วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๑-๓

Royal Thai Army has displayed Ukrainian T--84M Oplot-T Main Battle Tank of 2nd Cavalry Battalion, 2nd Infantry Division Royal Guard in Children's Day 2018 at 2nd Cavalry Division Royal Guard in Bangkok, 13 January 2018 (My Own Photo)
http://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-oplot-m60a3.html

"Ukroboronprom" has completed a contract for The last batch of "Oplot-T" main battle tanks successfully passed all tests in the presence of customers and will soon be sent to Thailand.
http://aagth1.blogspot.com/2018/03/oplot-t.html

ตามที่ได้รายงานภาพสายการผลิตรถถังหลัก Oplot-T สำหรับกองทัพบกไทยที่โรงงาน Malyshev ที่ Kharkiv ยูเครนไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่าสายการผลิตรถนั้นอยู่ที่คันที่๕๐แล้วนั้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/oplot-t.html)
ล่าสุดมีรายงานว่ารถถังหลัก Oplot-T ของกองทัพบกไทยนั้นประกอบสร้างเสร็จแล้วทุกคันตามสัญญาที่จัดหาจาก Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงยูเครน จำนวน ๔๙คัน วงเงิน ๗,๒๐๐ล้านบาท($240 million) ในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011)แล้ว
โดยคณะกรรมการของกองทัพบกไทยได้เดินทางไปยูเครนเพื่อตรวจรับมอบรถชุดสุดท้ายในราวปลายเดือนมีนาคม ตามยูเครนสัญญาว่าจะส่งมอบ ถ.หลัก Oplot-T ในไทยครบในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/btr-4e-oplot-t-2018.html)
และเมื่อปลายเดือนมีนาคมมีการขนส่งรถถังหลัก Oplot-T ชุดใหม่ทางเรือมายังไทยอีก ๗คัน ทำให้ กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ มี Oplot รวมราว ๔๓คันแล้ว และคาดว่าจะเข้าประจำการในครบอัตราทั้งกองพัน ๔๙คันหลังจากที่ล่าช้ามาหลายปีเสียที

นอกจากที่กองทัพยูเครนจะใช้งานเองแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2018/03/t-84-oplot.html) ตามรายงานจากสื่อต่างประเทศในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้น ยูเครนจะจัดส่งรถถังหลัก Oplot-M ให้กับสหรัฐฯ ๑คัน เพื่อเป็นตัวอย่างในการทดสอบ
ซึ่งจากการวิเคราะห์โดยนักวิชาการทางทหารรัสเซียว่าเป็นไปได้ที่สหรัฐฯจะทำการศึกษารถถังหลัก Oplot ยูเครนเพื่อที่จะนำมาพัฒนาติดตั้งระบบอุปกรณ์ที่มีความเข้ากันได้กับมาตรฐาน NATO ตามที่กองทัพยูเครนกำลังปรับปรุงกองทัพของตนให้เป็นมาตรฐาน NATO(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/blog-post_23.html)
รวมถึงการที่สหรัฐฯจะช่วยพัฒนาอุดหนุนสายการผลิตรถถังหลัก Oplot ยูเครนที่ใช้เองในกองทัพบกยูเครนและส่งออกให้มิตรประเทศเช่นในยุโรปตะวันออกหรือตะวันออกกลางที่เป็นผู้ใช้ระบบอาวุธรัสเซียเดิมในรูปแบบความช่วยเหลือทางทหารในราคาพิเศษ
(รถถังหลัก M1 Abrams ของสหรัฐฯเองใช้เครื่องยนต์ Gas Turbine ซึ่งมีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายในการใช้งานและซ่อมบำรุงสูงกว่ารถถังหลัก Oplot ยูเครนที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล)

