วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2561

กลาโหมสหรัฐฯระงับการรับมอบเครื่องบินขับไล่ F-35 จากปัญหาค่าซ่อมกับ Lockheed Martin

Defense Department halts F-35 deliveries amid repair bill disagreement with Lockheed
An F-35 Lightning II flies alongside an F-16 Fighting Falcon at Luke Air Force Base, Arizona, in 2015. (Air Force)
https://www.defensenews.com/breaking-news/2018/04/11/defense-department-halts-f-35-deliveries-amid-repair-bill-disagreement-with-lockheed/

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือ Pentagon ได้ระงับการตรวจรับมอบเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II Joint Strike Fighters(JSF) ส่วนใหญ่ที่ส่งมอบจากผู้ผลิตคือบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ
และสำนักงานโครงการร่วม F-35(JPO: Joint Program Office) กำลังอภิปรายถกเถียงกันว่าใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการซ่อมเครื่องบินเหล่านี้หลังจากที่มีปัญหาการผลิตในปีที่แล้ว

"ขณะที่งานทั้งหมดในโรงงานของเรายังคงดำเนินอยู่ สำนักงานโครงการร่วม F-35 ได้ระงับการรับมอบเครื่องเป็นการชั่วคราวจนกว่าเราจะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับหัวข้อสัญญาที่เป็นปัญหา และเราคาดว่าเรื่องนี้จะได้รับการแก้ไขโดยเร็ว"
โฆษกหญิงของ Lockheed Martin ยืนยันในการแถลง โดยเสริมว่าบริษัทยังคงมั่นใจว่าตนสามารถที่จะส่งมอบ F-35 ได้ตามเป้าหมาย 91เครื่องสำหรับปี 2018 ข่าวนี้ถูกรายงานครั้งแรกโดยสำนักข่าว Reuters

ข้อพิพาทนี้มีต้นตอมาจากปัญหาการควบคุมคุณภาพการผลิตอากาศยานที่ส่งผลให้การส่งมอบ F-35 ได้ถูกระงับลงชั่วคราวในช่วงวันที่ 21 กันยายนถึง 20 ตุลาคม 2017
โดยในเวลานั้นมีการพบการผุกร่อนของรูตัวยึดบนพื้นผิวอากาศยานของเครื่องบินขับไล่ F-35A ที่กำลังได้รับการซ่อมบำรุง ณ ฐานทัพอากาศ Hill กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: U.S. Air Force) ในมลรัฐ Utah

Lockheed Martin และ JPO สามารถที่จะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับแผนการดำเนินการแก้ปัญหาได้ในขณะนั้น ทำให้ Lockheed Martin สามารถบรรลุแผนการส่งมอบ F-35 ได้ครบสำหรับปี 2017 แหล่งข่าวบางรายกล่าว
แต่บางช่วงหลังจากนั้นยังคงมีข้อพิพาทที่ว่าใครควรจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการซ่อมผิวเครื่องใหม่ และกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเลือกที่จะสั่งหยุดสายการผลิต F-35 ชั่วคราวอีกครั้ง แต่แหล่งข่าวปฏิเสธที่จะให้ความเห็นว่าการระงับสายการผลิตครั้งใหม่นี้จะนานเท่าไร

สายการผลิตของเครื่องบินขับไล่ F-35 กำลังดำเนินการที่โรงงานอากาศยานของ Lockheed Martin ใน Fort Worth มลรัฐ Texas และมีโรงงานสายการประกอบและตรวจสอบขั้นสุดท้าย(FACO: Final Assembly and Check Out) นอกสหรัฐฯที่ Nagoya ญี่ปุ่น และ Cameri อิตาลี
แหล่งข่าวย้ำว่ามีลูกค้าระดับนานาชาติของเครื่องบินขับไล่ F-35 บางรายอย่างน้อยสองประเทศที่ไม่ยอมรับการรับมอบเครื่องเข้าประจำการเพิ่มเติมตามความต้องการในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของตน

ตามข้อมูลจาก Reuters มี F-35 จำนวน 2เครื่องที่ถูกส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯตั้งแต่ที่มีคำสั่งระงับการส่งมอบชั่วคราว ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายสำหรับการซ่อม F-35 มากกว่า 200เครื่องกำลังอยู่ระหว่าการดำเนินการ
ปัญหาการผุกร่อนของพื้นผิวเครื่องนี้เป็นเพียงหนึ่งในปัญญาจำนวนมากของการควบคุมคุณภาพสายการผลิตที่เกิดกับเครื่องบินขับไล่ F-35 ในรอบหลายปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการแก้ไขสำหรับทุกเครื่องที่ผลิตไปแล้วและเครื่องที่อยู่ในสายการผลิตต่อไปในอนาคต

โฆษกของสำนักงานโครงการร่วม F-35 ยังไม่ได้มีการให้ความเห็นตอบสนองโดยทันทีต่อกรณีดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา พลเรือโท Mat Winter เจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานโครงการร่วม F-35 ได้พูดถึงเรื่องนี้
ในงานสัมมนาของสันนิบาตนาวี(Navy League) Sea Air Space 2018 แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงว่าการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-35 ได้ถูกระงับลงชั่วคราวแล้วครับ