วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ญี่ปุ่นทำพิธีปล่อยเรือพิฆาตชั้น Asahi ลำที่สอง DD-120 Shiranui ลงน้ำ

Japan MHI launched the Second 25DD/Asahi-class ASW Destroyer "Shiranui" for JMSDF


25DD-class ASW Destroyer Shiranui (hull number 120) was launched during a ceremony at MHI Nagasaki shipyard. Picture via ship spotter colleague @toma_san @tamotaro
https://navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2017/october-2017-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/5634-japan-mhi-launched-the-second-25dd-asahi-class-asw-destroyer-shiranui-for-jmsdf.html


อู่ต่อเรือบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ที่ Nagasaki ได้ทำพิธีตั้งชื่อเรือและปล่อยเรือลงน้ำของเรือพิฆาตชั้น Asahi(25DD) ลำที่สอง DD-120 JS Shiranui(26DD) ซึ่งเป็นลำสุดท้ายของชั้น
โดยเรือพิฆาต DD-120 Shiranui คาดว่าจะเข้าประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self Defense Force) ในปี 2019
ตามเรือพี่สาวของเธอ DD-119 JS Asahi ที่ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อ 19 ตุลาคม 2016 เริ่มการทดลองเรือในทะเลเมื่อเดือนกรกฎาคม 2017 และจะเข้าประจำการในเดือนมีนาคม 2018

เรือพิฆาตชั้น Asahi เป็นเรือพิฆาตปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare Destroyer) ที่มีพื้นฐานพัฒนาจากเรือพิฆาตชั้น Akizuki(19DD) ซึ่งถูกออกแบบมาเน้นด้านการเป็นเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ(Anti-Air Warfare Destroyer) มากกว่า
เรือพิฆาตชั้น Akizuki ทั้ง 4ลำประกอบด้วย DD-115 Akizuki เข้าประจำการเมื่อ 14 มีนาคม 2012, DD-116 Teruzuki เข้าประจำการเมื่อ 7 มีนาคม 2013,
DD-117 Suzutsuki เข้าประจำการเมื่อ 12 มีนาคม 2014 และ DD-118 Fuyuzuki เข้าประจำการเมื่อ 13 มีนาคม 2014

เรือพิฆาตชั้น Asahi มีระวางขับน้ำมากกว่า 5,000tons ความยาวเรือ 151m กว้าง 18.3m และกินน้ำลึก 5.4m ขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์แบบ COGLAG(Combined Gas Turbine Electric and Gas Turbine)
ประกอบด้วยเครื่องยนต์กังหัน Gas Turbine แบบ General Electric/IHI LM2500IEC กำลัง 2,100MW/2,800HP สองเครื่อง กับ Motor ไฟฟ้ากำลัง 2.5MW/3,400HP สองเครื่อง
ซึ่งเป็นเรือลำแรกของกองกำลังป้องกันทางทะเลญี่ปุ่นที่ติดตั้งระบบ COGLAG ซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนแห่งอนาคตที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบแบบเดิมอย่างมาก

เรือพิฆาตชั้น Asahi ติดตั้งระบบตรวจจับแบบต่างๆที่มีความล้ำสมัยสูง เช่น Radar เอนกประสงค์แบบ GaN-AESA(Gallium Nitride-Active Electronically Scanned Array) รุ่นใหม่ที่พัฒนาจาก AESA radar แบบ FCS-3A
โดย FCS-3A เช่นที่ติดตั้งบนเรือพิฆาตชั้น Akizuki นั้นมีจานสัญญาณตรึง4ด้าน(หน้าสอง หลังสอง)ทำงานย่านความถี่ C-Band (เป็นเรือรบชั้นแรกของญี่ปุ่นที่ติดตั้ง GaN-AESA radar และเป็นชั้นที่สองของโลกต่อจากเรือฟริเกตแบบ F125 ชั้น Baden-Württemberg กองทัพเรือเยอรมนีที่ติดตั้ง Radar แบบ TRS-4D)
เรือพิฆาตชั้น Asahi ยังติดตั้งระบบ Sonar ประกอบด้วย Sonar ที่ใต้ตัวเรือแบบ OQQ-24 และ Sonar ชักหย่อนด้านท้ายเรือปรับระดับความลึกได้แบบ OQR-4

ระบบอาวุธของเรือพิฆาตชั้น Asahi ประกอบด้วยเช่น แท่นยิงแนวดิ่ง Mk41 VLS(Vertical Launching System) 32ท่อยิงด้านหน้าเรือสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 ESSM และจรวดปราบเรือดำน้ำ Type 07 VL-ASROC,
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Type 90 แท่นยิง 8นัด และแท่นยิง Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแฝดสาม 2แท่นยิง ระบบอาวุธที่จะได้รับการติดตั้งในอนาคตอาจจะมีเช่น
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ XSSM, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ XRIM-4(ใช้ระบบตรวจจับ AESA radar เพื่อแทน ESSM), กระสุนปืนใหญ่เรือระยะยิงไกล และ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแบบ Type 12(G-RX5) ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา

เรือพิฆาตชั้น Asahi ถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นการลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาขณะที่คงการพัฒนาและเติบโตต่อไปในอนาคต นั่นทำให้เรือชั้นนี้มีรูปแบบความคล้ายคลึงกับเรือพิฆาตชั้น Akizuki
คาดว่าเรือพิฆาต DD-119 Asahi มีกำหนดจะเข้าประจำการในเดือนมีนาคม 2018 โดยจะประจำการที่ฐานทัพเรือ Sasebo สังกัด หมวดเรือคุ้มกันที่2 กองเรือคุ้มกันที่2 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
ทั้งนี้หลังจากนี้ญี่ปุ่นมีแผนจะสร้างเรือพิฆาตแบบ 33DD ใหม่ที่ออกแบบโดยบริษัท Kawasaki Heavy Industries โดยเรือลำแรกจะได้รับงบประมาณในปี 2021 และปล่อยเรือลงน้ำได้ในปี 2024 ซึ่งเรือพิฆาต 33DD มีขนาดใหญ่กว่าเรือชั้น Asahi และมีเสากระโดงแบบบูรณาการพร้อมตัวเรือแบบ CFRP ครับ