วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อินโดนีเซียอาจจะยุติการร่วมโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X กับเกาหลีใต้

Indonesia presses pause on K-FX involvment
Jakarta wants to review its involvement in the Korea Aerospace Industries (KAI) K-FX fighter programme.
https://www.flightglobal.com/news/articles/indonesia-presses-pause-on-k-fx-involvment-448442/

รัฐบาลอินโดนีเซียต้องการที่จะทบทวนการลงทุนของตนในโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X(Korean Fighter Xperiment/Indonesia Fighter Xperiment) ร่วมกับบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี
ตามรายงานล่าสุดของสื่อว่าการทบทวนนี้ได้ถูกริเริ่มขึ้นแล้ว โดยรัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Ryamizard Ryacudu ให้การยืนยันจุดยืนของรัฐบาลอินโดนีเซียในการให้สัมภาษณ์สื่อโทรทัศน์ของอินโดนีเซีย

ถึงกระนั้นรัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Ryacudu เชื่อว่าอินโดนีเซียควรจะยังคงอยู่ในโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-X ที่อินโดนีเซียได้มีการนำวงเงินไปลงทุนแล้ว
เขาเสริมว่าสัญญาการพัฒนาที่ลงนามระหว่าง KAI เกาหลีใต้และ PT Dirgantara(PTDI) รัฐวิสาหกิจอุตสากรรมอากาศยานอินโดนีเซียเมื่อต้นปี 2016 นั้น เป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า "ไม่สมบูรณ์" แม้ว่าเขาจะไม่ได้ให้รายละเอียด ทาง PTDI อินโดนีเซียปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเรื่องการทบทวนนี้

แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงกล่าวว่า KAI เกาหลีใต้ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้ควรทำอย่างไรต่อ อินโดนีเซียได้ลงทุนในโครงการ KF-X ไปแล้ว $200 million แต่ยังคงค้างชำระวงเงินอยู่อีก $100 million(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/kf-xif-x-su-35.html)
ส่วนของเงินทุนเหล่ามีวัตถุประสงค์เพื่อจ่ายให้กับนักวิจัยชาวอินโดนีเซียในบัญชีเงินเดือนที่โรงงานอากาศยานของ KAI ใน Sacheon สาธารณรัฐเกาหลี

ในปี 2016 อินโดนีเซียตั้งใจที่จะจ่ายวงเงิน $1.6 billion คิดเป็นราว 20% ต่อต้นทุนการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X เมื่อเทียบกับงบประมาณการพัฒนาโครงการรวมทั้งหมดราว $8.5 billion
แหล่งข่าวเสริมว่ามุมมองที่แพร่หลายนั้น รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังใช้โครงการ KF-X เพื่อต่อรองให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีมากขึ้น

เช่นการที่เกาหลีใต้จะสั่งจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN-235-220 MPA(Maritime Patrol Aircraft) เพิ่มเติมที่ผลิตโดยโรงงานอากาศยาน PTDI ใน Bandung อินโดนีเซียภายใต้สิทธิบัติจากบริษัท Airbus Defence & Space ยุโรป
โดยหัวข้อดังกล่าวน่าจะเป็นประเด็นในช่วงที่ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย Joko Widodo เดินทางเยือนสาธารณรัฐเกาหลีที่มีกำหนดการในเดือนกรกฎาคม 2018 นี้

Flight Fleets Analyzer แสดงให้เห็นว่าเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN-235-220 MPA ที่หน่วยยามฝั่งสาธารณรัฐเกาหลี(Korea Coast Guard) จัดหาแล้ว 4เครื่อง มีอายุการใช้เฉลี่ย 6.6ปี และเกาหลีใต้มีแผนจะจัดหาเพิ่มเติม 2เครื่อง
ยังมีกองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) ที่แสดงความสนใจจะจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN-235-220 MPA อินโดนีเซียจำนวน ๓เครื่องด้วย(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/cn-235-220-mpa.html)

แหล่งข่าวได้ลดระดับรายงานข้อสังเกตล่าสุดที่สหรัฐฯแสดงความกังวลเกี่ยวกับการแบ่งปัน Technology ที่มีความละเอียดอ่อนกับอินโดนีเซีย ตามที่บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้เสนอที่จะให้ความช่วยเหลือการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X เกาหลีใต้
เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงต่างตอบแทนในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่  F-35A Lightning II จำนวน 40เครื่องสำหรับกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force)(http://aagth1.blogspot.com/2018/03/lockheed-martin-f-35a.html)

