วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

มาเลเซียระงับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MRCA ชั่วคราว โดยจะจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลก่อน

Exclusive: Malaysia shelves plan to buy new fighter jets - defense source
MiG-29N of the Royal Malaysian Air Force to be replaced by 18 new Multirole Combat Aircraft(wikipedia.org)

A Rafale fighter jet is pictured on the QRA area (Air policing quick reaction alert) on the French Air Force base in Mont-de-Marsan, southwestern France, June 27, 2017.

A EADS Eurofighter Typhoon jet lands at the Swiss Army Airbase in Emmen, central Switzerland November 14, 2008.
https://www.reuters.com/article/us-malaysia-defence-exclusive-idUSKBN19Y17X

กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ได้ระงับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ MRCA(Multirole Combat Aircraft) เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ที่มีอายุการใช้งานมานาน
โดยมองแนวทางการปรับปรุงขีดความสามารถของเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลเพื่อรับมือกับการเพิ่มขึ้นของภัยคุกคามจากกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายที่กำลังเติบโตในภูมิภาค ASEAN

มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(รองจากอันดับสองประเทศไทย และอันดับหนึ่งอินโดนีเซีย) ได้ใช้เวลาหลายปีในการคัดเลือกแบบเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่เสนอเข้าแข่งขันในโครงการ MRCA
คือ Dassault Rafale ฝรั่งเศส หรือ Eurofighter Typhoon ผลิตโดย BAE Systems สหราชอาณาจักร, Airbus เยอรมนี-สเปน กับ Leonardo อิตาลี รวม 18เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-29N รัสเซียที่มีปัญหาการใช้งานมานานโดยจำนวนเครื่องเกินครึ่งอยู่ในสภาพถูกงดบิน

เครื่่องบินขับไล่ Rafale ที่สร้างโดย Dassault Aviation SA ฝรั่งเศสเป็นตัวเลือกที่อยู่ในอันดับแรกสุดในโครงการแข่งขันซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยเจ้าหน้าระดับสูงในกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย
แต่มาเลเซียได้ระงับแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่เป็นการชั่วคราว โดยตอนนี้ได้มองไปยังการเพิ่มเครื่องบินตรวจการณ์ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในการต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธก่อการร้าย ตามที่แหล่งข่าวในกระทรวงกลาโหมมาเลเซียกล่าวกับ Reuters

การตัดสินใจนี้มีขึ้นจากเหตุกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายได้บุกยึดเมือง Mariwi บนเกาะ Midanao ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ตั้งแต่ 23 พฤษภาคม ซึ่งยังคงมีการสู้รบระหว่างกองทัพฟิลิปปินส์และกลุ่มก่อการร้ายอยู่
การรบใน Marawi มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า 400รายแล้ว วิกฤตการณ์นี้ได้สร้างความวิตกต่อรัฐบาลกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก ที่จะเป็นฐานของกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติหลังจากที่กองทัพรัฐบาลอิรักยึดเมือง Mosul คืนจากกลุ่มก่อการร้ายได้เมื่อเร็วๆนี้

ทั้งนี้กองกำลังความมั่นคงและกองทัพมาเลเซียเคยมีประสบการณ์รบกับกลุ่มติดอาวุธ Sultanate of Sulu ที่ยึดเมือง Lahad Datu ในรัฐ Sabah เมื่อปี 2013 มาแล้ว
ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกันในเกาะ Borneo และทะเล Sulu จึงได้มีการประสานการทำงานในความร่วมมือการลาดตระเวนทางทะเลและทางอากาศร่วมกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรอง และการทำลายแหล่งเงินทุนผู้ก่อการร้าย

