วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

เครื่องบินขับไล่ KF-X เกาหลีใต้จะใช้อาวุธปล่อยนำวิถี Meteor และ IRIS-T แทนของสหรัฐฯ

With delay in US, South Korea turns to Europe for air-to-air missile technology
The Meteor missile, shown as an artist's rendering of its integration into the F-35, may be integrated into South Korea's future jet fighter.
https://www.defensenews.com/industry/techwatch/2018/03/08/with-delay-in-us-south-korea-turns-to-europe-for-air-to-air-missile-technology/

ตามที่การเจรจากับสหรัฐฯเผชิญกับความล่าช้า โครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X(Korean Fighter Experimental) โดยบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีได้หันเข้าหายุโรปสำหรับโครงการจัดหาอาวุธหลักประจำเครื่องในรูปแบบสัญญาชดเชย(Offset)
เมื่อ 5 มีนาคมที่ผ่านมา สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลี ได้เปิดเผยต่อสาธารณะถึงรายการ 18โครงการจัดหาที่มีสิทธิจะได้รับสัญญาแบบชดเชยในปี 2018
รวมถึงการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกล MBDA Meteor และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl Defence IRIS-T เข้ากับเครื่องบินขับไล่ยุคหน้า KF-X ที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศสาธาณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) ในปี 2026

"เป้าหมายหลักสำหรับสัญญาชดเชยเหล่านี้คือเพื่อช่วยเหลือบริษัทอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในเกาหลีจัดหาวิทยาการอาวุธต่างประเทศ หรือมีส่วนร่วมในโครงการจัดหาอาวุธ
ถ้าบริษัทความมั่นคงขนาดเล็กถึงขนาดกลางของเรา โดยเฉพาะการมีโอกาสในโครงการจัดหาอาวุธหลักร่วมในฐานะผู้จัดส่ง ความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาการความมั่นคงภายในเกาหลีจะสามารถก้าวกระโดดไปได้อย่างมาก"
Kang Hwan-seok โฆษกของ DAPA กล่าวโดยเน้นว่า ท่ามกลางข้อตกลง Offset ต่างๆ DAPA นำลำดับความสำคัญในการรับการถ่ายทอด Technology อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศสำหรับเครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ KF-X

เมื่อปี 2017 DAPA เกาหลีใต้ได้ลงนามสัญญากับบริษัท MBDA ยุโรปในการติดตั้งอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor ระยะยิงกว่า 100km เข้ากับเครื่องบินขับไล่ KF-X
"มันไม่แน่ใจถ้า MBDA ควรจะเสนอการถ่ายทอด Technology บางอย่างของ Meteor เราจะเจรจากับหุ้นส่วนของเรากับทุกทางเลือกที่มีทั้งหมด" เขากล่าว
เดิมที DAPA พยายามที่จะให้เครื่องบินขับไล่ KF-X ติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีสหรัฐฯ เช่น AIM-9 Sidewinder และ AIM-120 AMRAAM ของ Raytheon แต่รัฐบาลสหรัฐฯยังไม่มีการอนุมัติการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีดังกล่าวกับ KF-X

"DAPA ได้ร้องขอต่อรัฐบาลสหรัฐฯเพื่อการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับการบูรณาการของระบบอาวุธปล่อยนำวิถีกับอากาศยานแต่ถึงขณะนี้เรายังไม่ได้รับมัน เราเข้าใจว่าการอนุมัติของรัฐบาลสหรัฐฯสำหรับการจัดเตรียมข้อกำหนดข้อมูลกับอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศได้ถูกทำให้ล่าช้าออกไป"
เจ้าหน้าที่ในสำนักธุรกิจอากาศยานของ DAPA เกาหลีใต้ซึ่งให้ข้อมูลในสถานะไม่เปิดเผยตัวตนกล่าว อย่างไรก็ตาม DAPA ยังเปิดโอกาสสำหรับความเป็นไปได้ในการบูรณาการอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศสหรัฐฯเข้ากับเครื่องบินขับไล่ KF-X
"ตอนนี้เราวางแผนจะให้ KF-X ติดอาวุธปล่อยนำวิถียุโรปเนื่องจากสิทธิบัตรการส่งออกของสหรัฐฯมีปัญหา ถ้ารัฐบาลสหรัฐฯแสดงสัญญาณเชิงบวกในการเสนออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศของตนสำหรับ KF-X เราจะหารือในเรื่องนี้" เขากล่าว

