วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จีนเปิดเผยเครื่องบินขับไล่ J-10B ติดอาวุธภารกิจ SEAD ในการแข่งทางอากาศ Aviadarts 2017

Chinese SEAD-equipped J-10B emerges at Aviadarts contest
A SEAD-mission-equipped J-10B fighter emerged for the first time at a display concluding the 2017 Aviadarts international aerial competition at Changchun Airbase in Jilin province. Source: Via Dingsheng web page
http://www.janes.com/article/73149/chinese-sead-equipped-j-10b-emerges-at-aviadarts-contest

จีนได้ใช้โอกาสในการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศนานาชาติ Aviadart 2017 เป็นครั้งแรกในการเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ J-10B ที่พัฒนาโดย Chengdu Aircraft Corporation(CAC)
ที่ติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์สำหรับภารกิจกดดันระบบป้องกันภัยทางอากาศข้าศึก SEAD(Suppression of Enemy Air Defences) ซึ่งเป็นการเพิ่มแบบเครื่องบินรบของกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People’s Liberation Army Air Force) ที่สามารถทำภารกิจนี้ได้


ภาพเครื่องบินขับไล่ J-10B ที่ติดอาวุธและอุปกรณ์ภารกิจ SEAD ปรากฎครั้งแรกในหน้า Web จีน เมื่อ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดงภาคพื้นดินของฐานทัพอากาศ Changchun มณฑล Jilin
ที่เกิดขึ้นในวันสุดท้ายของการแข่งการใช้อาวุธทางอากาศนานาชาติ Aviadarts 2017 ที่ปีนี้จีนเป็นเจ้าภาพจัดสถานที่การแข่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันทางทหารนานาชาติ International Army Games 2017 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม-12 สิงหาคมที่ผ่านมา


สำหรับภารกิจ SEAD เครื่องบินขับไล่ J-10B ที่ถูกเปิดตัวติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านการแพร่คลื่น radar(ARM: Anti-Radiation Missile) แบบ YJ-91 ที่ผลิตโดย Hongdu Aviation Industries ใต้ปีก 2นัด
YJ-91 นั้นพัฒนามาจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำและต่อต้านการแพร่คลื่น Radar เครื่องยนต์ Ramjet ตระกูล Kh-31 ของ Tactical Missile Corporation รัสเซีย ซึ่งถูกพบว่าจีนมีประจำการครั้งแรกในช่วงต้นปี 2000s

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านการแพร่คลื่น radar แบบ YJ-91 ถูกรายงานว่าจำเป็นต้องมีการติดตั้งกระเปาะระบบนำวิถีแบบแยกอิสระต่างหากกับอากาศยานที่ติดตั้งใช้งาน
ซึ่งเห็นได้จากกระเปาะนำวิถีสำหรับ YJ-91 ที่ติดตั้งในตำบลอาวุธที่ตำแหน่งลำตัวเครื่องของเครื่องบินขับไล่ J-10B

มีการปรากฎของข้อบ่งชี้ในช่วงต้นปี 2009 ว่าอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น YJ-91 นั้ยังสามารถที่จะติดตั้งได้กับเครื่องบินขับไล่ J-10A รุ่นก่อน
อย่างไรก็ตามรุ่นนี้ยังไม่เคยมีการพบเห็นกระเปาะมาตราการตอบโต้ทาง Electronic/มาตรการสนับสนุนทาง Electronic(ESM/ECM: Electronic Support Measures/Electronic Countermeasures) แบบ K/RKL007A


กระเปาะมาตราการตอบโต้ทาง Electronic แบบ K/RKL007A ที่พัฒนาโดย Southwest Institute of Electronics Equipment (SWIEE) ที่พบว่าติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ J-10B นี้
ทำให้เป็นไปที่ J-10B จะสามารถหรือขยายขีดความสามารถในการโจมตีกลุ่มเป้าหมายทาง Electronic ด้วยตนเองได้

ทั้งนี้ชาติที่เข้าร่วมการแข่งการใช้อาวุธทางอากาศ Aviadart 2017 ปีนี้นั้นมีเพียงสองประเทศคือ รัสเซีย และจีน โดยรัสเซียได้นำอากาศยานของตนเองมาใช้ในการแข่งทั้ง
เครื่องบินขับไล่ Su-27, Su-30, Su-35 และ MiG-29 เครื่องบินโจมตี Su-25 เครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิด Su-34 เครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-22M3 เครื่องบินลำเลียง IL-76 เฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52, Mi-28 เฮลิคอปเตอร์จู่โจม Mi-35 และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Mi-8/Mi-17

เช่นเดียวกับจีนที่นำอากาศยานของตนเข้าร่วมการแข่งในประเทศตนเองทั้ง เครื่องบินขับไล่ J-10, J-11 และ Su-30MKK เครื่องบินฝึกโจมตีเบา JL-10 เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด JH-7 เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6 เครื่องบินลำเลียง Y-9 และ IL-76 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10 เป็นต้น
ซึ่งผลการแข่งที่ออกมานั้นคือเสมอกัน ทำให้การแข่งขันทางอากาศ Aviadart นั้นดูเหมือนการฝึกซ้อมรบทางอากาศร่วมกับของกองทัพอากาศรัสเซียและกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนมากกว่า

http://www.mod.gov.cn/diplomacy/2017-08/17/content_4789109.htm
ล่าสุดกระทรวงกลาโหมจีนได้แถลงการส่งอากาศยานของกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนเข้าร่วมการฝึกกับกองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force) ในรหัส Falcon Strike 2017 ระหว่างวันที่ ๑๗ สิงหาคม-๓กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
โดยจีนได้ส่งเครื่องบินขับไล่ J-10 จำนวน ๖เครื่องพร้อมเครื่องบินลำเลียงหนัก IL-76 สำหรับสนับสนุนเข้าร่วมการฝึก นับเป็นการฝึกครั้งที่๒หลังจาก Falcon Strike 2015 ที่จีนส่ง J-11(Su-27) ฝึกกับเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ ที่กองบิน๑ โคราชครับ