกสิบปีข้างหน้า

Thai Navy to retire Ratcharit-, Prabparapak-class missile boats over next 10 years
The Royal Thai Navy will retire its entire fleet of missile-capable patrol boats by 2026
http://www.janes.com/article/67028/thai-navy-to-retire-ratcharit-prabparapak-class-missile-boats-over-next-10-years

FAC-313 HTMS Soo Pirin, Prabbrorapak-class fast attack craft missile boat converted to fast attack craft gun boat

FAC-322 HTMS Vitiyakom, Ratcharit-class fast attack craft missile boat firing Exocet

ส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมของกองทัพเรือไทยเพื่อรองรับความท้าทายในการรักษาความมั่นคงทางทะเลในอนาคต กองทัพเรือไทยมีแผนที่จะดำเนินการปลดประจำการเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีที่มีในปัจจุบันลงทั้งหมดในอีก ๑๐ปีข้างหน้า
ทั้งเรือเร็วโจมตีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ ทั้ง ๓ลำคือ ร.ล.ปราบปรปักษ์ 311, ร.ล.หาญหักศัตรู 312 และ ร.ล.สู้ไพรินทร์ 313 กับชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ คือ ร.ล.ราชฤทธิ์ 321, ร.ล.วิทยาคม 322 และ ร.ล.อุดมเดช 323 ทั้งหมดมีแผนจะปลดประจำการภายในปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026)

นาวาเอก ประวุฒิ รอดมณี เสนาธิการ กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ ได้มีการนำเสนอในงาน UDT Asia 2017 ที่สิงคโปร์เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคมที่ผ่านมาว่า
เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ ๓ลำที่เข้าประจำการมาในช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๐(1976-1977) ที่สร้างโดยอู่เรือ Singapore Technologies Marine สิงค์โปร์ ที่เดิมทีติดตั้งอาวุธปล่อยนำนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ Gabriel อิสราเอล ๕นัด แต่เมื่ออาวุธปล่อยนำวิถี Gabriel หมดอายุการใช้งานก็ถอดแท่นยิงออกปรับเป็นเรือเร็วโจมตีปืน
และเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ ๓ลำที่เข้าประจำการมาในช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๓(1979-1980) ที่สร้างโดยอู่เรือ Cantiere Navale Breda อิตาลี ที่ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet MM38 ฝรั่งเศส ๔นัด
นั้นมีขีดความสามารถและสมรรถนะที่ด้อยเกินไปสำหรับการรับมือความท้าทายด้านความมั่นคงทางทะเลรูปแบบอสมาตรที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น การก่อการร้ายทางทะเล และการกระทำอันเป็นโจรสลัด

ดังนั้นกองทัพเรือไทยจึงมีแผนที่จะปลดประจำการเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีที่มีทั้งหมด ๖ลำลงภายในปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026) โดยจะจัดหาเรือทดแทนที่มีขนาดใหญ่กว่า
เช่น เรือฟริเกต และเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ทั้งที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดหาและมีแผนจะจัดหาในอนาคตอีกหลายปีข้างหน้าต่อไปครับ

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560

ไทยและรัสเซียเดินหน้าความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงร่วมกัน และกองทัพเรือไทยวางแผนจะมีเรือดำน้ำครบ ๓ลำในปี พ.ศ.๒๕๖๙

Thailand and Russia move towards joint industry programme
Thailand is looking to procure the Mil Mi-17V-5 to replace its Boeing CH-47D Chinook fleet. Source: Russian Helicopters
http://www.janes.com/article/66994/thailand-and-russia-move-towards-joint-industry-programme

Mi-17V5 41st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army
https://www.facebook.com/GeneralSupportAviationBattalion

ไทยและรัสเซียใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมความมั่งคง โดยมีพื้นฐานจากการคาดว่ากองทัพบกไทยจะสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mil Mi-17V5 จากรัสเซียเพิ่ม
เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจากรัฐบาลรัสเซียและกองทัพไทยได้เข้าพบกันที่กรุงเทพฯเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคมที่ผ่านมา เพื่อหารือเรื่องการกระชับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงร่วมกันของทั้งสองประเทศ
ซึ่งนำโดย พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ Kirill Barsky เอกอัครราชทูตสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย

แถลงการณ์กล่าวถึงส่วนที่จะนำผลให้ทั้งสองประเทศในการเพิ่มความแข็งแกร่งด้านความร่วมมือทางเทคนิคทางทหารตลอดจนความร่วมมือในส่วนรัฐบาลต่อรัฐบาลมากขึ้น
Jane's เข้าใจว่าข้อตกลงหนึ่งที่บรรลุผลแล้วคือการที่รัสเซียจะให้ไทยมีสถานะเป็นหุ้นส่วนในการจัดตั้งโรงงานผลิตและซ่อมบำรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ร่วมกัน
ซึ่งนี่น่าจะหมายถึงการวางตำแหน่งเพื่อสนับสนุน ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 และความเป็นไปได้ของระบบยุทโธปกรณ์รัสเซียอื่นๆในไทย ทั้งยังเป็นไปได้ที่โรงงานซ่อมบำรุงในไทยนี้จะดำเนินการสนับสนุนผู้ใช้ ฮ.Mi-17V5 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รายอื่นๆด้วย

กองทัพบกไทยต้องการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ Mi-17V5 เพิ่มเติมอย่างน้อย ๑๒เครื่อง เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก ฮ.ล.๔๗ Boeing CH-47D ที่มีอายุการใช้งานมานาน
โดยปัจจุบันกองทัพบกไทยได้จัดหา ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 แล้วรวม ๕เครื่อง โดยสั่งจัดหาชุดแรก ๓เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) และชุดที่สอง ๒เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) เข้าประจำการใน กองพันบินที่๔๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก
Jane's เข้าใจว่ากองทัพบกได้ออกเอกสารขอข้อเสนอสำหรับการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) แล้ว อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนว่างบประมาณจัดหาได้รับการอนุมัติหรือยังซึ่งน่าจะมีตามมาภายหลังสำหรับการจัดหา ฮ.ใหม่หลายระยะชุดละ ๓-๔เครื่องครับ

Thailand aims to operate fleet of three submarines by 2026
http://www.janes.com/article/66998/thailand-aims-to-operate-fleet-of-three-submarines-by-2026

Chinese Conventional Submarine model at Royal Thai Navy Ship Tech.III 2016 (My Own Photo)

กองทัพเรือไทยได้ระบุกรอบความต้องการการปฏิบัติการสำหรับแผนการจัดหาเรือดำน้ำ ๓ลำให้พร้อมปฏิบัติการภายในปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026) ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนส่งการขอข้อเสนออนุมัติให้รัฐบาลไทยแล้ว
เรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดย นาวาเอก ประวุฒิ รอดมณี เสนาธิการ กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ ระหว่างการนำเสนอในงาน UDT Asia 2017 ที่สิงคโปร์เมื่อวันที่ 17 มกราคม
น.อ.ประวุฒิ ได้บรรยายสุรปถึงแผนของกองทัพเรือไทยในอนาคตรวมถึงข้อมูลล่าสุดของแผนการจัดตั้งกำลังกองเรือดำน้ำเข้าประจำการในกองทัพเรือไทย

กองทัพเรือไทยได้เลือกจัดหาเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S26T(Thailand) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกที่มีพื้นฐานมาจากเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Type 039A/B (NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
กองทัพเรือไทยมีแผนต้องการจะจัดหาเรือดำน้ำ S26T จำนวน ๓ลำวงเงิน ๓๖,๐๐๐ล้านบาท แต่ได้มีการวางแผนแบ่งการจัดหาใหม่เป็นขั้นต้นระยะที่๑ จำนวน ๑ลำ วงเงิน ๑๓,๕๐๐ล้านบาท
โดยจะดำเนินการทยอยจัดหาจนกว่าจะครบในแผนงบประมาณผูกพันต่อเนื่องเป็นระยะเวลา ๑๑ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นี้ ซึ่งจะมีการเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีการอนุมัติงบประมาณภายในปีนี้ครับ

Leonardo จะพัฒนาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ทดแทน A129 Mangusta และจะสร้างเครื่องบินฝึกไอพ่น M345 HET ให้กองทัพอิตาลี

Leonardo to develop Mangusta replacement for Italy
The Italian Army is looking to replace its Mangusta helicopters that have been in service since 1990 with a new type to be developed by Leonardo under the NEES programme. Source: Italian Army
http://www.janes.com/article/66970/leonardo-to-develop-mangusta-replacement-for-italy