สหรัฐฯไม่อนุมัติการถ่ายทอด Technology สำหรับ AESA(Active Electronically Scanned Array) radar ซึ่งเป็นรอยด่างในความปรารถนาของเกาหลีใต้
ในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงชดเชยในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A 40เครื่องของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯที่เป็นหุ้นส่วนหลักของโครงการ KF-X ที่ตกลงจะพิจารณาร่วมกับรัฐบาลสหรัฐฯเกี่ยวกับการถ่ายทอด Technology AESA radar กับสามวิทยาการอากาศยานอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม DAPA ได้การแจ้งถึงการปฏิเสธและเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเปลี่ยนทิศทางไปยังการพัฒนา AESA radar ภายในเกาหลีใต้เอง ประเด็นการถ่ายทอด Technology เป็นอุปสรรคขัดขวางที่ทำให้ระยะเวลาการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X ต้องล่าช้าออกไป

ภายใต้การนำของบริษัท KAI สาธาณรัฐเกาหลี การพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2016 โดยตั้งเป้าหมายที่จะสร้างเครื่องต้นแบบ 6เครื่องได้ภายในปี 2016(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-kf-x-if-x.html)
PT Dirgantara(PTDI) รัฐวิสาหกิจบริษัทอุตสากรรมอากาศยานอินโดนีเซียเป็นเพียงหุ้นส่วนรายเดียวสำหรับโครงการวงเงิน $8 billion ซึ่งรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการพัฒนาร้อยละ20 ซึ่งกำลังมีปัญหาขาดเงินทุน(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/kf-xif-x-su-35.html)
เครื่องบินขับไล่ KF-X ประมาณ 120เครื่องจะถูกผลิตขึ้นภายในปี 2032 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-4 Phantom II และ Northrop F-5E/F ของกองทัพอากาศสาธาณรัฐเกาหลีที่มีอายุการใช้งานนานและล้าสมัย

ขณะที่ KF-X Block I จะมีเฉพาะตำบลอาวุธภายนอกลำตัวเท่านั้น เครื่องบินขับไล่ KF-X Block 2 จะมีห้องเก็บอาวุธภายในลำตัวเครื่อง และเครื่องบินขับไล่ KF-X Block 3 จะมีคุณสมบัติการตรวจจับได้ยาก Stealth ระดับเดียวกับเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Lockheed Martin F-35 Lightning II
นอกจาการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีกับ KF-X DAPA ยังมองหาข้อตกลง Offset กับโครงการจัดหาอาวุธอื่นๆ เช่น การปรับปรุงติดระบบต่อต้านอาวุธนำวิถี Infrared(DIRCM: Direct Infrared Countermeasure) สำหรับฝูงบินเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี Lockheed Martin C-130H
การจัดหาระบบ Radar ตรวจจับขีปนาวุธพิสัยไกล, การปรับปรุงห้องนักบินและเครื่องยนต์ของเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Boeing CH-47D/HH-47 และการจัดหาระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) สำหรับเรือฟริเกตแบบ FFX-III ชั้น Ulsan ชุดใหม่

DAPA คาดการณ์ว่าวงเงินสำหรับโครงการ Offset เหล่านี้จะสูงถึงเกือบ $690 million "ถ้าเราส่งออกร้อยละ80 ของวงเงินการจัดหาได้อีกครั้ง ราว $550 million ของวงเงินการส่งออกจะได้รับการอนุมัติ" โฆษกของ DAPA กล่าว
ทั้งนี้ภายใต้กรอบแผนระยะเวลา 5ปี นั้น ภายในปี 2020 เกาหลีใต้ต้องการที่จะเพิ่มยอดการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์แก่ต่างประเทศให้ได้ถึงวงเงิน $5 billion และเพิ่มแรงงานในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงให้ได้ถึง 50,000คน
โดยในปี 2017 ที่ผ่านมาเกาหลีใต้สามารถส่งออกอาวุธได้ถึงวงเงิน $3.19 billion และมีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงอยู่ที่ราว 38,000คนแล้วครับ