"ด้วยความเคารพต่อ Rafale ฝรั่งเศสยังคงผลักดันมันเช่นที่ปรากฎได้ระหว่างงานแสดงการบินที่ Paris ล่าสุด อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในปัจจุบัน มาเเลเซียให้ความสนใจไปยังเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลมากกว่าเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์"
แหล่งข่าวกล่าวในสถานะภาพนิรนามขณะที่เขาไม่ได้รับอนุญาตในการพูดคุยกับสื่อ การหารือเกี่ยวกับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โดยปกติจะต้องใช้เวลาหลายปี และการเลือกตั้งทั่วไปมาเลเซียจะะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน 2018 แต่ปีนี้คาดว่าจะเป็นการชะลอการตัดสินใจครั้งสุดของมาเลเซีย

แหล่งข่าวกล่าวว่าการเจรจาเรื่องเครื่องบินขับไล่ของมาเลเซียเป็นเพียงแค่ "การระงับชั่วคราว" และสามารถกลับมาดำเนินการต่อได้ในอนาคต แต่ลำดับความสำคัญตอนนี้คือการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ใหม่ภายในปี 2020
การตัดสินใจที่จะระงับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่สำหรับกองทัพอากาศมาเลเซียเพื่อทดแทน MiG-29N นี้มีผลกระทบโดยตรงกับ Rafale และ Typhoon ซึ่งเป็นสองผู้เข้าแข่งขันหลักในโครงการ

โฆษกของบริษัท Dassault และกลุ่มร่วมทุน Eurofighter(BAE Systems, Airbus และ Leonardo) ปฏิเสธที่จะให้ความเห็น โดยบริษัท BAE Systems ไม่ได้ตอบสนองการร้องขอความคิดเห็นในทันที
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Najib Razak ได้กล่าวเมื่อเดือนมีนาคมว่าข้อตกลงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ได้ถูกหารือระหว่างการพบกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส Francois Hollande ที่เดินทางเยือนกลุ่มชาติ ASEAN แต่ทางมาเลเซีย "ยังไม่พร้อมที่จะตัดสินใจ"

บริษัท Dassault ฝรั่งเศสได้รับสัญญาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ให้กองทัพอากาศอินเดีย 36เครื่องเมื่อเดือนกันยายน 2016 และหวังว่าจะได้รับสัญญาการจัดหาเพิ่มเติมจากรัฐบาลอินเดีย
Eric Trappier ผู้อำนวยการบริหาร Dassault ได้กล่าวเมื่อเดือยพฤษภาคมว่าบริษัทได้ "มีการเจรจาที่สำคัญ" กับมาเลเซียและอินเดียเพื่อหนึ่งสัญญาการจัดหาใหม่ในปี 2018

BAE Systems ซึ่งเป็นผู้นำการรณรงค์การขายในภูมิภาคสำหรับเครื่องบินขับไล่ Typhoon กำลังมองการการเริ่มตั้งต้นการเจาะตลาดเข้าไปในกลุ่มประเทศ ASEAN ด้วยการขายเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ของตนให้มาเลเซีย
กองทัพอากาศมาเลเซียเคยมีเครื่องบินตรวจการทางทะเล Beechcraft BT200T Super King Air 4เครื่อง แต่เครื่องหนึ่งตกในอุบัติเหตุเมื่อเดือนธันวาคม 2016 ที่ฐานทัพอากาศ Butterworth โดยมีนักบินเสียชีวิต 1ราย บาดเจ็บ 3ราย ทำให้เหลือ Beechcraft Super King Air 3เครื่อง

แหล่งข่าวในกระทรวงกลาโหมมาเลเซียกล่าวว่ารัฐบาลมาเลเซียกำลังมองการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลเพิ่ม 4เครื่องซึ่งเป็นเครื่องขนาดใหญ่และมีพิสัยการบินไกลกว่าเครื่องที่มีอยู่ เช่นเครื่องที่สร้างโดยบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ
"เรากำลังมองหาระบบอากาศยานที่มีพื้นฐานจากเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งมีราคาเหมาะสมมากกว่า ถ้าเทียบกับระบบอากาศยานทางทหารโดยเฉพาะ" แหล่งข่าวกล่าวครับ