ทั้งนี้ยูเครนกำลังมองความเป็นไปได้ที่จะส่งออกรถถังหลัก Oplot ของตนให้ต่างประเทศนอกจากไทย เช่นในกองทัพบกปากีสถานที่แข่งขันกับรถถังหลัก VT4(MBT-3000) จีน ที่ทั้งยูเครนและจีนเสนอสิทธิบัตรการผลิตรถถังของตนให้ปากีสถาน
ซึ่งการที่สหรัฐฯจะเข้ามาช่วยเหลือยูเครนในการพัฒนารถถังหลัก Oplot นี้จะทำให้ยูเครนได้ประโยชน์ในการต่อระยะเวลาสายการผลิตรถออกไป และนำเสนอทางเลือกใหม่แก่ลูกค้าที่มีความเป็นไปได้มากขึ้น
หลังจากที่ยูเครนประสบปัญหาที่จะต้องเน้นการปรับปรุงรถถังหลักที่มีอยู่เดิมของตนทั้ง T-64, T-72 และ T-80 เพื่อรับมือภัยคุกคามจากรัสเซียที่เข้าผนวก Crimea ในปี 2014 และสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในภาค Donbass ทำสงครามกับกองกำลังความมั่นคงรัฐบาลยูเครน
แต่สำหรับกองทัพบกไทยแล้วการจัดหารถถังหลัก Oplot-T อาจจะหยุดที่ ม.พัน.๒ พล.ร.๒ รอ. โดยให้ความสำคัญกับการจัดหารถถังหลัก VT4 จาก NORINCO จีนในกองพันทหารม้ารถถังหน่วยขึ้นตรงของ กองพลทหารม้าที่๓ ที่จีนจะสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงในไทยครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-vn1.html)




Royal Thai Navy OPV-552 HTMS Trang second Krabi class Offshore Patrol Vessel under construction at Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, March 2018

เมื่อราชนาวีต่อเรือ
ภาพ Block ต่างๆ ของ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 (ร.ล.ตรัง) ที่อยู่ระหว่างการต่อเรือโดย ฝ่ายสร้างฯ อู่ราชนาวีมหิดลฯ
โรงคลุมต่อเรือที่เห็นนั้นเป็นแบบเลื่อนได้นะครับ โดยสามารถเคลื่อนย้ายตามรางตั้งแต่ลานต่อเรือจนถึงอู่แห้ง เพื่ออำนวยความสะดวก
By Admin
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/1628095463895008

ความคืบหน้าการก่อสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ คือ เรือหลวงตรัง ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ก็มีมากขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) โดยนอกจากตัวเรือที่เริ่มมีรูปร่างใหญ่ขึ้น Block ชิ้นส่วนต่างของเรือที่รอการประกอบก็มีมากขึ้น
อย่างไรก็ตามมีความเข้าใจผิดหลายประการที่มีความคาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงถูกเผยแพร่ เช่น บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด(Bangkok Dock) เป็นเพียงผู้เสนอแบบเรือและจัดหาวัสดุต่อเรือเท่านั้น โดย อู่ราชนาวีมหิดลฯ กรมอู่ทหารเรือ เป็นผู้บริหารและควบคุมงานต่อเรือ
และแบบเรือ 90m OPV ที่ได้สิทธิบัตรจาก BAE Systems สหราชอาณาจักรนั้นก็ไม่สามารถเปลี่ยนแบบเป็นเรือคอร์เวตได้ โดยเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งนั้นทำการรบได้เฉพาะการรบผิวน้ำและการป้องกันภัยทางอากาศเพียงสองมิติ ขาดความสามารถการปราบเรือดำน้ำเป็นสามมิติในเรือคอร์เวต
ซึ่งเรือ ตกก.ทุกลำนั้นสังกัด กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ซึ่งไม่มีภารกิจและขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำเช่นเดียวกับเรือฟริเกตและเรือคอร์เวตในกองเรือฟริเกตที่๑(กองเรือปราบเรือดำน้ำเดิม) และกองเรือฟริเกตที่๒ ครับ
การก่อสร้าง ร.ล.ตรัง มีความรวดเร็วมากขึ้นจากประสบการณ์ในการสร้าง ร.ล.กระบี่ ก่อนหน้านี้ โดยจะเห็นสิ่งปลูกสร้างที่อำนวยความสะดวกในการต่อเรือมากขึ้น และคาดว่าจะมีการปล่อยเรือลงน้ำได้ในปี ๒๕๖๑(2018) นี้ครับ

Chaiseri metal & rubber Co. Ltd was delivered First Win II 4x4 to Royal Thai Marine Corps Division Headquarters for 60days trial evaluation, 3 July 2017

