วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K จีนแบบใหม่ติดท่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ

Chinese Xian H-6K with refuelling probe suggests new missions
Although it reportedly first flew in December 2016, on 15 August the first image appeared of a Xian H-6K modified with a nose-mounted refuelling probe. (Via Weibo website)
http://www.janes.com/article/73182/chinese-xian-h-6k-with-refuelling-probe-suggests-new-missions

ภาพถ่ายที่ดูไม่ชัดเจนของเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ H-6K ที่สร้างโดย Xian Aircraft Corporation ซึ่งมีท่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศที่ส่วนหัวเครื่อง
เป็นที่ตั้งข้อสังเกตถึงการเพิ่มเติมภารกิจใหม่ที่อาจจะติดตั้งได้สำหรับเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีการดัดแปลงอย่างมาก จากการออกแบบเดิมมานาน 65ปีจากการลอกแบบเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง Tupolev Tu-16 รัสเซียที่การบินครั้งแรกในปี 1952

ภาพดังกล่าวได้ปรากฎเป็นครั้งแรกเมื่อ 15 สิงหาคม ใน Blog ของ Website Weibo จีน โดยเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K ในสีรองพื้นสีเหลืองที่ปกติจะเป็นเครื่องต้นแบบของจีน
แหล่งข่าวที่ไม่เป็นทางการของจีนตั้งข้อสังเกตว่า เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K ที่ได้รับการดัดแปลงใหม่นี้ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2016

เป็นเวลาหลายปีที่ผู้สังเกตการณ์ชาวจีนได้สันนิษฐานว่าเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K รุ่นใหม่นี้อาจจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสองภารกิจ
ภารกิจแรกคือเพื่อเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์โจมตีทางยุทธศาสตร์พิสัยไกล การเติมเชื้อเพลิงทางอากาศจะช่วยเพิ่มรัศมีการรบได้ประมาณ 3,000km ของเครื่องยนต์ Turbofan แบบ Soloviev D-30-KP2 รัสเซียที่ติดตั้งกับ H-6K

นอกเหนือจากการเพิ่มการเข้าถึงเป้าหมายด้วยการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนโจมตีภาคพื้นดิน KD-20/CJ-10K ระยะยิง 1,500km ที่สามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ ซึ่ง H-6K สามารถติดได้ 6นัด
แม้ว่าอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อน KD-20 รุ่นระยะยิง 2,500km อาจจะได้รับการพัฒนาแล้ว แต่เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K รุ่นนี้ยังคงจำเป็นต้องได้รับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศหลายครั้งถ้าจะเข้าใกล้เป้าหมายทางยุทธศษสตร์เช่น ฮาวาย หรือชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ

ภารกิจที่สองที่ถูกตั้งข้อสังเกตโดยผู้สังเกตการณ์ชาวจีนน่าจะเป็นเพื่อการเป็นระบบส่งดาวเทียมหรือขีปนาวุธ
ในงานแสดงการบิน Zhuhai Airshow 2016 China Academy of Launch Vehicle Technology(CALT) ได้แสดงแบบจำลองของจรวดส่งดาวเทียมแบบสามท่อนขนาด 13tons วงโคจร 550km แบบระบบส่งยิงจากอากาศยาน(Air-launched Launch Vehicle) ที่แสดงว่าติดกับ H-6 ได้

การเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศน่าจะสามารถทำให้ H-6K สามารถทำการบินขึ้นได้บรรทุกเชื้อเพลิงได้น้อยลงเพื่อชดเชยน้ำหนักสำหรับการติดตั้งระบบจรวดส่งดาวเทียม
ซึ่งสามารถใช้ในภารกิจยิงระบบต่อต้านดาวเทียม ASAT(Anti-Satellite) รวมถึงภารกิจส่งดาวเทียมเข้าวงโคจรด้วยครับ