วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

DCNS ฝรั่งเศส และ PT PAL อินโดนีเซียขยายความร่วมมือด้านการศึกษาเรือดำน้ำร่วมกัน และปัญหากับ DSME เกาหลีใต้

French, Indonesian naval firms extend submarine study
PARIS — French naval defense specialist DCNS and Indonesian shipyard PT PAL have extended cooperation on studies for a potential order and local assembly of submarines for the Asian nation, the French president’s office said.
(Photo Credit: Adek Berry/AFP via Getty Images)
http://www.defensenews.com/articles/french-indonesian-naval-firms-extend-submarine-study

DCNS บริษัทอุตสาหกรรมความมั่นคงทางเรือและ PT PAL รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรืออินโดนีเซียได้ขยายความร่วมมือด้านการศึกษาความเป็นไปได้ในการสั่งจัดหาและประกอบสร้างเรือดำน้ำภายในประเทศสำหรับกลุ่มชาติเอเชียตามที่สำนักประธานาธิบดีฝรั่งเศสกล่าวเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา
"บันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ครอบคลุมการขยายข้อตกลงที่มีอยู่(ซึ่งหมดอายุเมื่อเดือนธันวคม 2016) ระหว่าง PT PAL และ DCNS บนความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมด้วยการมองว่าอินโดนีเซียจะจัดหาเรือดำน้ำ"
โดยข้อตกลงนี้ได้ลงนามระหว่างการเยือน Jakatar ของประธานาธิบดีฝรั่งเศส นาย Francois Hollande และประธานบริษัท DCNS นาย Herve Guillou ร่วมกับผู้อำนวยการ PT PAL นาย Firmansyah Arifin
ข้อตกลงอื่นๆยังรวมถึงจดหมายแสดงเจตจำนงด้านความร่วมมือด้านความมั่นคงซึ่งลงนามโดยผู้เกี่ยวของกับรัฐมนตรีกลาโหมและจดหมายแสดงความจำนงที่ลงนามโดย Airbus Defense and Space และ PT Pelita หุ้นส่วนฝ่ายอินโดนีเซียเพื่อศึกษาและจัดหาเครื่องบินลำเลียง A400M

บันทึกความเข้าใจเพื่อการศึกษาทางเรือยังครอบคลุมถึงความสนใจของอินโดนีเซียในการจัดหาเรือรบภายใต้การเจรจาด้านกลาโหมระหว่างอินโดนีเซีย-ฝรั่งเศส ตามที่ DCNS กล่าวแถลงเมื่อ 30 มีนาคมที่ผ่านมา
"อินโดนีเซียต้องการเสริมสร้างขีดความสามารถทางเรือและได้หารือกับฝรั่งเศสสำหรับโครงการเรือดำน้ำและเรือรบที่จะสร้างในอินโดนีเซียด้วยภาคส่วนอุตสาหกรรมภายในท้องถิ่นระดับสูง ตามความร่วมมือระยะยาวระหว่างอินโดนีเซีย-ฝรั่งเศส"
บริษัท DNCS กล่าวว่าฝรั่งเศสและอินโดนีเซียได้ทำการศึกษามาไม่กี่ปีก่อนหน้าถึงแผนฐานอุตสาหกรรมในการสร้างแบบเรือดำน้ำเอนกประสงค์รุ่นล่าสุดของเรือดำน้ำแบบ Scorpene ที่มีขีดความสามารถปฏิบัติการในทะเลน้ำตื้นและทะเลลึก
"โอกาสที่เป็นได้อื่นมีเรือคอร์เวตและเรือฟริเกตที่จะได้รับการประเมินในอนาคตอันใกล้ DCNS มุ่งมั่นที่จะจัดตั้งความเป็นหุ้นส่วนในระยะยาวกับอุตสาหกรรมอินโดนีเซียเพื่อขยายเนื้่อหาอุตสาหกรรมวิทยาการระดับสูงท้องถิ่นของอินโดนีเซีย" นาย Guillou กล่าวในการแถลง

Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) ceremony to launch a second submarine for Indonesian Navy KRI Ardadedali 404(http://www.koreatimes.co.kr/www/news/biz/2016/10/123_216676.html)

อินโดนีเซียมีความต้องการที่สร้างการขยายกองเรือดำน้ำของตน โดยในปี 2012 ได้ลงนามจัดหาเรือดำน้ำแบบ DSME1400 จากสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3ลำวงเงิน $1 billion(มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Chang Bogo เรือดำน้ำแบบ Type 209/1200 เยอรมนี)
โดยเรือลำแรก KRI Nagapasa 403 และลำที่สอง KRI Ardadedali  404 สร้างที่อู่ต่อเรือบริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) เกาหลีใต้โดยมีวิศกรอินโดนีเซียร่วมศึกษางาน และเรือลำที่สาม KRI Alugoro 405 จะสร้างในอินโดนีเซียโดย PT PAL ใน Surabaya
นอกจากเรือดำน้ำชั้น Cakra(Type 209/1300 เยอรมนีในตระกูล U209) 2ลำคือ KRI Cakra 401 และ KRI Nanggala 402 แล้วกองทัพเรืออินโดนีเซียมีความต้องการเรือดำน้ำรวมอย่างน้อย 10ลำ แต่ต่อมาเพิ่มเป็น 12ลำ
ตามรายงานของโรงเรียนการศึกษานานาชาติ S. Rajaratnam ในสิงคโปร์ เมื่อ 5 ธันวาคม 2015 ที่ระบุถึงแผนโครงการความจำเป็นขั้นต่ำของกองทัพอินโดนีเซียซึ่งจะเริ่มในปี 2024 เพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรืออินโดนีเซีย

Indonesia’s Submarines Procurement Plan: Spearheading Jakarta’s Maritime Ambition?
https://www.rsis.edu.sg/rsis-publication/rsis/co15264-indonesias-submarines-procurement-plan-spearheading-jakartas-maritime-ambition/

Indonesian Army Caesar 155mm self-propelled howitzer

บทความรายงานหัวข้อ 'แผนการจัดหาเรือดำน้ำของอินโดนีเซีย: หัวหอกมุ่งสู่ความทะเยอทะยานทางทะเลของ Jakarta?' กล่าวว่า "โดยไม่มีแนวทางทางยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องมันจะเป็นการยากสำหรับประเทศที่จะจัดตั้งแผนการจัดหาที่สอดคล้องกัน"
รายงานยังได้กล่าวถึงปัญหาในการร่วมสร้างเรือดำน้ำระหว่าง DSME เกาหลีใต้และ PT PAL อินโดนีเซียว่า "บทเรียนที่ขมขื่นของย่างก้าวที่ย่ำแย่ของการถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่มีขีดความสามารถจำกัดจากการการดูดซับการถ่ายทอดองค์ความรู้ และความไม่เต็มใจของผู้ขายในการถ่ายทอดมัน"
อีกทั้งยังมีข้อกังวลในการฝึกอบรมเช่นที่เรือดำน้ำ DSME1400 เกาหลีใต้ทั้ง 2ลำของกองทัพเรืออินโดนีเซียโดยเกาหลีใต้ปรากฎว่ามีจำนวนข้อจำกัดในการฝึกอบรมระหว่างกัน
นอกนั้นในส่วนกองทัพบกอินโดนีเซียได้สั่งจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Nexter Caesar 155mm ฝรั่งเศสเพิ่มเติม 18ระบบ รวมทั้งหมด 36ระบบ รวมระบบควบคุมการยิง Findart เครื่องฝึกจำลอง และรถช่วยรบกองพันปืนใหญ่ 50คัน ที่จะทำการประกอบในประเทศโดย PT Pindad อินโดนีเซียครับ