ตามที่เมื่อ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017) บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd) ได้ส่งรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II 4x4 กองพลนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทยทดลองใช้งานเป็นระยะเวลา ๖๐วัน
โดยนาวิกโยธินไทยก็ได้นำ First Win II, รถหุ้มเกราะล้อยาง Phantom 380-X1 4x4 ของบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์(Panus Assembly Co.,Ltd )และยานเกราะล้อยาง HMV-150 ที่บริษัทพนัส ปรับปรุงจาก V-150 4x4 ที่ประจำการใน กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง พล.นย. มาก่อน
ไปทดลองใช้งานในพื้นที่จริงของหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือ/หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ ที่ ค่ายจุฬาภรณ์ จังหวัดนราธิวาส ตามความต้องการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง 4x4 MRAP(Mine-Resistant Ambush Protected) มาใช้ในชายแดนภาคใตนั้น
มีการเปิดเผยข้อมูลมาครับว่าทางนาวิกโยธินไทยไม่มีความต้องการจะจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II 4x4 ของ Chaiseri เนื่องจากประเมินค่าแล้วว่ามีรถยังสมรรถนะไม่ตรงความต้องการและมีราคาแพงเกินไป




Royal Thai Police was testing REVA 4x4 MRAP at Fort Adisorn, Cavalry Center, Royal Thai Army

รถยนต์หุ้มเกราะกันกระสุน นำเสริมกำลังใต้
พล.ต.ต.โพธ สวยสุวรรณ รอง ผบช.ภ.9 พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุรายการ รถยนต์หุ้มเกราะกันกระสุนล้อยาง 4*4 ชนิดลำเลียงพล ทำการตรวจรับพัสดุและทำการทดสอบ ณ ศูนย์การทหารม้าค่ายอดิศร ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 

โดยจากข้อมูลซึ่งยังไม่มีการยืนยัน เมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบราคารถกับรถหุ้มเกราะล้อยาง REVA III MRAP รุ่นใหม่ของแอฟริกาใต้ที่กองทัพบกไทยจัดหามาล่าสุดราคาต่อคันจะอยู่ที่ราว ๑๐-๑๓ล้านบาท ขณะที่ Chaiseri First Win II 4x4 จะมีราคาต่อคันที่ราว ๑๕ล้านบาท
รวมถึงจากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่หลายหน่วยที่รับมอบรถหุ้มเกราะตระกูล First Win ไปใช้งาน มีบางส่วนที่กล่าวว่ารถยังมีคุณภาพไม่ดีเช่นงานเชื่อมตัวรถไม่ค่อยดี(ซึ่งถูกซ่อนไว้) และยังไม่ปลอดภัยในการใช้งานเช่นเกราะป้องกันกระสุน-ทุ่นระเบิดที่ดีพอถ้าเทียบกับ MRAP แบบอื่นอย่าง REVA
ตรงนี้ก็คงจะไม่สามารถไปตำหนิกองทัพเรือว่าไม่อุดหนุนผลิตภัณฑ์ของคนไทยด้วยกันไม่ได้ครับ เพราะกองทัพเรือมีหน้าที่ในการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ตามความจำเป็นในการใช้งาน ถ้ามีของที่ดีกว่าและราคาถูกกว่าของต่างประเทศก็มีเหตุผลพอที่จะเลือกจัดหามาใช้งานมากกว่าของไทย
ในทางกลับกันบริษัทของไทยก็ต้องกลับไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนเองให้ดีขึ้นตรงความต้องการของกองทัพด้วย ทั้งนี้กองทัพเรือไทยเองก็เป็นเหล่าทัพที่สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศของไทยมากที่สุดมานานอย่างต่อเนื่องอยู่แล้วครับ
(อย่างผลิตภัณฑ์สายพานหุ้มยางและล้อยางรถของ Chaiseri เองแม้จะมีคุณภาพดีส่งออกได้ในกองทัพหลายประเทศทั่วโลก แต่ก็มีเสียงจากเจ้าหน้าที่ไทยนำไปใช้ในกับรถถัง-ยานเกราะในหน่วยของตนวิจารณ์ถึงจุดบกพร่องบางประการด้วยเช่นกัน)


