วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เรือดำน้ำ S26T กองทัพเรือไทยจะใช้ระบบผสมระหว่างจีนและตะวันตก

Thailand’s future submarines to have a mix of Chinese, western weapons
http://www.janes.com/article/77549/thailand-s-future-submarines-to-have-a-mix-of-chinese-western-weapons

CSOC has showcased Model of S26T Conventional Submarine for Royal Thai Navy at Defense and Security Thailand 2017.((My Own Photos)
http://aagth1.blogspot.com/2017/11/csoc-s26t.html

Royal Thai Navy Frigates FFG-421 HTMS Naresuan and FFG-422 HTMS Taksin(https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1181281628589858)

แผนโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จำนวน ๓ลำจากสาธารณรัฐประชาชนจีนของกองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) ดูเหมือนว่าเรือน่าจะมีคุณสมบัติการผสมผสานระบบอุปกรณ์ ระบบอำนวยการรบ และระบบอาวุธจากผู้ผลิตของจีนและตะวันตกติดตั้งกับเรือดำน้ำทั้ง ๓ลำ
ตามที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพเรือไทยได้ให้ข้อมูลในงานสัมมนาด้านความมั่นคงที่มีขึ้นมีปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา

การพูดคุยที่อยู่ภายใต้กฎ Chatham House Rule ที่การอภิปรายเป็นคณะที่สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมสามารถออกความเห็นได้อย่างเสรีและมีการเปิดเผยข้อมูลต่อภายนอก แต่ไม่มีการเปิดเผยตัวผู้แสดงความเห็นเพื่อไม่ให้กระทบต่อหน้าที่การงานและองค์กรต้นสังกัดนั้น
เจ้าหน้าที่ซึ่งมีส่วนโดยตรงในโครงการจัดหากล่าวว่า ความเป็นไปได้นี้เป็นผลจากข้อจำกัดในการควบคุมการส่งออกที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาลของผู้ผลิตระบบตะวันตกแต่ละประเทศ

กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีตามแบบ S26T ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำ วงเงิน ๑๓,๕๐๐ล้านบาทระยะเวลางบประมาณผูกพัน ๖ปี กับบริษัท China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) จีนเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
โดยกองทัพเรือไทยมีความต้องการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T รวม ๓ลำ วงเงินงบประมาณ ๓๖,๐๐๐ล้านบาท ภายในระยะเวลางบประมาณผูกพัน ๑๑ปี(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t-updated.html,http://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t.html)

ตามที่กองทัพเรือไทยได้ส่งคณะกรรมการตรวจการจ้าง ผู้ควบคุมงาน และ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานสำหรับโครงการจัดหาเรือดำน้ำเดินทางไปปฏิบัติราชการ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
จากข้อมูลล่าสุดโครงการได้อยู่ขั้นตอนการออกแบบรายละเอียด(Detail Design) ของเรือดำน้ำ S26T สำหรับกองทัพเรือไทย โดยจะมีระยะเวลาในขั้นตอนนี้ราว ๑ปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐-๒๕๖๑(2017-2018)

CSOC ที่เป็นภาคส่วนการค้ายุทโธปกรณ์นานาชาติของ China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือของรัฐบาลจีนได้ให้ข้อมูลต่อสื่อว่า เรือดำน้ำแบบ S26T ที่ลำแรกจะเข้าประจำการในกองทัพเรือไทยราวปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) นั้น
มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B (NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่เป็นเรือรุ่นที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดที่สร้างเข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy)(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_14.html)

ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้ระลึกถึงข้อตกลงที่คล้ายกันระหว่างกองทัพเรือไทยและจีนในเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร(แบบ F25T) ที่ทั้งสองลำคือ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน ที่สร้างโดย China State Shipbuilding Corporation จีนเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๘(1994-1995)
ได้มีการติดตั้งระบบอาวุธขั้นก้าวหน้าจากตะวันตกหลายระบบเช่น ปืนใหญ่เรือ Mk45 5"/54cal, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84 Harpoon และแท่นยิง Torpedo เบาแฝดสาม Mk32 324mm ผสมกับระบบอาวุธและอุปกรณ์จีน

แม้ว่าการปรับปรุงเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ล่าสุดที่มีบริษัท SAAB สวีเดนเป็นผู้รับสัญญาหลักในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) ซึ่งดำเนินการเสร็จในปี ๒๕๕๘(2015) ที่ติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง Mk41 VLS(Vertical Launch System) พร้อมอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 ESSM นั้น
จะได้มีการนำระบบเดิมของจีนออกไป เช่น ปืนใหญ่กล DS30MR 30mm แทน Type 76A 37mmแฝดสอง, ระบบอำนวยการรบ 9LV MK4 แทน ZKJ-3T, radar อำนวยการรบ Sea Giraffe AMB แทน Type 360 และ radar ควบคุมการยิง CEROS 200 แทน STIR ยุโรปครับ