วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

DTI ให้รายละเอียดยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC ต้นแบบของนาวิกโยธินไทย


Defence Technology Institute(DTI) has unveiled Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) 8x8 wheeled amphibious armored vehicle for requirement of Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy
at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photos)

DTI AAPC Prototype has showcased with Mock-Up 30mm Remote Weapon System Turret.(My Own Photo)


DTI AAPC Prototype has equipped Caterpillar C9 400HP Diesel Engine and Allison Automactic Transmission with twin Marine Blade Propeller.(My Own Photos)




DTI AAPC has 3 Crews(Commander, Driver and Gunner) with 11+1 Passengers.(My Own Photos)

DTI AAPC can be fit Floating Kit to improve water swimming performance.(My Own Photo)

Clip: มาชมยานเกราะ AAPC กันครับ
https://www.facebook.com/dtithailand/videos/869469659879702/

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. หรือ DTI เปิดตัวยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ 8x8 Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) สำหรับภารกิจของนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย
ที่พัฒนาในไทยเป็นครั้งแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense and Security 2017 ที่ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายนที่ผ่านมา

การวิจัยและพัฒนายานเกราะสำหรับภารกิจของนาวิกโยธินไทยมีพื้นฐานมาจากองค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนายานเกราะล้อยางลำเลียงพล Black Widow Spider 8x8 ที่ DTI พัฒนาซึ่งสำหรับกองทัพบกไทย(Royal Thai Army) ที่ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบประเมินค่า
ยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC ถูกออกแบบมาเพื่อการสนับสนุนการยกพลขึ้นบกในคลื่นที่สอง(Second Wave) หลังจากที่กองกำลังยกพลขึ้นบกจากคลื่นแรก(First Wave)สามารถสถาปนาที่มั่นหลังจากขึ้นสู่ฝั่งได้แล้ว

เป็นแนวคิดเดียวกับโครงการจัดหายานเกราะล้อยาง Amphibious Combat Vehicle Phase 1 Increment 1 (ACV 1.1) ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(US Marine Corps) ตามที่ได้รายงานไป(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/dti-aapc.html)
โดยปัจจุบัน กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน ประจำการด้วยรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 โดยมีรายงานว่า นย.ไทยสนใจรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก VN16(ZTD05) และรถรบทหารราบสายพานสะเทินน้ำสะเทินบก VN18(ZBD05) ของ NORINCO จีน สำหรับกำลังคลื่นแรก

คุณสมบัติของยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ AAPC 8x8 มิติ ยาว 7-8m,กว้าง 2-3m, สูง 2-3m, ระยะสูงจากพื้นน้อยกว่า 0.4m, น้ำหนักรถประมาณ 21-30tons
กำลังพลประจำ ๓นาย (ผู้บังคับการรถ, พลขับ และพลยิง) บรรทุกกำลังพลทหารรบนาวิกโยธินได้ ๑๑+๑นาย โดยมีที่นั่งเสริมขนาดเล็กเพิ่ม(เดิมหมู่ปืนเล็กนาวิกโยธินมีอัตราจัดที่ ๑๓นาย แต่กำลังมีแผนปรับโครงสร้างมาใช้อัตราจัดเดียวกับทหารบกคือ ๑๑นาย)

ยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล Caterpillar C9 กำลัง 400HP สหรัฐฯ และระบบส่งกำลังอัตโนมัติของ Allison สหรัฐฯ สำหรับใช้งานบนบกและในน้ำ สามารถความเร็วบนบกได้ 80km/h ความเร็วในน้ำ 10-15km/h มีพิสัยปฏิบัติการ 600km
มีระบบระบายน้ำ ระบบปรับแรงดันยางลม มีคงทนทะเล ตัวรถมีมุมยกด้านหน้าน้อยกว่า ๔๐องศา พร้อมแผงกันคลื่น มุมยกด้านหลัง ๒๕องศา มีช่องออกด้านบนสำหรับ ผบ.รถ และช่องออกฉุกเฉินสำหรับกำลังพลในห้องโดยสาร

เกราะด้านข้างสามารถป้องกันกระสุนตามข้อกำหนดมาตรฐานทางทหารของกระทรวงกลาโหมระดับ Level 3 เกราะด้านล่างสามารถป้องกันทุ่นระเบิดได้ตามมาตรฐาน NATO STANAG 4569 Level 2b(ระเบิด 6kg)
มีระบบป้องกันนิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ใช้ระบบไฟบนตัวรถที่แรงดัน 24V 200A ระบบวิทยุและระบบสื่อสารภายใน ระบบตรวจการณ์และแสดงผล ระบบดับไฟอัตโนมัติพร้อมอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

ยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC ในชุดภาพนี้เป็นรถต้นแบบคันจริงซึ่งติดตั้งป้อมปืน Remote Weapon Station ขนาด 30mm ร่วมกับปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62mm พร้อมแท่นยิงลูกระเบิดควัน
ที่เป็นแบบจำลอง(Mock-Up)มาจาก Elbit Systems UT30MK2 อิสราเอล ซึ่ง Singapore Technologies Kinetics(ST Kinetics) สิงคโปร์ผู้ให้คำปรึกษาการออกแบบแก่ DTI ไทย แนะนำให้ใช้กับยานเกราะล้อยาง Black Widow Spider 8x8

อย่างไรก็ตามจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของ DTI ตอนนี้ทางนาวิกโยธินไทยยังไม่ได้ระบุว่าจะเลือกใช้ป้อมปืนแบบใด ถ้า นย.ไทยจะเลือกใช้ป้อมปืน Remote แบบอื่นที่เป็นมาตรฐาน NATO ทาง DTI AAPC ก็รองรับติดตั้งใช้งาน ซึ่งต้องมีการหารือและคัดเลือกแบบกันอีกที
อีกทั้งการติดตั้งป้อมปืนจะทำให้น้ำหนักรถเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 2tons ดังนั้น AAPC จึงออกแบบให้สามารถติดตั้ง Floating Kit เสริมที่ข้างตัวรถเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลอยตัวของรถขณะเคลื่อนที่ในน้ำ(นย.ต้องการให้รถทำความเร็วในน้ำได้สูงสุดถึง 15km/h)

ทั้งนี้ DTI ได้เปิดเผยว่า การทดสอบยานเกราะล้อยาง AAPC ต้นแบบจะมีขึ้นเร็วๆนี้ ก่อนจะส่งมอบให้ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินผู้ใช้งานทดสอบรถเพิ่มเติมในช่วงกลางปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) คาดว่าสายการผลิตรถจะเริ่มได้ภายในสิ้นปี ๒๕๖๒(2019) หรือช่วงต้นปี ๒๕๖๓(2020) เป็นต้นไป
กระทรวงกลาโหมไทยได้ให้ความสนใจที่จะสั่งจัดหายานเกราะล้อยาง AAPC ไปทดลองใช้ ๕คัน แม้ว่าจะยังไม่การกำหนดตัวบริษัทเอกชนที่รับดำเนินการเปิดสายการผลิตรถก็ตาม(มีบริษัท ช ทวี ร่วมเป็นตัวเลือกด้วย) นี่จึงเป็นอีกหนึ่งในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยครับ