วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๑-๒




Royal Thai Army has displayed Sikorsky UH-60L Black Hawk 9th Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center in Children's Day 2018 at 2nd Cavalry Division Royal Guard in Bangkok, 13 January 2018(My Own Photos)

Royal Thai Army has retired all 6 Boeing CH-47D Chinook 41st Aviation Battalion(former General Support Aviation Battalion), Aviation Regiment, Army Aviation Center(https://www.facebook.com/GeneralSupportAviationBattalion)

โครงการแลกเปลี่ยนซากเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ ฮ.ล.๔๗ Boeing CH-47D Chinook จำนวน ๖เครื่อง พร้อมชิ้นส่วนซ่อม, เครื่องมือซ่อมบำรุง กับบริภัณฑ์ภาคพื้น
กับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60A Black Hawk(Refurbished) จำนวน ๓เครื่อง ที่ได้รับการปรับปรุงระบบเครื่องวัดที่มีการติดตั้งตามมาตรฐานกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army)
พร้อมดำเนินการซ่อมบำรุงตามระยะเวลา ๓๖๐ชั่วโมง และ ๗๒๐ชั่วโมง(PM1 and PM2) และติดตั้งถังดับเพลิงชนิดพับได้แบบ Bambi Bucket ขนาด 1,500liter พร้อมอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
เป็นข้อมูลล่าสุดการแสดงถึงการปลดประจำการ ฮ.ล.๔๗ CH-47D ทั้ง ๖เครื่อง ที่เคยประจำการในอดีตกองบินสนับสนุนทั่วไป(ปัจจุบันคือ กองพันบินที่๔๑) ศูนย์การบินทหารบก กองทัพบกไทย

โดยกองทัพบกไทยได้มีการจัดหา CH-47D ชุดแรก ๔เครื่อง(หมายเลข 90-111, 90-222, 90-333 และ 90-777) เข้าประจำการเมื่อ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๔(1991) และชุดที่สอง ๒เครื่อง(หมายเลข 90-888 และ 90-999) เมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๕(1992)
CH-47D นับเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยประจำการในกองทัพบกไทย โดยสามารถลำเลียงทหารได้สงสุด ๖๐นาย หิ้วรถถังเบา ถ.เบา.๒๑ Scorpion(http://aagth1.blogspot.com/2015/03/ch-47d-scorpion.html) และหิ้วปืนใหญ่ลากจูงขนาด 155mm ภายนอกลำตัวเครื่อง
รวมถึงสามารถลอยบนผิวน้ำสำหรับรับส่งหน่วยรบพิเศษพร้อมเรือยางท้องแบนในห้องโดยสารหรือชุดนักดำน้ำ และการใช้ตระกร้าบรรจุน้ำดับเพลิงเพื่อการดับไฟป่า จนถึงการยกตู้ Container มาวางเป็นกำแพงกั้นน้ำเมื่อเหตุน้ำท่วมใหญ่ปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011)
อย่างไรก็ตามเมื่อเครื่องมีอายุการใช้งานมาขึ้นก็ประสบปัญหาในการซ่อมบำรุงจนต้องปลดประจำการลง และมีการขายซากเพื่อแลกเปลี่ยนกับ ฮท.๖๐ UH-60A ๓เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯแต่ได้รับการปรับปรุงสภาพและความทันสมัยเหมือนออกจากโรงงานใหม่
แม้ว่าจะเป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯมาก่อน แต่การจัดหา UH-60A ๓เครื่องนั้นมีความคุ้มค่าในการใช้งานเพราะเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ใช้ในกองทัพบกสหรัฐฯ ทั้งยังได้รับอุปกรณ์ดับเพลิงมาด้วยซึ่งจำเป็นต่อภารกิจการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่าด้วย