บริษัท Leonardo อิตาลีได้ประกาศข่าวเมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมาว่าบริษัทได้รับสัญญาในการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์แบบใหม่เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตีลาดตระเวนติดอาวุธ A129 Mangusta
เป็นสัญญาผูกผันหลายปีเพื่อการศึกษา, การพัฒนา, การเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรม, การผลิต และการทดสอบเครื่องต้นแบบและเครื่องในสายการผลิตขั้นต้นภายใต้โครงการ 'เฮลิคอปเตอร์สำรวจและคุ้มกันใหม่' (NEES: New Exploration and Escort Helicopter) สำหรับกองทัพบกอิตาลี(EI: Esercito Italiano)

ตามข้อมูลของ Leonardo กองทัพบกอิตาลีต้องการเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ 48เครื่องเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี A129 Mangusta ที่มีประจำการในปัจจุบันซึ่งมีแผนจะปลดประจำการภายในปี 2025
ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฮ.ใหม่ หรือโครงการพัฒนาออกมาจากบริษัทในการประกาศ ยกเว้นแต่ที่กล่าวว่ามันจะสร้าง "ผลิตภัณฑ์ที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาการมากยิ่งขึ้น ด้วยสมรรถนะที่มากกว่าและมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่ำกว่า เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะเกิดขึ้นต่อสถานการณ์ที่มีพัฒนาไปในอีก 30ปีข้างหน้า"

กองทัพบกอิตาลีได้รับมอบ ฮ.โจมตี A129 Mangusta จำนวน 66เครื่อง(กำหนดแบบเป็น EA-1 ในกองทัพอิตาลี) เข้าประจำการระหว่างปี 1990-2004 ซึ่งปัจจุบันยังคงประจำการอยู่ 49เครื่อง
Mangusta เป็น ฮ.โจมตีสองที่นั่งเรียงกันซึ่งได้รับการปรับปรุงมาหลายครั้งตั้งแต่เข้าประจำการมา ซึ่งกองทัพบกอิตาลีได้ส่งเข้าร่วมปฏิบัติมาแล้วหลายสมรภูมิเช่นในอัฟกานิสถาน โดยการปลดประจำการ ฮ.โจมตี Mangusta ในปี 2025 นับเป็นระยะเวลาประจำการนาน 35ปีครับ

Italian Air Force signs for M-345 trainer aircraft
Seen at the Paris Air Show in 2013, the M-345 has been enhanced with the HET-variant that is billed as being a low-cost trainer and operational platform. Italy has signed for the first five of an expected 45-aircraft order. (IHS/Patrick Allen)
http://www.janes.com/article/66975/italian-air-force-signs-for-m-345-trainer-aircraft

วันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมาเช่นกัน กองทัพอากาศอิตาลี(AMI: Aeronautica Militare Italiana) ได้ลงนามสัญญากับบริษัท Leonardo ในการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น Alenia Aermacchi M-345 High Efficiency Trainer aircraft(HET) ขั้นต้น 5เครื่องจากจำนวนที่ต้องการจัดหา 45เครื่อง
สัญญาจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น M-345(กำหนดแบบเป็น T-345 ในกองทัพอิตาลี) จะถูกนำมาทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น MB-339 จำนวน 137เครื่องที่ประจำการในกองทัพอากาศอิตาลีขณะที่มีเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346 อยู่แล้ว 18เครื่อง การส่งมอบ M-345 ชุดแรก 5เครื่องจะมีขึ้นในปี 2019

ข่าวสัญญาจัดหานี้มีขึ้นหลังการขึ้นทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินฝึกไอพ่น M-345 HET เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2016 จากที่ได้มีการเปิดตัวครั้งแรกในปี 2013
M-345 HET มีพื้นฐานพัฒนามาจากเครื่องบินฝึกไอพ่น M-345 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเรียกแบบของเครื่องบินฝึกไอพ่น Aermacchi M-311 เดิม(ซึ่งพัฒนาจากเครื่องบินฝึกไอพ่น Aermacchi S-211)

M-345 HET ถูกออกแบบให้รอบรับการฝึกนักบินขั้นประถมถึงขั้นมัธยมโดยลดค่าใช้จ่ายลง รวมถึงมีขีดความสามารถนำไปใช้ในปฏิบัติการ(รบ)ได้ด้วย
นอกจากอิตาลีแล้ว M-345 HET ยังได้รับความสนใจจากชิลีซึ่งได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจแล้ว อย่างไรก็ตามการเสนอเครื่องให้ฝรั่งเศสยังไม่ไดเกิดขึ้นตอนนี้ครับ