วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2561

สหรัฐอนุมัติการขายสิทธิบัตรเทคโนโลยีสำหรับโครงการพัฒนาเรือดำน้ำของไต้หวัน

US State Department OKs license for submarine tech sales to Taiwan
Three submarines are seen at port at the Tsoying navy base in Kaohsiung, southern Taiwan, on Jan. 18, 2017. (Sam Yeh/AFP via Getty Images)
https://www.defensenews.com/naval/2018/04/09/us-state-department-oks-license-for-submarine-tech-sales-to-taiwan/

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติให้กลุ่มบริษัทด้านความมั่นคงของสหรัฐฯทำการตลาดขาย Technology เรือดำน้ำแก่ไต้หวัน เพื่อช่วยโครงการพัฒนาและสร้างเรือดำน้ำภายในด้วยตนเองของไต้หวัน
ตามรายงานจากสื่อของไต้หวัน โฆษกกระทรวงกลาโหมไต้หวัน พลตรี Chen Chung-chi และโฆษกประจำสำนักประธานาธิบดีไต้หวัน Sidney Lin ยืนยันว่า สหรัฐฯได้อนุมัติการทำการตลาดสิทธิบัตรที่จำเป็นสำหรับการขาย Technology ให้ไต้หวัน

การอนุมัติการขายสิทธิบัตรนี้เป็นก้าวย่างที่สำคัญสำหรับโครงการพัฒนาเรือดำน้ำของไต้หวัน และโฆษกประธานาธิบดีไต้หวัน Lin เสริมว่าการตัดสินใจนี้จะยกระดับขีดความสามารถในการป้องกันตนเองของไต้หวันเช่นเดียวกับเพื่อการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงในภูมิภาค
แม้ว่าจะไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำการตลาดสิทธิบัตรระบบเรือดำน้ำที่เกี่ยวข้องที่ได้รับการอนุมัติ อย่างไรก็ตาม Liao Yen-fan นักวิเคราะห์จาก Taipei ผู้ที่ให้ความสนใจไปยังกำลังทางอากาศและกองทัพไต้หวัน(Republic of China Armed Forces) กล่าวกับ Defense News ว่า

การอนุมัติครอบคลุมสิทธิบัตรการทำตลาดสำหรับระบบอำนวยการรบเรือดำน้ำ(CMS: Combat Management System) พร้อมแยกต่างหากจากข้อตกลงความช่วยเหลือทางเทคนิค ซึ่งครอบคลุมบางส่วนที่สำคัญของการพัฒนาเรือดำน้ำที่ไต้หวันยังขาดอยู่
ซึ่ง Dr.Collin Koh นักวิจัยโครงการความมั่นคงทางทะเลแห่งโรงเรียนการศึกษานานาชาติ S. Rajaratnam สิงคโปร์กล่าวว่ายังรวมถึงระบบ Sonar, กล้องตาเรือ(Periscope)สมัยใหม่ และระบบอาวุธด้วย

ภายหลังจะมีการเพิ่มเติม Torpedo หนักขั้นก้าวหน้า Mk48 ที่ไต้หวันได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯในการจัดหาเมื่อเดือนมิถุนายน 2017 ภายใต้การขายในรูปแบบโครงการ Foreign Miliary Sales(FMS)
อย่างไรก็ตาม Lioa กล่าวว่าการอนุมัติการขายสิทธิบัตรล่าสุดจะตกอยู่ภายใต้โครงการ Direct Commercial Sales และมีสองบริษัทที่ได้รับการรับรองอนุมัติซึ่งยังไม่มีการเปิดเผยชื่อ

ระบบขับเคลื่อนของเรือดำน้ำเป็นส่วนหนึ่งที่สหรัฐฯไม่สามารถที่จะให้ความช่วยเหลือแก่โครงการพัฒนาสร้างเรือดำน้ำของไต้หวันได้ โดยไต้หวันกำลังมองหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบ ขณะที่กองทัพเรือสหรัฐฯ(U.S. Navy) ปัจจุบันมีประจำการเฉพาะเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เท่านั้น
ไต้หวันอาจจะจำเป็นต้องหาความช่วยเหลือจากปนะเทศอื่นสำหรับความช่วยเหลือในการสร้างเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า โดยเฉพาะการขยายการขับเคลื่อนใต้น้ำด้วยระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air-Independent Propulsion) ตามที่ Dr.Koh กล่าว

Dr.Koh เสริมว่าถ้าไต้หวันมีเรื่องที่จะหลีกเลี่ยงการนำระบบ AIP มาใช้กับเรือดำน้ำใหม่ ไต้หวันก็มีขีดความสามารถในการพัฒนาระบบขับเคลื่อนดีเซล-ไฟฟ้าด้วยตนเอง หรือพัฒนาจากเครื่องยนต์และเครื่องกำเนิดพลังงานทางเรือที่ใช้ในเชิงพาณิชย์
โดยภาคอุตสาหกรรมทางเรือของไต้หวันหรือสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ Chung-Shan(NCSIST: National Chung-Shan Institute of Science and Technology) สำหรับใช้ในเรือดำน้ำ

เรือดำน้ำเป็นความปรารถนาที่สุ่มเสี่ยงของโครงการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพไต้หวันวงเงิน $15 billion โดยมีวงเงิน $94.81 million ที่ได้รับการอนุมัติแล้วในช่วงเดือนธันวาคม 2016 ถึงเดือนธันวาคม 2020 เพื่อการออกแบบเรือดำน้ำใหม่
มีรายงานว่าการออกแบบขั้นต้นได้เสร็จสิ้นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาแม้ว่ากระทรวงกลาโหมไต้หวันจะปฏิเสธ กองทัพเรือไต้หวัน(Republic of China Navy) ยังคงดำเนินการยืดอายุการใช้งานเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Chien Lung(ชั้น Zwaardvis) 2ลำที่จัดหาจากเนเธอร์แลนด์ในปี 1987-1988

ไต้หวันมีภูมิประเทศเป็นเกาะห่างจากจีนแผ่นดินใหญ่โดยมีทะเลส่วนช่องแคบไต้หวันกั้น ซึ่งผลจากสงครามกลางเมืองจีนในปี 1949 ที่จีนคณะชาติเป็นฝ่ายพ่ายแพ้กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People's Liberation Army) และอพยพไปจัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐจีนที่เกาะไต้หวัน
สาธารณรัฐประชาชนจีนถือว่าเกาะไต้หวันเป็นมณฑลส่วนหนึ่งของจีน ซึ่งการปรับปรุงความทันสมัยอย่างมหาศาลของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนในช่วง20ปีมานี้เป็นภัยคุกคามต่อไต้หวันอย่างมาก

เรือดำน้ำจึงเป็นกำลังที่สำคัญในขีดความสามารถด้านสงครามอสมมาตรที่จะทำให้ความพยามของจีนในการใช้กำลังทหารที่เหนือกว่าอย่างมากเข้าบุกยกพลขึ้นบกเพื่อควบคุมไต้หวันทำได้ยากขึ้น
ทว่าความสำเร็จด้านอำนาจเศรษฐกิจและการเมืองในระดับโลกของจีนปัจจุบันทำให้การขายอาวุธยุทโธปกรณ์แก่ไต้หวันเป็นไปอย่างจำกัด แม้แต่สหรัฐฯที่มีความสัมพันธ์กับไต้หวันผ่านทางรัฐบัญญัติ Taiwan Relations Act ยังจำกัดการขายอาวุธแก่ไต้หวันเฉพาะเพื่อ 'ป้องกันตนเอง' เท่านั้นครับ