เป็นที่เข้าใจว่า UH-60A(Refurbished) ๓เครื่องนี้จะเข้าประจำการใน กองพันบินที่๙(กองบินปีกหมุนที่๙ (ผสม) เดิม) กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก รวมกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ UH-60L/UH-60M ที่มีอยู่ ๑๒เครื่องเพิ่มเป็น ๑๕เครื่อง
ปัจจุบัน พัน.บ.๙ มี ฮ.ท.๖๐ UH-60L ๙เครื่อง(เดิมมี ๑๐เครื่องคือหมายเลข 6927, 6928, 6929, 7002, 7003, 7025 และ 7026 โดย 6928 เกิดอุบัติเหตุตกในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011))
ซึ่ง UH-60L ๓เครื่องที่จัดหาในปี ๒๕๕๖(2013) ได้รับการติดตั้ง Radar ตรวจการณ์สภาพอากาศ(หมายเลข 7220, 7221 และ 7222 ในภาพข้างต้น) และ ฮ.ท.๖๐ UH-60M ๓เครื่องจัดหาในปี ๒๕๕๗(2014) (หมายเลข 7334, 7335 และ 7336)
ตรงนี้ก็หวังว่ากองทัพบกไทยจะยังคงมี ฮ.ล.๔๗ CH-47D เก็บรักษาเพื่ออนุรักษ์ไว้จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์บ้างโดยไม่ได้นำไปแลกหมดทุกเครื่องครับ(เช่นเครื่องหมายเลข 90-777 ในภาพข้างต้น)

Royal Thai Army's Airbus Defence and Space C-295W 21st Aviation Battalion(former Aviation Battalion), Aviation Regiment, Army Aviation Center(https://www.facebook.com/ball.kittidej)

กองทัพบกไทยมีโครงการจัดซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางแบบที่๒ พร้อมอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติภารกิจ, ชิ้นส่วนซ่อมควบคู่ และการสนับสนุนทางการส่งกำลังบำรุงต่าง จำนวน ๑เครื่องวงเงิน ๑,๖๑๙,๙๙๙,๙๖๘.๘๘บาท(43,199,999.17 Euros) 
จากบริษัท Airbus Defence and Space สเปน(EADS CASA เดิม) ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าคือการจัดหาเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C-295W ระยะที่๒ เพิ่มอีก ๑เครื่อง
กองทัพบกไทยได้จัดหาเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางสองเครื่องยนต์ใบพัด บ.ล.๒๙๕ Airbus C-295W จำนวน ๑เครื่อง(มีรายงานว่าในวงเงิน ๑,๒๕๐ล้านบาท) เข้าประจำการใน ฝูงเครื่องบิน กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016)
ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจว่า บ.ล.๒๙๕ C-295W ได้ย้ายไปเข้าประจำการใน กองพันบินที่๒๑(กองบินเบา ต่อมาเป็น กองบินปีกติดลำตัว เดิม) ตามอัตราการจัดกำลังอากาศยานใหม่ ทั้งนี้ที่ราคาเครื่องสูงขึ้นน่าจะเป็นไปตามค่าเงินในตลาดโลกและอุปกรณ์ที่จะจัดหามาเพิ่มเติม 
และคาดว่ากองทัพบกไทยน่าจะมีแผนจัดหา C-295W รวมทั้งหมด ๔เครื่อง จึงเข้าใจว่าอาจจะมีการจัดหาในระยะที่๓ และระยะที่๔ ตามมาถ้ามีงบประมาณเพียงพอในอนาคตครับ(http://aagth1.blogspot.com/2016/06/c-295w.html, http://aagth1.blogspot.com/2016/08/c-295w.html)

Royal Thai Army AH-1F EDA Attack Helicopters of 3rd Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center in firing range flight(unknow photo source)

Bell AH-1Z Attack Helicopter of HMLA-369(Marine Light Attack Helicopter Squadron 369), Marine Aircraft Group 39(MAG-39), 3rd Marine Aircraft Wing(3rd MAW), US Marine Corps during landing exercises Cobra Gold 2018 Thailand.