Boeing 747-400F Korean Air Cargo, Korean Air (Republic of Korea's National Airlines) carry last two First Batch of Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle Lead-In Fighter Trainers(LIFT) serial 40103 and 40103, 
401st Squadron, Wing 4 Takhli, Nakhon Sawan, Royal Thai Air Force at U-Tapao International Airport, Thailand in late March 2018.(Unknow Original Photo Source)

ตามกำหนดการส่งมอบโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น Korea Aerospace Industries T-50TH Golden Eagle ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง ในชุด ๒เครื่องหลัง หมายเลข 40103 และ 40104 ในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นั้น
ก็ตามภาพที่ปรากฎว่าเครื่องบินลำเลียงสินค้า Boeing 747-400F ของ Korean Air Cargo ในเครือสายการบิน Korean Air สาธาณรัฐเกาหลี ได้ทำการขนส่งเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH อีกสองเครื่องเข้าใจว่าที่สนามบินอู่ตะเภาตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์แล้ว
หลังจากที่เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH ๒เครื่องแรก หมายเลข 40101 และ 40102 ได้มีการต้อนรับเครื่อง ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๑(2018) ที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_25.html)
พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผ้บัญชาการทหารอากาศให้สัมภาษณ์สื่อว่ากองทัพอากาศไทยจะทำพิธีบรรจุเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น KAI T-50TH ระยะที่๑ ทั้ง ๔เครื่องเข้าประจำการในวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018)

แม้ว่าการใช้บริการเครื่องบินขนส่งสินค้าทางอากาศลำเลียงเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH โดยถอดชิ้นส่วนลำตัวเครื่องและปีกออกจากกันจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ก็สามารถขนส่งได้คราวเดียวละหลายๆเครื่อง
อีกทั้งทางช่างอากาศยานของกองทัพอากาศไทยเองจะได้องค์ความรู้ในการประกอบและตรวจสอบเครื่องก่อนทำการบินเดินทางไปยังที่ต้องจากที่เจ้าหน้าที่ของบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีจะถ่ายทอดให้ไทยด้วย
ทั้งนี้การบินเดินทางของ T-50TH ๒เครื่องแรกที่นักบินของเกาหลีใต้นำเครื่องบินเดินทางจากเกาหลีมายังไทยที่มีความล่าช้าจากเหตุสภาพอากาศแปรปรวนนั้น ถึงจะเป็นเหตุสุดวิสัยที่เกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติที่สามารถแก้ไขข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นได้ภายหลัง 
แต่ก็ทำให้จากแผนที่บริษัท KAI จะประชาสัมพันธ์สมรรถนะเครื่องในเส้นทางบินที่ตนคุ้นเคยต้องกลับมาให้บริการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าเฉพาะหน้าไป ซึ่งก็กลายเป็นประเด็นโจมตีกองทัพอากาศจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่ใช้ช่องทางของสื่อที่ไร้จรรยาบรรณเผยแพร่ข้อมูลเท็จแก่ประชาชนไปครับ

ทั้งนี้กลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองและสื่อไร้จรรยาบรรณเหล่านี้สามารถสร้างเรื่องโกหกต่างๆเพื่อหลอกหลวงประชาชนว่ากองทัพอากาศเป็นหน่วยงานที่ไม่น่าเชื่อถือ
เช่นโจมตีด้วยการกลับมายกประเด็นนโยบายไก่แช่แข็งแลกเครื่องบินขับไล่ Su-30MK รัสเซียเมื่อ ๑๕ปีก่อนว่า กองทัพอากาศไม่ต้องการช่วยประชาชนมากถึงขนาดรับสินบนจากบริษัทนายหน้าเพื่อเลือกเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ที่มีสมรรถนะต่ำและเป็นเครื่องบินมือสอง
ทั้งๆนี้ความเป็นจริงถ้าดูจากประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม ASEAN ที่จัดหาเครื่องบินขับไล่รัสเซียไปก่อนหน้าไทยไม่นานเช่น Su-27SK เวียดนาม และ MiG-29N มาเลเซียในปี 1997 ที่ตอนนี้่งดบินไปแล้ว ซึ่งโครงสร้างและเครื่องยนต์รัสเซียมีอายุการใช้งานสั้นมากถ้าเทียบกับระบบตะวันตก 
ยังไม่นับรวมปัญหาความเข้ากันได้ของระบบทั้งการสนับสนุนและอาวุธที่ต้องจัดหาจากรัสเซียใหม่หมด มีความสิ้นเปลืองและมีปัญหาความพร้อมรบมาก เช่นตัวอย่างมาเลเซียที่ Su-30MKM ๑๘เครื่องที่เป็นระบบผสมรัสเซีย-ตะวันตกที่มีความพร้อมรบต่ำกว่า F/A-18D ๘เครื่องที่พร้อมรบทุกเครื่อง

