วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ญี่ปุ่นวางรากฐานเพื่อการขายอาวุธให้ชาติ ASEAN รวมการเสนอเครื่องบินลำเลียง C-2 แก่ไทย

Defence & Security 2017: Japan lays groundwork for defence sales in Southeast Asia
http://www.janes.com/article/75526/defence-security-2017-japan-lays-groundwork-for-defence-sales-in-southeast-asia




Japanese Ministry of Defense’s Acquisition, Technology, and Logistics Agency(ATLA) has showcased Japanese Defense products
include Model of Kawasaki Heavy Industries C-2 Transport Aircraft and P-1 Maritime Patrol Aircarft and ShinMaywa Industries US-2 Amphibious Aircraft at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photos)

ญี่ปุ่นกำลังวางรากฐานเพื่อการขายผลิตภัณฑ์การป้องกันประเทศและการรักษาความปลอดภัยแก่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามที่มีการลงนามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลด้านยุทโธปกรณ์และ Technology กับสมาชิกชาติ ASAEN หลายประเทศ
ตามที่เจ้าที่ระดับสูงของสำนักงานการจัดซื้อจัดจ้าง, เทคโนโลยี และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology and Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Jane's
ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense and Security 2017 ที่ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายนที่ผ่านมา

Hideharu Yoshio รองผู้อำนวยการกองนโยบายยุทโธปกรณ์ของ ATLA กล่าวว่าญี่ปุ่นได้ลงนามข้อตกลงดังกล่าวกับฟิลิปปินส์เรียบร้อยแล้ว
และขณะนี้ ATLA ญี่ปุ่นกำลังอยู่ระหว่างการหารือกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค ASEAN ทั้งอินโดนีเซีย, มาเลเซีย และไทย เกี่ยวกับข้อตกลงลักษณะเดียวกัน เป็นที่คาดว่าจะได้การลงนามข้อตกลงกับประเทศต่างๆจะได้รับการลงนามในเร็วๆนี้
โดยหลายประเทศในภูมิภาค ASEAN นั้นกำลังมีโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ ที่ญี่ปุ่นได้เห็นโอกาสการนำเสนอระบบของตนแก่กองทัพในภูมิภาค ASEAN

เช่นกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ที่ระงับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ MRCA(Multirole Combat Aircraft)
และให้ความสำคัญเร่งด่วนกับโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลแบบใหม่ ซึ่งมีบริษัทชั้นนำของหลายประเทศให้ความสนใจเข้าแข่งขันในโครงการ(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/mrca.html)
เช่นเดียวกับกองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI–AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ที่ให้ความสนใจเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก ShinMaywa US-2 ที่ประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force)

สำหรับไทยนั้นญี่ปุ่นได้มองเห็นโอกาสในการเสนอส่งออกยุทโธปกรณ์ของตนที่น่าจะตรงความต้องการของแต่ละเหล่าทัพของไทย แม้ว่าญี่ปุ่นจะยังผู้เล่นรายใหม่ในตลาดอาวุธสำหรับไทยและภูมิภาค ASEAN ก็ตาม
เช่นกองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) ที่ญี่ปุ่นเสนอเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก US-2 เพื่อทดแทน บ.ธก.๑ CL-215 และเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Kawasaki P-1 เพื่อทดแทน บ.ตผ.๒ก./ข. P-3T/UP-3T ที่ปลดประจำการไปแล้ว ในส่วนของ กองการบินทหารเรือ
และกองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force) ที่ญี่ปุ่นเสนอเครื่องบินลำเลียง Kawasaki C-2 เพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ แม้ว่าเครื่องบินลำเลียงแบบอื่นเช่น Lockheed Martin C-130J สหรัฐฯดูจะมีโอกาสความเป็นไปได้มากกว่าก็ตาม

Dubai Airshow 2017: Japan looks to Gulf for C-2 export sales
http://www.janes.com/article/75663/dubai-airshow-2017-japan-looks-to-gulf-for-c-2-export-sales

ทั้งนี้ในงานแสดงการบิน Dubai Airshow 2017 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เมื่อวันที่ 12-16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japanese Air Self-Defense Force) ได้ส่งเครื่องบินลำเลียง C-2 มาจัดแสดงในงานเป็นครั้งแรก
โดยกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น และบริษัท Kawasaki Heavy Industries กล่าวว่าเครื่องบินลำเลียง C-2 ได้รับความสนใจจากหลายประเทศในกลุ่มชาติสมาชิกสภาความร่วมมือประเทศกลุ่มอ่าว(GCC: Gulf Cooperation Council)
"เรายังไม่ตัดสินใจตอนนี้ว่าประเทศใดที่เราสามารถส่งออกและไม่ส่งออก เแต่ตอนนี้เราได้รับการร้องขอจากประเทศที่เราสามารถตัดสินใจได้ว่าจะส่งออกหรือไม่บนพื้นฐานของค่าความปลอดภัยของเรา" นาวาอากาศเอก Tokukazu Omine ผู้จัดการโครงการ C-2 กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว

กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นได้จัดหาเครื่องบินลำเลียง C-2 เข้าประจำการทดแทนเครื่องบินเลียง C-1 ที่ญี่ปุ่นพัฒนาเองซึ่งประจำการมามากกว่า 40ปี แทนการตัดสินใจจัดหาเครื่องบินลำเลียงจากต่างประเทศ
"เราได้ศึกษาหลายทางเลือกเพื่อทดแทน C-1 (และ)พบว่า C-130 เล็กเกินไปสำหรับภารกิจนานาชาติของเรา และ Boeing C-17 มีขนาดใหญ่เกินไปซึ่งทำให้มีข้อจำกัดการบินขึ้นลงกับสนามบินได้ไม่กี่แห่ง เราจึงตัดสินใจที่จะสร้าง C-2 ของเราเอง" นายนาวาอากาศเอกกล่าว
C-2 มีสมรรถนะยอดเยี่ยมตามความต้องการในการบรรทุก ระยะทางวิ่งขึ้น-ลง และความเร็วเดินทางสูงสุด โดยตัวเครื่องมีขนาดใหญ่กว่า C-130H ราวสองเท่า แต่มีน้ำหนักบินขึ้นน้อยกว่า C-17 ครึ่งหนึ่ง C-2 สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 110นายโดยใช้ที่นั่งภายในข้างตัวเครื่อง และสามารถขนส่งสัมภาระขนาดใหญ่และเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางได้ครับ