ความคืบหน้าของโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ ๖-๘เครื่องทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F/AH-1F EDA Cobra ทั้ง ๗เครื่องที่ประจำการในกองพันบินที่๓(กองบินปีกหมุนที่๓ เดิม) กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก นั้น
มีรายงานข้อมูลคร่าวๆที่ยังไม่ได้มีการยืนยันคือเฮลิคอปเตอร์โจมตี Kamov Ka-52 และ Mil Mi-35 รัสเซียถูกตัดออกไปแล้วเนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ตรงตามความต้องการ 
ขณะที่เฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z สหรัฐฯ ที่นาวิกโยธินได้นำมาวางกำลังร่วมการฝึกผสม Cobra Gold 2018 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ถูกเสนอในรูปแบบเครื่องเปล่าไม่รวมอาวุธและสิ่งอุปกรณ์ประกอบ และการสนับสนุนอื่นๆที่ต้องจัดหาเพิ่มเติม
ทำให้ตัวเลือกที่โดดเด่นคือเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ATAK ของ Turkish Aerospace Industries(TAI) ตุรกี ที่เสนอเครื่องพร้อมระบบอาวุธและอุปกรณ์ประกอบพร้อมการสนับสนุนการฝึกและถ่ายทอด Technology ให้กับไทย(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/tai-t-129-atak.html)
แต่อย่างไรก็ตามจากเหตุการณที่ ฮ.โจมตี T129 ATAK กองทัพบกตุรกีถูกยิงตกขณะปฏิบัติการโจมตีทางอากาศที่ Afrin ซีเรียเมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ซึ่งนักบินประจำเครื่องทั้งสองนายเสียชีวิต ทำให้มีคำถามถึงสมรรถนะความปลอดภัยในการปฏิบัติการรบจริงของเครื่องตามมา

ทำให้เฮลิคอปเตอร์โจมตี Airbus Helicopters Tiger เป็นตัวเลือกนำรายใหม่ ตามที่บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI: Thai Aviation Industries) ไทยได้ร่วมลงนามข้อตกลงการสนับสนุน ฮ.ของ Airbus ในไทย(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/airbus-helicopters-tai.html)
แต่ทั้งนี้เฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger UHT กองทัพบกเยอรมนีก็เคยมีรายงานการเกิดอุบัติเหตร้ายแรงขณะวางกำลังเพื่อรักษาสันติภาพที่มาลีที่ใบพัดประธานหักกลางอากาศจนเครื่องตกและนักบินทั้งสองนายเสียชีวิต(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/tiger.html)
มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า เฮลิคอปเตอร์โจมตีที่จะจัดหามาใหม่อาจจะเข้าประจำการใน กองพันบินที่๔๑(กองบินสนับสนุนทั่วไปเดิม) ซึ่งปัจจุบันประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์ใชงานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 ๕เครื่อง, ฮ.ท.๗๒ UH-72A Lakota ๕เครื่อง และ ฮ.ท.๑๔๕ H145 ๖เครื่อง
ตามอัตราจัดกำลังของ ศบบ. ใหม่นั้นยังจำเป็นต้องมีการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปทดแทน ฮ.ท.๑ Bell UH-1H จำนวนมากทั้ง ฮ.ท.๖๐ UH-60, ฮ.ท.๑๓๙ AW139 และ ฮ.ท.๑๔๕ AW149 รวมถึงเฮลิคอปเตอร์ลาตระเวนติดอาวุธเสริม ฮ.ลว.อว.AS550 C3(H125M) ๘เครื่อง ดังนั้นแบบตัวเลือกการจัดหา ฮ.โจมตีอาจจะยังไม่มีความชัดเจนในขณะนี้ครับ






Royal Thai Navy LPD-791 HTMS Angthong Landing Platform Dock and Royal Thai Marine Corps AAV-7A1 and HMMWV in exercises Cobra Gold 2018 Thailand.(https://www.facebook.com/CobraGoldThailand.RTARF/posts/1676738945698120)

Indonesian Navy corvette KRI Sultan Iskandar Muda(367), Indonesian landing platform dock KRI Banda Aceh(593) and U.S. Coast Guradcutter WMSL-751 USCGC Waesche, exercises CARAT 2012 Indonesia at Java Sea 6 June 2012.(wikipedia.org)

ตามที่กองทัพเรือไทยได้จัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกเรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) วงเงิน ๔,๙๔๔ล้านบาท ที่มีพื้นฐานจากเรือ LPD(Landing Platform Dock) ชั้น Endurance ที่สร้างโดยบริษัท Singapore Technologies Marine ในเครือ ST Engineering สิงคโปร์ 
นับตั้งแต่เข้าประจำการเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕(2012) แม้ว่า ร.ล.อ่างทอง(ลำที่๓) จะเป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้นแรกของไทยที่ได้เพิ่มพูนขีดความสามารถในการปฏิบัติการยกพลขึ้นบกของกำลังนาวิกโยธินกองทัพเรือไทยมากขึ้นก็ตาม
ทว่าเรืออู่ยกพลขึ้นบกชุด ร.ล.อ่างทอง(ลำที่๓) ก็รายงานถึงปัญหาข้อบกพร่องในแบบเรือที่มีการแก้ไขมาตั้งการออกแบบและสร้างเรืออยู่ในบางจุด ซึ่งทำให้กองทัพเรือไทยไม่มีความต้องการในการจัดหาเรือชั้นนี้เพิ่มเติมจาก ST Marine สิงคโปร์
ซึ่งตามแผนการทดแทนเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ชุด ร.ล.อ่างทอง(ลำที่๒) LST(Landing Ship Tank)ที่เคยมีอยู่ ๕ลำ คือ ร.ล.อ่างทอง(ลำที่๒), ร.ล.ช้าง(ลำที่๒), ร.ล.พงัน, ร.ล.ลันตา และ ร.ล.พระทอง(หมายเลขเรือ 711, 712, 713, 714 และ 715) 
กองทัพเรือไทยจะมีความต้องการเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD รวม ๔ลำ สำหรับสนับสนุนหน่วยดำเนินกลยุทธ์ระดับกองพันผสมของ กองพลนาวิกโยธิน อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอทำให้หลายปีที่ผ่านมายังไม่มีการจัดหาเรือ LPD ลำที่๒

Philippine Navy LD-601 BRP Tarlac lead ship of Tarlac class SSV(Strategic Sealift Vessel) Landing Platform Dock(wikipedia.org)

ล่าสุดมีรายงานว่ากองทัพเรือไทยมีโครงการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกชุดใหม่ชื่อ 'เรือหลวงช้าง(ลำที่๓)' ซึ่งนอกจากจะเป็นเรือ LPD แล้วยังรองรองภารกิจเป็นเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ(Submarine Tender) เพื่อสนับสนุนเรือดำน้ำแบบ S26T ที่กำลังจะจัดหาจากจีน ๑ลำด้วย
โดยแบบเรืออู่ยกพลขึ้นบกลำใหม่นี่น่าจะมีพื้นฐานจากเรือ LPD ชั้น Makassar ของรัฐวิสาหกิจอู่เรือ PT PAL อินโดนีเซีย(ซึ่งซื้อสิทธิบัตรแบบเรือจากบริษัท Daesun สาธารณรัฐเกาหลี) ที่นอกจากมีประจำการในกองทัพเรืออินโดนีเซีย ๔ลำโดยกำลังต่ออีก ๑ลำแล้ว
PT PAL ยังประสบความสำเร็จในการส่งออกเรือยกพลขึ้นบก SSV(Strategic Sealift Vessel) ชั้น Tarlac ๒ลำแก่กองทัพเรือฟิลิปปินส์(มีพื้นฐานจากชั้น Makassar) และเรือ LPD ชั้น Paita ๒ลำแก่กองทัพเรือเปรูพร้อมการถ่ายทอด Technology การสร้างเรือที่อู่เรือ SIMA ใน Callao เปรู
PT PAL ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU กับ Boustead Naval Shipyard(BNS) มาเลเซีย ในการสร้างเรือสนับสนุนเอนกประสงค์ MRSS(Multirole Support Ship) แก่กองทัพเรือมาเลเซียด้วย(http://aagth1.blogspot.com/2016/11/x18-mrss.html)
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางไทย เรือเรืออู่ยกพลขึ้นบก ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) ลำใหม่นี้ก็ควรจะมีความร่วมมือกับกรมอู่ทหารเรือและอู่ต่อเรือเอกชนของไทยที่มีความพร้อมกับ PT PAL อินโดนีเซีย เพื่อให้การถ่ายทอด Technology สร้างเรือภายในไทยด้วย

Republic of Korea Navy LST-687 Cheon Ja Bong, the Cheon Wang Bong class LST II(Landing Ship Tank) Landing Platform Dock at Exercise Cobra Gold 2018 in Thailand(https://www.facebook.com.facebook.com/CobraGoldThailand.RTARF)

Hyundai Heavy Industries(HHI) has showcased Model of Republic of Korea Navy HDL-7000 LST-II Cheon Ja Bong class Landing Ship Tank at Defense and Security Thailand 2017.(My Own Photos)
http://aagth1.blogspot.com/2017/11/dsme-hhi.html