อีกทั้งแม้รัสเซียจะมีความต้องการสินค้าแต่การแลกเปลี่ยนในความเป็นจริงนั้นมีความยุ่งยากมาก เพราะโดยทั่วไปรัฐบาลประเทศไหนถึงแม้จะมีสินค้าที่ตนขาดแคลนแต่ก็ยังต้องการจะซื้อขายในรูปแบบเงินสดที่มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างแน่นอนมากกว่า
ตัวอย่างล่าสุดการเจรจาจัดหาเครื่องขับไล่ Su-35 ของอินโดนีเซียกับการถ่ายทอด Technology และสินค้าเกษตรก็ต้องหารือกันล่าช้าไป ๕-๖ปี แถมได้มาแค่ ๑๑เครื่องจากที่ต้องการเกือบ ๑๖-๒๐เครื่องเพื่อทดแทน F-5E(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/su-35.html)
และโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องผลิตใหม่จากโรงงานพร้อมเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ SAAB ERIEYE และ Data Link ที่มีความคุ้มค่าทั้งในการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการทั้งระบบมากที่สุดครับ
(แต่กลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อประเทศไทยเหล่านี้คงจะไม่หยุดการกระทำของตน จนกว่าจะได้บรรลุจุดประสงค์สูงสุดในการนำไปสู่การยุบเลิกกองทัพไทย เพื่อจะได้เข้ามายึดครองหรือแบ่งแยกดินแดนไทยได้ง่ายขึ้น เป็นทางเลือกแห่งอนาคตใหม่ที่น่าหดหู่กระมัง)

กองทัพอากาศมีความประสงค์จะรับสมัครและสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตรหญิง เหล่าทหารนักบิน ประจำปี ๒๕๖๑ จำนวน ๕ อัตรา

นับตั้งแต่นโยบายของผู้บัญชาการทหารอากาศท่านก่อน พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ที่เปิดรับสมัครนักบินหญิงรุ่นแรก ๕อัตราในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) 
จนถึงวาระของผู้บัญชาการทหารอากาศท่านปัจจุบัน พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ที่เปิดรับนักบินหญิงรุ่นที่สอง ๕อัตราในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) และล่าสุดที่เปิดรับนักบินหญิงรุ่นที่สาม ๕อัตราในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้
นักบินหญิงของกองทัพอากาศไทยที่มีแหล่งที่มาจากพลเรือนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการบินโดยต้องผ่านการฝึกเพื่อบรรจุเป็นายทหารสัญญาบัตรของกองทัพอากาศก่อน และนายทหารหญิงในเหล่าอื่นของกองทัพอากาศที่ต้องเข้ารักการฝึกเป็นศิษย์การบินนั้น
ในรุ่นแรกก็ได้สำเร็จการศึกษาเข้าบรรจุรับราชการเป็นนักบินพร้อมรบกับเครื่องบินลำเลียง เช่น บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ไปแล้วโดยรุ่นที่สองก็สำเร็จหลักสูตรการบินพื้นฐานหรือผ่านการศึกษาการเป็นนายทหารสัญญาบัตรแล้ว
นับว่าประวัติศาสตร์ของกองทัพอากาศไทยได้เปิดกว้างสู่การมีนักบินนายทหารสัญญาบัตรหญิงอย่างยั่งยืนและแท้จริง ที่ท่านเหล่านี้จะได้พิสูจน์ขีดความสามารถว่าสามารถปฏิบัติราชการการบินอากาศยานได้เช่นเดียวกับนักบินนายทหารชายต่อไปในอนาคตครับ