วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

กองทัพเรือไทยจะปลดประจำการเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ และชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ ในอีกสิบปีข้างหน้า

Thai Navy to retire Ratcharit-, Prabparapak-class missile boats over next 10 years
The Royal Thai Navy will retire its entire fleet of missile-capable patrol boats by 2026
http://www.janes.com/article/67028/thai-navy-to-retire-ratcharit-prabparapak-class-missile-boats-over-next-10-years

FAC-313 HTMS Soo Pirin, Prabbrorapak-class fast attack craft missile boat converted to fast attack craft gun boat

FAC-322 HTMS Vitiyakom, Ratcharit-class fast attack craft missile boat firing Exocet

ส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมของกองทัพเรือไทยเพื่อรองรับความท้าทายในการรักษาความมั่นคงทางทะเลในอนาคต กองทัพเรือไทยมีแผนที่จะดำเนินการปลดประจำการเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีที่มีในปัจจุบันลงทั้งหมดในอีก ๑๐ปีข้างหน้า
ทั้งเรือเร็วโจมตีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ ทั้ง ๓ลำคือ ร.ล.ปราบปรปักษ์ 311, ร.ล.หาญหักศัตรู 312 และ ร.ล.สู้ไพรินทร์ 313 กับชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ คือ ร.ล.ราชฤทธิ์ 321, ร.ล.วิทยาคม 322 และ ร.ล.อุดมเดช 323 ทั้งหมดมีแผนจะปลดประจำการภายในปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026)

นาวาเอก ประวุฒิ รอดมณี เสนาธิการ กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ ได้มีการนำเสนอในงาน UDT Asia 2017 ที่สิงคโปร์เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคมที่ผ่านมาว่า
เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ ๓ลำที่เข้าประจำการมาในช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๐(1976-1977) ที่สร้างโดยอู่เรือ Singapore Technologies Marine สิงค์โปร์ ที่เดิมทีติดตั้งอาวุธปล่อยนำนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ Gabriel อิสราเอล ๕นัด แต่เมื่ออาวุธปล่อยนำวิถี Gabriel หมดอายุการใช้งานก็ถอดแท่นยิงออกปรับเป็นเรือเร็วโจมตีปืน
และเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ ๓ลำที่เข้าประจำการมาในช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๓(1979-1980) ที่สร้างโดยอู่เรือ Cantiere Navale Breda อิตาลี ที่ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet MM38 ฝรั่งเศส ๔นัด
นั้นมีขีดความสามารถและสมรรถนะที่ด้อยเกินไปสำหรับการรับมือความท้าทายด้านความมั่นคงทางทะเลรูปแบบอสมาตรที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น การก่อการร้ายทางทะเล และการกระทำอันเป็นโจรสลัด

ดังนั้นกองทัพเรือไทยจึงมีแผนที่จะปลดประจำการเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีที่มีทั้งหมด ๖ลำลงภายในปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026) โดยจะจัดหาเรือทดแทนที่มีขนาดใหญ่กว่า
เช่น เรือฟริเกต และเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ทั้งที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดหาและมีแผนจะจัดหาในอนาคตอีกหลายปีข้างหน้าต่อไปครับ