วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

มาเลเซียตั้งเป้าลงนามจัดหาเรือดำน้ำลำที่3และ4 ในปี 2040

Malaysia aims to sign for third, fourth submarines by 2040
The Perdana Menteri-class submarine, KD Tun Razak, in waters off Sabah, Eastern Malaysia. (Royal Malaysian Navy). Source: Royal Malaysian Navy
http://www.janes.com/article/78250/malaysia-aims-to-sign-for-third-fourth-submarines-by-2040

รัฐบาลมาเลเซียวางโครงร่างแผนการจัดหาเรือดำน้ำลำที่3 และลำที่4 ตามแผนมาเลเซีย(Malaysia Plan) ฉบับที่14 ที่จะดำเนินการในช่วงปี 2031-2035 และฉบับที่15 ช่วงปี 2036-2040 ตามลำดับ
โครงร่างแผนดังกล่าวได้บรรจุอยู่ในการแถลงต่อสื่อของกองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut DiRaja Malaysia) ที่ถูกส่งให้กับ Jane's เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

แถลงการณ์ที่ถูกเผยแพร่ต่อสื่อมวลชนมาเลเซียก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้แสดงถึงการเปลี่ยนผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำของของกองทัพเรือมาเลเซีย
โดย พลเรือตรี Zulhelmy Ithnain ได้เข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำกองทัพเรือมาเลเซียคนใหม่แทน นาวาเอก Abdullah Sani

รัฐบาลมาเลเซียมีการวางแผนนโยบายการใช้งบประมาณประจำปีในระยะยาวที่ครอบคลุมระยะเวลาช่วง5ปีที่เรียกว่า Malaysia Plan ในข้างต้น
โดยเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าโจมตีตามแบบชั้น Perdana Menteri(Scorpene) ทั้ง 2ลำที่กองทัพเรือมาเลเซียประจำการในปัจจุบันนั้นถูกจัดหามาในแผนมาเลเซียฉบับที่8 ปี 2002

เรือดำน้ำ KD Tunku Abdul Rahman และ KD Tun Abdul Razak ซึ่งเข้าประจำการในกองทัพเรือมาเลเซียเมื่อเดือนมกราคม 2009 และเดือนตุลาคม 2009 ตามลำดับ
เป็นเรือดำน้ำแบบ Scorpene ที่สร้างโดยอู่เรือบริษัท DCNS(ปัจจุบันคือ Naval Group)ฝรั่งเศส และบริษัท Navantia สเปน ตามลำดับ

เรือดำน้ำชั้น Perdana Menteri(Scorpene) มาเลเซีย มีความยาวตัวเรือ 67.56m วก้าง 6.2m ตัวเรือกินน้ำลึก 5.4m มีพิสัยทำการที่ผิวน้ำไกลสุด 6,500nmi(12,038km) และมีพิสัยทำการเมื่อดำใต้น้ำใกล้สุด 550nmi
ระบบอาวุธท่อยิง Torpedo ขนาด 533mm จำนวน 6ท่อยิงสำหรับ Torpedo หนักแบบ Black Shark 18นัด และสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากเรือดำน้ำแบบ SM.39 Exocet ได้

เรือดำน้ำชั้น Perdana Menteri กองทัพเรือมาเลเซียขณะนี้ประจำการในกองบัญชาการกองเรือภาคตะวันออก ซึ่งมีที่ตั้ง ณ ฐานทัพเรือ Sepanggar ในรัฐ Sabah บนเกาะ Borneo
ก่อนหน้านี้กองทัพเรือมาเลเซียวางกำลังเรือดำน้ำของตนที่ฐานทัพเรือ Lamut ในรัฐ Perak บนคาบสมุทร Malay แต่ได้ย้ายไปวางกำลังที่ Sepanggar ในข้างต้นเพื่อตอบสนองภัยคุกคามด้านความมั่นคงทางตะวันออกของมาเลเซีย

"โดยทั่วไปการลงทุนในด้านเรือดำน้ำของรัฐบาลมาเลเซียได้ช่วยในการปกป้องผลประโยชน์ทางทะเลของประชาชนมาเลเซียเรา และทำให้เศรษฐกิจของมาเลเซียดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรับมือกับข้อพิพาททางทะเลในทะเลจีนใต้"
แถลงการณ์ของกองทัพเรือมาเลเซียกล่าว ซึ่งมาเลเซียเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่ม ASEAN ที่มีปัญหาข้อพิพาททางพรมแดนในเขตทะเลจีนใต้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน

แผนการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ที่ปรากฎขึ้นมานี้ดูจะเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับแผนโครงการปรับโครงสร้างกำลังทางเรือจากที่มีแบบเรือต่างประจำการ 15ชั้นเรือให้เหลือเพียง 5ชั้นเรือ
ซึ่งรวมถึงการจัดหาเรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela หรือ Littoral Combat Ship(LCS) คือแบบเรือ Gowind ของ Naval Group ฝรั่งเศส และเรือตรวจการณ์ Littoral Mission Ship(LMS) จากจีน ๔ลำ ที่สร้างโดยอู่เรือ Boustead Heavy Industries Corporation Berhad(BHIC) มาเลเซีย
(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/lcs-gowind-kd-maharaja-lela.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/03/littoral-mission-ship.html)

ทั้งนี้การจัดหาเรือดำน้ำลำที่ 3 และเรือดำน้ำลำที่ 4ของกองทัพเรือมาเลเซียที่จะเข้าประจำการในช่วงปี 2031-2040 นั้น เรือดำน้ำชั้น Scorpene ทั้ง 2ลำในปัจจุบันจะมีอายุการใช้งานถึง 22-31ปี
ทำให้การจัดหาเรือดำน้ำใหม่ดังกล่าวน่าจะมาเพื่อทดแทนเรือชั้น Scorpene ทั้ง 2ลำที่จะปลดประจำการในช่วงเวลานั้น แม้ว่ากองทัพเรือมาเลเซียจะมีความต้องการในการมีเรือดำน้ำประจำการรวม 4ลำก็ตามครับ