วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กองทัพเรือไทยเตรียมจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN-235-220 MPA อินโดนีเซียใหม่ ๓เครื่อง

Singapore Airshow 2018: Thailand enters ‘pre-contract’ negotiations for three MPA
The Royal Thai Navy (RTN) and Indonesian state-owned aircraft manufacturer PT Dirgantara Indonesia (PTDI) are now in ‘pre-contract’ negotiations over the procurement of three CN-235-220 aircraft in the maritime patrol configuration.
http://www.janes.com/article/77673/singapore-airshow-2018-thailand-enters-pre-contract-negotiations-for-three-mpa

Indonesian Navy CN-235-220 Maritime Patrol Aircraft

กองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) และ PT Dirgantara Indonesia(PTDI) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซียขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมเจรจาเพื่อการทำสัญญาล่วงหน้า
สำหรับการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN-235-220 MPA(Maritime Patrol Aircraft) จำนวน ๓เครื่อง ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางสองเครื่องยนต์ใบพัด CASA/IPTN CN-235(ปัจจุบัน Airbus/PTDI)

ตามที่ Jane’s ได้พูดคุยกับรองประธานฝ่ายขายของ PTDI อินโดนีเซีย Ade Yuyu Wahyuna ในงานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Singapore Airshow 2018 ณ ศูนย์จัดแสดง Changi Exhibition Centre สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 6-11 กุมภาพันธ์
กล่าวว่าการเจรจาในขั้นนี้ได้เริ่มต้นไปเมื่อปลายเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) และการลงนามสัญญาอย่างเป็นทางการคาดว่าจะมีผลเป็นรูปธรรมก่อนสิ้นปีนี้

เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลาง CN-235 ที่ติดตั้งระบบในรูปแบบเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลได้รับการจัดหาไปใช้งานแล้วหลายประเทศ เช่น HC-144 Ocean Sentry(CN-235-300 MP Persuader) หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ(US Coast Guard) ๑๘เครื่อง,
กองทัพเรือโคลัมเบีย ๓เครื่อง, กองทัพเรือเอกวาดอร์ (CN-235 MPA Persuader) ๑เครื่อง, กองทัพเรือเม็กซิโก(CN-235MP 300) ๓เครื่อง, กองทัพเรือตุรกี(เฉพาะรุ่น MPA) ๔เครื่อง และหน่วยยามฝั่งสาธารณรัฐเกาหลี(Korea Coast Guard) ๔เครื่อง

กองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy,TNI–AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ได้มีการสั่งจัดหา CN-235 MPA รวม ๑๑เครื่องซึ่งล่าสุดได้รับมอบแล้วราว ๕เครื่อง โดย PTDI อินโดนีเซียได้รับสิทธิบัตรในการผลิตเครื่องบินลำเลียง CN-235 ในประเทศ
โดยในรุ่นลำเลียงทางยุทธนอกจากในกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force,TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) เองราว ๑๐เครื่อง ยังสามารถผลิตส่งออกให้กับหลายประเทศ

รวมถึง สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(Royal Thai Police) ในรุ่นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี CN-235-200M ๑เครื่อง และ CN-235-220M ๑เครื่อง
ซึ่งบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (Thai Aviation Industries) ไทยได้ลงนามข้อตกลงกับ PT Dirgantara อินโดนีเซีย ในการเป็นตัวแทนจำหน่ายและร่วมการผลิตเครื่องบินลำเลียง CN235-220 ในประเทศไทย ไปเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗(2014)

http://www.taithailand.com/business-and-services/casas-authorize-dealer-in-thai/

ทั้งนี้ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทยได้ปลดประจำการเครื่องบินตรวจการณ์ต่อต้านเรือผิวน้ำ บ.ตผ.๒ก/ข P-3T ๒เครื่องที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๖(1993) และ UP-3T ๑เครื่องที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996) ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ทั้ง ๓เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014)
ทำให้กองทัพเรือไทยขาดเครื่องบินตรวจการณ์ที่มีขีดความสามารถในการลาดตระเวนปราบเรือดำน้ำมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว จึงเป็นที่มาของโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่ ๓เครื่องที่คาดว่าจะเพื่อทดแทน บ.ตผ.๒ Lockheed P-3T สหรัฐฯที่ปลดไปแล้วดังกล่าว

โดยปัจจุบันกองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทยมีเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำ บ.ตผ.๑ F-27 Mk200 เนเธอร์แลนด์ ฝูงบิน๑๐๒ ๔เครื่องที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๐(1987) ซึ่งสามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ AGM-84 Harpoon ได้
รวมถึงเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล บ.ลว.๑ Do-228 เยอรมนี ฝูงบิน๑๐๑ ๗เครื่องที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ๓เครื่อง ๒๕๓๘(1995) ๓เครื่อง และ ๒๕๔๖(2003) ๑เครื่อง ซึ่งทั้งหมดต่างมีอายุการใช้งานมานานแล้วครับ