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบเบื้องต้น โครงการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกชุดใหม่ของกองทัพเรือไทยนั้นมีแนวคิดอยู่จริง แต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีประกาศการเสนอแบบเรือเพื่อเข้าแข่งขัน หรือยังไม่ได้มีการคัดเลือกแบบเรือแต่อย่างใด
โดยแบบเรือจาก PT PAL อินโดนีเซีย ก็ยังเป็นเพียงข้อเสนอซึ่งยังไม่ได้มีการส่งแบบเรือมาให้ทางคณะกรรมการของกองทัพเรือพิจารณาในขณะนี้ เป็นได้มากว่ายังจะมีนำเสนอแบบเรือจากบริษัทประเทศอื่นอีก เช่น
จีนที่มีเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ซึ่งมีระวางขับน้ำถึง 25,000tons ซึ่งมีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับไทย แบบเรือ LPD ที่จีนจะเสนอให้กองทัพเรือไทยจึงน่าจะเป็นแบบเรือสำหรับส่งออกที่ย่อขนาดจากชั้น Type 071 LPD
หรือสาธารณรัฐเกาหลี อย่างแบบเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Cheon Wang Bong เช่น LST-687 ROKS Cheon Ja Bong(Hyundai Heavy Industries HDL-7000 LST II) ที่สนับสนุนนาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลีเข้าร่วมการฝึก Cobra Gold 2018 ที่ไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเป็นต้น
ดังนั้นการเลือกแบบเรือสำหรับโครงการเรืออู่ยกพลขึ้นบกใหม่จึงน่าจะยังไม่ชัดเจนว่าแบบเรือ LPD ของอินโดนีเซียจะได้รับเลือกในขณะนี้ครับ

Royal Thai Marine Corps AAV7A1, US Marine Corps AAV7A1 and Republic of Korea Marine Corps KAAV7A1 at Landing Exercise Cobra Gold 2018 in Thailand(https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/1945560372140210)

Clip:DTI AAPC 8x8 swimming test

Folding test of Defence Technology Institute(DTI) Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) 8x8 wheeled amphibious armored vehicle for requirement of Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy(https://www.facebook.com/dtithailand/posts/923186267841374)

ในส่วนของรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธินที่มีอยู่ ๒๔คัน ก็มีรายงานว่ากองทัพเรือไทยมีแผนจะนำรถเข้ารับการปรับปรุงให้มีความทันสมัยและยืดอายุการใช้งาน
โดยน่าจะเป็นการปรับปรุงในมาตรฐาน AAV RAM/RS(Assault Amphibian Vehicle Reliability, Availability, Maintainability/Rebuild to Standard) โดยบริษัท BAE Systems 
เช่นเดียวที่ปรับปรุงในนาวิกโยธินสหรัฐ(USMC: US Marine Corps) และส่งออกให้กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF: Japan Ground Self-Defense Force)
อย่างไรก็ตามแนวคิดการปรับปรุง AAV7A1 RAM/RS ของ พัน.รนบ.พล.นย. นี้น่าจะทำให้แผนการจัดหารถเกราะแบบใหม่ เช่น รถรบทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบกสายพาน NORINCO VN18 จีนที่เคยมีข่าวต้องเลื่อนออกไป(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/norinco-vn1.html)

แต่ไม่น่าจะรวมถึงยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก DTI AAPC(Amphibious Armored Personnel Carrier) ของไทยเองสำหรับ นย.ไทยซึ่งเป็นความต้องการคนละส่วนกับ รนบ.สายพาน(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/dti-aapc_14.html)
ตามที่เห็นได้จากนำ DTI AAPC ทดสอบการลอยตัวและเคลื่อนที่ในน้ำล่าสุดข้างต้น ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการทดสอบเพิ่มเติมอีกหลายรายการในอนาคต โดยเฉพาะทดสอบในทะเลที่จะต้องสามารถทนทะเลที่ Sea State 2 และทรงตัวในน้ำที่ Sea State 3
รวมถึงจะต้องมีการคัดเลือกแบบป้อมปืนใหญ่กลขนาดไม่เกิน 2tons ตามความต้องการของนาวิกโยธินไทยที่ต้องการให้ DTI AAPC ติดอาวุธหลักเป็นปืนใหญ่กลขนาด 30mm ที่จำเป็นต้องมีการติดตั้งชุดลอยตัว Floating Kit
แม้ว่าระบบหลักๆของรถจะจัดหาจากต่างประเทศ เช่น เครื่องยนต์ดีเซลของ Caterpillar และระบบส่งกำลังของ Allison สหรัฐฯ แต่ถ้าสามารถเข้าสู่สายการผลิตได้จริง DTI AAPC ตั้งเป้าที่จะใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้ในไทยถึงร้อยละ๒๐-๓๐ ครับ