"สิทธิบัตรการส่งออกเป็นข้อกังวลระดับรอง เนื่องจากเกาหลีใต้ได้กำลังพัฒนา Technology หลายอย่างที่บางส่วนเป็นของตนเอง" เขากล่าวโดยเน้นอีกว่า
บริษัท Hanhwa Systems สาธารณรัฐเกาหลีกำลังพัฒนา AESA(Active Electronically Scanned Array) radar ของเครื่อง ซึ่งโครงการได้รับความช่วยเหลือจากบริษัท Elta อิสราเอล

ในปี 2015 โครงการ KF-X ได้ประสบภาวะชะงักครั้งใหญ่เมื่อปรากฎว่าสหรัฐฯไม่ต้องการที่จะส่งมอบสิทธิบัตรการส่งออกสี่ Techonology หลักของเครื่องบินขับไล่(http://aagth1.blogspot.com/2018/03/kf-x-meteor-iris-t.html)
คือ AESA radar, ระบบตรวจจับ IRST(Infrared Search and Track), ระบบตรวจจับเป้าหมายกล้อง Electro-Optical และระบบอุปกรณ์ก่อกวนสัญญาณ(Jammer)

กรณีที่เลวร้ายที่สุดสำหรับ KAI เกาหลีใต้คือการถอนตัวจากโครงการโดยสมบูรณ์ของอินโดนีเซีย ถ้าเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันซึ่งน่าจะเป็นไปได้ยากมากนี้เกิดขึ้นจริง
KAI อาจจำเป็นต้องแบ่งปันงบประมาณการพัฒนาจัดสรรให้อินโดนีเซีย(เพื่อให้อยู่ในโครงการต่อไป) หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องหาหุ้นส่วนผู้ร่วมโครงการระดับนานาชาติจากประเทศอื่นแทน

โครงการเครื่องบินขับไล่ KF-X มีแผนที่จะส่งมอบให้กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี 120เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ IF-X จำนวน 80เครื่องสำหรับกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara)
โดยเครื่องต้นแบบ KF-X สำหรับกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี และ IF-X สำหรับกองทัพอากาศอินโดนีเซียนั้นน่าจะมีความแตกต่างกัน

ก่อนหน้านี้ข้อมูลทางการระบุว่าเครื่องบินขับไล่ KF-X Block I จะไม่มีการเคลือบสารที่ทำให้มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth Coating)บนตัวเครื่อง และมีเฉพาะตำบลอาวุธภายนอกลำตัวเท่านั้น จะเป็นแบบเครื่องสำหรับอินโดนีเซีย
ส่วนแบบเครื่องสำหรับเกาหลีใต้จะเป็นเครื่องบินขับไล่ KF-X Block II ที่ตัวเครื่องมีการเคลือบ Stealth Coating และมีจะมีห้องเก็บอาวุธภายในลำตัวเครื่อง แหล่งข่าวจึงแสดงความกังวลต่อ KAI เกาหลีใต้ว่าการพัฒนาเครื่องสองแบบหลักที่ต่างกันจะเพิ่มค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากมากขึ้น

เครื่องบินขับไล่ KF-X จะติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ General Electric F414 สองเครื่อง นอกจากเครื่องยนต์แล้วเครื่องยังมีส่วนประกอบสำคัญอีกหลายอย่างที่มาจากต่างประเทศ
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 บริษัท UTC Aerospace Systems สหรัฐฯได้ประกาศสัญญาการส่งมอบระบบควบคุมสิ่งแวดล้อมของอากาศยานประกอบด้วย เครื่องปรับอากาศ, เครื่องควบคุมอากาศหายใจ, ระบบปรับความดันในห้องนักบิน และระบบหล่อเย็นแบบของเหลว

UTC Aerospace Systems สหรัฐฯยังจะส่งมอบระบบการติดเครื่องยนต์ใบพัดกังหัน Turbine และ valve ควบคุมการไหล นอกจากนั้นบริษัท Cobham สหราชอาณาจักรจะส่งมอบอุปกรณ์ติดตั้งและปล่อยอาวุธบนตัวเครื่องให้กับเครื่องบินขับไล่ KF-X
ขณะที่บริษัท Meggitt สหราชอาณาจักรได้รับสัญญาในการส่งมอบฐานล้อลงจอดส่วนหัวเครื่องและท้ายเครื่อง ระบบห้ามล้อ carbon brake และระบบควบคุมการห้ามล้อ

ขั้นตอนการออกแบบเครื่องบินขับไล่แบบสองเครื่องยนต์จะดำเนินการไปจนถึงปลายปี 2019 ซึ่งจุดนี้การผลิตเครื่องต้นแบบของ KF-X จะมีการดำเนินการขึ้น(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-kf-x-if-x.html)
เครื่องบินขับไล่ KF-X เครื่องต้นแบบมีแผนจะทำการบินครั้งแรกในกลางปี 2022 โดยจะมีการทดสอบและประเมินค่าดำเนินการไปจนถึงปี 2026 ครับ