Israeli Company Aeronautics group has showcased range of their Unmanned Aerial Vehicle(UAV) products inclued Aerostar tactical UAV and Orbiter II Small UAV that have been delivered to 404th Squadron, Wing 4, Royal Thai Air Force
and Dominator Medium-Altitude Long-Endurance(MALE) UAV which based-on Diamond DA42 also in RTAF serviced at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photo)

RTAF UAV Concept Operations: ประชุม สภา กห. ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๐ เรื่อง การพัฒนาขีดความสามารถด้านอากาศยานไร้คนขับ และระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับของกองทัพอากาศ

ตามแผนการพัฒนาขีดความสามารถด้านกำลังอากาศยานไร้คนขับของกองทัพอากาศไทย ทั้งระบบที่จัดหาจากต่างประเทศเช่น อากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Aerostar BP และอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก Orbiter II จากบริษัท Aeronautics อิสราเอล
และระบบ UAV ที่พัฒนาภายในไทยเช่น อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก TEAGLE EYE II Small UAV, อากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Sky Scout U-1 Tactical UAV และอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีขนาดกลาง บร.ทอ.๑ Tiger Shark II Tactical UAV เป็นต้นนั้น  
กองทัพอากาศไทยได้มีการตั้งโครงการจัดหาอากาศยานไร้คนขับพิสัยกลาง MALE UAV จำนวน ๓เครื่อง วงเงิน ๘๙๕ล้านบาท($28.44 million) จากบริษัท Aeronautics อิสราเอลเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๐(2017)
โดยมีข้อมูลว่าน่าจะเป็นแบบ Dominator MALE UAV ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึกสองเครื่องยนต์ใบพัด บ.ฝ.๒๐ Diamond DA42 Twin Star ออสเตรีย และเครื่องบินตรวจการณ์ฝึก บ.ตฝ.๒๐ DA42 MPP ที่มีประจำการในกองทัพอากาศไทยอยู่แล้ว
ขณะที่ บ.ตฝ.๒๐ DA42 MPP ประจำการที่ ฝูงบิน๔๐๒ กองบิน๔ นั้นคาดว่าอากาศยานไร้คนขับพิสัยกลาง Dominator จะเข้าประจำการที่ ฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ ร่วมกับ UAV แบบอื่นๆของกองทัพอากาศไทย

Iraqi Army Aviation's China Aerospace Science and Technology Corporation(CASC) CH-4B(Cai Hong 'Rainbow') Unmanned Combat Aerial Vehicle.

ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ว่ากองทัพอากาศไทยน่าจะมองแนวทางแผนการพัฒนาอากาศยานรบไร้คนขับติดอาวุธ(UCAV: Unmanned Combat Aerial Vehicle) ทั้งระบบที่จัดหาจากต่างประเทศและระบบที่จะพัฒนาในประเทศไทย
ตามที่ได้รายงานว่ากองทัพอากาศอินโดนีเซียได้สั่งจัดหาอากาศยานไร้คนขับ Wing Loong I UAV จากจีน(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/wing-loong-i-uav-4.html) ซึ่งได้เปิดตัวต่อกลุ่มประเทศ ASEAN เป็นครั้งแรกในงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2018(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/wing-loong-uav.html)
ซึ่งอินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่สองใน ASEAN มี UAV ติดอาวุธใช้งานต่อจากกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force)ที่ได้จัดหาอากาศยานรบไร้คนขับ CH-3 จากจีนมาใช้ในปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อกองกำลังชนกลุ่มน้อยแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2016/06/mi-35p-4.html)
โดย UAV ตระกูล Cai Hong(CH) หรือ Rainbow พัฒนาโดย China Aerospace Science and Technology Corporation(CASC) ขณะที่ UAV ตระกูล Wing Loong พัฒนาโดย Aviation Industry Corporation of China(AVIC) สองรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศรายใหญ่ของจีน

ทั้งนี้จีนก็ได้มีการนำเสนออากาศยานไร้คนขับ CH-4 UAV ให้กับกองทัพอากาศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบอากาศยานรบไร้คนขับที่จีนประสบความสำเร็จในการส่งออกต่างประเทศร่วมกับระบบอากาศยานรบไร้คนขับตระกูล Wing Loong
โดยเฉพาะลูกค้าส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ เช่น อิรัก(CH-4B) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(Wing Loong I และ Wing Loong II) และอียิปต์(CH-4B และ Wing Loong I) ที่ได้ถูกนำไปใช้ในภารกิจโจมตีกลุ่มติดอาวุธก่อการร้าย และซาอุดิอาระเบียที่จัดหาพร้อมสิทธิบัตรการผลิตในประเทศ(CH-4 และ Wing Loong http://aagth1.blogspot.com/2017/03/wing-loong-ii-300.html)
การพัฒนาอากาศยานรบไร้คนขับเองของไทยนั้น นอกจากตัวเครื่องแล้วยังจำเป็นจะต้องมีการออกแบบระบบอาวุธที่จะใช้ร่วมกันด้วย การมองแบบอาวุธที่จะใช้รวมถึงความร่วมมือกับต่างประเทศในการถ่ายทอด Technology จึงน่าจะเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับไทย
และแม้ว่าระบบอากาศยานไร้คนขับเพดานบินกลางระยะเวลาปฏิบัติการนาน(MALE: Medium Altitude Long Endurance) จะมีประโยชน์มากในการลาดตระเวนทางอากาศ แต่ในความขัดแย้งระดับต่ำเช่นการก่อความในสงบในชายแดนภาคใต้นั้นการใช้ UAV ติดอาวุธโจมตีนั้นมีประโยชน์น้อยมากครับ
(เราจะเอา UAV ติดอาวุธไปยิงอะไร? การที่มีผู้เสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศของกองทัพจะเป็นประเด็นให้ฝ่ายตรงข้ามใช้ในการยกระดับความรุนแรงของสถานการณ์ในพื้นที่โดยกล่าวหาว่าทหารฆ่าชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ 
กลุ่มคนที่เรียกร้องให้ใช้วิธีตอบโต้ด้วยความรุนแรงแบบสุดโต่งเหมือนประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศนั้นส่วนใหญ่มักอยู่ในที่ปลอดภัยและสบายห่างไกลจากพื้นที่ความขัดแย้ง ต่างจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่ทำงานในพื้นที่จริงอย่างยากลำบาก 
ฉะนั้นกรุณาเลิกสนับสนุนแนวคิดการแก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มปัญหาใหม่เสียทีเถอะ)

Airbus Helicopters EC725(H225M) 203 Squadron, Wing2, Royal Thai Air Force during Humanitarian Assistance Disaster Relief (HADR) drill at Exercise Cobra Gold 2018 in Thailand(https://www.facebook.com/rach2511/posts/10215831984970676)

กองทัพอากาศไทยได้มีการจัดตั้งโครงการจัดหาฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ ๔เครื่อง วงเงิน ๕,๒๐๐ล้านบาท($165 milllion) จากบริษัท Airbus Helicopters ฝรั่งเศส-เยอรมนี-สเปน เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
ซึ่งคือการจัดหา ฮ.๑๑ EC725(H225M) ระยะที่๔ เพิ่มเติม ๔เครื่องต่อเนื่องจากโครงการระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012), ระยะที่๒ จำนวน ๒เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ซึ่งได้รับมอบแล้วรวม ๖เครื่อง
และระยะที่๓ จำนวน ๒เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) ซึ่งจะได้รับมอบในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) และล่าสุดคือระยะที่๔ อีก ๔เครื่อง ที่คาดว่าน่าจะมีการลงนามในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้ โดยเข้าใจว่าจะได้รับมอบภายในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
ทำให้กองทัพอากาศไทยจะมีเฮลิคอปเตอร์กู้ภัยค้นหาและช่วยชีวิต(CSAR: Combat Search and Rescue)  ฮ.๑๑ EC725 ที่ประจำการใน ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ รวม ๑๒เครื่อง ตามแผนที่จะจัดหา ๑๖เครื่องเพื่อนำมาทดแทนเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๖ Bell UH-1H ครับ